Skip to main content

แปลโดย ... สมยศ  พฤกษาเกษมสุข

แปลจาก The  Economist, 4 ส.ค. 2012
 
 

ลักษมี  ซีกัล  (ร้อยเอกลักษมี) หมอ และนักต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินเดีย  มรณกรรมเมื่อวันที่  23 กรกฎาคม  (อายุ  97  ปี) 

เมื่อเธอย้ายเข้ามา  เหมือนนกเริงร่าโผบิน  บริเวณรอบ ๆ คลินิกเช่าขนาดกระจิดริดในเขตอุตสาหกรรมกานเปอร์ในแถบภาคเหนือของอินเดีย  ลักษมี  ซีกัลป์ (Lakshmi  Sehgal) ทำให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจในมือของเธอ  สองแขนบอบบาง แต่ว่ามั่นคง  นิ้วน้อยของเธอลูบไล้ไปบนท้องป่องของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ สัมผัสได้ถึงการเต้นของชีพจร หรือหยั่งรู้ถึงบาดแผลของคนบาดเจ็บ
 
น้องสาวของลักษมี กล่าวว่า เธอมีเทคนิคทำให้มั่นใจได้เสมอ สองมือนี้เคยบีบนวดแขนขาของร่างกายอันผอมกร่องของผู้อพยพชาวบังคลาเทศ  และยังได้ช่วยบรรเทาบาดแผลไฟไหม้ที่ตาของเหยื่อระเบิดในโรงงานสารเคมีที่เมืองโบฟาล (Bhopal)
 
สองมือนี้แหละที่สามารถลั่นไกปืนพก (Revolver) และพร้อมที่จะแกะสลักลูกระเบิดก่อนจะเขวี้ยงออกไป  สองมือนี้เช่นกันที่ใช้สำหรับเปลี่ยนรังกระสุนปืนทอมมี่ (Tommy Gun) และกวัดแกว่งดาบ มือทั้งสองข้างของเธอมีทั้งทักษะรักษาคนไข้ แต่ก็เป็นมืออำมหิตเหมือนกับผู้ชายบางคน สำหรับหมอลักษมีได้รับการฝึกฝนเคียงข้างผู้ชายที่พร้อมจะกลายเป็นเครื่องจักรสังหาร จากปี 1943 ถึง ปี 1945 ในเขตป่าลึกในสิงคโปร์ และพม่า เธอคือคนสั่งการกองทัพแห่งชาติอินเดียโดยมีเป้าหมายที่จะโค่นล้มผู้นำกองทัพชาวอังกฤษ
 
หน่วยทหารหญิง “จันทร์ศรี” จัดตั้งโดย ซับฮาส  จันทรา โบส ผู้นำการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดีย เป็นหน่วยทหารสำหรับผู้หญิงแห่งแรกของเอเชีย ชื่อหน่วยนี้ตั้งไว้เป็นเกียรติประวัติของผู้นำการต่อต้านอังกฤษ คือ นางซีปอย มูทินี่ (Sepoy  Mutiny) หญิงแม่หม้ายลูกติดซึ่งตัดสินใจทิ้งชุดสาหรี (เสื้อผ้าสำหรับสตรีอินเดีย) มาสวมใส่กางเกงเพื่อกระโจนสู่สนามรบ สำหรับหมอลักษมีเป็นอีกคนหนึ่งซึ่งมีลักษณะแก่นแก้ว ห้าวหาญแบบผู้ชาย (Tom Boy) แต่งงานตั้งแต่ยังเด็ก  พาดโผน ขี่ม้า และขับรถ ผู้ซึ่งขว้างทิ้งชุดเสื้อผ้าของต่างชาติลงบนกองเพลิงของความคิดชาตินิยม (Nationalist) คือแบบอย่างหญิงแกร่งที่ไม่มีสิ่งใดต้านทานได้ (Irresistible)
เช่นเดียวกันกับโบส ที่ไม่อาจต้านทานได้ เธอเจอกับ “นีทาจิ” ( Netagi) ครั้งแรกเมื่ออายุ 14 ปี ในปี 1928 เมื่อแม่ของเธอซึ่งเป็นนักต่อสู้อีกคนหนึ่งพาเธอไปที่นครกัลกัตตา เข้าร่วมประชุมสภาพของพรรคการเมือง เขาก้าวเดินในชุดเครื่องแบบอยู่แถวหน้าของกลุ่มอาสาสมัครของพรรค ด้วยท่าทางแข็งขันอย่างกล้าหาญ แว่นตาที่สวมใส่ดูคล้ายนกเค้าแมว ต้องแสงแดดส่องประกาย  15 ปีต่อมาเมื่อเธอต้องหนีไปอยู่สิงคโปร์กับคู่รักคนใหม่ เพื่อจัดตั้งคลีนิคสำหรับรวมกลุ่มผู้หญิงอินเดียให้ร่วมกันต่อสู้ตามวัตถุประสงค์คือการเชื่อมโยงกับญี่ปุ่น บุกอินเดีย ผ่านพม่า และยึดเมืองหลวง เธอได้เลื่อนยศพักเอก ถึงแม้จะเรียกเธอในยศร้อยเอกก็ตาม เธอได้บันทึกเสียงร้องเพลงของกองทัพที่ชื่อว่า ชาโลดีลี (Chalo  Dilli) บนหนทางสู่เดลลี
 
ในฐานะที่เป็นคนพื้นบ้านจาก มาดราส (ตอนนี้เป็นเจนไน : Chennai) ซึ่งเป็นต้นเสียงจังหวะเพลงของชาวทมิฬ เธอคุ้นเคยกับอากาศร้อน แต่ว่าไม่ถึงกับร้อนชื้น เธอใส่ชุดสีกากีที่ชุ่มไปด้วยเหงื่อทุกวันซึ่งทรมานมาก อย่างไรก็ตามเธอตัดเล็บตามแบบแฟชั่นทันสมัย และใช้แสดงความเคารพกับแว่นกันแดดสไตล์ทันสมัย กองทหารที่เธอสั่งการส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยรุ่น เป็นชาวไร่สวนยางชาวมาลายัน แรกแย้มระริกระรี้ และขี้อาย พวกเขาได้รับการฝึกฝนอย่างหนัก แต่สำหรับเธอแล้วต้องเจอกับสภาพคับข้องใจอย่างมากเพราะทำหน้าที่รักษาพยาบาล การเคลื่อนไหวของโบสสิ้นสุดลงในปี 1945 ใช้เวลากว่า 23 วันในการถอนกำลังกลับผ่านป่าเขาลำเนาไพรในช่วงมรสุมฝนตกหนัก ผู้นำกองทหารดูแลด้วยความกระวนกระวานใจต่อทหารหญิง และครั้งหนึ่งร้อยเอกลักษมีได้มีโอกาสทำหน้าที่เป็นหมอรักษาบาดแผลพุพองที่เท้าของผู้นำกองทหาร
 
ฝันถึงอิสรภาพของผู้หญิง

มองย้อนหลัง เธอรู้สึกว่าการต่อสู้เพื่ออิสรภาพทั้งหมดที่ผ่านมาเกิดความผิดพลาด กำแพงกั้นถูกทำลาย และความทันสมัยไล่ตามหลัง อานุภาพเงินตราได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่หลงเหลืออยู่ การเป็นคนพูดตรงไป ตรงมา เป็นนักปฏิวัติ เธอปฏิเสธอุดมคติเพ้อฝันสำหรับการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินเดีย ในฐานะที่เธอเป็นผู้หญิงคนเดียวที่อยู่ในคณะกรรมการบริหารเพื่อการปลดปล่อยอินเดีย เธอปรารถนาที่จะยกเลิกประเพณีการแต่งงานของเด็ก การวางสินสอดแต่งงาน และการห้ามหญิงหม้ายแต่งงานใหม่ เธอต้องการให้ผู้หญิงมีโอกาสเหมือนเธอ ได้รับการศึกษา ได้รับการสนับสนุนด้วยตนเอง นอกจากนี้เธอหวังว่าอินเดียจะได้เลิกแบ่งแยกกันเสียทีระหว่างคนจนกับคนรวย หญิงกับชาย วรรณะและศาสนา เธอจะรีบเร่งช่วยเหลือประชาชน นำเสื้อผ้าหยูกยาไปให้ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหน นับถือศาสนาอะไร
 
เมื่อนางอินทิรา คานธี ถูกฆาตรกรรมในปี 1984 โดยชาวซิกส์ เธอใช้ร่างตัวเล็กของเธอช่วยชาวซิกส์ที่เป็นเจ้าของร้านค้าริมถนน  เมื่อสุเหร่าอโยธยา (Ayodhya  Mosque) ถูกทำลายในปี 1992 เธอประณามพวกฮินดูที่ออกมาเริงระบำด้วยความดีใจ
 
ตอนเป็นเด็กหญิง เธอสนใจลัทธิคอมมิวนิสต์ เธอได้อ่านหนังสือเรื่อง ดาวแดงเหนือแผ่นดินจีน (Red Star over Chaina) และสนทนาตลอดคืนกับผู้หญิงซึ่งศรัทธาในลัทธิคอมมิวนิสต์กลุ่มแรกของอินเดีย ในปี 1971 ลูกสาวของเธอสุพาชินี (Subhashini) เข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มลัดทธิมาร์กซ์ซึ่งเป็นสาขาพรรค เธอรู้สึกเหมือนได้อยู่บ้านของตนเองด้วยแรงกระตุ้นจากจิตใจนักต่อสู้ที่ชื่อว่า นาตาจิ และยังปรารถนาที่จะให้อินเดียมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง
 
เธอเข้าสู่การเมืองในการลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในปี  2002  ตอนอายุ  87  ปี เธอเป็นตัวแทนพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย  4  พรรคลงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี โดยเน้นการสร้างเอกภาพของอินเดีย เธอถูกโจมตีหลายครั้ง แต่ไม่เป็นไรเพราะมันไม่สำคัญ  เท่ากับว่าเธอยังคงเป็นหมอที่ไม่เคยละเลยที่จะดูแลคนป่วยของเธอ
 
ทุกเช้าจนถึงวันสุดท้ายที่หัวใจวายในเดือนกรกฎาคม เธอไปที่คลินิกเวลา 9 โมงเช้า โดยที่ไม่เคยคิดเงินค่ารักษาพยาบาล จึงมีคนป่วยมาก ก่อนเปิดคลินิกเธอจะกวาดถนน  ซึ่งสกปรกจากเพื่อนบ้านขว้างทิ้งขยะออกมาทางหน้าต่าง ซึ่งมักจะเป็นงานในหน้าที่ของคนวรรณะต่ำ  แต่ว่านี่เป็นเรื่องเล็กน้อยที่ต้องทำด้วยสองมือของเธอ ซึ่งเธออยากเห็นแบบอย่างเช่นนี้ในอินเดียต่อไป
 

 

บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
หมายเหตุ -  ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข หรือ ไทบุตรชายของสมยศ พฤกษาเกษมสุข อ่านบทความของพ่อชิ้นนี้ภายในงานเสวนา “การปฏิรูปกระบวนการประกันตัวของผู้ต้องหาคดีความมั่นคงของชาติ” ที่จัดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 3 ปีแห่งการถูกคุมขังของสมยศ จัดที่มหาวิทยาธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2557
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
งาช้างไม่งอกจากปากสุนัขฉันท์ใด การปฏิรูปไม่อาจงอกมาจากพวกปฏิกูลการเมืองที่กำลังปิดกรุงเทพ นำความหายนะมาสู่สังคมไทยในขณะนี้
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 “พวกเราใช้ชีวิตบั้นปลายในเรือนจำก็เพราะเราคัดค้านแนวคิดการพัฒนาอย่างแบ่งแยก ซึ่งทำให้เรากลายเป็นคนต่างด้าวในประเทศของเราเอง”