Skip to main content

เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ

“เนื่องจากบ่ายวันหนึ่งมีตำรวจสองคนขอค้นที่พักอาศัยของคนงานที่ทำงานให้กับโรงงานของพ่อแม่ โดยอ้างว่าเมื่อวานแม่ค้าในตลาดมาแจ้งความว่ามอเตอร์ไซค์ถูกขโมยและเห็นคนร้ายขับเข้ามาในระแวกนี้ แม่ค้าสงสัยว่าน่าจะเป็นคนทำงานในโรงงาน ทางตำรวจจึงขอเข้าตรวจค้นว่ามีรถที่ถูกขโมยมาซ่อนในโรงงานหรือไม่

ด้วยความที่พ่อแม่ของน้องมั่นใจว่าคนงานของตนไม่มีพฤติกรรมเช่นนั้นอย่างแน่นอนจึงปล่อยให้ตำรวจคนหนึ่งเข้าไปค้นบริเวณหอทั้ง ซึ่งตำรวจเข้าไปทั้งค้นในและนอกอาคารเพียงลำพัง ทว่าตำรวจนายหนึ่งเดินออกมาจากห้องพักคนงานพร้อมยาบ้าครึ่งเม็ด และขอจับกุมคนงานทุกคนตรวจปัสสาวะ ซึ่งผลออกมาก็ไม่มีผู้ใดที่บ่งบอกว่าติดยา จึงปล่อยทุกคนกลับบ้านและขอคุมตัวคนงานเจ้าของห้องที่พบยาบ้าไว้ก่อน   และได้เปลี่ยนมาเป็นเรื่องยาบ้าแทนจากการค้นหารถที่ถูกขโมย

พ่อกับแม่เดินทางไปขอประกันตัวคนงานเจ้าของห้องที่ถูกจับไว้แต่ก็ไม่ได้รับการยินยอม  แล้วมีตำรวจชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเดินออกมาพร้อมกล่าวหาว่าแม่ขัดขวางการทำงานเจ้าพนักงานและพยายามปกปิดความผิดคนงานนายตำรวจบอกให้แม่เอาเงินให้เขาจำนวน 50,000 บาทแล้วคดีก็จะสิ้นสุดลง แต่แม่ไม่ยอมให้ นายตำรวจคนนั้นจึงขู่ว่าจะสั่งปิดกิจการทางบ้านและของอายัดทรัพย์สิ้นทั้งหมด 

ทั้งนี้ตำรวจคนนั้นยังจะจับแม่ไว้ด้วยโดยให้เหตุผลว่ากลัวแม่จะหนีความผิด   ซึ่งมองอย่างไรก็ดูเหมือนว่าตำรวจผู้นั้นต้องการแค่เงินของแม่ และเรื่องที่เกิดขึ้นก็ยังทำให้กิจการของทางบ้านจำเป็นต้องหยุดชะงักลงอีกด้วย

ในที่สุดพ่อจึงตัดสินใจนำเงินจำนวน 50,000 บาทไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเตรียมเงินสดใส่ไปในกล่องของขวัญและกระเช้าผลไม้   เนื่องจากในช่วงนั้นตรงกับเทศกาลขึ้นปีใหม่พอดี   หลังจากนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่คนนั้นได้รับเงินไป เรื่องก็จบไปโดยไม่มีการฟ้องร้องคนงานดังกล่าวที่เป็นเจ้าของห้องที่พบยาบ้าครึ่งเม็ด   รวมถึงปล่อยตัวแม่ออกมาพร้อมกันทำให้ครอบครัว

วิเคราะห์ปัญหา

1.        การเข้าค้นที่พักเพื่อหาสิ่งของโดยไม่มีหมายค้นทำได้หรือไม่ หากต้องมีหมายต้องแสดงหมายค้นหรือไม่

2.        การเข้าค้นที่พักเพื่อตามหาคนในข้อหาหนึ่ง แล้วพบวัตถุผิดกฎหมายซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับหมายจับ เป็นการเข้าค้นที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถนำไปสู่การดำเนินคดีที่อยู่นอกเหนือหมายจับได้หรือไม่ เพราะกรณีนี้ไม่มีหมายค้นเกี่ยวกับยาเสพติด

3.        การกดดัน ปรักปรำ และเพิ่มข้อหาตามอำเภอใจของเจ้าพนักงาน และการเรียกรับสินบน เป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่  การจ่ายสินบนและไม่มีการดำเนินคดีถือเป็นความผิดด้วยหรือไม่

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.            การค้นสถานที่ส่วนบุคคลหรือที่รโหฐานเพื่อหาสิ่งของหรือบุคคลข้างในนั้นที่ไม่เข้าข้อยกว้นใดๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องร้องขอศาลให้ออกหมายค้น โดยหมายค้นจะระบุสถานที่ที่ค้น อะไรที่จะถูกค้นหา เจ้าพนักงานคนใดทำการค้น เวลาที่ทำการเริ่มค้น และเมื่อค้นสิ่งใดได้ให้ทำบัญชีสิ่งของและเก้บสิ่งของไว้ ณ สถานที่ตามที่หมายระบุ  

2.             ยาเสพย์ติดถือเป็นวัตถุผิดกฎหมาย หากเจ้าพนักงานพบเห็นซึ่งหน้าก็อาจขอควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยที่ครอบครองยาเสพย์ติดได้   แต่การจับกุมและการพิสูจน์ความผิดอาจจะมีปัญหาต้องต่อสู้กันต่อไป เช่น ตอนที่พบนั้นมีพยานไหมว่าเจอที่ไหน หรือมีการพกยามาจัดวางไว้ในห้อง ฯลฯ ทั้งในการจับกุมเจ้าพนักงานต้องแจ้งเหตุผลหรือความผิดที่ถูกจับ สิทธิในการพบ/มีทนายความ สิทธิในการได้พบบุคคลที่ตนไว้ใจ สิทธิที่จะไม่ตอบคำถามของเจ้าพนักงานสอบสวนเว้นแต่คำถามที่ถามชื่อหรือที่อยู่ของบุคคลนั้นเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย

3.             การข่มขู่ ปรักปรำ ตั้งข้อหาของเจ้าพนักงาน ถือเป็นการกระทำโดยมิชอบ ขัดกับหลักกระบวนการยุติธรรมที่ดี อาจทำให้กระบวนการทั้งหมดเสียไปเพราะขัดกับขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้   การเรียกรับสินบนเป็นความผิดทั้งทางวินัย และความผิดอาญา

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.        กระบวนการเข้าค้นแล้วปรักปรำเรื่องยาเสพย์ติดนั้น สามารถร้องเรียนเบื้องต้นกับผู้บังคับบัญชาได้ แต่กรณีนี้ผู้บังคับบัญชาเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาจึงอาจร้องเรียนต่อคณะกรรมการตำรวจประจำสถานีตำรวจแห่งนั้น

2.        หากไม่คืบหน้าสามารถร้องเรียนไปยังคณะกรรมการ ปปช. ได้เนื่องจากเป็นการเรียกรับสินบนซึ่งเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ของเจ้าพนักงาน  ซึ่งอาจจะนำไปสู่การส่งให้อัยการสั่งฟ้องในศาลยุติธรรมเพื่อให้เจ้าพนักงานรับผิดและชดเชยค่าเสียหายต่อผู้ที่ถูกปรักปรำโดยมิชอบได้

3.        การร้องเรียนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการยุติธรรมและกิจการตำรวจประจำรัฐสภา ก็เป็นช่องทางอื่นๆที่สามารถร้องเรียนเพื่อขอความเป็นธรรมได้

สรุปแนวทางแก้ไข

                กรณีเข้าตรวจค้นมิชอบ ใช้หลักการตรวจค้นและตั้งข้อหาตามกระบวนการทางอาญา ซึ่งกรณีนี้การตรวจค้นกระทำได้ตามหมายค้น แต่ยังมีข้อต่อสู้เรื่องการพบยาเพียงครึ่งเม็ดแต่ไม่พบสารเสพติดในร่างกายของผู้ใด ส่วนเรื่องการโต้เถียงเป็นการใช้สิทธิธรรมดาที่กระทำได้ไม่ถือเป็นการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ การเรียกเงินถือเป็นความผิดทางอาญาของเจ้าพนักงานสามารถฟ้องต่อศาลอาญาได้ โดยอาจร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ปปช. หรือแต่งทนายขึ้นสู้คดีเอง

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว