Skip to main content

สมยศ  พฤกษาเกษมสุข
21 กันยายน 2556

 

 

เมื่อต้นเดือนกันยายน 2556 อั้ม เนโกะ นักศึกษาสาวข้ามเพศ ชั้นปีที่ 2 คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จุดพลุเรียกร้องเสรีภาพการแต่งกายมาเรียนหนังสือ ด้วยการออกโปสเตอร์สยิวลักษณะภาพนักศึกษาชาย – หญิง แสดงท่าร่วมเพศ พร้อมข้อความ “ปลดแอกความเป็นมนุษย์ของคุณออกมา” สร้างความฮือฮา และการถกเถียงในประเด็นการบังคับการแต่งกายเครื่องแบบนักศึกษากันอย่างกว้างขวางมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยที่จะให้นักศึกษามีเสรีภาพการแต่งกายมาเรียนหนังสือ และที่คัดค้านเสรีภาพดังกล่าว

เช่นเดียวกันกับการเรียกร้องเสรีภาพทรงผมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาเมื่อต้นปี 2556 ตามมาด้วยการเรียกร้องให้สาวประเภทสอง หรือกระเทยแต่งเครื่องแบบรับปริญญาของสตรีได้

ในอดีตนักศึกษามีบทบาททางสังคมการเมืองด้วยการเป็นกองหน้าของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่อความเป็นธรรมในสังคม และสิทธิเสรีภาพของประชาชน นับตั้งแต่การลุกขึ้นสู้ของประชาชนเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 แต่กระแสการต่อสู้เพื่อเสรีภาพเหล่านี้เจือจางลงไปจนแทบไม่ปรากฏขึ้นอีกเลยในปัจจุบันนี้  นักศึกปัจจุบันนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกระแสบริโภคนิยมในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมสมัยใหม่ ส่วนใหญ่จึงเพิกเฉยต่อปัญหาเศรษฐกิจ สังคมการเมืองในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง การต่อสู้ในเรื่องเสรีภาพจึงเป็นประเด็นของเสรีภาพในระดับปัจเจกชนมากกว่าเป็นเรื่องของสิทธิเสรีภาพของสังคมส่วนรวม

การบังคับการแต่งกายด้วยเครื่องแบบเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงอำนาจการควบคุมและการครอบงำของชนขั้นนำในสังคมไทยที่ต้องการแบ่งแยกสถานะภาพทางชนชั้นให้แตกต่างกัน เครื่องแบบจึงแสดงถึงอำนายในสังคมที่แตกต่างกัน สะท้อนยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก ดังตัวอย่างเช่น เมื่อก่อนรูปภาพผู้สมัครรับเลือกตั้งมักจะแต่งกายเครื่องแบบราชปะแตนแสดงถึงความเป็นเจ้าคน นายคน ในระบบราชการ แต่มาปัจจุบันผู้สมัครรับเลือกตั้งส่วนใหญ่แต่งกายในชุดสูทสากลแสดงถึงสถานภาพความเป็นนักธุรกิจสมัยใหม่

เครื่องแบบยังแสดงถึงอำนาจการควบคุมอย่างเช่นการใช้หุ่นในเครื่องแบบตำรวจที่เรียกว่า “จ่าเฉย” วางไว้ตามสัญญาณไฟจราจรยังมีพลานุภาพให้คนขับรถไม่กล้าฝ่าฝืนกฎจราจรได้อีกด้วย

เครื่องแบบยังถูกออกแบบเพื่อกำหนดความแตกต่างทางเพศแสดงถึงบทบาทความเป็นหญิง – ชาย ในสังคมที่แตกต่างกัน (Gender) เช่น ผู้หญิงใส่กระโปรง เป็นการควบคุมการเคลื่อนไหวทางร่างกายของผู้หญิงให้เชื่องช้า สงบเสงี่ยม สยบยอมให้ง่ายต่อการถูกกระทำทางเพศ ตามความต้องการของผู้ชายเพราะใส่กระโปรงย่อมง่ายต่อการถูกถอดออก และถูกรุกล้ำมากกว่าการใส่กางเกง ส่วนเพศชายสวมใส่กางเกงย่อมมีความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวทางร่างกายสะดวก รวดเร็ว เครื่องแบบการแต่งกายจึงสะท้อนอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศหญิงกับเพศชาย

ในโรงงานอุตสาหกรรมยังมีระเบียบข้อบังคับให้พนักงานใส่เครื่องแบบ หากเป็นพนักงานออฟฟิตจะใส่เครื่องแบบที่เรียกว่า “พนักงานคอปกขาว” (White collar workers) ส่วนพนักงานในกระบวนการผลิตจะใส่เครื่องแบบที่เรียกว่า “พนักงานคอปกน้ำเงิน” (Blue collar workers) ซึ่งคนกลุ่มหลังนี้ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าคนกลุ่มแรก

ส่วนเครื่องแบบนักศึกษามักถูกออกแบบมาเพื่อให้มีความแตกต่างไปจากสังคม อันแสดงถึงความเป็นอภิสิทธิ์ชนสร้างอัตลักษณ์ห่างไกลจากชุมชน และสังคมส่วนรวม การเรียกร้องเสรีภาพการแต่งกายของนักศึกษาด้านหนึ่งสะท้อนถึงเสรีภาพการบริโภคที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นในสังคมทุนนิยม  ในอีกด้านหึ่งก็เป็นการปลดปล่อยอำนาจการควบคุมของมหาวิทยาลัย ซึ่งถูกครอบงำด้วยข้าราชการชั้นสูงหัวโบราณ

เครื่องแบบการแต่งกายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยถูกสร้างขึ้นมาโดยชนชั้นสูงนำมาบังคับสวมใส่ให้กับชนชั้นล่าง เป็นการกล่อมเกลา บังคับให้ยอมจำนนต่อความไม่เท่าเทียมตามโครงสร้างอำนาจที่ดำรงอยู่ ผู้ฝ่าฝืนย่อมถูกตำหนิหรือถูกลงโทษได้ มาตรการทางกฎระเบียบ จึงอยู่เหนือหัวประชาชน และละเลยสิทธิเสรีภาพของมนุษย์อยู่เสมอ

ความคิด ความอ่าน และการท้าทายของคนรุ่นใหม่อย่างอั้ม โนโกะ จึงไม่ธรรมดา การเรียกร้องเสรีภาพการแต่งกาย และกากบฏต่อจารีตนิยม จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพ ปลดปล่อยตนเองออกจากพันธนาการทางสังคม  หวังเป้นอย่างยิ่งว่าการต่อสู้เพื่อเสรีภาพจะขยายตัวไปทุกปริมณฑลของสังคม
 

บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
หมายเหตุ -  ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข หรือ ไทบุตรชายของสมยศ พฤกษาเกษมสุข อ่านบทความของพ่อชิ้นนี้ภายในงานเสวนา “การปฏิรูปกระบวนการประกันตัวของผู้ต้องหาคดีความมั่นคงของชาติ” ที่จัดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 3 ปีแห่งการถูกคุมขังของสมยศ จัดที่มหาวิทยาธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2557
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
งาช้างไม่งอกจากปากสุนัขฉันท์ใด การปฏิรูปไม่อาจงอกมาจากพวกปฏิกูลการเมืองที่กำลังปิดกรุงเทพ นำความหายนะมาสู่สังคมไทยในขณะนี้
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 “พวกเราใช้ชีวิตบั้นปลายในเรือนจำก็เพราะเราคัดค้านแนวคิดการพัฒนาอย่างแบ่งแยก ซึ่งทำให้เรากลายเป็นคนต่างด้าวในประเทศของเราเอง”