Skip to main content

             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไปจนถึงการลบล้างผลของสัญญา หรือให้ชดใช้ค่าเสียหาย ในทางแพ่งฯ   หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ กฎหมายและรัฐเข้าไปบังคับคนให้ทำหรือไม่ทำอะไรได้ โดยมี “ผลทางกฎหมาย” เป็นอาวุธหลัก

เนื่องจากการเกิดรัฐสมัยใหม่นี้มาพร้อมกับกฎหมายที่มีผลบังคับอย่างชัดเจน แน่นอน รุนแรง นี่เอง ที่ได้ทำลายกองกำลังเถื่อน และกลุ่มอาชญากรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนรัฐกลายเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการควบคุมให้คนในรัฐทำตามนโยบายและกฎหมาย   การฝ่าฝืนกฎหมายจึงเป็นเรื่องร้ายแรงในรัฐที่จะต้องโดนกำหลาบด้วยกฎหมาย เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีเพียงรัฐเท่านั้นที่จะใช้อำนาจได้เหนือกลุ่มอื่นๆ

ดังนั้นใครที่ละเมิดกฎหมายก็จะต้องได้รับผลร้ายทางกฎหมาย ไม่ว่าโทษจะร้ายแรงแค่ไหนหากกฎหมายกำหนดไว้ล่วงหน้า ประชาชนก็ปฏิเสธมิได้  ประชาชนจึงต้องอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐอย่างเด็ดขาด   แต่อย่างที่เราก็ทราบกันดีว่า การทำให้ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายรับโทษตามกฎหมายก็อยู่ที่ “กระบวนการยุติธรรม” ด้วย ที่จะสืบหาผู้กระทำความผิด และนำพยานหลักฐานมายืนยันการกระทำฝ่าฝืนกฎหมาย เพื่อให้เกิดการตัดสินผิด/ถูก และบังคับผลให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

แต่ต้องไม่ลืมว่า หากใครตกเป็นผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นจำเลย โดยเฉพาะเป็นนักโทษทางอาญาแล้ว จะต้องเผชิญกับโทษที่ร้ายแรงมาก คือ เสียชีวิต เสียอิสรภาพ หรือสูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง โดยไม่อาจโต้แย้งได้  ต้องก้มหน้ารับผลคำตัดสินไป   และที่แย่ไปกว่านั้น คือ ตราบาปที่ถูกประทับไว้ให้กลายเป็น จำเลยสังคม อาชญากร ผู้ก่อการร้าย ผู้ทำลายชาติ ที่สร้างผลสะเทือนต่อไปในอนาคต หรือติดไปกับครอบครัวลูกหลานอีกด้วย   ดังนั้น “การลงโทษผู้บริสุทธิ์” จึงเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างมาก   สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับโทษทางกฎหมาย

ระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมจึงต้องพยายามอย่างยิ่งยวดมิให้คนบริสุทธิ์ต้องโทษ   หรือแม้กระทั่งในคดีแพ่งฯ ที่ผลร้ายทางกฎหมายต่อฝ่ายแพ้คดีจะเป็นเรื่องเงินๆทองๆ ทรัพย์สิน หรือสิทธิทั่วไป ไม่ถึงกับคอขาดบาดตาย แต่ก็มีผลต่อฝ่ายแพ้คดีมาก   กระบวนการยุติธรรมทางแพ่งจึงให้สิทธิแก่คู่กรณีในการต่อสู้คดีอย่างเท่าเทียมกัน  แต่กฎหมายอาญาที่มีโทษร้ายแรงกว่า จะให้สิทธิกับฝ่ายที่ถูกกล่าวหา “จำเลย” มาก เพราะพลาดพลั้งไป อาจตายหรือได้ไปใช้ชีวิตในคุก

คดีสำคัญที่หลายท่านคงเคยได้ยิน คือ คดีเชอร์รี่แอน ดันแคน ที่ในครั้งแรกได้กล่าวหาบุคคลจำนวนหนึ่งเป็นจำเลยและมีคำพิพากษาจำคุกจนทำให้ผู้บริสุทธิ์กลุ่มหนึ่งต้องตายในเรือนจำ หรือออกจากคุกมาก็ต้องสูญเสียครอบครัว และบางคนก็ติดโรคร้ายจากสภาพความเป็นอยู่ที่โหดร้ายในคุก   คดีนี้สะท้อนให้เห็นว่า หากไม่มีการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ขั้นตอนสืบสวนสอบสวน การทำสำนวน การสั่งฟ้องคดี การพิจารณาคดีจนมีคำพิพากษา และการจำคุก ล้วนมีปัญหาสร้างความคลางแคลงใจให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ไปจนถึงสังคมในวงกว้าง   ทำให้ศรัทธาที่มีต่อกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเสื่อมทรามลงเป็นอันมาก

อุทาหรจากคดีนี้ชวนให้คิดไปได้ว่ามีคนอีกจำนวนมากที่ต้องเข้าไปอยู่ในคุกทั้งที่ไม่ได้กระทำผิด เพียงแต่ไม่มีเงินจ้างทนายดีๆ ไม่มีเส้นกับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง หรือไม่มีความรู้ทางกฎหมาย หรือมีภาพลักษณ์ไม่ดีชวนให้คิดว่าเป็น “โจร”  ดังนั้น ส่งที่เกิดขึ้นพร้อมๆกันไปด้วยเมื่อเกิดคดีความทางกฎหมาย ก็คือ ความอยุติธรรมทางสังคม ที่สะท้อนผ่านการดำเนินคดีที่ไม่เป็นธรรมกับคนบางกลุ่ม ด้วยเหตุที่เขามีต้นทุนในชีวิตต่ำ เช่น ยากจน ไร้เส้น ไม่มีการศึกษา ไปจนถึงหน้าตาท่าทางไม่ดี

หากกระบวนการแย่ ไม่ให้โอกาสกับคู่ความสู้ได้ดีพอ โอกาสที่จะแพ้ความแล้วติดคุกตารางย่อมมีสูงมาก   ดังนั้นการให้ความสำคัญกับ “กระบวนการ” จึงมีผลต่อ “ผล” อย่างสนิทแนบแน่น  

อย่างไรก็ดี นอกจากในมุมที่สิทธิมนุษยชนในกระบวนการ เป็น “วิธีการ” ที่ทำให้ได้ “ผล” ของคดีที่เป็นธรรมกับคู่ความ สร้างความยุติธรรมทางสังคมแล้ว   ยังมีมุมที่เกี่ยวกับ “ความเป็นธรรม” ระหว่างกระบวนการ เช่น การขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวเพื่ออกไปต่อสู้คดี หรือที่เรียกกันติดปากว่า “การประกันตัว”   ซึ่งเป็นปัญหามาก เนื่องจากรัฐธรรมนูญและหลักกฎหมายบอกชัดว่า ต้องปฏิบัติกับบุคคลที่ยังไม่มีคำพิพากษาเด็ดขาดเสมือนเป็นผู้บริสุทธิ์ นั่นย่อมหมายความว่า การไปควบคุมตัวเขาไว้ในสถานจองจำทั้งที่ยังไม่มีคำพิพากษาในศาลสูงสุดว่าเขาผิด ย่อมเป็นการกระทำกับบุคคลนั้นเสมือนว่าผิดจริงมาตลอด  การไม่ให้ประกันตัวจึงเป็นความรุนแรงต่อผู้ถูกจองจำแล้ว  

กรณี คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข ที่โดนควบคุมตัวมาตลอด 3 ปี ที่มีการพิจารณาคดีการตีพิมพ์บทความ 2 เรื่องที่มีผู้กล่าวหาว่าหมิ่นประมาทฯ ตาม ม. 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา นั้น ได้สะท้อนให้เห็นว่า   เรื่องการประกันตัวมีลักษณะกลับหัวกลับหาง   คือไม่ให้ประกันตัวไว้ก่อน   ทั้งที่หลักคือ ปล่อย ถ้าจะควบคุมตัวต้องมีการนำสืบของฝ่ายบ้านเมืองว่า จำเลยจะหลบหนี หรือเข้าไปทำลายพยานหลักฐาน หรือฝ่าฝืนกฎหมายเพิ่มเติม   มิพักต้องพูดถึงกรณีของ อากง ที่มีโรคประจำตัวรุมเร้าและเสียชีวิตในขณะอยู่ในเรือนจำเพราะไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว

ดังนั้นการเน้นย้ำ “สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม” จึงเป็นการสร้างหลักประกันให้กับ “ผลของคดี” และ สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนที่ต้องเสี่ยงกับ “ความอยุติธรรมทางสังคม” ไปในคราวเดียวกัน   หากรัฐและสังคมเห็นความสำคัญกับเรื่องนี้ก็จะมีความพยายามของสังคมในการจับตามองความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางของคำพิพากษา เพื่อสร้างที่มาแห่งความชอบธรรมในผลคำพิพากษาที่จะกำหนดว่ารัฐนี้ให้คุณค่ากับ “ความเป็นธรรม” ของ “มนุษย์” อย่างเท่าเทียมกันหรือไม่นั่นเอง

ผลของคดีที่เป็นประโยชน์กับฝ่ายหนึ่งเสมอ เป็นโทษกับฝ่ายหนึ่งตลอดมา  ชนิดที่ว่าปรากฏคลิปวิดีโอว่า ตุลาการมีการตั้งธงคำพิพากษาไว้ก่อน แล้วหาเหตุผล/ข้ออ้าง มาสนับสนุนสร้างความชอบธรรมโดยไม่สนใจ วิธีการ และกระบวนการ อันขัดหับหลักการพิจารณาคดีที่จะต้องรับฟังพยานหลักฐานให้หมดสิ้นเสียก่อนแล้วจึงตัดสินคดีจากข้อเท็จจริงที่อยู่ในศาล มิใช่ ข้อเท็จจริงที่ตุลาการรับรู้ผ่านสื่อ  ได้สร้างความคลางแคลงใจให้ฝ่ายที่เสียประโยชน์มาก

                ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการตัดสินคดีก็น้ำท่วมปาก แต่ก็ไม่ยากนักที่จะหาสารพัดเหตุผลมากลบเกลื่อนไปแบบเสียมิได้   แต่ก็มิได้ทำให้ความทรงจำของฝ่ายที่เสียประโยชน์หายไป    เพราะความสงสัยยังคงอยู่  แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นคือ “ความเดือดดาล” ที่ทับถมทวีคูณอยู่ทุกวัน จนมันก่อให้เกิดสำนึก “สองมาตรฐาน” อย่างแพร่หลายในสังคม

หลักฐานจาก การดำเนินคดีฝ่ายหนึ่งด้วยระยะเวลาที่ยาวนาน อีกฝ่ายเร่งรัดรวดเร็ว    การไม่ให้สิทธิคู่ขัดแย้งอย่างเท่าเทียม ฝ่ายหนึ่งได้ประกัน อีกฝ่ายเหมือนจะถูกขังลืม     การดำเนินคดีด้วยนโยบายแบบพิเศษ เช่น คดีความมั่นคงที่ลิดรอนสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของจำเลย     ผลของคำพิพากษาไปเข้าทางฝ่ายเดียว ดังปรากฏคลิปผู้พิพากษาคุยกำหนดธงคำพิพากษาล่วงหน้า    การไม่ให้โอกาสคู่ความให้เหตุผลหรือแสดงหลักฐาน ไปจนถึงการรวบรัดพิจารณาคดีเหมือนไม่ได้ฟังความอีกข้าง 

คดีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและความมั่นคง ที่อยู่ในการรับรู้ของสังคมตั้งแต่ปี 2549 นั้นประจานความสั่นคลอนของเสาหลักแห่งรัฐไทยที่เรียกว่า “ศาลไทย” มิใช่เพราะผลของ “คำพิพากษา” เท่านั้น   แต่ที่ได้สร้างความเจ็บช้ำใจให้คนจำนวนมากก็เพราะ “กระบวนการ” ที่ส่อว่าเป็นการกำหนด “วิธีการ” เพื่อให้ได้ “ผล” ที่ฝ่ายหนึ่งต้องการเท่านั้น

ปัญหาเหล่านี้ไม่ยากเกินการแก้ไข เพราะ "กฎหมายไทย" นั้นวางหลักเรื่องวิธีการ/กระบวนการ ได้ดีอยู่แล้ว เหลือเพียงการ "ปฏิบัติ" ของบุคคลและการปรับโครงสร้างอำนาจการบริหารงานยุติธรรมให้เอื้อต่อการประกันสิทธิของประชาชน ก็เท่านั้นเอง!???

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม