Skip to main content

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อสารที่ตัดข้ามผ่านพรมแดนตลอดเวลา และเศรษฐกิจระบบตลาดที่มีพละกำลังมหาศาลจนมิมีรัฐใดทัดทานได้ จนต้องเปิดกำแพงให้สินค้า บริการและผู้คนเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวกกว่ายุคสงครามเย็นที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จนนักคิดไม่น้อยหลุดปากว่า “รัฐชาติลดความสำคัญ” ไปแล้ว

                แต่เมื่อถึงมหกรรมกีฬาระดับโลกอย่างโอลิมปิก เอเชียนเกมส์ ซีเกมส์ และตอนนี้ก็คือฟุตบอลโลก ก็ดูเหมือนสีสันของธงชาติกลับโบกสะบัดพลิ้วไหวให้คึกคักไปกับภาวะชาตินิยมกลายๆไปด้วย

                ในอารยประเทศ นี่อาจเป็นโอกาสเดียวที่ประชาชนสามารถแสดงออกความคลั่งชาติได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายเพราะถือว่าเป็นกิจกรรมบันเทิงส่วนตัวที่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้อื่น และไม่นำไปสู่การเหยียดหยามเชื้อชาติ   จะเป็นก็แต่เพียงการล้อเล่นเย้ยหยันเพื่อความบันเทิงเท่านั้น โดยมีกติการ่วมกันในใจว่า นี่คือ กีฬา จบแล้วก็เหลือเพียงน้ำใจในฐานะคอกีฬาเดียวกัน 

                แต่หากอารมณ์ไม่จบในสนามลุกลามออกมานอกพื้นที่จำกัด แล้วแสดงออกมาด้วยความรุนแรง ไม่ว่าจะด้วยวาจาเหยียดหยาม อาฆาตมาดร้าย หรือใช้กำลังเข้าทำร้ายร่างกาย ทำลายทรัพย์สินแล้วล่ะก็ อันธพาลเหล่านั้นจำต้องได้รับโทษทัณฑ์จากบ้านเมืองและถูกประณามจากสังคมเป็นแน่แท้

                สิ่งหนึ่งที่ใกล้เคียงและจำต้องพูดเพราะเป็นปัญหาที่เกิดควบคู่กับทุนนิยมแบบโลกาภิวัฒน์นั่นก็คือ การเคลื่อนย้ายของผู้คนในนามของ ผู้อพยพ หรือแรงงานข้ามชาติ ซึ่งกระจายเข้าไปรับงานสกปรก ด้อยศักดิ์ศรี และอันตรายในประเทศที่มีรายได้หรือคุณภาพชีวิตดีกว่า   และในทางกลับกันพลเมืองของประเทศพัฒนาแล้วก็กำลังสูญเสียอาชีพและรายได้เนื่องจากกลุ่มทุนได้ย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศไปแสวงหาต้นทุนราคาถูกในประเทศที่มาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อมต่ำกว่า

                เมื่อคนสองกลุ่มเผชิญหน้ากันบนพื้นฐานของ “การได้เสีย” ย่อมเกิดการเปรียบเทียบและเดียดฉันท์กันขึ้นมาหากไม่อาจวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะการบีบคั้นของทุนข้ามชาติได้อย่างถ่องแท้  โวหาร “แรงงานต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนท้องถิ่น”  หรือ “ผู้อพยพเข้ามาก่อปัญหาสังคม”  ที่ดังก้องย่อมสะท้อนให้เห็นถึงการขาดไร้จินตนาการในการพิเคราะห์ปัญหาอย่างทะลุปรุโปร่ง

                สิ่งที่เกิด ณ ขณะปัจจุบันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนของเครื่องจักรขนาดใหญ่ในการเปลี่ยนมนุษย์ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิต แลกเปลี่ยน บริโภคภายใต้ตรรกะของทุนนิยมแบบตลาดที่ได้กระจายเข้าไปอยู่ในชีวิตจิตใจของใครหลายคน   ดังปรากฏการสร้างภาพฝันเรื่องการ ลงทุนโดยไม่ต้องลงแรง เป็นอิสระจากการเข้างานเป็นเวลาตอกบัตร หรือติดแหง็กอยู่ในที่ทำงาน และแน่นอนจะต้องรวยเร็วด้วย เพื่อจะได้ใช้ชีวิตที่เหลืออย่างมีความสุขไปด้วยการกิน เที่ยว และเอ็นเตอร์เทนตัวเองด้วยการโชว์ออฟผ่านสื่อ

                ภาพฝันเหล่านี้ได้ผลักดันให้เกิดงานใหม่ๆที่กระจายไปตามครัวเรือน และร้านกาแฟอย่างรวดเร็ว แต่เดิมที่ผู้ประกอบการต้องลงทุนสร้าง/เช่าสำนักงานเพื่อให้ทุกคนมาทำงานร่วมกันแล้วควบคุมตารางเวลางานเพื่อจ่ายค่าจ้างตามเวลาที่กำหนดไว้ชัดเจน   กลายเป็นคนรุ่นใหม่ยินดีรับงานไปทำเอง บนค่าใช้จ่ายของตัวเอง และแบกรับภาระงานเข้าไปผสมกับเวลาที่ใช้ชีวิตประจำวันหามรุ่งหามค่ำเพื่อให้ได้ผลงานออกมาตามเป้าหมาย โดยรายได้ก็ต้องบี้กับคู่แข่งรายอื่นที่ล่องลอยอยู่ในตลาดแรงงานอิสระอีกมากมายเช่นกัน

                คนรุ่นใหม่อีกไม่น้อยก็ใช้ทักษะทุกอย่างที่ตนมีผลักดันให้ตนขึ้นเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าและบริการออนไลน์โดยไม่ต้องอยู่ใต้นายจ้างคนไหนแต่ข้อมูลที่ตนผลิตและเรียกลูกค้าเข้ามาใช้เวลาในสื่อโซเชียลเหล่านั้นเข้ากระเป๋าเจ้าของแพลตฟอร์มเต็มๆ 

เช่นเดียวกับ ผู้รับจ้างขับรถภายใต้แอพพลิเคชั่น หรือการนำที่อยู่อาศัยของตนมาปล่อยเช่าในเว็บไซต์ระดับโลก  โดยที่ต้องแบ่งรายได้ส่วนหนึ่ง และข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดให้กับผู้ประกอบการที่อยู่จุดใดของโลกก็ไม่อาจทราบได้

ที่ร่ายยาวมาทั้งหมดต้องการสะท้อนว่า “ไม่มีของฟรีในโลกฉันใด ไม่มีงานประจำก็ไม่มีสวัสดิการฉันนั้น”   ความอิสระและความสุขที่เกิดจากการไร้เจ้านายไม่ผูกติดกับสถานประกอบการนั้น แท้จริงคือ การอยู่ในระบบการจ้างงานที่ไม่มั่นคง ต้องแบกรับความเสี่ยงในชีวิตและสุขภาพเอาเอง และเมื่อยังไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเร็ววันก็ยิ่งไปเพิ่มความเครียดสะสมจนกลายเป็นความเครียดและซึมเศร้านั่นเอง

ประสบการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นมาเป็นทศวรรษในประเทศพัฒนาแล้ว จนคนท้องถิ่นที่สูญเสียงานและคนรุ่นใหม่ที่รู้สึกชีวิตเสี่ยง หันไปชี้เป้าที่คนอพยพแรงงานข้ามชาติว่าเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์   โดยที่ไม่ได้มองไปยังสาเหตุที่แท้นั่นคือ การขูดรีดของกลุ่มทุนข้ามชาติ ผสมโรงด้วยการผลักภาระในการดูแลสวัสดิการแรงงานทั้งจากผู้ประกอบการและรัฐ นั่นเอง

ความเจ็บแค้นนี้นำไปสู่ภาวะเหยียดผู้ที่มาใหม่แล้วไปเร้าอารมณ์คลั่งชาติที่สะท้อนผ่านการตัดสินใจทางการเมืองจำนวนมากที่น่าตกใจ เช่น การลงคะแนนเอาสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป การเลือกผู้นำขวาจัดที่มีนโยบายชาตินิยมรุนแรง ซึ่งล้วนแต่สร้างปัญหาเพิ่มเติม โดยที่ไม่ได้แก้ปัญหาต้นทางที่เกิดจากระบบทุนนิยมที่มิได้กระจายโอกาสในการเข้าถึงปัจจัยการผลิตอย่างเท่าเทียม และไม่มีระบบเปลี่ยนผลกำไรของกลุ่มทุนให้ย้อนมาเป็นสวัสดิการของคนในสังคม

พลเมืองโลกควรควบคุมความคลั่งชาติให้อยู่ในสนามก่อนเกมส์จบเท่านั้น

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว