Skip to main content

ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบได้   ด้วยอาการวิงเวียนและเหมือนจะเป็นลมหน้ามืด แน่นหน้าอก ทำให้ป้าตัดสินใจไปโรงพยาบาลโดยขอเข้ารับการรักษาโดยใช้สิทธิบัตรทอง   ทางโรงพยาบาลจึงแจ้งให้คุณป้าทราบว่า ถ้าไม่มีบัตรทองมายืนยันการเป็นเจ้าของสิทธิทางโรงพยาบาลจะไม่ดำเนินการใดๆ และคุณป้าจะไม่สามารถใช้สิทธิรักษาฟรีได้   คุณป้ารู้สึกว่าจะเดินไปไหนต่อก็ไม่ไหว ลูกหลานก็ไม่มีมาด้วย จึงขอกับเจ้าหน้าที่ว่าจะเข้ารับการรักษาก่อนได้ไหม เพราะถ้าจะต้องกลับบ้านไปหาบัตรก็ต้องเดินทางกลับออกไปนอกตัวเมือง และใช้เวลาเดินทางมาก อาจเป็นลมเป็นแล้งไปแล้วจะไม่มีใครช่วย   ถ้ายังไงขอเจอหมอเพื่อให้รู้โรครู้อาการ ให้หมอรักษาให้ดีก่อน แล้ววันหลังจะไปหาบัตรมาให้เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเงินคารักษา เพราะนอกจากเงินช่วยเหลือคนชราเดือนละ 500 บาทแล้ว ป้าก็ไม่ได้มีรายได้อื่นๆ นอกจากเงินเก็บที่มีแต่จะร่อยหรอลงเรื่อยๆ 

ด้วยอาการเหนื่อยล้า และดูท่าจะไม่ดีถ้าต้องมีการยืนถกเถียงกันต่อไป ทางพยาบาลจึงให้คุณป้าเข้าคิวรอรักษาโดยรอคิวรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่จะต้องมีการสำรองจ่ายเงินเองก่อน ไม่ให้เข้าไปช่องทางของการรักษาด้วยสิทธิบัตรทองจนกว่าจะมีบัตรทองมาพิสูจน์สิทธิได้จึงจะอนุญาตให้ใช้สิทธิฟรีตามที่รับรู้กันทั่วไป   หลังจากเข้าตรวจกับหมอแล้วพบว่าคุณป้ามีอาการประจำของคนวัยชราที่มีรูปร่างท้วม นั่นคือ เบาหวาน ความดันสูง และหลอดเลือดตีบ ผสมกันจนต้องได้รับยาชุดใหญ่เพื่อรักษาอาการให้บรรเทาลง และจะต้องนัดกับหมอเพื่อมารักษาและควบคุมอาการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลายเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตของคุณป้าทันที เนื่องจากที่ได้เล่าไว้ก่อนหน้าแล้วนั่นคือ  

บ้านป้าอยู่ห่างไปจากโรงพยาบาล และงานการประจำอะไรคุณป้าก็ไม่ได้มี เหลือเพียงที่ดินกับบ้านเล็กๆไว้อยู่อาศัย เนื่องจากป้าไม่มีลูกเป็นโสดและหลานคนไหนก็ไม่ได้สนิทชิดเชื้อ ต้องดูแลตัวเองมาตลอด หลังจากเลิกทำงานเป็นลูกจ้างร้านรับซักรีดเสื้อผ้าในเมืองเพราะเริ่มจะนั่งรถเข้าไปทำงานไกลๆไม่ได้ ก็มิได้มีรายได้อะไรเป็นหลักเป็นแหล่ง   หากจะต้องใช้จ่ายในการรักษาดูแลตัวเองทั้งค่ายา ค่าเดินทาง ที่ต้องเอาเงินเก็บตลอดชีวิตออกมาใช้ ไหนจะต้องกังวลว่ายาหรือการรักษาบางอย่างจะอยู่ในขอบเขตยาและการรักษาของการประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือไม่อีก   เรื่องที่เกิดในครั้งนี้ป้าถึงกับบอกว่า เป็นเคราะห์หนักที่สุดในชีวิตแล้ว เพราะไม่เคยไปมีเรื่องอะไรกับใคร อุบัติเหตุใดๆก็ไม่เคยเกิด ใช้ชีวิตเรียบๆง่ายๆ พอเพียงมาตลอดชีวิต   แต่ใครจะคิดว่าในที่สุดเคราะห์ภัยด้านสุขภาพก็มาถามหาในวัยชราที่ไม่สามารถใช้กำลังต่อสู้ฟันฝ่าหาเงินมารักษาตัวเองได้เหมือนแต่ก่อน

หลังจากปรึกษากับหมอว่าจะต้องดูแลตัวเองอย่างไรแล้วรู้ว่าจะต้องมาหาหมออีก และค่ายารักษาในแต่ละครั้งก็ไม่ใช่น้อยๆ รวมถึงค่ายาในครั้งแรกนี้ที่ต้องสำรองจ่ายออกไปก่อน   ป้าจึงคิดว่ายังไงก็ต้องใช้สิทธิรักษาฟรีให้ได้   ไม่งั้นคงล้มละลายหรือต้องขายบ้านและที่ดินแล้วไม่รู้ไปอยู่ไหนในวัยแก่เป็นแน่   ป้าจึงออกไปคุยกับเจ้าหน้าที่ว่ายาที่สั่งวันนี้ขอมารับวันพรุ่งเพื่อจะกลับไปหาบัตรทองมาก่อน   พอเดินทางกลับไปหาที่บ้านก็ไม่พบบัตรทองที่โรงพยาบาลต้องการ แต่อาการเหมือนจะหนักขึ้นทุกที พอจะใช้วิธีที่หมอแนะนำมาเอาตัวรอดได้ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะมีชีวิตรอดไหวไปอีกเมื่อไหร่ ถ้าเป็นลมไปในบ้านคนเดียวคงต้องตายเป็นแน่เพราะไม่มีใครดูแล   ป้าจึงกัดฟันไปโรงพยาบาลอีกครั้งโดยเอาบัตรประชาชนกับทะเบียนบ้านไปด้วย   แต่มันก็ไม่ช่วยอะไรเพราะพยายามอธิบายเท่าไหร่ทางโรงพยาบาลก็ปฏิเสธไม่ยอมให้ป้าใช้สิทธิทั้งที่เลขประชาชนในบัตรประจำตัวและทะเบียนบ้านก็มีอยู่   ด้วยความสิ้นหวังไม่รู้จะทำยังไงจึงกลับมาปรึกษากับผู้ใหญ่บ้านที่รู้จักเห็นหน้าค่าตากันมาตั้งแต่เด็กๆ ก็เห็นว่าเรื่องนี้น่าจะติดต่อเข้ามายังคลินิกกฎหมายซึ่งมีป้ายประชาสัมพันธ์มาติดที่ฝาที่ทำการผู้ใหญ่บ้านพอดี   เรื่องนี้จึงเข้ามาถึงคลินิก

วิเคราะห์ปัญหา

1. การเจ็บป่วยของประชาชนอยู่ในการดูแลของรัฐไทยหรือไม่ ประชาชนมีสิทธิได้รับสวัสดิการด้านสาธารณสุขหรือไม่

2. ประชาชนที่มีอายุมากเกินกว่าจะทำงานได้มีสวัสดิการอื่นใดของรัฐเพิ่มเติมเพื่อเข้ามาเป็นหลักประกันในชีวิตหรือไม่

3. การใช้สิทธิในการรักษาพยาบาลของประชาชนจะต้องใช้บัตรทองประจำตนเป็นหลักฐานในการรับสิทธิโดยไม่มีข้อยกเว้นหรือไม่   หากบัตรหายแต่ยังมีเอกสารอื่นยืนยันตัวบุคคลจะขอรับสิทธิได้หรือไม่ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน เลขที่ประจำตัวประชาชน

4. ในกรณีฉุกเฉินบุคลากรด้านสาธารณสุขของรัฐปฏิเสธการรักษาประชาชนได้หรือไม่ หากไม่ใช่โรงพยาบาลที่เป็นสถานพยาบาลที่ระบุสิทธิไว้ในหลักประกันถ้วนหน้าของประชาชนคนนั้น

5. หากบัตรหายไป ประชาชนต้องการรับสิทธิรักษาพยาบาลจะมีวิธีการเรียกร้องสิทธิอย่างไรบ้าง

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.  รัฐธรรมนูญรับรองสิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขของประชาชนทุกคน ป้าเป็นประชาชนที่มีสัญชาติไทยแม้ไม่มีหลักประกันอื่นๆ เช่น ประกันสังคม  แต่อย่างน้อยที่สุดจะอยู่ในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (รักษาฟรี)

2.  รัฐธรรมนูญรับรองสิทธิของคนชราว่าจะต้องได้รับการประกันสิทธิซึ่งรัฐมีกฎหมายให้เงินอุดหนุนเดือนละ 500 บาท  นอกจากนี้ยังมีการ ยกร่าง พระราชบัญญัติสวัสดิการของผู้ยากไร้ฯ เพิ่มเติมออกมา ซึ่งจะต้องดูว่าเข้าเกณฑ์รับสิทธิหรือไม่ หากเข้าเกณฑ์ก็จะมีสวัสดิการรองรับ

3.  สิทธิด้านสาธารณสุขซึ่งรับรองให้ประชาชนชาวไทยมีสิทธิรักษาพยาบาลนั้น เป็นสิทธิติดตัวของประชาชน บัตรทองเป็นเพียงเอกสารยืนยันสิทธิเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการ   มิใช่สาระสำคัญของสิทธิ   หากมีหลักฐานยืนยันตัวบุคคลได้ เช่น บัตรประชาชน ย่อมมีสิทธิเข้าสู่บริการสาธารณสุข   เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจปฏิเสธสิทธิด้วยเหตุแห่งการไม่มีบัตรทอง

4.  หากประชาชนอยู่ในภาวะเจ็บป่วยร้ายแรงต้องได้รับการรักษาฉุกเฉิน แม้ไม่ได้ใช้สิทธิในสถานพยาบาลที่ระบุไว้ ก็ไม่ได้หมายความว่าประชาชนจะเสียสิทธิทันที   เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขมีหน้าที่ตามธรรมดาในการป้องกันไม่ประชาชนได้รับอันตราย หากเจตนาปัดภาระไม่ปฏิบัติหน้าที่จนเกิดความเสียหาย จะนำมาซึ่งความรับผิดทางกฎหมาย

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.  หากสถานพยาบาลปฏิเสธการรักษา ประชาชนสามารถร้องเรียนหัวหน้าสถานพยาบาลได้

2.  หากไม่เป็นผลให้ร้องไปยังสาธารณสุขระดับพื้นที่เรื่อยไปถึงองค์กรอุทธรณ์ภายในกระทรวงสาธารณสุข

3.  และมาตรการขั้นเด็ดขาด คือ ฟ้องไปยังศาลปกครองเพื่อให้มีคำวินิจฉัย บังคับให้สถานพยาบาลประกันสิทธิรักษาพยาบาลให้กับประชาชน

สรุปแนวทางแก้ไข

                ประชาชนชาวไทยมีสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขตามรัฐธรรมนูญ และยังอาจรับสวัสดิการอื่นๆเพิ่มเติมหากเข้าเกณฑ์ของบุคคลผู้ด้อยสิทธิเป็นพิเศษ เช่น คนชรา ผู้พิการ   การเข้ารับสิทธินั้นกระทำได้ยังสถานพยาบาลที่ตนมีรายชื่ออยู่ หากเป็นกรณีฉุกเฉินอาจเข้ารับรักษาที่ใดเพื่อป้องกันอันตรายได้   การขาดไร้บัตรทองไม่ได้ตัดสิทธิในการเข้ารักษาพยาบาล เพราะบัตรทองมิใช่สาระสำคัญแห่งสิทธิ หากมีเอกสารอื่นยืนยันตัวบุคคลได้โรงพยาบาลก็ต้องให้สิทธิรักษาพยาบาล   หากมีข้อขัดแย้งสามารถร้องเรียนไปยังหัวหน้าหน่วยงานและกระทรวงสาธารณสุข   รวมถึงการฟ้องบังคับตามสิทธิในศาลปกครอง

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว