สมยศ พฤกษาเกษมสุข: เศรษฐกิจไทยล่มสลายแน่ ถ้าไม่แก้ไข

 สมยศ พฤกษาเกษมสุข

 
 
โลกาภิวัตน์เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว วิกฤติจากประเทศหนึ่งลุกลามขยายตัวไปทุกส่วนของโลก จากศูนย์กลางทุนนิยมโลกอเมริกาถึงยุโรป ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง บรรดาประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายจึงต้องเตรียมความพร้อมกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย
 
ประเทศไทยพึ่งพิงการค้าการลงทุนระหว่างประเทศย่อมต้องได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จะเห็นได้ว่าในปี 2555 การส่งออกขยายตัวเพียง 12.8% และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 3-5% ซึ่งต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน
 
อีก 3 ปีข้างหน้า (2558) ประเทศในอาเซียน รวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community: AEC) แต่ละประเทศในภูมิภาคนี้จึงเตรียมความพร้อมที่จะช่วงชิงโอกาสของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอีก 3 ปีข้างหน้า เพราะจะมีฐานการผลิตและการตลาดเป็นหนึ่งเดียวกัน รวมทั้งการเคลื่อนย้ายการค้าการลงทุนอย่างเสรีไร้ขีดจำกัด
 
พม่าสามารถปรับตนเองอย่างรวดเร็วด้วยการผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมือง เช่น การปล่อยตัวนักโทษการเมือง การยอมให้มีเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น และการเคลื่อนไหวทางการเมืองมากขึ้น ส่วนลาว-กัมพูชา มีรัฐบาลมั่นคง กำลังปรับปรุงระเบียบแบบแผนระบบราชการให้พร้อมกับการขยายตัวของการค้าการลงทุน
 
ในขณะที่ประเทศไทยมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จัดให้ไทยเรามีขนาดของจีดีพี สูงเป็นอันดับที่ 21 ในบรรดา 179 ประเทศ แม้ว่าประเทศไทยจะเคยมีวิกฤติการณ์เศรษฐกิจตกต่ำในปี 2540 แต่ก็สามารถฟื้นตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
 
แต่ทว่าหลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา ความรุนแรงและความผันผวนทางการเมือง รัฐบาลที่อ่อนแอ-อายุสั้น การบริหารประเทศด้วยระบอบอำมาตย์เฒ่า การสนับสนุนนักการเมืองเมื่อวานซืน ที่ใช้แต่ฝีปากกับฝีตีนมากกว่าใช้ฝีมือ ใช้กำลังทหารเข่นฆ่าประชาชนอย่างป่าเถื่อน นักการเมืองและข้าราชการสอพลอโกงกินรับตำแหน่งต่างตอบแทน ทำให้การบริหารงานราชการแผ่นดินเหลวแหลกเละเทะ
การทุจริตคอรัปชั่นแพร่ระบาดอย่างหนัก นักธุรกิจต้องจ่ายเงินเพิ่มพิเศษแก่ข้าราชการ-นักการเมืองที่คดโกง เป็นจำนวน 30-35% ของงบรายจ่ายและการลงทุน คิดเป็นมูลค่าสูงถึงกว่า 300,000 ล้านบาท จากงบรายจ่ายปี 2555 จำนวน 840,143.2 ล้านบาท
 
กลไกการปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นสตง. หรือปปช. มิได้มีการปราบปรามกวาดล้างอย่างจริงจังเด็ดขาด แต่กลับทำหน้าที่เป็นเพียงเครื่องมือเล่นงานฝ่ายตรงข้าม ทำให้การทุจริตคอรัปชั่น เป็นมะเร็งร้ายในระบบเศรษฐกิจ
 
อุทกภัยน้ำท่วมเมื่อ ปี2554  รัฐบาลทุ่มเงินจำนวนมหาศาลในการชดเชยเยียวยาประชาชน แต่ทว่าด้วยความขัดแย้งระหว่างพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ ทำให้การเยียวยาประชาชนในเขตพื้นที่น้ำท่วม กลายเป็นประเด็นทางการเมือง จนทำให้การจ่ายเงินเยียวยาบานปลาย กลายเป็นกระแสความไม่พอใจของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
 
ความอ่อนหัดในการบริหารจัดการด้านพลังงานแทนที่จะลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้น้ำมันราคาถูกลง เพื่อลดต้นทุนการผลิตขนส่งภาคเกษตร แต่รัฐบาลกลับลดเก็บเงินเข้ากองทุนราคาน้ำมันในส่วนของเบนซิน ทำให้กองทุนขาดรายได้เดือนละ 7,000 ล้านบาท ในที่สุดเมื่อกองทุนน้ำมันขาดสภาพคล่อง จึงไม่สามารถพยุงราคาแก๊สแอลพีจีได้อีกต่อไป ต้องประกาศลอยตัวราคาตามต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งจะส่งผลให้มีการขึ้นราคาจากกิโลกรัมละ 18 บาท เป็น 24 บาท หรือแอลพีจีขนาด 13.5 กิโลกรัม ถังละ 250 บาท จะเพิ่มขึ้นเป็น 350 บาท จะทำให้ค่าครองชีพด้านอาหารมีราคาแพงขึ้น
 
เรื่องน่ายินดีทางด้านเศรษฐกิจก็คือรัฐบาลเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300บาท หรือเพิ่มขึ้น 40% สูงสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เป็นการรักษาอำนาจซื้อของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน แต่ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาคือประสิทธิภาพการผลิตยังเพิ่มได้ไม่มากนัก เนื่องจากอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังคงใช้แรงงานไร้ฝีมือเสียมากกว่า และในส่วนนี้หันกลับไปจ้างงานแรงงานต่างด้าว แทนที่แรงงานไทย ส่วนแรงงานที่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหางานทำไม่ได้ เป็นจำนวน 152,000 คน คิดเป็น 42.33% ของจำนวนผู้ว่างงาน ซึ่งหมายถึงการสูญเสียทางด้านการศึกษา ที่ไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงาน
 
ส่วนภาคเกษตรก็ต้องพบกับภัยธรรมชาติ ความผันผวนของราคาพืชผลการเกษตร งบประมาณของรัฐได้ทุ่มเทเพื่อแทรกแซงกลไกการตลาด ด้วยการรับจำนำข้าวจะช่วยให้เกษตรกรรักษาระดับรายได้ การรับจำนำข้าวจะทำให้รัฐต้องใช้เงินงบประมาณปีละ 500,000 ล้านบาท หากการบริหารจัดการหละหลวม จะเป็นเหตุให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่นได้ง่าย
 
ปัญหาพื้นฐานภาคเกษตรมีมาช้านานแล้ว คือปัญหาการถือครองที่ดินทำกิน ชาวนาทั่วประเทศเช่านาสูงถึง 75% อีกทั้งประสิทธิภาพการผลิตต่ำ กล่าวคือชาวนาไทยปลูกข้าวตามยถากรรมได้ 448 กิโลต่อไร่ ส่วนเวียดนามปลูกข้าวได้ 862.4 กิโลต่อไร่ สูงกว่าไทย 2 เท่า
การทุ่มงบประมาณในโครงการประชานิยม ยังไม่ใช่การแก้ปัญหาที่แท้จริง ต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ ประกอบด้วย อาทิเช่น การใช้เทคโนโลยีช่วยเพิ่มผลผลิต การปฏิรูปที่ดิน การส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรสร้างอำนาจการตลาดด้วยตนเอง
 
การหลับหูหลับตาโฆษณาชวนเชื่อในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จะทำให้ทิศทางการพัฒนาด้านการเกษตรของไทยกลับหัวกลับหาง งบประมาณจำนวนมากถูกนำมาใช้ภายใต้ชื่อ “เศรษฐกิจพอเพียง” แบบผักชีโรยหน้า ก่อให้เกิดการสูญเปล่างบประมาณด้านการพัฒนาการเกษตร ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดโลก
 
ยังมีโครงการขนาดยักษ์หรือเมกะโปรเจกต์จำนวนมากที่ไปไม่ถึงไหน อืดอาด ทั้งในเรื่องสนามบินสุวรรณภูมิ การสร้างทางรถไฟรางคู่ และรถไฟความไวสูง เมื่อเปรียบเทียบกับฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซึ่งกำลังลงทุนก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง ส่วนของประเทศไทยยังทะเลาะกันไม่จบ จนไม่มีเวลาพัฒนาโครงการขนาดยักษ์ให้สำเร็จลุล่วงไปได้
 
การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้คงไม่สดใสเท่าใดนัก อีกทั้งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการกระจายรายได้แย่ที่สุด คือมีช่องว่างระหว่างคนจน-คนรวย ห่างกัน 15 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ซึ่งมีช่องว่างอยู่ราว 10 เท่า
 
ผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจ-สังคมพบว่า ครัวเรือนมีหนี้สินคิดเป็น 56.9% ของประชากรทั้งหมด โดยมีหนี้เฉลี่ย 136,562 บาทต่อครัวเรือน
 
รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณมหาศาล เพื่อผลักดันนโยบายตามที่หาเสียงไว้ ด้วยการออกพรบ.กู้เงินทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น จาก 42% เป็น 50% ของจีดีพีในปี 2556 หากเศรษฐกิจหดตัว การจัดเก็บภาษีไม่บรรลุเป้าหมาย จะนำมาซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อฐานะการคลังของประเทศได้
 
โอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะตกต่ำถึงขั้นล่มสลายมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงทีเดียว เมื่อพิจารณาจากปัจจัยทางการเมือง อันได้แก่การรัฐประหาร ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง กระบวนการยุติธรรมสองมาตรฐาน ระบบตุลาการขาดความเป็นกลาง ไม่มีความน่าเชื่อถือ ภายใต้กฎหมายที่ล้าหลัง ศาลเป็นเครื่องมือทางการเมืองและการละเมิดสิทธิเสรีภาพ การจับกุมคุมขังนักโทษการเมือง การใช้มาตรา 112 ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง นำมาสู่ความขัดแย้งทางการเมือง ดังเช่น ความขัดแย้งระหว่างศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งขยายขอบเขตอำนาจไปก้าวก่ายฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร และการยกเลิกโครงการนาซ่าสำรวจอากาศ เป็นต้น
 
ปัจจัยเสี่ยงทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองจะกลายเป็นระเบิดเวลา ทำลายล้างสังคมไทย โอกาสแห่งความฉิบหายทั้งหลายทั้งปวง กำลังใกล้เข้ามาถึงอยู่ในเร็ววันนี้

 

ความเห็น

Submitted by dk on

ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10
เศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกบรรจุเข้าไว้ภายในแผนด้วย
ทำให้ ไทยพัฒนา ไปแบบ dual track คือ พัฒนาเมือง กับ พัฒนาภาคชุมชน
หรือ อาจเรียกว่า เอาทั้งแบบเดิมตัวเลข(มหภาค) กับ แบบ พัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน กระจายรายได้ แบบประชานิยม

ปี2558 จะเปิดเสรีอาเซียน หรือ ทำเป็นเขตเศรษฐกิจเดียวกันแบบประชาคม เช่น ในยุโรปนั้น
ถ้าเราไม่พร้อม เราก็จะเสียเปรียบ เสียโอกาส ในขณะที่เพื่อนบ้านกำลังรุกคืบความพร้อม
บ้านเรา ความไม่นิ่งด้านการเมือง เป็น ปัจจัยภายในที่ทำให้ การเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ไม่คืบ
เพราะ ยังไร้ทิศทาง หรือ ชี้นำที่เป็นเอกภาพ จากระดับนโยบาย จะไปโทษใครก็ไม่ได้ ต้องโทษตัวเอง
ที่ ขัดแข้งขัดขากันเอง เพราะ อะไร ก็อย่างที่รู้ๆกัน ...เช่น การแปลกแยกของอำนาจอธิปไตย
อำนาจนอกระบบ อำนาจนิยมในระบบราชการ ช่องว่างระหว่างคนรวยคนจน เป็นต้น

Submitted by ronaldo on

- "รัฐบาลเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท" ได้แค่ 6 จังหวัด แต่ของแพง 76 จังหวัด แถมมีการเลิกจ้างอีกเยอะแยะ
- นโยบายจำนำข้าว ไม่มีชาวนาคนไหนขายข้าวได้เกวียนละ 15000 บาทอย่างที่โม้ แถมตอนนี้ข้าวส่งออกลดลง 40% เพราะทั้งราคาและคุณภาพสู้อินเดียเวียดนามไม่ได้แล้ว
- รัฐบาล พท หาเงินเก่ง ไม่ต้องกู้? แต่กู้ไปแล้ว 3 แสนล้าน และจะกู้อีก 2 ล้านล้าน แถมจะขอใช้งบโดยไม่ผ่านสภาฯ หาเงินเก่งจริงๆ กู้ๆๆๆๆๆ ลูกอีช่างกู้
- กู้เงินมา 3 แสนล้านเพื่อแก้น้ำท่วมระยะยาว โดนจะเอาไปสร้างเขื่อน TOR ไม่ยอมเปิดให้ ปชช รับรู้ ทั้งที่ผลการศึกษาอย่างเขื่อนแม่วงษ์ รับน้ำได้แค่ 1% ของปริมาณน้ำที่เคยท่วม แต่ยังดึงดันจะสร้าง ทั้งที่มันจะทำลายป่ามหาศาล
- ราคายาง ราคาข้าว ราคาสับปะรด ราคาลำไย ราคาหอม ฯลฯ ตก แก้ปัญหาโดยการอนุมัติงบมาจำนำราคา แบบนี้ไม่ต้องมี รมต เงินเดือนเป็นแสนมาบริหารหรอก สามล้อมันก็ทำได้ ไม่ต้องใช้ความสามารถอะไร ผลที่ได้คือหนี้เน่าๆ ที่คนไทยต้องรับกรรม ธกส ก็หมดสภาพคร่องไปแล้ว จากนโยบายจำนำข้าว หลังจากที่ไปกู้มา 1 ล้าน แล้วกำลังจะกู้เพิ่มอีก
- "งบประมาณจำนวนมากถูกนำมาใช้ภายใต้ชื่อ “เศรษฐกิจพอเพียง” แบบผักชีโรยหน้า ก่อให้เกิดการสูญเปล่างบประมาณด้านการพัฒนาการเกษตร" ไอ้อำมาตย์เฒ่า อีกแล้ว “เศรษฐกิจพอเพียง” หลักการมันไม่ดี หรือคนเอาไปปฎิบัติมันชั่วกันแน่
- "เมื่อพิจารณาจากปัจจัยทางการเมือง อันได้แก่การรัฐประหาร ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง...brabrabra" โยนขี้ให้ฝ้ายตรงข้ามอย่างเดียว ไอ้ตัวก่อความวุนวายทุกวันนี้คือ พรบ ปรองดอง กับแก้รัฐธรรมนูณ ไม่ได้แก้วันนี้มันจะตายรึไง แล้วไอ้ที่ไปขอกู้เงิน 3 แสนล้าน 2ล้านล้าน มาบริหารประเทศ ศาลมันก็ให้ทำ ไม่เห็นมันไปขัดอะไร แล้วเมิงจะไปโทษคนอื่นทำไม เมิงนั่นแหละสร้างความขัดแย้งขึ้นมา จะทำให้รัฐบาลล่ม ไม่ใช่ไอพวกนั้นหรอก

สรุป ปัยหาประเทศ มาจากอำมาตย์เฒ่า คนเดียว

Submitted by somone on

สรุป ปัยหาประเทศ มาจากอำมาตย์เฒ่า คนเดียว
ถูกต้องแล้ว ปัญหาทั้งหมดล้วนมาจากอำมาตย์เฒ่า คนเดียว ถ้าคุณยังมองไม่ทะลุถึงปัญหานี้
ยังคิดว่าเป็นปัญหาที่จุดอื่นๆ โดยโยนไปให้คนที่คุณไม่ชอบ เป็นไปได้อย่างแน่นอนที่เศรษฐกิจไทยคงล่มสลาย
กริซจะกลายเป็นเรื่องจิ๊บๆ
ในเมื่อคนส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม คนส่วนน้อยคิดว่าเขาเท่านั้นรักประเทศจริง
จะให้คนส่วนใหญ่ทั้งหลายมาเสียสละเพื่อคนส่วนน้อยเหรอ มันเป็นไปไม่ได้
ก็คงต้อง let it be ปล่อยให้มันเป็นไป
พังมันก็ต้องพังไปทั้งหมดด้วยกัน

Submitted by lucky on

บทความอย่างนี้ ให้นักเศรษฐศาสตร์ เข้าเขียนดีกว่า มังครับ ท่านเขียนวุ่นวายสบสนเหลือเกิน เล่นต้ังธงก่อนเขึยน อยากบอกว่า คมช หรือ ประชาธิปัตย์ ทำเศรษฐกิจบ้านเมืองล่มสลาย เขียนใ้ห้มันดูเนียนก็นี่หน่อยครับ

Submitted by คนดู on

เห็นด้วยว่าเป็นบทความที่สับสน แบบจับแพะชนแกะ มุ่งแต่จะโจมตีฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองจนหาตรรกะไม่ได้
กล่าวหา "เศรษฐกิจพอเพียง" อย่างลอยๆ
แต่ไม่แตะนโยบายประชานิยมที่พรรคเพื่อไทยอาศัยเป็นเครื่องมือในการล่อหลอกคะแนนเสียง
เพื่อขึ้นสู่อำจสักแอะเดียว
ทั้งๆที่ประชานิยมที่ถูกนำมาใช้อย่างถล่มทลายนี่แหละ
คือหายนะทางเศรษฐกิจของชาติตัวแม่

ถ้าตามืดบอดแล้วหลงว่า "ตาสว่าง" อย่างนี้ละก็
อย่าเขียนออกมาอีกดีกว่าครับ

Submitted by blackraven on

เห็นด้วยกับหลายคอมเม้นด้านบนนะครับ

อ่านไปก็ขำไป แรกเริ่มขึ้นบทความเหมือนว่าจะดี แต่เอาเข้าจริงกลับเป็นการเขียนใส่ร้ายฝ่ายตรงข้ามเพียงอย่างเดียวโดยไม่คิดถึงเหตุและผล

ยกตัวอย่างเรื่องน้ำท่วมนะครับ เอาแค่ของลอยน้ำที่ดอนเมืองก็เห็นกันชัดๆแล้วว่าการบริหารจัดการใครมันแย่ ทั้งที่มีของแจกมากมายแต่รัฐบาลที่ใครบางคนบอกเป็นรัฐบาลเพื่อประชาชนกลับอมของไม่แจกจนของมันเสียหาย
(มุมมองฝ่ายตรงข้ามก็มองได้ครับว่าจ้องแต่จะแจกพวกตนเองจนลืมไปว่ามีคนธรรมดาเดือดร้อนอีกมาก) เรื่องนี้เห็นได้ชัด อีกอย่างคือการให้ข่าวสารประชาชนไม่หมด ไม่ครบถ้วน

ปกปิดความผิดตนเอง และประเมินสถานกา่รไม่เป็นบอกคุมได้แต่ทำนิคมพังไม่เป็นท่า และไม่มีใครออกมารับผิดชอบแม้แต่น้อย ยังนั่งหน้าสลอนเป็นรมตเหมือนเดิมทุกคน ลองเป็นพรรค ปชปสิครับ พวกเสื้อแดงได้ออกมาเรียกร้องแล้วให้รับผิดชอบลาออกทั้งนายกและรมตที่ดำเนินการ

เรื่องน้ำท่วมครั้งนี้โรงงานหลายโรงงานได้ยื่นเรื่องขอให้รัฐบาลนี้ช่วยเหลือโดยการยืดเรื่องค่าแรง300บาทออกไปก่อน แต่รัฐกลับยืนกราน ทำให้บางโรงงานต้องมีการไล่คนออกส่งผลให้คนตกงานมากมาย แต่เรื่องแบบนี้ก็เงียบไปอีกเช่นกัน ทำดีมากครับรัฐบาลประชาชนทำให้คนตกงานได้อีก โดยที่ประชาชนเหล่านั้นก็อยากได้งานทำ แต่ก็มองแต่ประโยชน์ส่วนตนอยากได้ค่าแรง300บาทด้วยเพราะนโยบายของรัฐบาล สุดท้ายโรงงานที่เสียหายมากมายมหาศาล เงินทุนไม่หนาพอก็เจ๊ง (ส่วนเรื่องช่วยยืดระยะดอกเบี้ยเงินกู้อย่าเอามาพูดดีกว่าครับ เพราะมันช่วยได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โรงงานเหล่านี้เสียหายอย่างหนักจากน้ำท่วมของพังมากมายยังมาเจอขึ้นค่าแรงอีกมันก็พังกันเป็นแถบล่ะครับ)

ย้อนกลับไปเรื่องการส่งออกอีกนิด เรื่องนี้ก็เช่นกันมีการให้ข้อมูลผิดพลาดได้อีก มั่นใจว่าส่งออกได้ทั้งที่ความเป็นจริงมันหดตัว ส่งออกไปยุโรปได้น้อยลง ข้อมูลมีการบิดเบือนหรือบอกไม่หมดตลอด ผู้ส่งออกพากันย่ำแย่แต่ไม่มีใครกล้าพูด

ส่วนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงก็อย่างที่่หลายคนรู้ครับ หลักการดี แต่คนที่นำไปเผยแพร่ และนำไปใช้จริงอย่างตัวรัฐบาลนั่นแหละครับที่ทำผิด เรื่องแบบนี้มันขึ้นกับนโยบายรัฐทั้งแท่ง อย่าโยนที่แนวคิดครับ ไม่รู้ว่าผู้เขียนรู้จัก ไคเซน มั้ยครับ เป็นหลักการที่ดี เกิดที่ญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นใช้แล้วประสบความสำเร็จในทางธุรกิจ แต่ แนวคิดนี้มาตายที่เมืองไทยครับ เพราะไม่ว่าโรงงานไหนก็ตามนำมาใช้แล้วก็ยังได้ไม่ดีเท่าที่ญี่ปุ่น กรณีนี้เหมือนกันครับ

แนวคิดดี ใช้ว่าคนทั่วไปจะนำไปใช้ได้ดี และขึ้นอยู่กับคนเผยแพร่และถ่ายทอด รวมถึงการสนับสนุนจากรัฐบาล อย่าโทษแนวคิดครับ แยกให้ออกว่าอันไหนแนวคิด อันไหนเป็นผลจากการกระทำของหน่วยงานรัฐ

ส่วนเรื่องโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ เรื่องส่วนใหญ่ก็มาจากรัฐบาลนี้และคนร่วมก๊วนทั้งนั้น ตั้งแต่เริ่มจนถึงตอนนี้และที่ชัดๆก็รันเวย์พังต้องซ่อมทั้งที่ใช้ไม่นาน เทียบกับดอนเมืองสิครับน่าจะมองกันเห็นภาพได้ง่ายๆว่าต่างกันแค่ไหน และจริงๆแล้วพื้นที่นั้นก็พื้นที่สีแดงทั้งนั้น ไม่มีใครออกมาต้านได้อีกแล้วครับ กินกันให้อิ่มแบบเงียบๆไปเถอะอย่าเอามาอ้างว่าช้าเพราะฝ่ายค้านเลยครับ

ส่วนเรื่องกระจายรายได้ตอนนี้นโยบายของรัฐบาลนี้ก็ไม่เห็นจะส่งเสริมตรงไหน มัวแต่สนใจแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้กฏหมายที่ไม่เกี่ยวข้องกับปากท้อง

และสุดท้ายอย่าอ้างครับว่ารัฐมีความจำเป็นต้องใช้งบมากมายมหาศาลเพราะงบที่รัฐเอาไปใช้นั้นก็ลงไปแต่พวกพ้องทั้งนั้น แค่เงินชดเชยเยียวยาผู้ร่วมชุมนุมที่มากมายมหาศาลผมว่ามันก็แย่แล้วครับ (แน่นอนว่าจุดนี้อยากจะช่วยก็ช่วยกันไปแต่จริงๆมันควรจะมีลิมิตครับ และแน่นอนว่าชีวิตคนมันประเมินค่าไม่ได้ แต่การที่จะเอาเงินไปช่วยถึง7ล้านกว่าบาทและรายอื่นๆอีกมากมายมหาศาลผมว่ามันก็ไม่เหมาะสม เทียบกับทหารและตำรวจที่ตายในหน้าที่แล้วดูมันไม่สมเหตุสมผลเลยแม้แต่น้อย อย่าบอกนะครับว่าชีวิตทหาร ตำรวจไม่มีค่า เพราะพวกเขาเหล่านั้นก็คนเหมือนกัน ไม่งั้นผมว่านปชก็ไม่มีความยุติธรรมละครับสองมาตรฐานแบ่งชนชั้นให้ค่าการตายของทหารตำรวจน้อยกว่าประชาชนธรรมดา)

อ้อ เกือบลืมเรื่องสุดท้ายครับ นโยบายห่วยๆที่ตัวคุณเองก็พูดเองเป็นนโยบายของรัฐบาลนี้ชัดๆคือการเลิกเก็บเงินเข้ากองทุนเอาใจประชาชนเพื่อไปลดค่าน้ำมันให้ถูกเพียง3เดือน แต่เดือดร้อนกันเป็นปี รัฐบาลนี้ก็ผิดเต็มๆแต่บทความก็ไม่ระบุชี้ชัด น่าแปลกมั้ยล่ะครับลดเงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมันเบนซิน ผมเลยงงว่ารัฐบาลนี้เพื่อประชาชนหรือคนรวยกันแน่ ทั้งที่เบนซินก็อย่างที่รู้ว่าคนมีเงินใช้โดยเฉพาะเบนซิน95 ในขณะที่ดีเซลนั้นเพื่อการเกษตรแท้ๆแต่กลับไม่ช่วยพยุงราคา ปล่อยให้ชาวนาที่ใช้ความเหล็กเติมกันแบบเลือดซิบๆ (เบนซิน95 หรือโซฮอล95ส่วนใหญ่ก็รถคนมีเงินทั้งนั้นแหละครับ) และยิ่งการจะปล่อยค่าก๊าซหุงต้มลอยตัวอีก คิดง่ายๆครับ คนจนและคนรายได้ปานกลางรายจ่ายเพิ่มขึ้นกระจายทั้งค่าน้ำมัน ค่าก๊าซหุงต้ม แล้วแบบนี้เมื่อไหร่จะลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับจนได้ล่ะครับ

สุดท้ายจริงๆอย่าลืมโครงการแทบเล็ตด้วยนะครับ น่าจะช่วยคนให้หายจนได้อีกเยอะเลยมั้งครับโครงการนี้ ได้ี่โรงเรียน แล้วเด็กที่ได้ไปเรียนมันจะมีผลประโยชน์มากน้อยแค่ไหน หรือจะส่งเสริมให้เด็กเรียนแย่ลงไปอีก แล้วไหนจะโรงเรียนที่จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มทั้งค่าไฟค่าเน็ท เรื่องแบบนี้มันโยงมากมายเพิ่มค่าใช้มหาศาลให้โรงเรียนทุกที่โดยกลับไม่ได้ส่งเสริมให้เด็กฉลาดมากขึ้นแม้แต่น้อย แต่ตรงข้ามกลับจะส่งผลเสียมากกว่าซะด้วยซ้ำ รวมทั้งเพิ่มงบที่ยังไม่จำเป็นกับประเทศชาติอีก (ผมไม่ได้บอกว่าแทบเล็ตไม่ดีไม่เหมาะกับการศึกษานะครับ แต่ตอนนี้ผมว่าบ้านเรายังไม่พร้อมครับ ทั้งศักยภาพเน็ท ทั้งโรงเรียนตามต่างจังหวัด น่าเอางบไปทุ่มด้านอื่นมากกว่าเพื่อให้ชีวิตประชาชนดีขึ้น รอวันที่เรามีศักยภาพตรงจุดเหล่านี้พร้อมจริงค่อยใช้ก็ยังไม่สาย เพราะอย่างที่บอกครับมันไม่ได้ช่วยให้เด็กฉลาดขึ้นครับ) อ้อ ตัวเลขกลมๆที่ผมก็ยังงงกับโครงการนี้คือมีการนำเข้าล็อตแรกมา59000เครื่อง โดยมีการสำรวจ 500เครื่องพบว่าเสีย 7เครื่อง ย้ำว่า 7นะครับเหมือนน้อยนะครับ แต่ลองสมมติเล่นๆดูก็ได้ว่าถ้าทุก500เครื่องจะเสียซัก5เครื่องนั่นหมายความมีโอกาสพบเครื่องเสียถึง 590เครื่อง สมมติราคาเครื่องละ20000บาท(จากงบประมาณจริงที่เคยเห็นเหมือนจะแพงมากกว่านี้ด้วยนะครับ หุๆ) นั่นคือ11,800,000 บาท นี่คืองบที่เสียหายไปนะครับ ไม่แน่ใจว่ารัฐจะส่งเคลมได้ฟรีมั้ย หรืองบเครื่องเสียนี่จะหายเข้ากระเป๋าใคร ตรงจุดนี้ก็ไม่มีการชี้แจงใดๆนะครับ

และจากข่าวล่าสุดที่แจกเครื่องแทบเล็ตล็อตแรก ก็ทำให้ผมแปลกใจได้อีกเล็กน้อยคือ จากเนือ้ข่าวบอกแจกไป55,000 เครื่อง ทั้งที่ล็อตแรกสั่งเข้ามา59,000เครื่องอย่างที่บอก แล้วอีก4พันเครื่องมันหายไปไหนล่ะครับ หรือจะเอาไปแจกใครก็ไม่มีการชี้แจง และตกลงมีเครื่องเสียทั้งหมดกี่เครื่องก็ไม่มีใครบอกได้อีก เรื่องพวกนี้ผมล่ะแปลกใจที่เหล่าคนดีทั้งหลายของนปช และเสื้อแดงไม่คัดค้านไม่ออกมา่ต่อว่า ทั้งที่มันเป็นเรื่องที่ไม่ได้ช่วยให้ปากท้องชาวบ้านตาดำๆดีขึ้นเลยแม้แต่น้อยแถมยังมีแนวโน้มโกงกินกันอีกเป็นล้านบาท แถมมันยังก่อให้ประเทศเกิดหนี้และค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นขึ้นอีกที่ต้องไปสั่งซื้อของจากจีนในสภาวะที่การส่งออกบ้านเรากำลังห่วยแตกขนาดนี้นะครับ

สามปีแล้วพ่อไม่ได้กลับบ้าน

หมายเหตุ -  ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข หรือ ไทบุตรชายของสมยศ พฤกษาเกษมสุข อ่านบทความของพ่อชิ้นนี้ภายในงานเสวนา “การปฏิรูปกระบวนการประกันตัวของผู้ต้องหาคดีความมั่นคงของชาติ” ที่จัดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 3 ปีแห่งการถูกคุมขังของสมยศ จัดที่มหาวิทยาธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2557