Skip to main content

บทความนี้จะไม่พูดถึงเหตุการณ์ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นต่อต้านการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญในปัจจุบันอาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ไม่ว่าเราจะเห็นต่างและไม่ยอมรับกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร ก็ห้ามแสดงความคิดเห็น

                ส่วนจะให้สนับสนุนก็ยังหาเหตุผลไม่ได้ จึงของด เพราะส่วนตัวจะไปลงมติไม่รับทั้งรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงอยู่แล้ว ขอท่านผู้อ่านอย่าได้ปฏิบัติตาม

                การลงประชามติเป็นกระบวนการวัดคะแนนความเห็นของประชากร โดยสามารถกำหนดได้ว่า “ใครมีสิทธิลงคะแนน” หรือ “ลงคะแนนเรื่องอะไร” รวมไปถึง “ผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร”

                การทำประชามติระดับชาติในทางหนึ่งเป็นวิธีการยุติความขัดแย้งแหลมคมของคนในชาติ หรือบางครั้งนำไปสู่การแบ่งแยกรัฐ หรือการสร้างรัฐใหม่  เพราะฉะนั้น กระบวนการและผลการลงคะแนนจึงมีผลต่ออนาคตอย่างแน่นอน ดังปรากฏใน การทำประชามติของสหราชอาณาจักร Brexit 2016

                คะแนนที่ออกมาสร้างความประหลาดใจให้คนทั่วโลกโดยเฉพาะคนบริติชเอง จนถึงขนาดนำไปสู่การเรียกร้องให้ลงคะแนนกันอีกครั้ง เมื่อย้อนไปดูว่าใครโหวตให้ออก และโหวตเพราะอะไร จะพบสิ่งที่น่าสนใจว่า เหตุผลเชิงชาตินิยม และกระแสการต่อต้านผู้อพยพ คนชาติพันธุ์อื่นที่ดูไม่เป็น บริติชดั้งเดิม  โดยอาจไม่เกี่ยวข้องกับการอยู่ร่วมสหภาพยุโรปด้วยซ้ำ

                เมื่อบวกกับแคมเปญหาเสียงของ โดนัลด์ ทรัพป์ ที่ต้องการขับไล่ผู้อพยพออกจากสหรัฐ ยิ่งชัดเจนว่า ปัญหา “การเหยียดสีผิว/ชาติพันธุ์” หลบซ่อนยังมีอยู่ แม้จะแสดงออกตรงๆ โต้งๆ ไม่ได้เพราะเสี่ยงจะผิดกฎหมาย หรือโดนสังคมประณาม แต่การลงคะแนนเสียงแบบลับ กลายเป็นทางออกของคนเหล่านี้ไป

                ปัญหาจริงๆ น่าจะอยู่ที่การกำหนด สิทธิ/หน้าที่ ใน "รัฐสวัสดิการ" เสียมากกว่าอ่ะครับ เพราะอย่างที่เห็นว่า ทหาร ตำรวจ หรือ รปภ. ก็เต็มไปด้วยคนอพยพหรือลูกหลานผู้อพยพ มาโดยตลอด

 

                สิ่งที่ไม่พูดจริงๆ คือ แนวโน้มของคนรุ่นลูกหลานของ Baby Boomer ที่เสวยสุขจากลัทธิอรรถประโยชน์นิยมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็นในยุโรป ที่ค่อนข้างสุขสบาย และมีเสรีภาพที่จะใช้ชีวิตแบบชิลๆ มากกว่า ที่ทำให้ อาชีพ งานช่าง ร้านค้า งานรับจ้าง และธุรกิจ SMEs ที่เป็นงานเหนื่อยหนักเริ่มไปอยู่ในมือผู้อพยพมากขึ้นๆ จนคนยูโรเปียนท้องถิ่นเริ่มวิตก

                แต่ในทางตรงกันข้ามก็มีผู้อพยพที่ปรับตัวไม่ได้แล้วกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายของกลุ่มก่อการร้าย ก็กลายเป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างตั้งใจของรัฐ คือ ไม่ให้เขามีงานทำแย่งโอกาสทางเศรษฐกิจ แต่ผลักเขาเป็นอาชญากร ผู้ก่อการร้าย เพื่อสร้างความชอบธรรมให้การมี ทหาร ตำรวจ อุตสาหกรรมความมั่นคง/รักษาความปลอดภัย

 

In peaceful democratic society, number matters?!!! (ในสังคมสันติมีประชาธิปไตย จำนวนนับมีความหมาย) ประเด็นจำนวนประชากรที่เชื่อมโยงกับปริมาณชาติพันธุ์ต่างๆที่มีอำนาจในการกำหนดอนาคตสังคมนั้นๆ

 

                ปัญหาที่เป็นรากฐานของการแสดงความรังเกียจผ่านการลงคะแนนเสียง ไม่น่าจะเกิดจากการมีผู้อพยพมุสิลมในยุโรปมากขึ้น แต่น่าจะอยู่ที่ คนท้องถิ่นชาวคริสต์เกิดน้อยลงเรื่อยๆ มากกว่า นี่ยังไม่พูดถึง คนยุโรปที่เป็น Non-Religious มากขึ้นเรื่อยๆ หรือ การไม่สามารถหลอมรวม "คนอื่น" หรือ "ผู้มาใหม่/เกิดใหม่" ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคม "ยุโรเปียน" มากกว่า
 

                ผมไม่ได้บอกว่า เสรีภาพในทางเพศหรือการมี/ไม่มีครอบครัว หรือ LGBTIQ เป็นปัญหาด้วยนะ ผมสนับสนุนการอยู่ร่วมกันของคู่หลากหลายทางเพศและรับบุตรบุญธรรมจากคนที่มีลูกแต่ไม่พร้อม ด้วยครับ

 

                ปัญหาจริงๆ น่าจะอยู่ที่การกำหนด สิทธิ/หน้าที่ ใน "รัฐสวัสดิการ" เสียมากกว่าอ่ะครับ เพราะคนที่ต้านผู้อพยพพอไล่เหตุผลไปจะไปสุดตรงคำถามที่ว่า  "เราจ่ายเพื่อช่วยเหลือคนอื่นไปทำไม?"

                ในสังคมเขาก็เป็นคำถามที่ต้องตอบให้ดีล่ะครับ เพราะโครงสร้างงบประมาณ มาจาก ภาษีทางตรง มากกว่า ภาษีทางอ้อม กลับหัวกลับหางกับรัฐไทย ที่งบประมาณส่วนใหญ่มาจากภาษีทางอ้อม (ยิ่งมีคนเข้ามามากผลิตมากบริโภคมาก รัฐยิ่งจัดเก็บรายได้เยอะ – รวมถึงการผลิต/บริโภคของแรงงานต่างชาติ)
 

                ถ้าจำนวนผลประโยชน์ที่คนอพยพจ่าย กับ ผลประโยชน์ที่ผู้อพยพได้ มันสมดุลย์ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

แต่ก็นั่นล่ะครับ เขาไม่ได้คิดกันแค่ "จำนวน" ง่ายๆ แบบนี้

เพราะมันมีอะไรที่มากกว่า "ตัวเลข" กระมังครับ

 

                เยอรมนีพร้อมและเปิดรับผู้อพยพมากกว่ารัฐอื่น เพราะมีประสบการณ์ในการรับผู้อพยพปริมาณมหาศาลมาเมื่อไม่นานมานี้ คือ ชาวเยอรมันตะวันออก เพื่อนร่วมชาติ ครับ

เขาคงเห็นแหละว่ามีแต่ได้กับได้ เมื่อเทียบกับมหาอำนาจคู่แข่งที่เป็นประเทศผู้อพยพเช่นกัน อย่างสหรัฐอเมริกา

 

                ทรัมพ์นี่ก็เป็นปฏิกิริยาของ กลุ่มผู้ไม่มีสำนึกทางประวัติศาสตร์ชาติอเมริกัน นะครับ เพราะ อเมริกันชน ก็คือ ผู้อพยพ โดยการคาดการณ์ว่าปี 2030 ประชากรที่ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาแม่จะเกิน 50%


                ตอนประชามติ Brexit แล้วฝ่ายอยู่ (Remain) แพ้นั้น เพราะ คนรุ่นใหม่ คนรุ่น Digital ไม่ไปลงคะแนน แต่คนรุ่นเก่า Analog ไปลงคะแนนออก (Leave) (ทั้งที่โพลก่อนลงคะแนนฝ่าย Remain นำมา ทั้งในโพลอินเตอร์เน็ต และทางโทรศัพท์) และมีวิจัยด้วยว่า คนรุ่นใหม่ที่เข้าถึงเทคโนโลยีสื่อสาร มักจะไม่ไปลงคะแนนเสียง แต่จะเสียเงินโหวตรายการเรียลลิตี้ หรือการทำโพลโหวตทางเทคโนโลยีสื่อสาร มากกว่า คือ เน้นการหยั่งเสียงผ่านเทคโนโลยีสื่อสารมากกว่า  แต่รัฐยังเป็น อนาล็อก อยู่นะครับ


                ทั้งหมดนี้ไม่ได้กดดันใครให้ไปโหวตยังไง แค่เล่า งานสายเทคโนโลยีกับความเคลื่อนไหวทางสังคม ให้ฟังครับ

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว