Skip to main content

พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว

พลังธรรมชาติ (Force of Nature) เป็นสิ่งที่กฎหมายกล่าวถึงไว้ในหลายฉบับทั้ง กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่อยไปจนถึงกฎหมายมหาชนต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญ   เนื่องจากพลังธรรมชาติเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์และสังคมอย่างแยกออกจากกันไม่ได้   กฎหมายจึงต้องเข้ามาบอกว่า หากพลังธรรมชาติทำให้เกิดเรื่องต่างๆ ขึ้นมาจะมีผลอย่างไร

เหตุแผ่นดินไหวที่ทำให้ถนนแตกแยกยุบลงไปเป็นหลุมใหญ่ ทำให้รถที่สัญจรผ่านมาตกลงไปจนเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน จะถามหาความรับผิดชอบจากใครคงไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่อยู่การคาดเดา   ความเสียหายจึงตกเป็นพับแก่ผู้ที่ประสบภัยนั้น   

กฎหมายอาญาพูดไว้ในเรื่องเหตุสุดวิสัย ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่มีใครต้องรับผิดและไม่ถูกกฎหมายลงโทษ  เช่น เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว ทำให้หินถล่มลงมาบนถนนทำให้คนที่ขับรถผ่านมาต้องหักหลบจนไปชนป้ายทางหลวงและที่กั้นของรัฐเสียหาย   ผู้ขับรถก็ไม่ต้องรับผิดในการทำให้ทรัพย์สินของรัฐเสียหาย เนื่องจากต้องปกป้องชีวิตตนจากพลังธรรมชาติที่ตนมิอาจควบคุมได้

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็กล่าวไว้ว่าพลังธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเสียหายไม่ตกเป็นภาระหนี้แก่บุคคลใด   เช่น   เมื่อเกิดพายุฤดูร้อนถล่มจนต้นไม้โค่นลงมาใส่รถยนต์   เจ้าของที่ดินซึ่งต้นไม้นั้นงอกมาแล้วหักโค่นใส่รถ ก็ไม่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถ เพราะตนไม่อาจคาดเดาพลังธรรมชาติได้

อย่างไรก็ดี หากบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับพลังธรรมชิตเหล่านั้น มิได้ใช้ความระมัดระวังเท่าที่ควร ก็อาจต้องรับผิดได้ เช่น หน่วยงาน/เจ้าหน้าที่พยากรณ์อากาศซึ่งไม่ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบสัญญาณคลื่นแผ่นดินไหว แล้วไม่ได้แจ้งเตือนสึนามิ ตามที่ระเบียบการต่างๆกำหนดไว้   หากเกิดคลื่นยักษ์ถล่มจนมีความเสียหาย หน่วยงาน/เจ้าหน้าที่เหล่านั้นก็ต้องรับผิดทั้งทางวินัย รับโทษทางอาญา และชดเชยค่าเสียหาย จากความประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอ

อีกสิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมาทุกยุคทุกสมัย ก็คือ เรื่องลี้ลับ พลังที่อยู่เหนือความเข้าใจของวิทยาศาสตร์ พวกผีสาง นางไม้ เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา เจ้ากรรมนายเวร สารพัด ภูตผีวิญญาณ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ที่หลายคนมักได้ยินตั้งแต่วิญญาณระดับท้องถิ่น บ้านๆ ไปจนถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่เคารพสักการะระดับชาติ เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ

พลังลี้ลับที่จะพูดถึงในบทความนี้จึงจะจำกัดวงอยู่ที่ พลังลี้ลับซึ่งวิทยาศาสตร์มิอาจพิสูจน์ได้ว่ามีจริง ไม่มีตรรกะเหตุผลที่ชัดเจน   แต่ปรากฏคนจำนวนคิดว่าควรเชื่อถือและปฏิบัติตาม ไปจนถึงเคารพบูชา ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตกันเลยทีเดียว   เช่น   เรื่องการอวตารบุคคลสำคัญหรือทวยเทพ การเข้าทรง วิญญาณสิงสู่ การกลับชาติมาเกิด   ฯลฯ

ความสำคัญของเรื่องนี้อยู่ที่ว่า   กฎหมายแบบตะวันตกที่เรารับมาใช้นั้น เกิดขึ้นจากประวัติศาสตร์ของสังคมตะวันตกที่ผ่านความเจ็บช้ำจากยุคมืด ที่ผู้มีอำนาจบารมีอาศัยวิธีการอ้างสิ่งลี้ลับมากำจัดทำลายฝ่ายตรงข้าม หรือผู้ที่ขัดผลประโยชน์ แย่งชิงความนิยมไปจากกลุ่มของตน   เช่น   การใช้ความรุนแรงของศาสนจักรต่อกลุ่มคนนอกรีต

การอ้างพระเจ้าเพื่อเผาทำลายเหล่าแม่มดหมอผีที่ทำการปรุงยาพิษ โดยเหตุที่ชาวบ้านเลิกเข้าโบสถ์สวดมนต์หรือไปรับการรักษาพรมน้ำศักดิ์สิทธิ์จากหลวงพ่อในโบสถ์ เพราะพบว่าแถบชายป่ามีหญิงเก็บของป่าและปรุงยารักษาโรคได้ชะงัดนัก   ใช่แล้ว อำนาจในการรักษาโรค เป็นอำนาจทางการเมือง และเป็นเครื่องมือแย่งชิงความนิยม มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว   ใครที่โผล่มาแย่งชิงอำนาจในการรักษาคนจนจำนวนมาก ย่อมเป็นภัยคุกคามต่อกลุ่มอำนาจเก่าที่คงฐานอำนาจด้วยการเรียกร้องการกตัญญูรู้บุญคุณจากผู้มารับการรักษา

การเกิดรัฐสมัยใหม่จึงมาพร้อมกับการต่อสู้ระหว่าง เจ้าผู้ปกครองรุ่นใหม่ ที่ต้องการสลัดตนออกจากเงาดำคลุมปัญญาและความสามารถของมนุษย์ในการแก้ปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวัน   กับ   ผู้มีบารมีที่ถืออ้างความศักดิ์สิทธิ์ว่าถือพลังอำนาจในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น รักษาโรค โดยอาศัยความรู้ที่ถ่ายทอดกันมาผ่านกลุ่มของตน ยึดครองอำนาจในการตีความคัมภีร์เที่ยวชี้หน้าว่า คนนั้นนอกรีต นังนั่นเป็นแม่มด นายคนนั้นเป็นหมอผี   โดยไม่มีหลักฐานมายืนยันอย่างหนักแน่น

การรื้อฟื้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่แล้วแต่โดนกดไว้โดยอำนาจศักดิ์สิทธิ์ จึงเป็นการควักเอาเครื่องไม้เครื่องมือที่ถูกซ่อนเก็บไว้ออกมาฟาดฟัน ความเลื่อนลอยของฝ่ายที่อ้างความศักดิ์สิทธิ์อย่างได้ผล   แม้จะต้องใช้เวลาต่อสู้กว่าจะคลี่คลายเป็นร้อยปี แต่สิ่งที่เกิดขึ้น คือ เหตุผลและหลักฐานที่พิสูจน์ได้ชัดเจน กลายเป็นรากฐานของกติกาในการอยู่ร่วมกัน   เมื่อใดมีข้อพิพาทก็ต้องตัดสินกันด้วยพยานหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้โดยสามารถเปิดเผยวิธีการและเนื้อหาได้ชัดเจน

สิ่งที่น่าสนใจในประเทศไทย คือ สารพัดกรณีที่ ผีเข้ามาช่วยคลี่คลายคดีปริศนา เด็กที่ระลึกความตายในชาติที่แล้วได้เพราะกลับชาติมาเกิดจึงไปแจ้งเอาผิดกับคนร้าย หรือแม้กระทั่งการทรงเจ้าแล้วไปชี้เบาะแสการกระทำผิด หรือคนผีเข้าแล้วกล่าวหาปรักปรำผู้ต้องสงสัยว่าได้กระทำความผิดจริง    สิ่งลี้ลับเหล่านี้เป็นพลังเหนือมนุษย์ซึ่งกฎหมายไม่อาจยอมรับได้

การรับร้องทุกข์จากอาการเหล่านี้ตรงๆนั้นกระทำมิได้ รวมถึงไม่อาจนำมาเป็นคำให้การหรือเป็นพยานในชั้นพนักงานสอบสวน อัยการ ศาล  แม้ในทางปฏิบัติจะมีการกล้อมแกล้มอยู่บ้างก็เป็นเพียงเทคนิควิธีในการกดดันผู้ต้องสงสัย หรือบีบบังคับญาติสนิทมิตรสหายให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐ เสียมากกว่า   แต่ต้องไม่ลืมว่าการกระทำเหล่านี้เป็นจุดอ่อนให้ฝ่ายที่เสียประโยชน์ยกเป็นข้อต่อสู้ในการทำลายความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานและความไม่สมบูรณ์ของกระบวนการสืบสวน

สิ่งลี้ลับที่กฎหมายยอมรับอย่างชัดแจ้งถึงขนาดมีบัญญัติไว้ในกฎหมายก็มีอยู่เช่นว่า กฎหมายยอมรับว่า การสาปแช่ง ทำคุณไสย เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลผู้ถูกกระทำ  ถือเป็นความเสียหายที่อาจเรียกร้องค่าเสียหายกันได้   ดังที่อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติท่านหนึ่ง ฟ้องร้องบุคคลที่เผาหุ่นเผาพริกเผาเกลือทำพิธีสาปแช่งตนไปสู่ชั้นศาล

ในชั้นศาลก่อนที่จะมีการเบิกความพยาน ก็จะมีการบังคับให้พยานสาบานในกรอบความเชื่อของบุคคลเหล่านั้น เช่น ถ้าเป็นคนพุทธก็จะอ้างถึงคุณพระศรีรัตนตรัย และพระ/วัดสำคัญของท้องถิ่นนั้น   หากเป็น ศาสนิกชนของศาสนาที่มีพระเจ้าก็จะขออำนาจของพระผู้เป็นเจ้าในการควบคุมสัจจะจากบุคคลนั้น   แม้กระทั่งคนที่ไม่มีศาสนาหรือไม่ได้นับถือศาสนาสมัยใหม่ ก็จะต้องสาบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้พยานเกรงว่าจะมีอันเป็นไปหากโกหก

ปัจจุบัน สังคมไทยก็กำลังตะลึงพรึงเพลิดกับ เหล่านักบวชผู้อยู่เหนือกฎหมาย เป็นอันมากเนื่องจากคนในสังคมประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดรู้ดีว่า ตราบที่ยังมีความเป็นคนเหมือนกันย่อมต้องมีความเท่าเทียมกัน ตามหลัก “มนุษย์ทุกคนเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย”   กล่าวคือ ไม่ว่าจะมีหัวโขน อาภร เป็นเครื่องยกตนเหนือคนอื่นในสังคมอย่างไรก็ตาม   หากมีความขัดแย้งเป็นความกันทางกฎหมายแล้วล่ะก็ย่อมต้องอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายเช่นเดียวกับบุคคลตัวเปล่าเล่าเปลือย    หากนักบวชฆ่าคนหรือข่มขืนผู้อื่น ก็ต้องรับโทษและชดใช้ค่าเสียหาย จะลอยนวลไปไม่ได้

แต่สิ่งที่เป็นปัญหามาก คือ สังคมและกลไกรัฐได้ยอมให้นักบวชหรือนักเทศนาทั้งหลาย ใช้อำนาจบารมีกดขี่ข่มเหงผู้อื่น แต่ไม่ได้รับผลทางกฎหมายเรื่อยมา   เสมือนว่าเป็นการให้ท้าย และยกคนเหล่านี้ไว้เหนือกฎหมาย  จนยอมสละชีวิตและทรัพย์สินของสามัญชนได้เพื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์จอมปลอมเหล่านี้   และสังคมที่ยอมให้มีการล่าฆ่าแม่มดโดยไร้ซึ่งพยานหลักฐานที่แน่ชัดเพียงแค่เธอและเขาเหล่านั้นตั้งคำถามกับความศักดิ์สิทธิ์ ก็เท่ากับปิดหู ปิดตา ปิดปาก ไม่ยอมกระชากตัวออกจากหลุมพราง ทั้งที่มีอนาคตที่สดใสเปิดกว้างรออยู่ เพราะความกลัวและหวาดระแวงต่อ “ความจริง”

ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุที่รัฐไทยไม่ปรากฏเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่าง ศาสนา กับ รัฐ หรือไม่มีจุดเปลี่ยนจาก สังคมศักดินา เข้าสู่ รัฐสมัยใหม่  เพราะฉะนั้นสิ่งที่ดูจะศักดิ์สิทธิ์เหนือการแตะต้อง หรือแม้กระทั่งพูดถึงไม่ได้ จึงยังคงดำรงอยู่ และสามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ผ่านกระบวนการยุติความเป็นธรรม ทำให้คนจำนวนไม่น้อยต้องถูกกักขังสูญเสียอิสรภาพหรือแม้แต่ชีวิตได้  

ฤาการเน้นย้ำความขึงขลังของ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็คือ การอยู่เหนือกฎหมาย หรือ มีบารมีนอกกฎหมาย นั่นเอง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี