Skip to main content


คำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2557 ที่ผ่านมา ได้ยกฟ้องพล.ต.ท.สมคิด บุญถนอมและพวก รวม 5 คนในคดีฆาตกรรมอุ้มฆ่านายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี นักธุรกิจชาวซาอุดิอาระเบีย ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างความร้าวฉานในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับซาอุดิอาระเบีย นับตั้งแต่กรณีโจรกรรมเพชรซาอุอันโด่งดังเท่านั้น แต่ยังทำให้กระบวนการยุติธรรมไทยมัวหมองตกต่ำ ประการแรก คดีนี้ใช้เวลายืดเยื้อถึง 20 ปี จนคดีเกือบหมดอายุความแล้ว ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษจึงรื้อฟื้นคดีขึ้นมาใหม่ แต่แล้วศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นตำรวจทั้งหมด โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์ โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นที่มีการเปลี่ยนตัวองค์คณะผู้พิพากษา ทั้งๆที่ผู้พิพากษาคนเดิมไต่สวนคดีนี้มาถึง 3 ปีแล้ว ทั้งนี้นายธงชัย เสนามนตรี อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาชี้แจงว่าการเปลี่ยนตัวผู้พิพากษามีกฎหมายรองรับ ทำไปตามอำนาจในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามรัฐธรรมนูญ

เหตุผลโดยรวมที่ศาลใช้ในการพิพากษาคือพยานหลักฐานยังไม่อาจรับฟังได้อย่างมั่นคงเพียงพอ โดยเฉพาะกับข้อกล่าวหาที่มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต อย่างไรก็ตาม นายสมศักดิ์ ผลส่ง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญา อดีตเจ้าของสำนวนคดีฆ่านายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี ซึ่งถูกเปลี่ยนตัวระหว่างทำคำพิพากษาพอดี แสดงความคิดเห็นว่า “คดีนี้มีเหตุจูงใจในการประทุษร้ายอย่างไร เพราะมีพยานหลักฐานชัดเจน ฟังได้อย่างมั่นคง โดยเฉพาะพยานบุคคลมีทั้งนายชะลอ เกิดเทศ  พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง นายอารีย์ วงศ์อารยะ และพยานอื่นอีก 20 ปาก ถึงความเชื่อมโยงต่างๆ คดีนี้เป็นคดีฆาตกรรม เมื่อมีพยานวัตถุ พยานแวดล้อม รับฟังได้อย่างมั่นคงแล้ว แต่พอจะเขียนคำพิพากษา กลับมีคำสั่งพักราชารกระทันหัน เป็นการเปลี่ยนตัวผู้พิพากษาอย่างง่ายๆ คือไม่ให้คนที่นั่งสืบพยานมาเองกับมือและรู้ข้อเท็จจริงทุกอย่าง เขียนคำพิพากษา มันก็จบ

การเปลี่ยนตัวผู้พิพากษากะทันหันย่อมก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในความน่าเชื่อถือของการตัดสินคดีต่างๆ เช่นเดียวกันกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในกรณีของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ศาลนัดสืบพยานฝ่ายโจทก์และจำเลยจนแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2555 นัดตัดสินคดีวันที่ 19 ธันวาคม 2555 แต่ในวันดังกล่าว มีการแต่งตั้งผู้พิพากษาชุดใหม่ จึงเลื่อนการตัดสินมาวันที่ 23 มกราคม 2556

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน แต่ในแง่การดำเนินคดีอาญาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันแบ่งออกเป็นระบอบกล่าวหากับระบบไต่สวน ซึ่งมีข้อดีและจุดอ่อนแตกต่างกัน ประเทศไทยใช้ระบบกล่าวหา ซึ่งเปิดโอกาสทั้งฝ่ายกล่าวหาและฝ่ายถูกกล่าวหาหรือฝ่ายโจทก์และจำเลยได้นำเสนอหลักฐานของตนเองอย่างเต็มที่ การดำเนิคดีแบบนี้ ทนายความของโจทก์และจำเลยจะมีบทบาทในการนำพยานเข้าสู่กระบวนการพิจารณาไต่สวน ผู้พิพากษามีบทบาทควบคุมกระบวนการค้นหาความจริงจากพยานที่นำเสนอ ระบบกล่าวหาแบบนี้ คนรวยจะได้เปรียบคนจนซึ่งไม่เงินไม่มีเวลาในการต่อสู้คดีและขาดโอกาสในการตระเตรียมหลักฐานพยานที่ดีพอ คนจนมักเสียเปรียบในกระบวนการไต่สวนอยู่เสมอ และมักจะถูกเลือกปฏิบัติในด้านสิทธิประกันตัว ทำให้ไม่ขอสู้คดีโดยเลือกที่จะยอมรับสารภาพ ในหลายกรณีด้วยกัน ผู้บริสุทธิ์กลายเป็นแพะรับบาปไปอย่างง่ายดาย

ขณะเดียวกัน ตำรวจซึ่งรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานรวมทั้งพนักงายอัยการย่อมมีบทบาทการนำเสนอพยานหลักฐานต่อศาล ในทิศทางที่มีผลต่อการพิสูจน์ความจริงและมีอิทธิพลต่อการใช้ดุลพินิจของศาลได้เช่นเดียวกัน

ระบบการไต่สวนจากการนำเสนอพยานในศาลมีหลักการที่สำคัญคือการสืบพยานเป็นหน้าที่ของผู้พิพากษาจะมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนตนไม่ได้ เพื่อให้ผู้พิพากษาพิจารณาวัตถุพยานว่ามีความหน้าเชื่อถือเพียงใด (ดร.หยุด แสงอุทัย) เป็นผู้รับฟัง ทำบันทึกคำให้การตั้งแต่ต้นจนเสร็จสิ้นการสืบพยานทั้งหมด หากผู้พิพากษาผู้ไต่สวนในคดีมีเหตุให้ไม่สามารถพิจารณาการไต่สวนนั้นได้ ก็มักจะต้องเลื่อนวันไต่สวนออกไป ดังนั้นผู้พิพากษาซึ่งไม่ได้เข้ามาเป็นผู้ไต่สวนโดยตรง เพียงแต่มานั่งอ่านสำนวนเอกสาร แล้วตัดสินคดีโดยมิได้เป็นบุคคลเดียวกันตลอดคดี จะทำให้กระบวนการพิจารณาคดีเสียไป เพราะผู้พิพากษาคดีไม่ได้ชั่งน้ำหลักพยานด้วยตนเอง จึงไม่อาจทราบได้ว่าพยานหลักฐานตามที่ปรากฎในสำนวนนั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงใด ซึ่งอาจมีผลให้การค้นหาความจริงคลาดเคลื่อนได้ (ณรงค์ ใจหาญ : นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์)

นายสมศักดิ์ ผลส่ง ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนอุ้มฆ่านายอัลรูไวลี ซึ่งเป็นผู้สืบพยานเองมา 3 ปี เปิดเผยว่า ระหว่างการพิจารณาเคยมีการแทรกแซงจากภายนอก มีการขอเข้าพบตน รวมทั้งร้องขอให้เปลี่ยนตนออก ไม่ให้นั่งพิจารณามาแล้ว จู่ๆก็มีการตั้งเรื่องให้มีการตั้งกรรมการสอบสวนตน ใช้เรื่องปล่อยตัวชั่วคราว สมัยที่ตนเป็นหัวหน้าศาลจังหวัดสระบุรีเมื่อ  5 ปีก่อนว่ามีการปล่อยตัวโดยผิดระเบียบ ทั้งๆที่ไม่มีผู้ร้อเรียนในเรื่องดังกล่าว

การใช้ดุลพินิจของศาลในหลายกรณีกลายเป็นกระแสการวิพากษ์วิจารณ์หรือทำให้สาธารณชนค้างคาใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีการเมือง มักปรากฏให้เห็นการวินิจฉัยแบบสองมาตรฐาน สะท้อนให้เห็นถึงความตกต่ำในมาตรฐานของกระบวนการยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง

อำนาจล้นฟ้าจากดุลพินิจที่ไร้มาตรฐานและการวินิจฉัยคดีแบบสองมาตรฐานหรือการเลือกปฏิบัติได้กัดกร่อนความเป็นกลางและความน่าเชื่อถือของศาลไทย เมื่อไม่มีความยุติธรรมสังคมนั้นย่อมไม่สงบสันติสุข

ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทยตั้งแต่ที่มาของอำนาจตุลาการทีต้องมาจากประชาชน การใช้ระบบลูกขุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริง การจำกัดอำนาจดุลพินิจของผู้พิพากษาไม่ให้ละเมิดสิทธิเสรีภาพของงประชาชน การทำให้ตุลาการไม่ไปแทรกแซงฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ตลอดจนการให้ตุลาการแสดงบัญชีทรัพย์สินแบะถูกตรวจสอบความร่ำรวยผิดปกติ เพื่อป้องกันการทุจริตในวงการตุลาการ การสร้างกลไกคชตรวจสอบจริยธรรมผู้พิพากษา ฯลฯ

หากปล่อยให้ศาลไทยเป็นเหมือนเช่นทุกวันนี้ ในอีกไม่นานเชื่อว่าจะเหลือไว้แต่ศาลเตี้ยที่กลายเป็นกลียุคในที่สุด

 

10 เมษายน 2557

บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
หมายเหตุ -  ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข หรือ ไทบุตรชายของสมยศ พฤกษาเกษมสุข อ่านบทความของพ่อชิ้นนี้ภายในงานเสวนา “การปฏิรูปกระบวนการประกันตัวของผู้ต้องหาคดีความมั่นคงของชาติ” ที่จัดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 3 ปีแห่งการถูกคุมขังของสมยศ จัดที่มหาวิทยาธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2557
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
งาช้างไม่งอกจากปากสุนัขฉันท์ใด การปฏิรูปไม่อาจงอกมาจากพวกปฏิกูลการเมืองที่กำลังปิดกรุงเทพ นำความหายนะมาสู่สังคมไทยในขณะนี้
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 “พวกเราใช้ชีวิตบั้นปลายในเรือนจำก็เพราะเราคัดค้านแนวคิดการพัฒนาอย่างแบ่งแยก ซึ่งทำให้เรากลายเป็นคนต่างด้าวในประเทศของเราเอง”