ผมไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยของผมทำให้ต้องติดคุกตะรางในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือ มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา เป็นวิกฤติชีวิตที่หนักหนาสาหัส แต่เป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เลย ซึ่งผมไม่เคยคิดคำนึงมาก่อนเพียงเพราะเหตุที่ผมแสดงความคิดเห็นเรียกร้องให้มีการยกเลิกมาตรา 112 เพราะเป็นกฎหมายไม่เป็นธรรม ผมจึงถูกเล่นงาน สูญเสียอิสรภาพ เป็นความทุกข์แสนสาหัส
ชีวิตคนเราไม่แน่นอนเกิดมาตั้งอยู่ และดับไป ไม่น่าเชื่อว่าเอกยุทธ อัญชันบุตร มหาเศรษฐีชั้นนำของเมืองไทย นักธุรกิจการเงิน และอสังหาริมทรัพย์ และนักเคลื่อนไหวการเมืองที่โด่งดังมากคนหนึ่งต้องมาจบชีวิตด้วยฝีมือโจรกระจอก แต่ไม่ธรรมดาด้วยวัยเพียง 23 ปี ซึ่งกินเงินเดือนของนายเอกยุทธ ใช้อาวุธปืน รถยนต์ และเงินของนายเอกยุทธ สังหารและอำพรางศพนายเอกยุทธ
นายเอกยุทธ อัญชันบุตร อายุ 54 ปี จบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์การเงิน การคลัง มหาวิทยาลัยแปซิฟิค ฮาวาย เริ่มต้นธุรกิจซื้อขายคอมมอดิตี้ส์ และซื้อขายเกษตรล่วงหน้า จากนั้นเปิดบริษัทนายหน้าซื้อขายเงินตราต่างประเทศชื่อชาร์เตอร์อินเวสต์เมนต์เมื่อ 2525 ค้ากำไรส่วนต่างดอกเบี้ยเงินกู้จากต่างประเทศ ทำกำไรและนำเงินมาลงทุนอสังหาริมทรัพย์จนร่ำรวยมั่งคั่ง ทำให้มีนายทหารและนักการเมืองนำเงินมาร่วมลงทุนรุ่งเรืองที่สุดในปี 2527 กลายเป็นแชร์ชาร์เตอร์อันลือลั่นจนรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ออก พรบ.กู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน พศ.2527 ทำให้เอกยุทธต้องหนีออกต่างประเทศ ระหว่างหลบหนียังนำเงินไปสนับสนุนรัฐประหาร 9 กันยายน 2528 แต่ไม่สำเร็จ เมื่อคดีหมดอายุความนายเอกยุทธ จึงกลับมาประเทศไทยปี 2547 พร้อมกับเสนอเงินให้พรรคประชาธิปัตย์โค่นรัฐบาลทักษิณ แต่ประชาธิปัตย์ปฏิเสธ จึงหันออกมาสนับสนุนแก๊งการเมืองรับจ้าง เคลื่อนไหวล้มรัฐบาลทักษิณรวมทั้งเปิดเวปไซค์ไทยอินไซเดอร์ โจมตีรัฐบาลทางโลกไซเบอร์ต่อเนื่องจนถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โจมตีด้วยถ้อยคำรุนแรงตั้งแต่เรื่องอุทกภัย จนถึงกรณีนายกยิ่งลักษณ์พบกะกับนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่โฟรซีซั่นจนถูกฟ้องร้องหมิ่นประมาท
เดือนธันวาคม 2555 นายเอกยุทธ มีเรื่องทะเลาะวิวาทในร้านคาราโอเกะย่านลาดพร้าว นายสันติภาพ เพ็งด้วง คนขับรถแสดงฝีมือปกป้องนายเอกยุทธในที่เกิดเหตุจนเป็นที่ไว้วางใจถึงกับให้นายสันติภาพถือปืนพก.380 ไว้กับตัวจนกระทั่งถึงวันที่ 8 มิถุนายนจึงถูกสังหารสิ้นชีวิตด้วยฝีมือลูกน้องคนสนิท นายสันติภาพ เพ็งด้วง หรือ “บอล” กับนายสุทธิพงศ์ พิมพิสาร เพื่อนสนิท หรือ “เบิ้ม” อายุ 28 ปี ร่วมกันก่อเหตุกับอีก 2 คน คือนายชวลิต วุ่นชุม อายุ 24 ปี นายทิวากร เกื้อทอง อายุ 18 ปี ซึ่งเป็นคนฝังศพนายเอกยุทธ
วันที่ 13 มิถุนายน 2556 นายสันติภาพ เพ็งด้วง หรือบอล กับพวกคือนายชวลิต,นายทิวากร ถูกส่งตัวมาคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ แดน 1 ห้อง 12 – 13 ตามมาด้วยในวันที่ 15 มิถุนายน 2556 นายสุทธิพงศ์ พิมพิสาร หรือเบิ้มถูกนำตัวเข้ามาคุมขังอยู่ที่ห้อง 11 แดน 1 แยกห้องขัง ไม่ให้ประปนอยู่กับคนอื่น โดยมีกล้องวงจรปิดและเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
ตำรวจสอบสวนรวบรวมพยานหลักบานสรุปว่าปมสังหารมาจากฆ่าชิงทรัพย์ 5 ล้านบาท บอลวางแผนเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2556 เมื่อนายเอกยุทธกินข้าวที่ร้านกระแต่ ถนนประดิพัทธ์ บอลไปรับ เบิ้มซ่อนตัวอยู่ในรถ พานายเอกยุทธไปจอดรถที่ถนนลาดพร้าวใช้ปืนจี้ตัวนายเอกยุทธใส่กุญแจมือไพล่หลังไว้ คุมตัวไปบ้านพักไม่พบทรัพย์สินมีค่าในบ้านจึงถอดกล้องบันถึงภาพซีซีทีวีไป พานายเอกยุทธไปขังไว้ที่บ้านพี่สาวบอลย่านลาดกระบัง (ประเด็นนี้ต้องมีการสอบสวนด้วยว่าพี่สาวบอลมีส่วนรู้เห็นด้วยหรือไม่ ?) วันรุ่งขึ้นนายเอกยุทธติตต่อให้พนักงานนำสมุดเช็คมาเบิกเงินสุด 5 ล้านบาท โดยเช็คใบหนึ่งลง พศ. 2553 เป็นสัญญานบอกเหตุนายสันติภาพให้การว่า เบิ้มเป็นคนใช้ปืนจ่อหัวนายเอกยุทธไว้ จน นส.เสาวลักษณ์ ฉัตรสมัย นำเงินสด 5 ล้านบาทมาให้ บอลเป็นคนรับเงินที่สนามบินสุวรรณภูมิ เสร็จแล้วนำนายเอกยุทธไปขังไว้บ้านหลังเดิม เบิ้มกลับมาที่หน้าบ้านนายเอกยุทธด้วยรถแท็กซี่เพื่อรับมอเตอร์ไซค์ของบอล ช่วงนี้แม่ของบอล นางจิตอำไพ เพ็งด้วง มารับเงินจากบอลไปซื่อไว้ที่จังหวัดพัทลุง
วันที่ 8 มิถุนายน 2556 เวลา 03.00 น. เบิ้ม บอล และเอกยุทธ ออกจากบ้าน ระหว่างทางต่างระดับบอลจอดรถ แต่นายเอกยุทธเปิดประตูรถวิ่งหนีออกมาได้ด้วยการกระโดดจากทางต่างระดับ ทำให้ส้นเท้าบาดเจ็บวิ่งหนีไม่ได้ บอลวิ่งลงมาทำร้ายนายเอกยุทธจนสิ้นชีวิต บอลวิ่งไปเอารถมารับศพโดยได้เบิ้มช่วยหามศพขึ้นรถ และให้เบิ้มใช้เชือกผูกรองเท้ารัดคอ เบิ้มให้การกับตำรวจว่านายเอกยุทธสิ้นชีวิตแล้วก่อนจะใช้เชือกรัดคอ ในประเด็นนี้จึงต้องตรวจสอบว่านายเอกยุทธตายด้วยการบีบคอ หรือรัดคอกันแน่ ส่วนกรณีลูกอัณฑะของนายเอกยุทธบวมนั้น เบิ้มเปิดเผยว่าเป็นเพราะถูกบอลเตะผ่าหมาก
หลังจากฝังศพนายเอกยุทธที่ไร่บนเขาจิงโจ้ ต.ชัยบุรี จังหวัดพัทลุง เบิ้มรับเงิน 100,000 บาท นายชวลิตได้อาวุธปืน.380 เงินสด 30,000 บาท นายทิวากรได้เงิน 8,000 บาท ส่วนเงินจำนวน 4.2 ล้านบาทอยู่ที่บ้านพ่อของบอล เป็นการปิดฉากเรื่องราวฆาตกรรม นายเอกยุทธ อัญชันบุตร
แต่ไหนแต่ไรมาแล้วสยามเมืองยิ้มของเราตัดสินความขัดแย้งกันด้วยการฆ่าให้ตายกันไป การฆาตกรรมด้วยการลอบสังหาร การอุ้มฆ่าทำกันอยู่สม่ำเสมอ แม้แต่ทหาร หรือตำรวจเองยังเป็นผู้ก่ออาชญากรรมเสียเอง หากผู้ก่ออาชญากรรมเป็นผู้มีอิทธิพล หรือร่ำรวยมากก็มักจะรอดพ้อนกระบวนการยุติธรรม ทำให้ฆาตกรมักจะลอยนวล และกลับกลายเป็นคนมีหน้ามีตาในสังคม
การที่นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความของนายเอกยุทธ อัญชันบุตร ตั้งข้อสงสัย 13 ข้อ ให้ตำรวจสอบสวนเพิ่มเติมให้สิ้นข้อสงสัย จึงเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุน และน่าชมเชยเป็นอย่างยิ่ง เพื่อไม่ให้ตำรวจสอบสวน และใช้วีธีการรวบรัดตัดตอนหาแพะรับบาปซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งหลายหน
แต่สำหรับคดีนี้ตำรวจสามารถจับกุมคนร้ายทั้งหมดได้อย่างรวดเร็ว ได้ศพ เงิน ทรัพย์สินคืนมาพร้อมด้วยหลักฐานพยานสรุปได้ว่า ผู้ต้องหาก่อนเหตุอุ้มฆ่าเอกยุทธเพื่อประสงค์ต่อทรัพย์ ซึ่งมีไม่ยากนักที่ตำรวจจะจับกุมคนร้ายได้อย่างรวดเร็ว ดังเช่น การอุ้มฆ่านายทะนง โพธิ์อ่าน ผุ้นำแรงงานถูกอุ้มหายตัวไปเพราะต่อต้านรัฐประหารของสุจินดา คราประยูร หรือกรณีทนายความสมชาย นีละไพจิต ถูกอุ้มหายตัวไปเพราะไปช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรง 3 จังหวัดภาคใต้ ทั้งสองกรณีตำรวจไม่ได้สืบค้นหาฆาตกรจนเรื่องเงียบไปในที่สุด
หากมีการติดตามคดีนายเอกยุทธกันต่อไปจนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดจะเป็นตัวอย่างที่ดีมากทีเดียว เพราะมีหลายกรณีที่ฆาตรกรหลุดรอดออกไปได้ เพราะเป็นผู้มีอิทธิพล ร่ำรวยมาก จึงมีการวิ่งเต้นและการทุจริตในวงการตุลากร ขณะเดียวกันในคุกตะรางก็มีแพะรับบาปอยู่หลายกรณีด้วยกัน
เมื่อเงินทองและวัตถุเป็นใหญ่ในชีวิต ย่อมนำมาสู่หายนะได้ง่าย ตายก่อนอายุขัย บอลทำงานให้เจ้านายบอสใหญ่อย่างเอกยุทธ อัญชันบุตร ผู้มั่งคั่งร่ำรวย มีชื่อเสียงแบบโลดโผน จึงตัดสินใจก่อเหตุฆาตกรรมชิงทรัพย์ นายเอกยุทธเป็นคนเก่ง มีความสามารถในการประกอบธุรกิจเก็งกำไรจากเงินปั่นราคาเป็นกำไร จนร่ำรวยอย่างรวดเร็ว กลายเป็นสาเหตุแห่งความตายก่อนอายุขัย แม้นายเอกยุทธจะห้อยพระสมเด็จเกศไชโยก็ไม่อาจป้องกันความตายได้ เป็นบทเรียนชีวิตทุกคนไม่ว่าจะเป็นพระราชา หรือขอทานยากจก ต่างก็ต้องพบความตาย เพียงแต่ว่าระหว่างยังมีลมหายใจอยู่จะดำเนินชีวิตอย่างมีความหมาย มีคุณค่าให้กับตนเองและสังคมให้มากที่สุดได้อย่างไร จึงจะทำให้เป็นความตายอย่างยิ่งใหญ่
ความรัก ความเอื้ออารี มีเมตตา เป็นความดีและความถูกต้องของชีวิตที่มีคุณค่า เมื่อข้าพเจ้าไม่ได้ทำความชั่วที่ทำไว้ ณ ที่ไหนเลย ข้าพเจ้าจึงไม่ได้ประหวั่นพรั่นพรึงกับความตาย และความทุกข์ยากของชีวิตในวันนี้ และในวันข้างหน้า
ข้าพเจ้าจึงตัดสินใจต่อสู้ให้ได้มาซึ่งความถูกต้อง และความยุติธรรม เพื่อสิทธิเสรีภาพ และประชาธิปไตย แม้ว่าข้าพเจ้าจะยากลำบากอยู่ในคุกตะราง หรืออาจตายไปเสียก่อน
1 กรกฎาคม 2556