Skip to main content

สมยศ พฤกษาเกษมสุข 
แปลจาก The Economist

 

Caracus , Mexico city, Santiago, Sao Paulo

อีกยาวไกลกว่าจะเป็นสถานพักฟื้นที่มั่นคง คุกหลายแห่งในภูมิภาคนี้ เต็มไปด้วยความรุนแรง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดอาชญากรรม แต่ว่าขณะนี้มีสัญญาณบางอย่างของการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้ว

ในวันที่ 28 สิงหาคม 2555 สมาชิกสภาระดับท้องถิ่น (Local Human Rights Council) และเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสิทธิมนุษยชน (Watch dog) ได้มาถึงที่คุก Romeu Goncalves de Abrantes เมือง Joao Pessoa เมืองหลวงของรัฐพาไลบา (Paraiba) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือขอลบราซิล ข้างในคุกพวกเขาพบกับสิ่งสกปรกโสมม นักโทษแออัดยัดเยียดเต็มไปด้วยคนเจ็บป่วยและกระหายน้ำ จำนวนหนึ่งคือคนบาดเจ็บที่ไม่ได้รับการรักษาพยาบาล เจ้าหน้าที่ควบคุมคุกปฏิเสธจะเปิดประตูห้องขังที่ใช้ลงโทษผู้ต้องขัง ซึ่งมีกลิ่นเหม็นของอวกและสิ่งปฏิกูล ผู้มาเยือนจึงต้องใช้กล้องถ่ายรูปหย่อนไปที่ช่องระบายอากาศ ปรากฏภาพออกมาเป็นนักโทษในสภาพเปลือยกายแน่นขนัดอยู่ในห้องสลัวหลังซี่กรงเหล็ก

ถึงแม้ว่าผู้ควบคุมจะบอกว่า ผู้ต้องขัง (inmates) อยู่ในสภาพดังกล่าวเป็นการชั่วคราวเพราะเหตุว่า กลัวจะแหกคุกหนี พวกเขาถูกคุมขัง 4 วันมาแล้ว เจ้าหน้าที่ขอร้องให้ส่งมอบกล้องถ่ายรูป แต่ว่าผู้มาเยือนปฏิเสธ พวกเขาทั้ง 6 คน จึงถูกกักตัวเป็นเวลา 3 ชั่วโมง ก่อนที่เจ้าหน้าที่รัฐจะมาถึงและปล่อยพวกเขาไป

สภาพของคุกแบบนี้ มีลักษณะใกล้เคียงกันมากในละตินอเมริกา โดยเปรียบเทียบกับส่วนอื่น ๆ ของโลก ในภูมิภาคนี้ คุก มีขนาดใหญ่ขึ้นด้วยจำนวนนักโทษที่ขยายตัวมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะน้อยกว่าสหรัฐอเมริกา แต่ว่ามีคุกอยู่ไม่กี่แห่งในละตินอเมริกา ได้ทำหน้าที่พื้นฐานทางอาชญากรรมและการฟื้นฟูผู้ต้องขัง ไม่เพียงแต่นักโทษจะตกอยู่ในสภาพความป่าเถื่อน โหดร้ายอยู่เสมอ จากสภาพความแออัดยัดเยียดเกินไป และความสกปรกรกรุงรังเท่านั้น แต่คุกโดยสภาพของมันเองยังดำเนินการโดยพวกแก๊งอาชญากรรมอีกด้วย

ผลแห่งความเลวร้ายที่มีต่อคนคุกที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ คือ กรณีไฟไหม้ ฆาตกรรมหมู่ในคุก เป็นการจงใจวางเพลิง เกิดขึ้นที่ฮอนดูรัส (Honduras) สังหารผู้ต้องขังตายไปถึง 350 คน ในคุกแห่งหนึ่งใจกลางเมือง โคมายากัว (Comayague) ในเดือนกุมภาพันธ์ ในเดือนเดียวกันนี้ที่แม็กซิโก ผู้ต้องขัง 36 คนสมาชิกกลุ่มซีตัส (Zetas) เป็นแก๊งค้ายาเสพติด ได้ฆ่าผู้ต้องขังคนอื่น ๆ อีก 44 คน ตายในคุกที่อะโพดากา (Apodaca) ใกล้กับมณทะเรย์ (Monterey) ก่อนที่จะหลบหนีไปได้ เมื่อเดือนที่แล้วอย่างน้อยที่สุดคนคุก 26 คน เสียชีวิตจากการตีรันฟันแทงระหว่างนักเลงแก๊งต่าง ๆ ที่ เวเนซุเอลา  (Venezuela) ต่อมาเจ้าหน้าที่รัฐได้ยึดคลังอาวุธจากนักโทษ มีปืนเล็กยาวโจมตี (assault rifles) ปืนซุ่มยิง (Sniper) ปืนกล (machine gun) ระเบิดมือ (hand-grenades) ปืนครกสองกระบอก (mortars) การตายที่คล้ายกันจากการจลาจลในคุก เกิดขึ้นที่คุก เอว โรดิโอ (El Rodio) ในเวเนซุเอลา เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งหัวหน้าแก๊งยืนต้านกำลังเจ้าหน้าที่เป็นเวลาเกือบเดือน

การยิงเริ่มต้นจากการต่อสู้กันระหว่างผู้ต้องขังที่คุกแซนมิเกล (San Miguel) ที่เมืองซานดิเอโก เมืองหลวงของชิลี (Chile) ในเดือนธันวาคม 2510 ฆ่านักโทษตายไป 81 คน บาดเจ็บ 15 คน ผู้รอดตายกล่าวว่า กลุ่มผู้ต้องขังจุดไฟเผาที่นอน ซึ่งนำมาตั้งเป็นแนวกีดขวาง (barricade) ของกลุ่มตรงข้ามในห้องขัง แซนมิเกล ไม่ใช่คุก มีความมั่นคงสูง (High-Security Jail) เหยื่อที่ถูไฟเผารุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ชิลี เป็นพวกที่ถูกลงโทษแค่ 5 ปี หรือต่ำกว่า ซึ่งเป็นความผิดเล็กน้อย เช่น ละเมิดลิขสิทธิ์ DVD หรือเป็นพวกย่องเบา ลักเล็กขโมยน้อย (burglary)

ถึงแม้เป็นเรื่องความตายแต่กลับเป็นข่าวพาดหัวน้อยมาก เป็นโศกนาฏกรรมประจำวัน ที่มีการเข่นฆ่ากันตายในคุก ที่เวเนซุเอลา ประธานาธิบดี ฮูโก ชาเวส (Hugo Chavez) เป็นนักสังคมนิยม (Socialist) มีนักโทษ 400 คน ถูกฆ่าตายในแต่ละปี ระหว่างปี 2004 และ 2008 ผู้สังเกตการณ์ด้านคุก และผู้เฝ้าติดตามอย่างไม่เป็นทางการรายงานว่าเมื่อปีที่แล้วตัวเลขพุ่งสูงขึ้นเป็น 560 คน และ 600 คน (จากจำนวนนักโทษทั้งหมดราว 4,500 คน) ในปี 2012 หรืออาจกล่าวได้ว่าที่เวเนซุเอลา อย่างน้อยที่สุดการฆาตกรรมในคุกมีมากกว่าตามท้องถนนถึง 20 เท่า เป็นตัวเลขที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการฆาตกรรมทั้งหมดในประเทศในรอบทศวรรษที่ผ่านมา แม้แต่เจ้าหน้าที่ระดับผู้บัญชาการเรือนจำ (prison governor) ยังไม่มีการยกเว้น โดนฆาตกรรมไปแล้ว 2 คนในปีนี้ ที่เม็กซิโก การสิ้นชีวิตในคุกเพิ่มขึ้นตามหลังอาชญากรรมจาก 15 คนในปี 2007 มาเป็น 71 คน ในปี 2011  แล้วก็มากกว่า 80 คน ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ ทั้งนี้จากการเปิดเผยของนายอิดัวโด (Eduardo Guerrero) ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงคนหนึ่ง

 

วงการมิจฉาชีพในทัณฑสถาน

เหตุผลหลักที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นก็คือ คุกหลายแห่งในทางปฏิบัติ ดำเนินการโดยพวกแก๊งหัวไม้ ซึ่งพวกนี้ใช้คุกเป็นที่พักอาศัยที่ซึ่งพวกเขาสามารถวางแผนอาชญากรรมครั้งต่อไปภายนอกคุก ผู้เสียชีวิตจำนวนมากเป็นผลมาจาการปะทะกันระหว่างแก๊งขาใหญ่ที่ทำรายได้จากการกรรโชกทรัพย์จากผู้ต้องขังด้วยกัน และยังลักลอบเอายาเสพติดและอาวุธเข้ามาภายในคุก นักโทษต้องจ่ายเงินสำหรับทุกอย่างในคุก เช่น ต้องจ่ายพื้นที่สำหรับหลับนอน หรือแม้กระทั่งต้องจ่ายเป็นสิทธิการมีชีวิตอยู่ในคุก คุกที่เอลซัลวาดอร์ มีการซื้อขายโทรศัพท์มือถือในราคาเครื่องละ 250 เหรียญสหรัฐ นี่เป็นการเปิดเผยโดยนายมิเกล โรเจล มอนเทนิโกร (Migel Rogel Montenegro) นักพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชน

 ที่เวเนซุเอลา เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุม ปฏิบัติงานเพียงแค่การควบคุมความมั่นคงภายในอาณาบริเวณของเรือนจำเท่านั้น มีหน้าที่นับยอดจำนวนนักโทษ ให้อยู่ครบในแต่ละวัน และเคลื่อนย้ายนักโทษไปที่ศาล เป็นสถานที่ซึ่งญาติมาเยี่ยมต้องถูกตรวจค้นร่างกาย เป็นที่อับอายในช่วงเวลาเยี่ยมญาติ ไม่เป็นความลับแต่อย่างใดสำหรับยาเสพติด โทรศัพท์มือถือ และสิ่งของอื่น ๆ ที่มีอยู่ในเรือนจำ ซึ่งถูกลักลอบนำเข้าไปโดยเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุม ซึ่งดูแลภายในเรือนจำ

ที่เม็กซิโก นักโทษทำอะไรก็ได้ในสิ่งที่ปรารถนา ในบางคุกดำเนินการโดยรัฐบาลท้องถิ่น ปีที่แล้วตำรวจจู่โจม (raided) คุกที่อะคาโปโล (Acapulo) พบไก่ชน 100 ตัว โสเภณี 19 คน และนกยูงรำแพน 2 ตัว ภายในบริเวณเรือนจำ 2 – 3 เดือนก่อนหน้านี้ นักโทษที่คุกโซโนลา (Sonora Jail) ตรวจพบที่ทำการบ่อน สลากกินแบ่ง ซึ่งมีเครื่องปรับอากาศและเครื่องเล่น DVD ในปี 2010 ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมที่คุกดูรังโก (Durango) ได้อนุญาตให้คนคุกออกไปข้างนอกตอนกลางคืนเพื่อรับงานฆ่าคน

การแหกคุกเพิ่มมากขึ้นในเม็กซิโก เมื่อวันที่ 17 กันยายน มีผู้ต้องขัง 130 คน ใช้อุโมงค์ใต้ดินหลบหนี คุกเพียดาส นีกราส (Piedras Negras) ซึ่งอยู่ใกล้กับชายแดนสหรัฐอเมริกา ต้นเดือนนี้ พวกหัวโจก แก๊งอันตรธานล่องหนจากคุกโตโกรอน (Tocoron) ที่เวเนซุเอลา ทั้งหมดเกือบ 100 นักโทษที่หลบหนีไปเมื่อเร็ว ๆ นี้

 

มีคำพูดที่ประหลาดในบราซิลว่า ต้นกำเนิดของพวกแก๊งที่มีอิทธิพลในประเทศมากที่สุดคือ แก๊ง พรีมาโร โดแมนโด ดา แคปปิตอล (Primeiro Commando da Capital (pcc)) พบได้ที่คุกตัวบูเต้ (Taubate) ในรัฐเซาท์เปาโล (Sao Paulo state) เมื่อปี 1993 เพื่อจะต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้ต้องขัง และแก้แค้นการสังหารหมู่ นักโทษโดยตำรวจที่คาร์นดิอู (Carandiru) คุกอีกที่หนึ่งเมื่อปีก่อนนับตั้งแต่นั้นมา PCC ได้เคลื่อนไหวนอกขอบเขตภายในเรือนจำ ไปสู่การกรรโชกทรัพย์ การขายยาเสพติด โสเภณีและการฆาตกรรมในปี 2006 มันทำให้เซาท์เปาโลหยุดชะงัก หลังจากรัฐบาลสั่งปราบปรามพวกหัวโจกของแก๊งคือ พวกขาใหญ่ (Kingpins) อยู่เบื้องหลังการก่อเหตุจลาจลใน 73 รัฐ 144 เรือนจำ ขณะเดียวกันยังได้สั่งให้ปล้นธนาคาร เผารถบัส ทำร้ายผู้อื่น ซึ่งคนของพวกเขาส่วนใหญ่ถูกฆ่าโดยตำรวจ

ขณะนี้ PCC ควบคุมคุกส่วนใหญ่ในเซาท์เปาโล (คุกที่รัฐอื่น ๆ มีแก๊งเหมือนกัน) มีนโยบายที่จะไม่ติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ควบคุมซึ่งถูกเรียกว่า “เยอรมัน” (หมายถึงพวกนาซี) มาร์กอส ฟัส (Marcos Fuchs) ทนายความที่คอนเนลทาส กลุ่มสิทธิมนุษยชนซึ่งไปเยี่ยมเยือนในคุก อยู่บ่อยครั้ง ตั้งแต่ปี 2004 ได้พูดว่า เขาไม่ได้พูดคุยกับผู้ต้องขังโดยปราศจากพวกแก๊งร่วมฟังอยู่ด้วย ถ้าทำเช่นนั้นอาจโดนแก้แค้นในรูปแบบที่เรียกว่า “กาโทเรด” (Gatorade) ประกอบไปด้วยยาโคเคน (Cocaine) ยาไวอะกร้า (Viagra) และน้ำ (water) กรอกลงไปในลำคอของนักโทษตอนกลางคืนในปริมาณที่มาก จนหัวใจล้มเหลวสิ้นชีวิต

 

นอกจากปัญหาแก๊งควบคุมในคุกแล้ว ความล้มเหลวของระบบอีกอันหนึ่งคือ คุกที่ละตินอเมริกานั้นหนาแน่น แออัด นักโทษอยู่ในสภาพไม่ใช่คน ตัวอย่างเช่น คุกที่บราซิลในปี 1990 มีจำนวนผู้ต้องขังเพียง 90,000 คน แต่เมื่อปีที่แล้วมีผู้ต้องขังจำนวน 515,000 คน เป็นจำนวนนักโทษมากที่สุดอันดับ 4 ของโลก ถัดมาจากอเมริกา จีน รัสเซีย เป็นความหนาแน่นเกินพื้นที่ เคยสร้างไว้รองรับถึงสองในสาม นายฟัส เคยเห็นห้องขังที่สร้างไว้ให้คนจำนวน 8 คนอยู่ แต่ตอนนี้ยัดเยียดถึง 48 คน ในกรณีที่ผู้ต้องขังมีบาดแผลเน่าเฟะ และวัณโรค ไม่ได้รับการรักษาพยาบาล และนักโทษถูกขังอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ ไม่มีช่องระบายอากาศ ตั้งอยู่กลางแดดแผดเผา รายงานสภาพความแออัดยัดเยียดของนักโทษมีการเผยแพร่ในปี 2009 พบว่า เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมตีและซ้อมนักโทษ อาหารสกปรกและไม่เพียงพอ และนักโทษถูกขังในห้องมืดเป็นเวลาหลายเดือน

หลังจากจำนวนนักโทษเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงไม่ถึงทศวรรษที่ผ่านมา และทำให้นักโทษล้นเกินขนาดของพื้นที่ห้องขังถึง 3 เท่า เอลซัลวาดอร์ ขณะนี้มีนักโทษล้นคุกจำนวนมากที่สุดในละตินอเมริกาเป็นรองจากเฮติ (Haiti) ชีวิตข้างในคุกคือเส้นทางสู่ขุมนรก เดวิด แบลนชาร์ด (David Blanchard) บาทหลวงคาทอลิกใน ซาน ซัลวาดอร์ (San Salvador) เขาบรรยายถึงสภาพความร้อนที่เหลือจะทนได้ และอากาศเปียกชื้นที่แสนหดหู่ โบสถ์ มีภารกิจทุกเดือนที่ต้องส่งของใช้ไปแจกจ่ายในคุก เช่น แปรงสีฟัน แชมพูและอาหารกระป๋อง ปีที่แล้วยังเจอแรงกระหน่ำจากการแพร่ระบาดของโรคหิดอีกด้วย

 

ความแออัดยัดเยียด (The huddled masses)

การสร้างคุกรองรับการขยายตัวของนักโทษ ในเวเนซุเอลา ตัวอย่างเช่น รัฐบาลชาเรช ในช่วงอยู่ในอำนาจกว่า 13 ปี สร้างคุกเพิ่มแค่หนึ่งแห่ง แต่ถึงแม้ว่ามีการขยับขยายคุกยารี (Yare) ซึ่งประธานาธิบดีถูกกักขังหลังจากก่อการรัฐประหารล้มเหลว ในปี 1992 คุกแซนติอาโก (Santiago’s San Miguel) สร้างขึ้นสำหรับรองรับนักโทษ 1,100 คน แต่ก็อัดแน่นเข้าไปเป็นจำนวน 1,900 คน ในช่วงเกิดเหตุไฟไหม้ ฮอนดูรัส มีนักโทษอยู่ 12,000 คน ซึ่งล้นเกินจากสภาพที่ถูกออกแบบมาสำหรับ 8,300 คน มาลอน แก๊สแมน (Malon Guzman) เจ้าหน้าที่ศาลฎีกากล่าว

 ระบบปฏิบัติการซอฟแวร์ (หมายถึงระเบียบและการบริหารจัดการ – ผู้แปล) ในคุกมีข้อบกพร่องเช่นเดียวกับ ฮาร์ดแวร์ (หมายถึง ห้องขัง อาคาร แผนก พื้นที่ ฯลฯ – ผู้แปล) งบประมาณบริหารงานคุกไม่เพียงพอ ที่ฮอนดูรัสงบประมาณ 97% ใช้ไปกับเงินเดือนพัศดี และค่าอาหารนักโทษ มีงบน้อยนิดสำหรับสุขลักษณะอนามัย และความปลอดภัย ยิ่งไปกว่านั้นรัฐใช้งบแค่ 0.66 เหรียญสหรัฐ ต่อนักโทษหนึ่งคนในหนึ่งวัน พวกผู้คุมมักได้เงินเดือนต่ำ ในละตินอเมริกา หลายประเทศ นักโทษถูกควบคุมโดยตำรวจซึ่งเห็นว่า เป็นอาชีพที่ไม่มีโอกาสก้าวหน้า แอนดรู คอยเล (Andrew Coyle) จากศูนย์ศึกษาคุกนานาชาติที่มหาวิทยาลัย เอสเซ็กของอังกฤษ (International Center for Prison Studies at Essex University in Britain)

มี 2-3 เหตุผลที่ทำให้คุกแออัดยัดเยียด กระบวนการยุติธรรมอืดอาด (Torpid Justice systems) ซึ่งหมายถึง นักโทษจำนวนมาก เป็นพวกฝากขังหรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ยังไม่ถูกตัดสินมีความผิด นักปฏิรูปด้านสิทธินักโทษกล่าวว่าประมาณ 70% ของผู้ต้องขัง เป็นพวกยังไม่ถูกตัดสินลงโทษ หลายคนรอคอยการไต่สวนและมักจะต้องจ่ายเงินให้พวกขาใหญ่ในคุกในความสะดวกสบายเป็นพิเศษ ในการถูกส่งตัวไปศาล นักโทษที่ถูกตัดสินความผิดแล้วในอีกด้านหนึ่งเป็นที่รู้กันว่าได้ติดสินบน (bribe) เจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้รับอิสรภาพ มีประมาณครึ่งหนึ่งของบราซิลและฮอนดูรัส ซึ่งเป็นพวกที่ยังไม่มีการตัดสินความผิด

นักโทษในคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลถูกคุมขังอยู่ในคุกจนอ่อนล้านานนับปี ซึ่งต้องถูกคุมขังผสมปนเปไปกับพวกแก๊งอาชญากรรมอื่น ๆ ผลก็คือ คุกกลายเป็นโรงเรียนสำหรับเรียนรู้การก่ออาชญากรรม มิกโดเนีย อาเยสทาส (Migdonia Ayestas) นักสังเกตการณ์ความรุนแรงขององค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ในฮอนดูรัสกล่าวสรุป

คุกบางแห่งในบราซิลค่อนข้างจะไร้ระเบียบ (chaotic) ผู้ต้องขังถึงแม้ครบกำหนดปล่อยตัว ก็ยังไม่ได้รับการปล่อยตัว เช่น นักโทษนายมาร์กอส มาเรียโน ดาซิลวา (Marcos Mariano da Silva) เป็นช่างเครื่องจักรกล ถูกจับด้วยข้อหาฆาตกรรมในปี 1976 ก่อนที่ผู้กระทำความผิดตัวจริงจะถูกจับได้ เขาจึงได้รับการปล่อยตัว 3 ปีต่อมา เขาถูกตำรวจจราจร หยุดรถ และถูกจับอีกครั้งในข้อหาเป็นคนหลบหนี เขาใช้ชีวิตในคุก 13 ปี จนติดเชื้อวัณโรค (tuberculosis) เขาตายปีที่แล้วหลังจากการไต่สวน ซึ่งรัฐบาลแพ้ในการอุทธรณ์ไม่ให้จ่ายเงินชดเชย (compensation) ต่อตัวเขา

 เหตุผลที่สองของจำนวนนักโทษแออัดคือ ทัศนคติล้าหลังของสาธารณะ และทัศนคติของเจ้าหน้าที่ต่ออาชญากร ในเอลซัลวาดอร์ สาธารณชนสนับสนุนวิธีการที่เรียกว่า mano pura (กำปั้นเหล็ก) ทำให้มีการกวดจับพวกแก๊งวัยรุ่น ซึ่งทำความผิดเล็กน้อย อาจจะเป็นเพียงแค่การแข่งขันกันสักลวดลายบนร่างกาย ขณะนี้แม้เป็นคุกชั่วคราวยังอัดแน่นด้วยนักโทษ ยังไม่มีงบประมาณค่าอาหาร ในบราซิลผู้พิพากษาทำหน้าที่ประจำวันสั่งขังคุก ซึ่งถูกกล่าวหากระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งประทุออกมาเป็นตัวเลขที่มากยิ่งขึ้น ในปี 2005 นักโทษยาเสพติดอยู่ในอันดับที่สิบ เดี๋ยวนี้ฟาดไปถึงหนึ่งในสี่ นักโทษส่วนใหญ่ในคุก พาไรบา ที่พบเห็นส่วนใหญ่เป็นพวกกระทำความผิดด้วยทรัพย์สินและยาเสพติด บาทหลวงโจออ บอสโกโด นาสซิเมนโต (Joao Bosco do Nascimento) ซึ่งได้ไปเยี่ยมนักโทษในคุก เมื่อเดือนที่แล้วกล่าว

ไม่ใช่เท่านี้ หลักฐานทั้งหมดชี้ให้เห็นว่าคุกชาวบราซิลเหมือนนรก และขังคนบริสุทธิ์ไว้จำนวนมาก แต่ยังมีความเห็นอกเห็นใจน้อยมาก สำหรับพวกนักโทษข้างในกำแพงคุก ผลการสำรวจในปี 2008 จำนวน 73% เห็นว่าสภาพในคุกควรจะทำให้ยากลำบากมากยิ่งขึ้น คนจนและคนผิวดำ ชาวบราซิลยังยึดมั่นในหลักการปฏิกิริยาเชิงลบ เหมือนกับคนรวย ซึ่งคนรวยมักจะไม่ได้ติดคุกเหมือนคนจน

ในบราซิลนักโทษส่วนใหญ่สุดเป็นคนมีระดับการศึกษาต่ำ (สองในสามของนักโทษไม่จบประถมศึกษา) และเป็นคนยากจน (95%) พวกคนผิวดำอยู่ในคุกมากกว่าคนผิวขาวสองเท่า (นักโทษผิวดำมีจำนวนสองในสาม แต่เป็นคนจำนวนครึ่งหนึ่งของประชากรในประเทศ) ในทางตรงกันข้ามพนักงานรัฐวิสาหกิจ นักการเมือง ผู้พิพากษา พระสงฆ์ และผู้จบการศึกษาสูง ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกนำไปขังไว้ในคุก แต่ต่อสู้คดีรอคอยอยู่ข้างนอกคุก นี่คือเหตุผลว่าทำไมแรงกดดันในการปฏิรูปคุกจึงค่อนข้างอ่อนปวกเปียก

               

คุกในรูปแบบใหม่ (New model prison)

อย่างไรก็ตาม มีกระแสของการเปลี่ยนแปลงในละตินอเมริกา ส่วนนี้พัฒนามามากที่สุดในกลุ่มประเทศสาธารณรัฐโดมินิกัน (Dominican Republic) ซึ่งเริ่มต้นที่จะทำการปฏิรูปคุกในปี 2003 เกือบจะครึ่งหนึ่งของ 35 คุก ขณะนี้อยู่ภายใต้กฎระเบียบใหม่ สิ่งเหล่านี้เริ่มตั้งแต่การจ้างเจ้าหน้าที่พลเรือน ซึ่งไม่ได้ผูกมัดอยู่กับทหารและตำรวจ การว่าจ้างผ่านการฝึกอบรมเป็นปี จากวิทยาลัยซึ่งดำเนินการจากวิลล่าหรู เคยเป็นของราฟาเอล ทรูจิลโล ( Rafael Trujillo) ซึ่งเคยเป็นจอมเผด็จการนามกระฉ่อน ผู้อำนวยการคุกมีเงินเดือน 1,500 เหรียญสหรัฐ และพัศดีราว 400 เหรียญสหรัฐต่อเดือน สูงกว่า 2-3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับเงินเดือนเก่า

คุกควรจะแปรสภาพเป็นโรงเรียน เพื่อเตรียมผู้ต้องขังด้านการศึกษา โรเบอร์โต ซานตานา (Roberto Santana) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้อำนวยการคุกระบบใหม่จนถึงเดือนที่แล้ว เขาตั้งกฎให้มีการเรียนบังคับการอ่าน สำหรับนักโทษ เมื่อต้องสูญเสียสิทธิพิเศษบางอย่างไป เช่น การโทรศัพท์คุยกันสองสามีภรรยา และการเยี่ยมญาติ ที่คุกหญิง นาจาโย กำแพงคุกแสดงถึงฝีมือทางศิลปะการแข่งขันชิงชนะเลิศระหว่างคุก ผู้ต้องขัง 36 คน จาก 368 คน กำลังศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในสาขากฎหมายและจิตวิทยานักโทษถูกปล่อยออกนอกห้องขังระหว่าง 7.30 – 22.00 น. สำหรับพวกที่ไม่ได้ศึกษา จะทำงานการทำเบเกอรี่ หลังจากได้รับการปล่อยตัว จะช่วยหางานให้ทำ

นายซานทานา ป้องกันการแออัดด้วยการปฏิเสธที่จะรับผู้ต้องขังถ้าพื้นที่รองรับไม่เพียงพอ เขาพูดว่าเขาขอร้องให้อัยการและศาลอย่าได้สั่งจับเข้าคุกโดยไม่มีเหตุผลดีพอ และเจ้าหน้าที่คุกยังได้ช่วยผู้ต้องขังได้ติดต่อครอบครัว นักโทษที่นาจาโยทำของขวัญ เช่น ผลิตภัณฑ์เทียนไข และเครื่องประดับเพชร ขายในตลาดท้องถิ่น กำไรแบ่งให้คุกผู้ต้อขังและครอบครัว

งบประมาณ 12 เหรียญสหรัฐ ต่อนักโทษหนึ่งคนในหนึ่งวัน เป็นงบประมาณที่เพิ่มขึ้นสองเท่าตัวจากคุกแบบเก่า ทุกคนไม่ได้เห็นด้วยกับงบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในเรื่องของอาชญากรรม แต่นายซานทานา ยืนยันว่า เป็นการลงทุนอันหนึ่งให้ผู้ต้องขังได้มีภูมิคุ้มกัน ทำให้สังคมปลอดภัยสำหรับผู้ซึ่งอยู่ในระบบใหม่ปรากฏว่า อัตราการทำความผิดซ้ำ (reoffending) ภายใน 3 ปี หลังการปล่อยตัวมีต่ำกว่า 3% ถึงแม้เป็นตัวเลขต่ำแทบเป็นไปไม่ได้เพราะว่า อาจสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถต่ำของตำรวจในการจับกุมผู้กระทำความผิดด้วย เมื่อเปรียบเทียบตัวเลข 50% ในระบบเก่า

สาธารณรัฐโดมินิกัน กลายเป็นแบบอย่างให้ที่อื่นเอาตามเมื่อเร็ว ๆ นี้ของฮอนดูรัสและปานามา ก็มาเรียนรู้จากคำแนะนำ เอลซัลวาดอร์ก็เช่นกันที่มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้ ได้มีการสร้างคุกใหม่ ซึ่งมีสภาพที่ดีกว่าในกลุ่มภูมิภาคเดียวกัน อามาโด แอนเดรส (Amado Andress) เจ้าหน้าที่สหประชาชาติ (UN) ในเรื่องยาเสพติดและอาชญากรรม มีการพัฒนาดีขึ้นจากเอกสารเขียนมาเป็นคำพูดในระบบยุติธรรม ซึ่งพยายามจะเร่งรัดดำเนินคดี และลดจำนวนผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดี (เม็กซิโกยอมรับระบบที่คล้ายกัน) ที่ฮอนดูรัสนายแก๊สแมนพูดว่า ระบบคุกได้เปลี่ยนจากสภาพจุดเน้นที่ไม่ใช่แรงกดดัน มาเป็นการป้องกัน โดยเน้นหนักไปที่การจัดการศึกษา สุขภาพ และการหางานทำ กฎหมายใหม่ได้ย้ายการควบคุมจากกระทรวงความมั่นคงมาเป็นกระทรวงมหาดไทย การเคลื่อนไหวได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คุกใหม่สร้างขึ้นโดยส่วนหนึ่งมาจากการยึดทรัพย์ของพวกค้ายาเสพติด

กลุ่มนักสิทธิมนุษยชนได้เปิดเผยว่า เวเนซุเอลา ได้สัญญาว่าจะทำการปฏิรูป แต่ยังไม่สำเร็จมากนัก ปี 1999 รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการจ้างงานเจ้าหน้าที่วิชาชีพในเรือนจำ แต่ว่าด้วยปริมาณเต็มมือของ 1,400 ผู้จบการศึกษา รุ่นบุกเบิกที่จะเป็นเจ้าหน้าที่ทัณฑสถาน ได้ทำงานในระบบซึ่งถูกครอบงำโดยเจ้าหน้าที่ความมั่นคง ขณะนี้สถาบันฝึกอบรมได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยตำรวจหลังจากเกิดเหตุการณ์จลาจลที่คุกเอลโรดิโอ (El Rodio) รัฐบาลได้จัดให้มีรัฐมนตรีดูแลคุก และพูดว่าจะสร้างคุกใหม่ จะมีความพร้อมในเดือนมีนาคม 2013

ในชิลี หลังจากเหตุการณ์ไฟไหม้ที่ ซานมิเกล รัฐบาลอนุรักษ์นิยมประกาศจะทำการปฏิรูปคุกอย่างกว้างขวาง เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น (ใช้งบ 410 ล้านเหรียญสหรัฐ) จ้างพัศดี 5,000 คน การแยกประเภทนักโทษตามความหนักเบาของโทษ ลดจำนวนนักโทษ โดยให้ผู้กระทำความผิดได้ทำงานบำเพ็ญประโยชน์ เป้าหมายเพื่อลดจำนวนนักโทษที่แออัดจาก 60% เหลือ 15% ในปี 2014 รัฐบาลฝ่ายซ้ายก่อนหน้านี้ได้ใช้ภาคเอกชนลงทุนสร้างและบริหารคุกใหม่ 7 แห่ง แต่สำหรับนักโทษใหม่จะดำเนินการโดยรัฐ


เมล็ดพืชแห่งความหวัง (Seeds of Hope)

บราซิลมีเมล็ดพืชแห่งความหวังเช่นกัน บาทหลวง นาสซินเมนโต (Nascimento) กล่าวว่า ผู้พิพากษาที่มีสำนักตื่นรู้ ได้ใช้อำนาจสั่งให้บำเพ็ญประโยชน์ แทนที่จะให้ติดคุกสภาเพื่อความยุติธรรมแห่งชาติ (National Justice Council) เป็นส่วนหนึ่งของอำนาจตุลาการได้สำรวจกรณีของนักโทษ 3 แสนคน ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้ปล่อยตัวนักโทษ 22,600 คน ซึ่งพบว่าไม่มีความผิด รัฐบาลสหพันธรัฐมีอำนาจจำกัดในการปรับปรุงสภาพคุกให้ดีขึ้น ออกัสโต โรสินี (Augusto Rossini) เจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า เป็นการพิพากษาของศาลตัดสินลงโทษ ให้คนติดคุก ส่วนรัฐทำหน้าที่ดูแลคุก

แต่ว่ารัฐบาลพยายามที่จะทำอะไรบ้างเท่าที่ทำได้ มีการสร้างคุกที่มีความมั่นคงสูงระดับมลรัฐจำนวน 4 แห่ง ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมานำพวกหัวโจกมาไว้ ได้ช่วยให้รัฐบาลบริหารงานคุก สามารถลดจำนวนการก่อการจลาจลของนักโทษได้ถึง 70% นายโรสินีกล่าวว่าตอนนี้กำลังสร้างแห่งที่ 5 ในอีก 2 ปีข้างหน้า จะมีการใช้งบประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการสร้างโรงพยาบาลราชทัณฑ์ และกำลังทำบันทึกฐานข้อมูลนักโทษระบบคอมพิวเตอร์ ปีที่แล้วได้ออกกฎหมายฝากขังกรณีความผิดครั้งแรกซึ่งถูกกล่าวหามีความผิดเล็กน้อย สภาได้ผ่านกฎหมายให้นักโทษมีวันลดโทษทุก 12 ชั่วโมง ถ้าพวกเขาได้ใช้เวลาศึกษาและทำงาน

การเยี่ยมซ้ำที่คุก Romen Concalves de Abrantes โดยสมาชิกสภา Paraiba 8 วัน หลังจากพวกเขาถูกคุมขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายพบว่า คุกดูสะอาดขึ้น และนักโทษแต่งกายดี เพราะเข้าถึงความสะดวกการซักผ้า ความก้าวหน้าเหล่านี้มาจากชัยชนะเล็กน้อย รวมทั้งการปฏิรูปส่วนทั้งหมด อีกไม่นานสาธารณชนจะตระหนักว่า คุกที่ดีงามจะลดจำนวนอาชญากรรม ซึ่งไม่ใช่ได้รับรางวัลตอบแทนใด นอกจากเป็นสิ่งดีงามกว่าเดิม สำหรับนักโทษและชาวละตินอเมริกา

 

The Economist

22 กันยายน 2012

 

 

บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
หมายเหตุ -  ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข หรือ ไทบุตรชายของสมยศ พฤกษาเกษมสุข อ่านบทความของพ่อชิ้นนี้ภายในงานเสวนา “การปฏิรูปกระบวนการประกันตัวของผู้ต้องหาคดีความมั่นคงของชาติ” ที่จัดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 3 ปีแห่งการถูกคุมขังของสมยศ จัดที่มหาวิทยาธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2557
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
งาช้างไม่งอกจากปากสุนัขฉันท์ใด การปฏิรูปไม่อาจงอกมาจากพวกปฏิกูลการเมืองที่กำลังปิดกรุงเทพ นำความหายนะมาสู่สังคมไทยในขณะนี้
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 “พวกเราใช้ชีวิตบั้นปลายในเรือนจำก็เพราะเราคัดค้านแนวคิดการพัฒนาอย่างแบ่งแยก ซึ่งทำให้เรากลายเป็นคนต่างด้าวในประเทศของเราเอง”