เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์
ผลการตัดสินของศาลชั้นตนที่มีคำพิพากษาให้จำคุก นายสมยศ ฟฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ “วอยซ์ออฟทักษิณ” ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นเวลา 10 ปี บวกกับโทษการณีหมิ่นประมาทพลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร อีก 1 ปี รวมเป็น 11 ปีนั้น
“ความผิดอันสืบเนื่องมาจากความคิดควรได้รับการลงทัณฑ์เยี่ยงอาชญากรคดีอุกฉกรรจ์หรือไม่?” กลายเป็นประเด็นคำถามร้อนแรงของสังคมไทย
แม้กระทั่ง บอ.กอ. เครางาม “สุชาติ สวัสดิ์ศรี” และคณะยังได้จัดทำ “คำแถลงการณ์จากผู้กระกอบวิชาชีพบรรณาธิการ” ตั้งข้อสังเกตว่า การตัดสินคดีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ครั้งนี้เป็นตัวอย่างการสาธิตการขยายขอบเขตการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
รวมถึงการไม่ควรสร้าง “บรรยากาศแห่งความกลัว” ต่บรรณาธิการทุกค่ายทุกสีที่มีความเห็นต่างหรือเห็นพ้อง ในฐานะที่ทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองในอารยประเทศ
ตัวอย่างเหตุการณ์ของ “กบฎบรรณาธิการ” หรือการที่บรรณาธิการถูกกล่าวหาปรักปรำให้เป็น “กบฎแห่งผ่นดิน” เคยมีมาแล้วหลายครั้งหลายหน ในที่นี้ดิฉันจะขอหยิบยกเพียงกรณีของ “เทียนวรรณ” และ “นรินทร์กลึง” มาเป็นอุทาหรณ์
เทียนวรรณ ฝันเห็น “ฟรี” และ “ปาลิเมนต์”
คำว่า “ฟรี” ในสมัยที่เทียนวรรณมีชีวิตอยู่ (ระหว่างปลายสมัยรัชกาลที่ 3 – 6 พ.ศ.2385-2458) นั้นยังไม่มีคำแปลเป็นไทยว่า “เสรีภาพ” ทำให้บทกวีหรือบทความของเทียนวรรณจึงใช้คำว่า “ฟรี” ทับศัพท์แทนความหมายของ “เสรีภาพ” ทุกแห่ง
อาจกล่าวได้ว่าเทียนวรรณเป็นบุคคลรายแรกๆ ของสยามที่กล้าคิดกล้าฝันถึงคำว่า “เสรีภาพ” ทั้งๆ ที่ยังอยู่ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งราษฎรยุคนั้นยังเต็มไปด้วยทาสและไพร่ แต่เทียนวรรณก็กล้าฝัน
“การให้พลเมืองได้เรียนรู้มาก กับการให้พลเมืองมี “ฟรี” จะเป็นเครื่องชักนำส่วนหนึ่งให้ชาติไทยผูกมิตรกับนานาประเทศได้ง่ายเข้า” เป็นข้อเรียกร้องของเขาที่ขอให้ประชาชนได้มีเสรีภาพ (มีฟรี) ในการศึกษาเล่าเรียนมากกว่าที่เป็นอยู่
ข้อเขียนอีกชิ้น เป็นเสมือนปณิธานของเขา “ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ ก็จะบากบั่น เขียน พูด เพื่อชาติบ้านเมืองไปจนกว่าจะสิ้นลมหายใจ จนกว่าจะโปรดให้ราษฎรเป็น ‘ฟรี’ แล้ว”
บรรยากาศแห่งการเรียกร้อง “ฟรี” ของปัญญาชนสยามโดยมี “เทียนวรรณ” เป็นหัวหอกนั้น สุดท้ายก็นำไปสู่การบัญญัติศัพท์คำว่า “เสรีภาพ” ขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 6
“เสรีภาพ” มีขึ้นใช้ในภาษาไทยเนื่องจากภาวะสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพระมหาธีรราชเจ้า รัชกาลที่ 6 ทรงบัญญัติคำนี้ขึ้นเพื่อแปล Freedom จากภาษาอังกฤษขึ้นใช้เป็นครั้งแรก ปรากฎในพระราชนิพนธ์เรื่อง “เสรีภาพแห่งทะเล” ภายใต้พระบรมนามาภิไธย “รามจิตติ”
กล่าวถึงกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วย “เสรีภาพ” ในการเดินเรือของทุกชาติที่เป็นคู่สงครามกันนะเลหลวงอันไม่มีประเทศใดเป็นเจ้าของ ว่า ต่างฝ่ายต่างได้รับเสรีภาพในการคุ้มครองดูแลเท่าเทียมกัน
นี่คือจุดเริ่มต้นของคำว่า “เสรีภาพ” ที่นำมาใช้อย่างกว้างขวางแทนคำว่า “ฟรี” ที่เทียนวรรณเรียกร้องมาทั้งชีวิต แม้เพิ่งจะมาบัญญัติขึ้นภายหลังจากที่เขามรณกรรมไปแล้วก็ตาม
เช่นเดียวกับคำว่า “ปาลิเม้นต์” เป็นอีกคำที่ชาวสยามยุคเขายังไม่รู้จัก และไมเคยมีการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยจนกว่าจะถึงสมัยรัชกาลที่ 7
มูลเหตุแห่งการเรียกร้อง “ปาลิเม้นต์” ของเทียนวรรณ หนุนเนื่องมาจากความไม่พอใจขบวนการยุติธรรมของบ้านเมือง ที่ปล่อยให้ศาลสถิตยุติธรรมมีอำนาจมาเกินเหตุในการพิจารณาความอาญาและความแพ่ง โดยปราศจากกระบวนการตรวจสอบ
จึงทำหนังสือถึงล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ขอให้แต่งตั้งองคมนตรี และเสนาบดี (รัฐมนตรี) เข้าไปช่วยกำกับดูแลถ่วงดุลอำนาจการออกกฎหมายของฝ่ายศาลบ้าง ในรูปแบบที่เรียกว่า “ปาลิเม้นต์) ซึ่งอาจจะยังไม่ใช่ระบอบรัฐสภาเต็มรูปแบบดังที่เราเข้าใจกันในยุคปัจจุบัน
ด้วยความคิดหัวก้าวหน้าล้ำยุคสมัย เทียนวรรณจึงถูกฝ่ายอนุรกัษ์ประณามว่า “เป็นพวกชอบชิงสุก่อนห่าม” หรือ “อย่าเพิ่งฝันถึง ‘ปาลิเม้นต์’ เลย ตราบที่ประเทศนี้ราษฎรยังขาดการศึกษาและยังยากจนอยู่”
โดยที่บุคคลเหล่านั้นไม่เคยย้อนถามตัวเองกลับว่า ใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลังที่คอยถ่วงรั้งให้ราษฎรของประเทศนี้จมจ่อมอยู่กับสภาพไร้การศึกษาและโง่จนเจ็บ!
อาการชิงสุกก่อนห่ามของเทียนวรรณ หรือนามจริง “นายเทียน วัณณาโภ” บอ.กอ.นิตยสาร “ศิริพจนภาค” แห่งย่านสี่กั๊กเสาชิงช้า ถนนบ้านตะนาว ที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ระบบสังคมทาสในสยาม ความไม่เป็นธรรมระหว่างชาย-หญิง และอยากให้ประชาชนมี “ฟรี” กับ “ปาลิเม้นต์”ก
นำไปสู่ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ถูกจองจำกักขัง “ฟรี” อยู่นคุกนานถึง 17 ปี ทั้งในฐานะนักโทษการเมือง และในฐานะนักเขียนบรรณาธิการที่เป็นกบฏต่อแผ่นดิน
นรินทร์กลึง ถึงจะขวางโลก แต่ก็ต่อสู้เพื่อคนรากหญ้า
อีกหนึ่ง “กบฏ บอ.กอ.” ที่โลกต้องจารึกนามไว้ในฐานะคลื่นลูกที่สองของปัญญาชนสยามที่กล้าท้าทายอำนาจแผ่นดินต่อเนื่องจาก “เทียนวรรณ” คลื่นลูกแรก ก็คือผู้ใช้นามว่า “นรินทร์ ภาษิต” แต่ผู้คนเรียกเขาว่า “นรินทร์กลึง” เด็กชาวสวนเมืองนนท์ ถือกำเนิดในปีที่ 7 แห่งการครองราชย์ของรัชกาลที่ 5 เคยรุ่งโรจน์ถึงขนาดเป็นเจ้าเมือง (ผู้ว่าราชการจังหวัด) ปราจีนบุรี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ “พระพนมสารนรินทร์” ด้วยวัยเพียง 39 ปีเท่านั้น
แต่ด้วยบุคคลิกขวานผ่าซาก พฤติกรรมประหลาดที่ทำท่าคล้ายว่าจะเพี้ยนหรือขวางโลกตลอดเวลานั้นกอปรกับฝีปากกล้า ชอบวิจารณ์สิ่งที่ไม่เห็นด้วยอย่างตรงไปตรงมา ไม่เกรงใจหน้าอินทร์หน้าพรหมที่ไหน ทำให้เส้นทางชีวิตราชการประเภทต้องยอมไหลตามน้ำนั้นต้องสะดุดลงโครม
เขาเป็นอีกผู้หนึ่งที่ถูกทางการดำเนินคดีด้วยข้อหา “กบฏภายในทีเขียนข้อความเป็นปฏิปักษ์ต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ” อันเป็นคดีเดียวกันกับบุคคลร่วมสมัยที่คนล้านนาให้ความเคารพเลื่อมใสอย่างสูงสุดคือ “ครูบาศรีวิชัย”
ทั้งครูบาศรีวิชัยและนรินทร์กลึง ต่างก็ได้ผ่านห้วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงจากยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสมัยรัชกาลที่ 5-6 มาสู่ยุคการปกครองของคณะราษฎร ในสมัยรัชกาลที่ 7-8 ครูบาศรีวิชัยได้เรียนรู้แบบอย่างการต่อสู้ของ “กบฏพญาผาบ” นักต่อสู้เพื่อชาวนาแห่งบ้านสันทราย เช่นเดียวกับการที่นรินทร์กลึงได้ศึกษานิตยสาร “ศิริพจนภาค” ตามแนวทางที่เทียนวรรณได้วางไว้
เมื่อไม่มีระบบราชการมาค้ำสถานภาพ นรินทร์กลึงก้ประกาศตัวเป็นอิสระจากพันธะทางรูปแบบทั้งมวล เขาโกนผมครึ่งศรีษะเฉพาะด้านขวาด้านเดียว แต่ด้านซ้ายปล่อยยาว ไปปไหนมาไหนนุ่งผ้าแดงจนเป็นยูนิฟอร์ม แถมยังเอารูปวาดของพระเจ้าตากสินมาแขวนคออีกด้วย
ชีวิตของนรินทร์กลึงโลดโผนน่าตื่นเต้นจนไม่อาจสาธยายได้หมดในพื้นที่อันจำกัดนี้
ขอยกตัวอย่างกรณีน่าสนใจยิ่ง คือเขาจัดการบวชลูกสาวทั้งสองเป็นสามเณรี แน่นอนว่าย่อมเกิดการงัดข้อกับมหาเถรสมาคม แต่เขาให้เหตุผลว่าเป็นการเรียกร้องสิทธิธรรมให้แก่สตรีเพศมีความทัดเทียมกับชาย แถมยังออกนิตยสารชื่อ สารธรรมในนามของพุทธบริษัทสมาคม เปิดโปงวงการสงฆ์อันเสื่อมทรามในทำนอง “สอนสังฑราช” จนต้องเข้าไปนอนในคุกอยู่ 2 ปีกว่า
เขาเปิดหนังสือพิมพ์อีกหลายฉบับ อาทิเหมาะสมัย เสียงนรินทร์ ในฐานะนักเขียนและบรรณาธิการ รวมทั้งตั้งพรรคการเมืองชื่อ “พระศรีอาริย์” ซึ่งถูกมองว่าเป็นพรรคที่มีอุดมการณ์ไปในทางคอมมิวนิสต์
ประเด็นสำคัญที่ทำให้นรินทร์กลึงถูกรัฐจับตามองความเคลื่อนไหวในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็คือ เขาได้เรียกร้องให้มีการคลี่คลายปมปัญหากรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8 ให้ปรากฏชัดเจนโดยได้เลียนแบบ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรมรังสี แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ที่เคยถือตะเกียงคบเพลิงเข้าไปยังเขตพระราชฐานของล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 กลางวันแสกๆ ในช่วงที่บ้านเมืองเต็มไปด้วยบรรยากาศอึมครึม
เช่นเดียวกับนรินทร์กลึงที่ใช้สัญลักษณ์นี้ถือตะเกียงเจ้าพายุจุดไฟออกไปเดินตามท้องถนนชุมชนต่างๆ ทั่วเมืองในเวลากลางวัน พร้อมตะโกนว่า บ้านนี้เมืองนี้มันช่างมืดมนจริงโว้ย!
ผลงานที่คนไทยทั้งประเทศโดยเฉพาะคนรากหญ้าเป็นหนี้นรินทร์กลึงคือ เขายอมอดข้าว 21 วันประท้วงรัฐบาลขอให้ยกเลิกการเก็บภาษีค่ารัชชูปการและการบังคับเกณฑ์แรงงานคนที่ไม่มีเงินไปทำงานแทน อันเป็นการต่อสู้เรียกร้องมาตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้ว แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ
เมื่อเห็นว่ารัฐบาลยุคคณะราษฎรมีพื้นฐานมาจ่ากประชาชนรากหญ้าเหมือนกัน นรินทร์กลึงจึงหยิบปัญหานี้มาปัดฝุ่นอีกครั้งด้วยการแจกใบปลิว “ไทยไม่ใช่ทาส” ขอให้ยกเลิกการบังคับเก็บเงินรัชชูปการหรือภาษีอาการ 4 บาท จากคนยากคนจนเสีย โดยเปรียบเปรยว่าการกระทำดังกล่าวนี้ “เหี้ยมโหดยิ่งกว่ามหาโจร เพราะโจรจะไม่ปล้นคนจน แต่จะปล้นเฉพาะคนมั่งมี”
ข้อความจากใบปลิวแผ่นนั้นทำให้นรินทร์กลึงถูกจับเข้าคุก (ตามระเบียบ) 2 ปี แถมเพิ่มโทษอีก 8 เดือนฐานที่ติดคุกหลายครั้งแล้วไม่ยอมหลาบจำ
“คนเราจับสัตว์มาขังกรงได้ ถึงแม้จะเลี้ยงให้กินดีกว่าอยู่ในป่า สัตว์ก็ไม่รู้สึกขอบคุณหรือชื่นชมยินดีอย่างใด จะมาทุกข์โศกไปไย” นรินทร์กลึงจึงเอาชีวิตเข้าแลกด้วยการอดอาหารนานถึง 21 วัน จนกระทั่งรัฐบาลยุคพระยาพหลพลพยุหเสนา อดรนทนไม่ไหว จำต้องยกเลิกการเก็บเงินรัชชูปการนั้น
เมื่อทบทวนดูเส้นทางชีวิตของนักคิด นักเขียน บรรณาธิการสายการเมืองนับแต่ เทียนวรรณ นรินทร์กลึง มาจนถึง สมยศ พฤกษาเกษมสุข เห็นได้ว่าประเทศไทยยังไม่เคยให้ “ฟรี” (เสรีภาพ) แก่ปัญญาชนหัวก้าวหน้า ในการวิพากษ์วิจารณ์สังคมด้วยมุมมองที่เห็นต่างจากผู้มีอำนาจเลย
นอกเหนือไปจากคำพูดเดิมๆ ที่ว่า “สมน้ำหน้า ไอ้พวกนี้มันชอบชิงสุกก่อนห่าม”
“ความผิดอันสืบเนื่องมาจากค
แม้กระทั่ง บอ.กอ. เครางาม “สุชาติ สวัสดิ์ศรี” และคณะยังได้จัดทำ “คำแถลงการณ์จากผู้กระกอบวิ
รวมถึงการไม่ควรสร้าง “บรรยากาศแห่งความกลัว” ต่บรรณาธิการทุกค่ายทุกสีที
ตัวอย่างเหตุการณ์ของ “กบฎบรรณาธิการ” หรือการที่บรรณาธิการถูกกล่
เทียนวรรณ ฝันเห็น “ฟรี” และ “ปาลิเมนต์”
คำว่า “ฟรี” ในสมัยที่เทียนวรรณมีชีวิตอ
อาจกล่าวได้ว่าเทียนวรรณเป็
“การให้พลเมืองได้เรียนรู้ม
ข้อเขียนอีกชิ้น เป็นเสมือนปณิธานของเขา “ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่
บรรยากาศแห่งการเรียกร้อง “ฟรี” ของปัญญาชนสยามโดยมี “เทียนวรรณ” เป็นหัวหอกนั้น สุดท้ายก็นำไปสู่การบัญญัติ
“เสรีภาพ” มีขึ้นใช้ในภาษาไทยเนื่องจา
กล่าวถึงกฎหมายระหว่างประเท
นี่คือจุดเริ่มต้นของคำว่า “เสรีภาพ” ที่นำมาใช้อย่างกว้างขวางแท
เช่นเดียวกับคำว่า “ปาลิเม้นต์” เป็นอีกคำที่ชาวสยามยุคเขาย
มูลเหตุแห่งการเรียกร้อง “ปาลิเม้นต์” ของเทียนวรรณ หนุนเนื่องมาจากความไม่พอใจ
จึงทำหนังสือถึงล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ขอให้แต่งตั้งองคมนตรี และเสนาบดี (รัฐมนตรี) เข้าไปช่วยกำกับดูแลถ่วงดุล
ด้วยความคิดหัวก้าวหน้าล้ำย
โดยที่บุคคลเหล่านั้นไม่เคย
อาการชิงสุกก่อนห่ามของเทีย
นำไปสู่ข้อหาหมิ่นพระบรมเดช
นรินทร์กลึง ถึงจะขวางโลก แต่ก็ต่อสู้เพื่อคนรากหญ้า
อีกหนึ่ง “กบฏ บอ.กอ.” ที่โลกต้องจารึกนามไว้ในฐาน
แต่ด้วยบุคคลิกขวานผ่าซาก พฤติกรรมประหลาดที่ทำท่าคล้
เขาเป็นอีกผู้หนึ่งที่ถูกทา
ทั้งครูบาศรีวิชัยและนรินทร
เมื่อไม่มีระบบราชการมาค้ำส
ชีวิตของนรินทร์กลึงโลดโผนน
ขอยกตัวอย่างกรณีน่าสนใจยิ่
เขาเปิดหนังสือพิมพ์อีกหลาย
ประเด็นสำคัญที่ทำให้นรินทร
เช่นเดียวกับนรินทร์กลึงที่
ผลงานที่คนไทยทั้งประเทศโดย
เมื่อเห็นว่ารัฐบาลยุคคณะรา
ข้อความจากใบปลิวแผ่นนั้นทำ
“คนเราจับสัตว์มาขังกรงได้ ถึงแม้จะเลี้ยงให้กินดีกว่า
เมื่อทบทวนดูเส้นทางชีวิตขอ
นอกเหนือไปจากคำพูดเดิมๆ ที่ว่า “สมน้ำหน้า ไอ้พวกนี้มันชอบชิงสุกก่อนห่าม”
ที่มา: คอลัมน์ “ปริศนาโบราณคดี” โดย เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ มติชนสุดสัปดาห์ 8 – 14 กุมภาพันธ์ 2556
ที่มาภาพ: สหภาพเกลือเป็นหนอนแห่งประเทศไทย
บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
หมายเหตุ - ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข หรือ ไทบุตรชายของสมยศ พฤกษาเกษมสุข อ่านบทความของพ่อชิ้นนี้ภายในงานเสวนา “การปฏิรูปกระบวนการประกันตัวของผู้ต้องหาคดีความมั่นคงของชาติ” ที่จัดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 3 ปีแห่งการถูกคุมขังของสมยศ จัดที่มหาวิทยาธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2557
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
9 ธันวาคม 2556 - 24 มกราคม 2557สวัสดีค่ะพี่สมยศ
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
9 ธันวาคม 2556 - 24 มกราคม 2557สวัสดีค่ะพี่สมยศ
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
งาช้างไม่งอกจากปากสุนัขฉันท์ใด การปฏิรูปไม่อาจงอกมาจากพวกปฏิกูลการเมืองที่กำลังปิดกรุงเทพ นำความหายนะมาสู่สังคมไทยในขณะนี้
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
“พวกเราใช้ชีวิตบั้นปลายในเรือนจำก็เพราะเราคัดค้านแนวคิดการพัฒนาอย่างแบ่งแยก ซึ่งทำให้เรากลายเป็นคนต่างด้าวในประเทศของเราเอง”