Skip to main content

เมื่อกฎหมายเข้ามาใกล้ชีวิตคนธรรมดาอย่างเรามากขึ้น จึงเป็นการยากที่จะไม่สนใจอีกต่อไป   พอเกิดปัญหาขึ้นมากับตัวเอง ทางหนึ่งที่คนส่วนใหญ่พอจะทำได้ คือ ปรึกษากับคนใกล้ตัวที่ร่ำเรียนมาทางกฎหมาย เพราะจะให้ไปปรึกษากับทนาย หรือนักกฎหมายที่ไหนก็ยังไม่กล้า เพราะกลัวว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย ไหนความลับส่วนตัวจะแพร่งพรายออกไปให้คนอื่นล่วงรู้อีก พอไปค้นคว้าหาอ่านเองก็ไม่รู้เรื่อง

ดงกฎหมาย จึงขอเสนอบริการ "คลินิกกฎหมาย" เพื่อให้คำปรึกษากับปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของทุกท่าน   คลินิกกฎหมายนี้จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายในสาขาต่างๆ เข้ามาวางแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้เจอทางออก   เพราะหลายเรื่องที่มาบอกกล่าวเล่ากัน แก้ได้ด้วยกฎหมายง่ายๆ แต่ในตอนทีเกิดเรื่อง เจ้าของปัญหาไม่รู้ว่าจะหันไปปรึกษาใคร   ซ้ำร้ายเวลาไปค้นคว้าหากฎหมายอ่านก็ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ไม่รู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมีปมสำคัญอะไร ใช้กฎหมายเรื่องไหนเข้ามาปรับใช้ และจะให้ไปหาใครใช้ช่องทางไหนก็ไม่อาจรู้ได้

ขอพี่น้องทุกท่านสบายใจได้ครับ ต่อไปจะมีเรื่องต่างๆมาเล่าสู่กันฟัง หากพลาดพลั้งเกิดปัญหาเหมือนกับที่เล่ามาจะได้แก้ปัญหาได้ทันท่วงที   เนื่องจากในช่วงแรกนี้ยังไม่มีใครส่งเรื่องเข้ามาปรึกษาโดยตรง   ก็คงต้องเอาเรื่องราวเก่าก่อนมาทยอยเล่าให้ฟังเป็นตอนๆ ในทุกคืนวันศุกร์นะครับ

นอกจากปัญหากฎหมายในชีวิตประจำวันแล้ว   เหตุบ้านการเมืองเรื่องสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ก็เกี่ยวข้องกับกฎหมายมากขึ้นเรื่อยๆ ดังปรากฏเป็นข่าวในหน้าเว็บไซต์และรายการข่าวโทรทัศน์วิทยุทั้งหลาย ว่าตั้งแต่การชุมนุมทางการเมือง เรื่องปากท้อง นักร้อง นักดนตรี ทีวี โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต ธุรกิจ ชีวิตคนดัง ไปจนกระทั่งเรื่องเพศ ก็มีเหตุให้ข้องแวะกับประเด็นกฎหมายอยู่ตลอดเวลา

ดงกฎหมาย เลยเปิดช่วงนินทากฎหมายชื่อว่า "โอ้ยยย...กฎหมายง่ายๆหน่อยได้ไหมนะ" ซึ่งจะเป็นการนำเอาปัญหาของคนทั้งสังคมมาลองชำแหละด้วยมุมมองทางกฎหมาย ด้วยภาษาที่ง่ายที่สุดสำหรับคนที่ไม่เคยเรียนมาทางนี้   เพื่อสร้างทางเลือกในการตีความกฎหมายปรับใช้ตอบปัญหาใหญ่ๆที่เกิดขึ้นในสังคม   เนื่องจากในอดีตนักกฎหมายได้ผูกขาดความรู้ เป็นผู้ทรงภูมิยึดครองอำนาจในการชี้เป็นชี้ตายให้กับสังคมมานาน เพราะอาศัยว่าคนทั่วไปไม่เข้าใจกฎหมาย จะเถียงก็สู้ไม่ได้ เพราะเจอนักกฎหมายปาชื่อ "หลักกฎหมาย" อะไรใส่มาก็ไม่รู้ว่าจะตอบโต้อย่างไร

ต่อไปนี้ญาติสนิทมิตรสหายทั้งหลาย จะได้ลองฝึกใช้กฎหมายกันไว้ เพื่อว่าวันหนึ่งเกิดเรื่องอะไรที่อยากเถียงสู้ จะได้รู้ว่าที่นักกฎหมายพูดมา มันคืออะไร เชื่อได้แค่ไหน ตีความตามอำเภอใจ ไม่ยึดหลักวิชาอย่างเคร่งครัดรึเปล่า   แต่ให้ผ่อนคลายได้ครับ เราจะเอาหลักกฎหมายมาอธิบายด้วยภาษาที่ง่าย และมีตัวอย่างประกอบความเข้าใจด้วยครับ  รับรองว่าทุกวันอังคารท่านจะได้พบกับความสำราญใจไปกับหลักกฎหมายง่ายๆได้เลยครับ

เอาล่ะครับ คงได้เวลาบุกป่าฝ่าดง เพื่อถากถางดงกฎหมายรกชักที่เต็มไปด้วยอักษรชวนมึนงงจนหลงทางกันมาหลายสิบปี ให้มีทางสว่างกระจ่างใจมนแล้วล่ะครับ

ช่วงแรกที่เปิดทำการ ก็ขอวานส่งปัญหาที่อยากสอบถาม และหลักกฎหมายที่อยากรู้ เข้ามาให้ทางเราดูเพื่อทยอยตอบไปเรื่อยๆนะครับ

ช่องทางติดต่อสื่อสาร คือ คอมเม้นต์ด้านล่างบทความนี้ หรือบทความต่อๆไปครับ

ขอตะโกนส่งท้ายเพื่อเรียกขวัญกำลังใจด้วยคำว่า   "ราษฎร์ พิชิต วาทกรรม!!!"     

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะไม่พูดถึงเหตุการณ์ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นต่อต้านการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญในปัจจุบันอาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ไม่ว่าเราจะเห็นต่างและไม่ยอมรับกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร ก็ห้ามแสดงความคิดเห็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากกรณีฮือฮาที่บัณฑิตนิติศาสตร์ถูกจับดำเนินคดี เนื่องจากผลิตเบียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีการถกเถียงว่า “ทำไมรัฐไทยไม่อนุญาตให้คนทั่วไปผลิตเบียร์” ทั้งที่ชอบป่าวประกาศให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  จนทายาทเบียร์ยี่ห้อดังออกมาตอบโต้ โ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นอกจากประเด็นที่สื่อมวลชนกำลังตื่นตัวว่าจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมตีตราสื่อให้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรในลักษณะที่ผู้มีอำนาจอาจเข้ามาแทรกแซงแล้ว  อีกประเด็นที่เชื่อมโยงกันและกระเทือนไปสู่วงกว้างมาก คือ การขยายขอบเขตการควบคุมไปยัง สื่อใหม่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากประสบการณ์ตรงและการสังเกตการณ์งานต่อสู้ของประชาชนในท้องถิ่นหลายงานสะท้อนปัญหาหนึ่งที่คล้ายกันในหลายพื้นที่ คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและนโยบายพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ หรือการลงทุนของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มักจะถูกจ้องมองด้วยสายตาหวาดระแวงไปจนถึงการถูกสลายทำลายขบวนการเรื่อยมา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองประเด็นใหญ่ช่วงปลายปี 2016 ที่ชาวโลกจับตามองเห็นจะไม่พ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และการทยอยประกาศรางวัลโนเบลสาขาต่างๆ บ็อบ ดีแลน ได้โนเบล แต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองในโลกออนไลน์ที่ฮือฮาในช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปีหนีไม่พ้นเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ที่ สนช. ภายใต้การผลักดันของรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อสารที่ตัดข้ามผ่านพรมแดนตลอดเวลา และเศรษฐกิจระบบตลาดที่มีพละกำลังมหาศาลจนมิมีรัฐใดทัดทานได้ จนต้องเปิดกำแพงให้สินค้า บริการและผู้คนเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวกกว่ายุคสงครามเย็นที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จนนักคิดไม่น้อยหลุดปากว่า “รัฐชาติลดความสำคัญ” ไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากประเทศไทยต้องการผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จำต้องมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายที่ประกันความเป็นส่วนตัวในการสื่อสาร ตามมาตรฐานสากลใน 12 ประเด็นนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะพัฒนารัฐ ต้องมุ้งเป้าไปที่ ลูกหลานแรงงานและเกษตรกรโดยเฉพาะสตรี นี่คือสิ่งที่องค์การระหว่างประเทศด้านการพัฒนาเน้นย้ำเสมอ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเข้าใจผิดประการหนึ่งต่อการกระตุ้นตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลและดึงดูดการลงทุนในอภิมหาโครงการไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ การมุ่งไปชักชวนผู้ประกอบการรายใหญ่โดยใช้มาตรการลดแลกแจกแถมในรูปแบบการเชิญชวนนักลงทุนในยุคอุตสาหกรรมหนักซึ่งพ้นยุคสมัยไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อมีรัฐบาลใหม่สิ่งทีตามมาด้วยเสมอ คือ นโยบายด้านเกษตรกรรม   ในอดีตเกษตรกร หรือที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น “ชาวนา” คือ กลุ่มเป้าหมายหลักในการหยิบมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับนโยบายอุดหนุน   ตามสโลแกน “ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ”  ที่แม้แต่คนรุ่นหลังๆ ก็ยังได้ฟังคำขวัญเห