ความสุข

หยุดบอกให้กูทำตามความฝันและมีความสุขซะทีเถอะ

9 April, 2018 - 16:24 -- Tistou

ตั้งแต่วัยรุ่นที่พอจะรับรู้ความเป็นไปของสังคมบ้าง ผมพบเจอ ‘วิธีคิด’ ในการใช้ชีวิตประมาณห้าหกชนิด ตั้งแต่สโลว์ไลฟ์ สโลว์ฟู้ด การกลับไปใช้ชีวิตเป็นชาวนา มินิมัลลิสม์ ฮุกกะ และล่าสุดที่ออกมาไล่เรี่ยกันคือลุกกะและอิคิไก แล้วยังมีการเผยแพร่ลัทธิความฝันแบบเข้มข้นของสื่อมวลชน สินค้า บริการ จนถึงโค้ช นัก

เอาความสุขราคาถูกของผู้ใช้แรงงานคืนมา!

ทำไมคนต้องทำงาน?  

ยังมีคนถามเรื่องนี้อยู่อีกหรือไม่?

แต่คำตอบที่ได้ ย่อมสะท้อนตัวตน ชนชั้น และความจำเป็นในชีวิตแต่ละคนอย่างแน่นอน

คนมีมรดกตกทอด อาจไม่ต้องดิ้นรนทำมาหากินมากนัก แต่มีกินมีใช้จากดอกเบี้ย และค่าเช่าที่ได้จากทรัพย์สิน ซึ่งบรรพบุรุษส่งมอบไว้ให้

คนสงขลา สวนหมัดนายกอภิสิทธิ์ทำไมไม่เอา "อุตสาหกรรม"

21 November, 2009 - 10:01 -- suchana

 

          ทันทีที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลงพื้นที่จังหวัดสงขลาเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยให้นักธุรกิจและหอการค้า 5  จังหวัดชายแดนใต้เข้าพบ เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาที่ทางหอการค้าต้องการ ซึ่งในวันนั้นนายกอภิสิทธิ์พูดชัดว่าหากก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล         และท่าเทียบเรือน้ำลึกที่ตำบลนาทับ จ.สงขลา หากมีเพียงท่าเทียบเรืออย่างเดียวไม่คุ้มการลงทุน ต้องมีถนน โครงข่ายท่อน้ำมัน รางรถไฟ และอุตสาหกรรมโดยโยนเผือกร้อนใส่คนสงขลา ว่า คนสงขลาต้องช่วยผมกำหนด ตัดสินใจว่าจะเอาหรือไม่เอาการพัฒนาอุตสาหกรรม

          ถัดมาเพียงสี่วัน (4 พฤศจิกายน 2552)  ห้องประชุมเกษม ลิ่มวงศ์ ศูนย์การประชุมคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ทางศูนย์การเรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จ.สงขลา ได้จัดการจัดโครงการสัมมนา ร่วมกำหนดอนาคตคนสงขลา บนฐานทรัพยากรที่ยั่งยืนทำให้เห็นถึงมุมมองกลุ่มคนที่หลากหลายที่ไม่เห็นด้วยกับทิศทางนโยบายรัฐบาล   และสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ต้องการพัฒนาพื้นที่จ.สงขลาไปสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมแบบมาบตาพุด

            และข้อเสนอจากเวทีในวันนั้นคงตอบโจทย์ของนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  ที่ทิ้งโจทย์ให้คนสงขลาต้องกำหนดเองว่าต้องการการพัฒนาอย่างไร จะเอาหรือไม่เอากับทิศทางแนวทางที่ทางสภาพัฒน์ฯกำหนดไว้ การทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้และแผนพัฒนาจังหวัดสงขลา(เซาท์เทิร์นซีบอร์ด)สู่การรองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคงเป็นดีชนีชี้วัดความจริงใจ โปร่งใสของนายกรัฐมนตรีที่ชื่ออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าจะฟังเสียงคนใต้ และคนสงขลาจริงเท็จแค่ไหน ซึ่งภาคใต้ถือเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์     หรือเพียงสร้างภาพการมีส่วนร่วมเหมือนกรณีที่รัฐบาลนายกทักษิณ ชินวัตร ได้ทำกับพี่น้องจะนะ  กรณีโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซียมาแล้ว ลงมาบอกว่ารับฟังสุดท้ายก็ผลักดันโครงการโดยไม่ฟังเสียงของคนในพื้นที่จนนำไปสู่ความแตกแยก ขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งกับรัฐบาลและคนในพื้นที่

นายแพทย์สุภัทร  ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ เป็นผู้ที่ติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสงขลามาหลายปี และเป็นผู้ที่เห็นพัฒนาความเปลี่ยนแปลงของชุมชนหลังจากมีโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซียและโรงไฟฟ้าจะนะ  กล่าวถึงภาพรวมทิศทางพัฒนาสงขลา  ว่าทิศทางการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถึงจังหวัดปัตตานีมีแนวโน้มก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม   โดยเฉพาะสงขลากำลังจะก้าวสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรม และระบบโลจิกติกส์ ปัจจุบันความพร้อมของการพัฒนาไปในทิศทางอุตสาหกรรมค่อนข้างพร้อมทั้งสาธารณูปโภคและความพร้อมของหน่วยงานรัฐ ภาคอุตสาหกรรม และนโยบายที่เอื้ออำนวย

ที่ผ่านมามีการพัฒนาพื้นที่เจดีเอโดยท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย เป็นตัวนำการพัฒนาอุตสาหกรรม  ตามด้วยโรงไฟฟ้าจะนะและกำลังมีโครงการขยายกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าจะนะ   และการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกจะนะ บริเวณต.นาทับ อ.จะนะ  เพื่อไปเชื่อมกับท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล  ท่าเรือน้ำลึกปากบาราจะอยู่ใกล้กับท่าเรือท่องเที่ยวเป็นไปได้ยากที่จะไปด้วยกันได้สุดท้ายคงต้องแลกกันระหว่าการท่องเที่ยวกับอุตสาหกรรม  และท่าเรือกับวิถีประมง ภาพของสงขลาและสตูลต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน   การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกจะส่งผลกระทบต่อกากัดเซาะชายหาดอย่างมาก เพื่อเชื่อมโยงเป็นสะพานเศรษฐกิจ(แลนด์บริดจ์) สะพานเศรษฐกิจ(แลนด์บริดจ์)  ประกอบด้วย การขยายถนน  รางรถไฟคู่  โครงข่ายท่อน้ำมันคลังน้ำมัน และนำไปสู่การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่   ซึ่งการประชาพิจารณ์ท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารามีการศึกษาพื้นที่เหมาะกับการทำนิคมบริเวณรอยต่อละงู-มะนังประมาณ 150,000  ไร่แต่ทำเต็มพื้นที่ขึ้นอยู่กับความพร้อม

สำหรับโครงข่ายท่อน้ำมันตามแผนจะมีการวางท่อน้ำมันจากจังหวัดสงขลาฝั่งทะเลอ่าวไทยบริเวณ วัดขนุน อ.สิงหนคร จ.สงขลาไปยังปากบารา จ.สตูล  ตามแผนจังหวัดสงขลาจะมีคลังน้ำมัน 10,000 ไร่ พื้นที่เป้าหมายคือวัดขนุน และฝั่งสตูลจะมีคลังน้ำมัน 5,000 ไร่  ซึ่งถนนและทางรถไฟเส้นสงขลา   - สตูลอาจมีการเจาะลอดเขาสันกาลาคีรีบริเวณป่าผาดำ หากเป็นเช่นนั้นจะส่งผลกระทบมาก 

นอกจากนี้จังหวัดสงขลายังมีโครงการก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์หาดใหญ่ มาเลเซีย มอเตอร์เวย์นาทับ- ปากบารา ซึ่งต้องผ่านป่าผาดำ  การรื้อฟื้นโครงการโรงไฟฟ้าและเหมืองลิกไนต์ที่ อ.สะบ้าย้อย  โครงการเขื่อนกั้นทะเลสาบสงขลา เพื่อเอาน้ำจืดมาใช้ และเดิมจังหวัดสงขลามีการศึกษาของบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลป์ไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดทำรายงานโครงการศูนย์อุตสาหกรรม บ้านบึก  ต.นาทับ 2.4  พันไร่ 

            มีความเข้าใจพื้นฐานบางประการของการเอาคนและสุขภาพเป็นตัวตั้งมีสามข้อ  มีทัศนะสามด้านที่สังคมต้องเรียนรู้  ทัศนะที่หนึ่งคนแบ่งเป็นสามประเภทประชากรเหมือนระฆังคว่ำ มลพิษเกิดมาตรฐานหนึ่งมีคนที่แข็งแรงมาก  แม้ว่ามลพิษที่ออกมาจะเกินมาตรฐานมหาศาลก็ยังอยู่ได้  สองบางคนอ่อนแอ  มลพิษไม่มากก็ป่วยได้  สามคนทั่วไป  ถ้าเราเข้าจำภาพนี้เราจะเข้าใจว่าทัศนะที่สองซึ่งเป็นทัศนะค่ามาตรฐานของอุตสาหกรรม คืออุตสาหกรรมพยายามควบคุมระดับค่าไม่ให้เกินมาตรฐาน สำหรับคนทั่วไป  แต่สำหรับคนอ่อนแอจะป่วยได้  คนทั่วๆ ไปจะป่วยหรือไม่ป่วยจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทั่วไป  ถ้าไม่เกินค่ามาตรฐานแปลว่าปลอดภัยแต่ว่าไม่ได้กับทุกคน 

ทัศนะที่สามการศึกษาโครงการต่างๆ ในปัจจุบันในเรื่องของอีไอเอการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มีการทำในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการศึกษาแบบปัจจุบันทันด่วน  แต่สิ่งที่สังคมต้องเผชิญคือการได้รับสารพิษระดับต่ำแต่เป็นระยะเวลายาวนาน  ๑๐-๒๐ ปีจะเป็นอย่างไร  ถ้าเราจะเฝ้าระวังระดับสารที่ต่ำๆ  จะมาถามหาโรคไม่ได้เพราะโรคมันยังไม่เกิด อาจจะมีการก่อตัวระดับอาการซึ่งต้องดูระดับอาการเป็นการวิจัยที่ยากมาก

การพัฒนาพื้นที่มาบตาพุดซึ่งเป็นบทเรียนที่สำคัญ  มีแนวโน้มที่มาบตาพุดจะหยุดการพัฒนาและมาเกิดที่ภาคใต้แทน  สุดท้ายทิ้งข้อคิดไว้ว่า เมื่อก่อนเราสามารถพึ่งตนเองได้ ปัจจุบันคือการทำสงคราม เป็นการทำลายฐานทรัพยากร การท่องเที่ยว ประมง ค้าขาย บรรยากาศการเรียนการสอนจะเปลี่ยนไป  เป็นการพัฒนาที่ทำให้คนไม่สามารถพึ่งตนเองได้ คนต้องเข้าสู่ระบบสายพาน  ต้องถามว่าการพัฒนาเพื่ออะไรเพื่อคนส่วนใหญ่พออยู่พอกินหรือเพื่อคนส่วนน้อยสุขสบายโดยอ้างคำว่าพัฒนา ทั้งที่การพัฒนาต้องเพื่อคนส่วนใหญ่พออยู่พอกิน

 

ดร.อาภา  หวังเกียรติ  คณะวิศวกรรมศาสตร์สิ่งแวดล้อม  มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เปรียบเทียบให้เห็นพัฒนาการการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก(อีสเทิร์นซีบอร์ด)มาถึงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้(เซาท์เทิร์นซีบอร์ด)

          แผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ เซาเทิร์นซีบอร์ด  มีที่มาที่ไปคือ  หลักการและแนวคิด  มีมาตั้งแต่ปี ๔๐  จ้างญี่ปุ่นมาศึกษาหลักคิดต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางทะเลและทางอากาศ  เป็นศูนย์กลางและแหล่งสำรองพลังงานของประเทศ ในสมัยรัฐบาลทักษิณชัดเจนมากขึ้นเมื่อมีกระทรวงพลังงาน  เขาสำรวจทรัพยากรทางทะเลก๊าซธรรมชาติและน้ำมันอยู่เยอะ  เพื่อเป็นแหล่งสำรองพลังงานของประเทศในภาคใต้แนวท่อส่งก๊าซตามแผนแม่บท  เมื่อมีท่อมาโรงไฟฟ้าก็ต้องเกิดเป็นการมองภาพรวมไม่ใช่จังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง  ที่สงขลาเมื่อมีท่อก๊าซก็มีโรงไฟฟ้า  ที่สำคัญประเทศไทยเป็นพื้นที่เป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอาเซี่ยน  และเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเหล็กอาเซี่ยน

แผนพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับภาคใต้ ตอนบนทิศทางพัฒนาไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ   นิคมอุตสาหกรรม  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์   ท่าเรือ  ภาคใต้ตอนกลางทิศทางพัฒนาไปสู่การเป็น  สะพานเศรษฐกิจ ทับละมุ-สิชลแต่เกิดสึนามิก็เลยย้ายมาอยู่ที่สงขลา  ภาคใต้ตอนล่าง  แผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย 

แนวโน้มการพัฒนาประเภทอุตสาหกรรมที่มีความเหมาะสมในพื้นที่สงขลา   ได้แก่   อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิก อุตสาหกรรมอู่ต่อเรือซ่อมเรือ   อู่ต่อเรือ  อุตสาหกรรมปิโตรเคมีสะพานเศรษฐกิจสุดท้ายจะกลายเป็นมาบตาพุด

            โดยได้เปรียบเทียบพัฒนาการสู่การเป็นนิคมอุตสาหกรรม เหมือนกันทำสงครามคือเริ่มต้นด้วยการเปิดประตูเมืองด้วยการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึก จากนั้นจะถูกรุกรานด้วยองค์ประกอบต่างๆ เช่น  ระบบขนส่งคมนาคม มีการสะสมเสบียงได้แก่การพัฒนาแหล่งน้ำจืด เช่นสร้างเขื่อน สร้างอ่างเก็บน้ำ วางท่อส่งน้ำ  สะสมเสบียงพลังงาน ได้แก่ โรงแยกก๊าซ โรงไฟฟ้าเพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น

ผลกระทบจากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก  สู่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

การถมทะเลสร้างท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด ส่งผลกระทบได้แก่ หนึ่งการกัดเซาะชายฝั่งทำให้ชายหาดพัง  ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวการโรงแรมโดยเฉพาะบริเวณหาดแสงจันทร์ ซึ่งเดิมเป็นชายหาดที่สำคัญต่อการท่องเที่ยว ส่วนชายหาดบริเวณชุมชนหนองแฟบชายหาดบริเวณนั้นพังหมดส่งผลกระทบต่ออาชีพประมง รวมถึงชายหาดอื่นๆ  สองผลกระทบด้านมลพิษทางอากาศและกลิ่นเหม็นระดับสูง  ทำให้โรงเรียนบริเวณนิคมอุตสาหกรรมต้องย้ายหนี   สามผลกระทบจากฝนกรดส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรทำให้ผลผลิตเกษตรเสียหาย    สี่ผลกระทบจากขยะพิษทิ้งในชุมชน  แหล่งน้ำธรรมชาติถูกทำลาย  ปัญหาน้ำบ่อตื้นมีสารพิษตกค้างและเป็นคาบสนิมไม่สามารถใช้ประโยชน์

รายงานผลการตรวจพบสารพิษในอากาศ  คนระยองได้รับ Toxic Cocktail  มลพิษแบบผสมรวม  สารพิษที่มีในอากาศในจังหวัดระยองมี ๙ ชนิด Benzene,1,3-Butadiene   อัตราผู้ป่วยมะเร็งในเพศชายคือมะเร็งปอด ตับ  หลอดอาหาร  โรคที่คนระยองเป็นที่รองจากมะเร็งคือโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ ชีวิตคือเครื่องมือวัดตะกั่ว 

มุมมองนักวิชาการท้องถิ่นต่อศักยภาพเมืองสงขลา

            ผศ.ดร.จารุณี  เชี่ยววารีสัจจะ  ภาควิชาวาริชศาสตร์  คณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่

            ระบบนิเวศน์และฐานทรัพยากรชายฝั่งสงขลา  จังหวัดสงขลาคือจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นที่ ๓ ในพื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ที่จะต้องเสนอสถานการณ์นโยบายสาธารณะ  การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ภาคใต้  ภาคใต้เป็นลักษณะของภูมิประเทศที่ทำให้เกิดระบบนิเวศน์ที่แตกต่างจากภาคอื่นๆ  ของประเทศไทยเป็นด้ามขวานยาว  ที่สำคัญของความยาวของด้ามขวานมีแนวของสันเขาที่ทอดยาวมาตลอด  กลายเป็นด้ามขวาน ๓ มิติขึ้นมา  การประมง  อาชีพหนึ่งที่เป็นอาชีพสำคัญและฐานทรัพยากรสำคัญคือทรัพยากรในทะเลหรือทรัพยากร

            สงขลาอยู่ในฝั่งตะวันออกของด้ามขวานเป็นฝั่งตะวันตกของอ่าวไทย จังหวัดสงขลามี ๑๖ อำเภอครอบคลุมพื้นที่ ๗๔ ร้อยตารางกิโลเมตร ( ๔ ล้านไร่)  เรามีสันเขาอยู่กลางด้ามขวาน สภาพแวดล้อมของจังหวัดสงขลาหันหน้าให้ทิศตะวันออก มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตเยอะมาก  เรายังมีที่ราบที่ไม่กว้างมากเรายังมีที่สำหรับทำเกษตรกรรม  เรามีทะเลสาบสงขลาที่มีความพิเศษที่สุดที่ในโลกนี้มี 2-3 แห่ง  มีความหลากหลายสูงมาก มีการดำรงชีวิตที่สูงมาก  ซึ่งเป็นฐานทรัพยากรที่เรามีอยู่  ถ้านิคมอุตสาหกรรมลงตรงนี้จะทำให้เราสูญเสียทรัพยากรไปมาก  เราจะมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่  มีสวนผลไม้  ประมง  แต่ในขณะเดียวกันมันเป็นความพิเศษของภาคใต้ และอีกอย่างที่เป็นความพิเศษ การอยู่ในภูมิศาสตร์และภูมิประเทศสามารถอยู่ได้ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียได้ 

            นฤทธิ์  ดวงสุวรรณ์  ผู้เชี่ยวชาญและติดตามปัญหาทะเลสาบมาอย่างยาวนานกล่าวว่า  ทะเลสาบถือเป็นความสมบูรณ์ของจังหวัดสงขลาในอดีต   มีพันธุ์ปลา 465ชนิด สัตว์ไม่มีกระดูสันหลัง193ชนิด สัตว์มีกระดูกสันหลัง222ชนิด แพลงต์ตอน211ชนิด  น้ำทะเลสาบสงขลา ถือเป็นต้นทุนทางธรรมชาติเป็นทุนชีวิตของคนไทย   เป็นฐานทรัพยากร 8,727 ตร.กม. ที่รองรับ คน กว่า 1.8 ล้านคน ใน 3 จังหวัด   ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP)141,324 ล้านบาทรายได้ประชากรต่อหัวต่อปีเฉลี่ยประมาณ 75,000 บาท   มีพื้นที่ผลิตยางพารา 2,010,044 ไร่ มีผลผลิตปีละ  445,240 ตัน

นาข้าว 668,229 ไร่  มีผลผลิต 321,406 ตัน เพาะเลี้ยงชายฝั่ง(กุ้งทะเล) 35,000 ไร่ มีผลผลิตต่อปี 4,200 ล้านบาท และการประมงในทะเลสาบปีละ 200 ล้านบาท   โรงงานอุตสาหกรรม(การเกษตร/การประมง) 1,965 โรง รองรับแรงงานจากพื้นที่ ลุ่มน้ำ 77,255 คน  มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณและศิลปวัฒนธรรม 172 แห่ง

บทเรียนการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบพ.ศ. 2504-2519 โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม  โรงงานอุตสาหกรรม รอบทะเลสาบสงขลา เริ่มขยายตัวคุณภาพน้ำในแหล่งธรรมชาติเริ่มเสื่อมโทรม   พ.ศ.2525-2534  เริ่มสร้างท่าเรือน้ำลึก /ท่าเรือประมง สะพานเศรษฐกิจเกาะยอ พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อ บริโภคและอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรม ขยายตัวมากขึ้น  การกัดเซาะชายฝั่งด้านอ.สิงหนคร รุนแรงมากขึ้นหลังจากการสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาเกิดการขัดแย้งชาวนากับชาวประมงกรณีโครงการคันกั้นน้ำเค็มทะเลสาบสงขลา

ยุทธศาสตร์การพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา  การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ    การใช้ประโยชน์ทรัพยากรลุ่มน้ำแบบบูรณาการและใช้อย่างยั่งยืน การควบคุมและป้องกันมลพิษ   การอนุรักษ์ ฟื้นฟู บูรณะ ศิลปวัฒนธรรม แหล่งประวัติศาสตร์  โบราณคดี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม    การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน  หากมีการพัฒนาภาคใต้และสงขลาเป็นสู่ทิศทางการเป็นอุตสาหกรรมย่อมส่งผลกระทบต่อลุ่มน้ำทะเลสาบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

รศ.ดร.สมบูรณ์  เจริญจิระตระกูล  คณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ได้กล่าวถึงมายาคติของรายได้จากการพัฒนาและบางบทเรียนจากการพัฒนาในจังหวัดสงขลา การพัฒนาและขยายพื้นที่อุตสาหกรรมในจ.ระยองไม่สามารถทำได้เป้าหมายจึงเป็นพื้นที่ภาคใต้  ข้อมูลโครงสร้างเศรษฐกิจไทย จำแนกตามสาขาปี 50  ภาคอุตสาหกรรม 45 เปอร์เซ็นต์ คืออุตสาหกรรม โรงงาน  พลังงาน  ก่อสร้าง  โม่หิน ย่อยหิน  เหมืองแร่   เกษตร  11  เปอร์เซ็นต์   บริการ  44  เปอร์เซ็นต์   ภาคใต้ อุตสาหกรรม 21 เปอร์เซ็นต์   เกษตร  37   เปอร์เซ็นต์  บริการ42 เปอร์เซ็นต์  ส่วนโครงสร้างเศรษฐกิจจ.สงขลา จำแนกตามสาขาในปี50  มีบริการ 39 เปอร์เซ็นต์  เกษตร 28 เปอร์เซ็นต์  อุตสาหกรรม  33 เปอร์เซ็นต์ 

            สิ่งที่เป็นมายาคติคือสิ่งที่รัฐบาลเชื่อว่ารายได้ต่อหัวของประชาชนต่อคนต่อปี ภาคใต้ของเราอุตสาหกรรมน้อยมากส่งผลให้รายได้ต่ำ   จากผลสำรวจคนระยองในปี50 มีรายได้เฉลี่ยต่อคนละ 1,035.536 บาทต่อปี แต่ความเป็นจริงผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน โดยสำนักงานสถิตแห่งชาติรายได้ต่อครัวเรือนของคนระยองเพียง 25.090 บาทต่อครัวต่อเดือน เทียบกับจ.สงขลาจากผลสำรวจคนระยองในปี50 มีรายได้เฉลี่ยต่อคนละ 114,981 บาทต่อปี  รายได้ต่อครัวเรือนจ.สงขลา 22,342 บาทต่อครัวต่อเดือน   ซึ่งรายได้ต่อครัวเรือนต่างกันประมาณ 2.000กว่าบาท แต่คนสงขลาไม่ต้องเผชิญกับปัญหามลพิษแบบมาบตาพุด 

คำเตือนของโจเชฟ สติกลิทธ์ นักเศรษฐศสตร์ได้รับรางวัลโนเบลปี44 ว่า บริษัทวัดประเมินจากบัญชีมีกำไร สังคม ที่ผ่านมามองแต่เรื่องจีดีพีประเด็นนี้ขอให้ทำความเข้าใจใหม่ ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีเลยที่ใช้จีดีพีประเมินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งจีดีพีนี้ถือว่าเป็นตัววัดผลประกอบการการทำงานที่แย่ ผมมองว่าจีดีพีว่าไม่ใช่ตัววัดที่ทำให้เห็นถึงเศรษฐกิจมีความผาสุกอยู่ดีกินดีและไม่ใช่ตัวช่วยให้สังคมโดยรวมวงกว้างมีความสุขได้

แม้นิคมอุตสาหกรรมยังไม่เกิดที่จ.สงขลา แต่เรามีบทเรียนบทเรียนของโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย ที่ส่งผลกระทบต่ออาชีพ วิถีชีวิตและเริ่มก่อปัญหามลพิษและโรงงานอุตสาหกรรมทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมเกษตรมีการบำบัดน้ำเสียไม่ดีพอที่ส่งลงสู่ทะเล  ปล่อยน้ำทิ้งลงที่นาของชาวบ้าน ต.สะกอม  การปล่อยน้ำเสียของโรงงานเหล่านี้ปล่อยไปทั่วทำให้ที่นาทั้งหมดหายไปเลยทั้งตำบลสะกอมเดิมมีคนทำนา 30 เปอร์เซ็น  แต่ประมาณปี 40 เป็นต้นมาที่นาสูญหายไปเนื่องจากการทิ้งน้ำจากโรงงานอุตสาหกรรม  และเน้นย้ำว่าฐานทรัพยากรของสงขลาได้แก่ ยางพารา ประมง การท่องเที่ยว 

 

ผศ.ประสาท มีแต้ม ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ยกคำกล่าวของเออร์วิน ลาสซโล นักคิดชาวฮังการี  เผยแพร่โดย ดร.ไสว บุญ ขณะนี้ชาวโลกกำลังยืนอยู่บนทางสามแพร่ง ยังมีเวลาอีกสามปี ที่จะตัดสินใจว่าจะไปทางไหน ระหว่างความล่มสลายหายนะและความยั่งยืนท้าทายว่าเรามีเวลาสามปีในการต่อสู้

จากนโยบายพลังงานของไทยที่ผูกขาดความคิด ผูกขาดแหล่งพลังงานแล้วปล่อยมลพิษไปทำลายแหล่งอาหาร ทำให้คนตกงานนับล้านคน แล้วใช้สื่อที่ตนยึดครองได้เพื่อล้างสมองคนทั้งประเทศว่าพลังงานอีกประเภทหนึ่งใช้ไม่ได้นั้น ผมไม่มีคำพูดอื่นครับ นอกจากคำว่า เป็นอาชญากรรมเชิงนโยบาย

แหล่งเชื้อเพลิงแบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือ ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ประเภทที่สองได้แก่ พลังงานลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล (ของเสีย-ของเหลือจากการเกษตร) ประเภทแรก กำเนิดเมื่อหลายล้านปีมาแล้ว ใช้หมดแล้วหมดเลย อยู่ใต้ดินหลายพันเมตรและถูก ผูกขาดโดยพ่อค้าพลังงานจำนวนน้อยราย ส่วนประเภทที่สองเกิดขึ้นใหม่ทุกวัน ไม่มีวันหมด และกระจายอยู่ทั่วไป การผูกขาดจะทำได้ยากทั้งสองต่างก็เป็น ลูกพระอาทิตย์

ขณะที่ทั่วทั้งโลกรวมทั้งประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากันระหว่างคนสองกลุ่ม คือทุนสามานย์กับชุมชน พลเมืองที่ได้รับผลกระทบของการพัฒนาจากข้อมูลของกระทรวงพลังงานพบว่า ในปี 2536 คนไทยเราจ่ายค่าพลังงานไปเพียง 10% ของรายได้ที่อุตส่าห์หามาได้ แต่พอมาถึงปี 2551 กลับพบว่าค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของเราเพิ่มขึ้นเป็น 20%   แปลว่าอะไรครับ ว่า ยิ่งพัฒนา ยิ่งยากจน ยิ่งเป็นคนในชนบทยิ่งจนมากขึ้น  ปัญหาที่สำคัญกว่าเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ คือการจ้างงาน หรือการไม่มีงานทำของคนที่กำลังรุนแรงขึ้น ทุกขณะ พบว่าในภาคส่วนพลังงานที่มีสัดส่วนถึง 20% ของรายได้นั้นมีการจ้างงานเพียงร้อยละ 1% ของแรงงานทั้งประเทศเท่านั้น  ขณะที่นายกฯอภิสิทธิ์ โฆษณาว่า ผมสัญญา ...คนไทยต้องมีงานทำ

ในความเป็นจริงข้อมูลที่มาจากกระทรวงพลังงานเองว่า ประเทศไทยมีศักยภาพจะผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล (Biomass) ได้ถึง 7,000 เมกกะวัตต์  ทุก ๆ หนึ่งตันของผลปาล์ม จะสามารถนำน้ำเสียมาผลิตเป็นไฟฟ้าได้คิดเป็นมูลค่าถึง 100 บาท แต่ละปี ผลผลิตปาล์มอย่างเดียวในภาคใต้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 670 ล้านบาท นี่ยังไม่นับทะลายปาล์ม ไม่นับตอของต้นยางพาราที่ถูกเผาทิ้งปีละ 4-5 แสนไร่ (เพื่อปลูกใหม่) ซึ่งสามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าได้อีกด้วย นี่ยังไม่นับนาร้างจำนวนอีก 5 แสนไร่ในภาคใต้ ถ้าคิดจะปลูกไม้โตเร็วมาผลิตไฟฟ้าก็ได้อีกเยอะ คนกระบี่ทั้งจังหวัดใช้ไฟฟ้าขนาด 60 เมกกะวัตต์ แต่มีการผลิตไฟฟ้าจากของเหลือจากปาล์มได้ 30 เมกกะวัตต์ ในขณะที่มีศักยภาพที่จะทำได้ถึง 120 เมกกะวัตต์

สรุปนโยบายพลังงานของไทยที่ผูกขาดความคิด ผูกขาดแหล่งพลังงานแล้วปล่อยมลพิษไปทำลายแหล่งอาหาร ทำให้คนตกงานนับล้านคน แล้วใช้สื่อที่ตนยึดครองได้เพื่อล้างสมองคนทั้งประเทศว่าพลังงานอีกประเภทหนึ่งใช้ไม่ได้นั้น  ดังนั้นเราต้องเอาพลังงานหมุนเวียนเอาพระอาทิตย์คืนมาเป็นของประชาชน และพลเมืองต้องร่วมกำหนดนโยบายพลังงานเอง

มุมมองคนสงขลาต่อการพัฒนา

เพ็ญณี  ฤทธิ์กาญจน์ คณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประธานสมาพันธ์ท่องเที่ยวภูมิภาคแห่งภาคใต้และนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา กล่าวว่าโดยภูมิศาสตร์ภาคใต้ติดทั้งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ปฏิเสธไม่ได้ทั้งสองฝั่งทะเลมี และอารยธรรม มีประเพณี วัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน มีวิถีชีวิตที่พึ่งพาประมง ท่องเที่ยวและเกษตรกรรม ชุมชนภาคใต้โดยเฉพาะชุมชนสงขลามีความสุขจากการอาศัยทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลเลี้ยงดูครอบครัวมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ วันนี้กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงรู้ข่าวการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้เพื่อรองรับอุตสาหกรรมมา 2-3 ปีแต่มีชัดเจนในปีนี้ว่าจะมีอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำทำให้สมาคมท่องเที่ยวเกิดการตื่นตัวมากทุกพื้นที่ตลอดทั้งภาคใต้

ภาคใต้ทั้งหมดโดยเฉพาะสงขลามีศักยภาพด้านท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบทั้งทางทะเล การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น คลองรัตภูมิ คลองนาทับ อ.จะนะ แต่พื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ที่กำลังถูกวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรม เชื่อว่ารายได้จากการพัฒนาอุตสาหกรรมไม่ใช่รายได้ที่เจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืนแน่นอน การท่องเที่ยวไม่ต้องกู้เงินทุนมหาศาลอาศัยทรัพยากรทางทะเล บริการและจุดขายทางวัฒนธรรม นี่คือคุณค่าสูงสุดคือความสุขของคนในพื้นที่ที่มาจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการพัฒนาสงขลาต้องมองถึงการท่องเที่ยว ประมง การเกษตรเป็นหลัก

ที่สำคัญรัฐบาลกำลังพูดถึงการเปิดประตูสู่อาเซียน ทิศทางการพัฒนาจ.สงขลาเพื่อรองรับการนโยบายการเปิดประตูสู่อาเซียน ควรกำหนดทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวให้เพื่อนบ้านได้ทราบว่าจ.สงขลาเป็นแหล่งการท่องเที่ยว เปิดภาพพจน์การท่องเที่ยวให้ประเทศเพื่อนบ้านรู้จัก หากเปรียบเทียบการท่องเที่ยวกับอุตสาหกรรมจะเห็นว่าการท่องเที่ยวมีคุณค่ามหาศาลทั้งต่อจิตใจและสุขภาพ

นายสุมิตร  สมิตชัยจุฬารัตน์ โครงข่ายสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจังหวัดสงขลา  และผู้ประกอบการโรงแรมในจังหวัดสงขลา  กล่าวว่า จังหวัดสงขลามีศักยภาพด้านใดให้สังเกตจากสองฤดูกาลคือช่วงระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม  และช่วงฤดูกาลเดือนตุลาคม   ซึ่งเป็นช่วงปิดภาคเรียนทุกปีจะมีนักเรียนจากจังหวัดต่างๆทั่วภาคใต้โทรศัพท์จากที่พัก เพื่อเข้ามาติวตามสถาบันการติวต่างๆ ทำให้เห็นว่าสงขลามีศักยภาพเป็นเมืองแห่งการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ของคนภาคใต้   และในอนาคตน่าจะพัฒนาจังหวัดสงขลาเป็นศูนย์กลางการกินเจ อยากฝากให้นายกมา

ซึ่งประเด็นที่นายสุมิตรเสนอเป็นความคิดที่สอดคล้องกับความคิดเห็นของนักวิชาการ ภาคธุรกิจและการท่องเที่ยว ที่เห็นว่าสงขลามีศักยภาพด้านการศึกษา สงขลาถือเป็นตักศิลา เพราะเป็นศูนย์รวมของการศึกษา ความรู้และที่ผ่านมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีบทบาทสำคัญในการผลิตและพัฒนาบุคลากรของประเทศ จะทำอย่างไรที่จะพัฒนาจังหวัดสงขลาเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ทั้งของคนในประเทศ  รวมถึงสายตาของต่างประเทศด้วยไม่ใช่มีมองภาพลักษณ์ของสงขลาเป็นเมืองบันเทิงด้านเดียว

นางจินตนา จิโนวัฒน์  สมาคมผู้นำสตรีจ.สงขลา การพัฒนาต้องเน้นการพัฒนาศักยภาพของคนอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการอบรมครอบครัว  จากการฟังข้อมูลวันนี้ตนรู้สึกสะเทือนใจ คนสงขลามีทั้งหมด 1 ล้านคนที่ยังไม่รู้ข้อมูลทำอย่างไรให้คน 500,000  คนได้รู้ข้อมูลผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

นายนภดล อ่อนวิจัย สหพันธ์ครอบครัวเพื่อสันติภาพโลก ประเทศไทย (เครือข่ายภาคใต้)  รู้สึกดีใจจากการพูดคุยในวันนี้มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากร ซึ่งต้องปลูกฝังคุณธรรมด้วย การเมืองล้มเหลวประชาชนขาดเสียง นักการเมืองพึ่งพาระบบทุนธุรกิจ เมื่อได้รับเลือกตั้งก็เข้ามากอบโกยผลประโยชน์จากทรัพยากร  ระบบการศึกษาปลูกฝังแนวคิดเรียนจบเข้าสู่โรงงาน ไม่มีการกลับมาพัฒนาท้องถิ่น วิศวกรเข้าสู่โรงงาน แพทย์เข้าสู่เมือง  ควรพัฒนาพลังงานทางเลือก พลังงานสีเขียวไม่ต้องอาศัยเฉพาะพลังงานที่ก่อมลพิษ และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เราต้องรุจักตัวเรา เช่นการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว  พัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร

สำหรับกลุ่มองค์กรชาวบ้านและเครือข่ายประชาชนกลุ่มต่างๆ มีความเห็นตรงกันว่ายุทธศาสตร์การพัฒนาหรือจินตภาพการพัฒนาที่ชุมชนต้องการเห็น คือการพัฒนาบนพื้นฐานทรัพยากรของท้องถิ่นและชุมชนที่มีอยู่ ไม่เห็นด้วยกับการโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของภาครัฐที่ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล และเสนอว่ารัฐบาลไม่ต้องเร่งรีบในการพัฒนาอุตสาหกรรมหรือโครงการแลนด์บริดจ์ การพัฒนาต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตและสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ที่สำคัญต้องเป็นการพัฒนาที่เกิดจากประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนด ในการตัดสินใจทิศทางการพัฒนาของชุมชน

ข้อสรุปยุทธศาสตร์ทิศทางการพัฒนาจังหวัดสงขลา   

1.ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว

2.ยุทธศาสตร์ด้านภาคเกษตรกรรม เกษตรกรรมยั่งยืน  ประมงชายฝั่งโดยการเพิ่มมูลค่าผลิต  การพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร แต่ต้องเป็นอุตสาหกรรมที่ใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อม

3.ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะการพัฒนาด้านการการศึกษา ปลูกฝังจิตสำนึก จิตวิญญาณ

4.ยุทธศาสตร์ด้านพลังงานทางเลือก ส่งเสริมการสร้างพลังงานทางเลือกจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจริงจัง เช่น พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานอื่นๆที่ไม่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม 

สำหรับยุทธศาสตร์ทิศทางการพัฒนาจังหวัดสงขลาที่ประชุมเวทีสัมมนาเสนอว่า ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชน  ต้องพัฒนาบนฐานทรัพยากรที่มีอยู่ท้องถิ่น ชุมชน รัฐบาลต้องบูรณาการการมีส่วนร่วมโดยต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย  เสนอควรเป็นวาระแห่งชาติของคนสงขลาในการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสงขลา  พัฒนาต้องอยู่บนแนวคิดการพึ่งตนเองเศรษฐกิจพอเพียงไม่ก่อความขัดแย้งในชุมชน  ซึ่งยุทธศาสตร์การพัฒนาดังกล่าวชุมชนสามารถดำรงชีวิตพิถีพิถันบนฐานทรัพยากร ความหลากหลายชีวภาพ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมประเพณีได้อย่างปกติสุข 

 

 

 

 

 

เป็นนักเขียนมีความสุขไหม

 

1

 

เป็นนักเขียนมีความสุขไหม

 

วันหนึ่งฉันต้องตอบคำถามนี้ “เป็นนักเขียนมีความสุขไหม”

ผู้ที่ถามคำถามนี้เป็นเด็กนักเรียนตัวเล็กๆ ชั้นประถมปีที่ 5

ฉันรู้สึกดีใจที่มีเด็กถามเรื่องความสุขมากกว่าเรื่องรายได้

ความสุข ๒ ชั้น ( ธรรมะเดลิเวอรี่)

โลกสอนมนุษย์ว่าทุกสิ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่โลกก็กลับสอนให้มนุษย์ผูกพัน


 โดยพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต

อาตมาอ่านเจอกลอนในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่ผู้เขียนระบายไว้ได้สาแก่ใจมากเลย

เร็ว ก็หาว่าล้ำหน้า
ช้า ก็หาว่าอืดอาด
โง่ ก็ถูกตวาด
พอฉลาด ก็ถูกระแวง
ทำก่อน บอกไม่ได้สั่ง
ทำทีหลัง บอกไม่มีหัวคิด
เฮ้อ นี่แหละชีวิตคนทำงาน

ข้างต้น น่าจะเป็นกลอนที่โดนใจบรรดาคนทำงานหลายๆ คน เพราะสะท้อนความรู้สึกกดดันอย่างชัดเจน ซึ่งจากการได้พูดคุยกับโยมที่เข้ามาปรึกษาหารือถึงสาเหตุที่ทำงานกันอย่างไม่มีความสุขก็มีปัจจัยมากมาย เช่น ทำงานที่ตัวเองไม่ถนัด ทำงานที่ไม่ชอบ โดนหัวหน้างานกดขี่ หรือรู้สึกว่าหน้าที่ที่ตัวเองได้รับมอบหมายนั้นต่ำต้อย ฯลฯ

โดยจะว่าไปแล้ว บริษัทก็เหมือนกับบ้านหลังที่สองของเรา บางคนใช้ชีวิตในบริษัทมากกว่าที่บ้านซะอีก เพราะต้องตื่นขึ้นมาทำงานตั้งแต่ตี ๔ ตี ๕ กลับถึงบ้านก็ ๒-๓ ทุ่ม วันหนึ่งมี ๒๔ ชั่วโมง หากต้องใช้ชีวิตในการทำงาน (รวมนั่งรถไป-กลับ) วันละ ๑๐ กว่าชั่วโมงแล้ว ถ้าโยมไม่มีความสุขกับงานที่ทำ จึงเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจมากๆ

อาตมาชอบใจคุณยามที่บริษัทแห่งหนึ่งมาก เคยถามเขาว่า ไม่เบื่อเหรอ เปิดประตูทั้งวัน เขาตอบกลับอย่างฉะฉานว่า

' ไม่เบื่อหรอกครับท่าน เพราะคนจะเข้าไปที่นี่ได้หรือไม่ได้ มันอยู่ที่ผม ถ้าผมไม่เปิดประตู ไม่อนุญาตหรือบอกไม่ให้เข้า เขาก็ไม่ได้เข้านะ อย่างพระอาจารย์มาบรรยายที่นี่ ผมไม่ให้เข้าก็ได้ ... แต่ผมให้เข้าครับ' ( แล้วไป)

อาตมาจึงไม่แปลกใจเลย เวลาไปทำธุระที่บริษัทนี้ทีไร มักเห็นเจ้าหมอนี่ ทำหน้าที่ตัวเองอย่างกระตือรือร้น ก็เพราะเขามีทัศนคติที่ดีต่อหน้าที่ เห็นความสำคัญของตัวเอง จึงทำให้เขาทำงานได้อย่างมีความสุข (แถมมีมุขอำกลับอาตมาอีกต่างหาก)

ดังนั้นอาตมาจึงอยากจะหนุนใจญาติโยมที่กำลังรู้สึกย่ำแย่กับงานของตัวเองว่า
ถ้าเราทำงานจนเมื่อยมือเหลือเกิน
ก็จงดีใจเถอะ ที่มีมือให้เมื่อย
ถ้าเราเดินไปเดินมาจนปวดขาเหลือเกิน
ก็จงดีใจเถอะ ที่มีขาให้ปวด
ถ้าเราเห็นหัวหน้า แล้วเซ็งเหลือเกิน
ก็จงดีใจเถอะ ที่มีหัวหน้าให้เซ็ง
ถ้าเราเห็นงาน แล้วเราเบื่องานเหลือเกิน
ก็จงดีใจเถอะ ที่มีงานให้เบื่อ

เพราะหลายคนพอไม่มีงานให้ทำ ก็จะประท้วงกัน อยากทำงาน ! อยากทำงาน ! ดังนั้นเมื่อคุณโยมมีโอกาสทำแล้ว ก็จงทำให้ดีที่สุด เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนทัศนคติต่องานที่ทำก่อน เห็นความสำคัญของหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ได้ ทำมันอย่างเต็มที่และดีที่สุด เหมือนดั่งคุณยามที่อาตมายกมาเป็นตัวอย่างข้างต้น

อาตมาเคยอ่านเจอคำแนะนำของท่านพระธรรมปิฎก (..ประยุตฺโต) ในหนังสือเล่มหนึ่ง ท่านเขียนชี้แนะไว้ว่า

งานมีผลตอบแทนสองชั้นด้วยกัน
ผลตอบแทนชั้นที่ ๑ คือ ตอนเงินเดือนออก นี่คือความสุขชั้นที่หนึ่ง ซึ่งหลายๆ คนมีความสุขในการทำงานแค่วันนั้นวันเดียว แต่ถ้าเราสามารถพัฒนาตัวเองไปพร้อมกับงานได้ มันก็จะก้าวไปสู่อีกระดับ อันนำมาซึ่งผลตอบแทนหรือความสุขชั้นที่ ๒ นั่นเอง

หนึ่งเดือน คุณโยมอยากมีความสุขเพียง ๑ ชั้น หรือ ๒ ชั้น ก็เลือกเอาตามใจชอบเลย

เจริญพร...

ขอขอบพระคุณคุณบทความดีๆจากพระอาจารย์สมปอง

ที่ผู้เขียนบล๊อค อยากนำมาเสนอและแบ่งปันให้ทุกๆคนได้อ่านกัน....

Subscribe to ความสุข