Skip to main content

การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบบสัญญาที่รัฐกำหนด   ดังนั้นเทคโนโลยีที่กำลังมาตอบสนองต่อแรงปรารถนานี้ก็คือ สัญญาอัจฉริยะหรือสมาร์ทคอนแทร็ก (Smart Contract) บนเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain)

สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) คือโค้ดที่นำมาใช้ในสภาพแวดล้อมบล็อกเชนหรือซอร์สโค้ด เป็นอภิธานศัพท์ของระบบเทคโนโลยีแบบกระจายศูนย์ คำว่า Smart Contract ถูกใช้ครั้งแรกโดย Nick Szabo ในช่วงปลาย 90 ซึ่งใช้หมายความถึง การวางสัญญาลงในรหัสที่อาจเป็นทั้ง "ความน่าเชื่อถือ" และ "การบังคับใช้ด้วยตนเอง" เพิ่มประสิทธิภาพและลบความคลุมเครือออกจากความสัมพันธ์ตามสัญญา  และมีความเชื่อว่า Smart Contract นั้นสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทรัพย์สินทุกประเภทที่มีมูลค่า และควบคุมโดยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้แน่ใจว่าบทบัญญัติตามสัญญาที่เกี่ยวข้องจะดําเนินการโดยอัตโนมัติด้วยวิธีการทางเทคโนโลยี

สัญญาอัจฉริยะ Smart Contract  ถูกนํามาใช้โดยชุมชนบล็อกเชน เพื่ออ้างถึงรหัสที่ปรับใช้และเรียกใช้ในสภาพแวดล้อมบล็อกเชน  อันหมายความถึง โปรแกรมซอฟต์แวร์ ที่มีในลักษณะใช้ร่วมกันโดยคนงานเหมือง (The Miners) ของเครือข่ายบล็อกเชน    โดยทั่วไป Smart Contract  จะมีเพียงฟังก์ชันพื้นฐาน เช่น การออกโทเค็นเพื่อวัตถุประสงค์ในการระดมทุน การออกและการจัดการโทเค็นเป็นของสะสมดิจิทัล, ตลาดแบบกระจายศูนย์สำหรับการซื้อขายโทเค็นดิจิทัล, การชําระเงินแบบมีเงื่อนไข หรือเงื่อนไขที่กําหนดไว้ล่วงหน้า บัญชีออมทรัพย์ ระบบลอตเตอรี่ง่าย ๆ ระบบการพนัน   Smart Contract ยังสามารถใช้ เพื่อเสริมเงื่อนไขของสัญญาทางกฎหมายได้  เช่น เพิ่มขั้นตอนการระบุตัวตน เพื่อสร้างความปลอดภัย และอํานวยความสะดวกในการสมัครสมาชิก หรือแม้กระทั่งการดําเนินการเปลี่ยนแปลงตามสัญญาการจ้างงาน

โดยจุดเด่นของสัญญาอัจฉริยะ ก็คือ มีความแข็งแกร่งมากกว่าสัญญาทางกฎหมาย แต่ก็มีข้อจำกัดที่มากกว่าสัญญาทางกฎหมาย  แต่การที่มีข้อจํากัดก็ยังเป็นหนึ่งในประโยชน์ที่สำคัญ เนื่องจากคู่สัญญาอาจใช้ประโยชน์ในรูปแบบที่หวังจะพึ่งพาผลลัพธ์ที่แม่นยําและวัดปริมาณได้ ในขณะที่ข้อสัญญาทางกฎหมายที่เขียนด้วยภาษาธรรมชาติ อาจปรับใช้ได้กับจํานวนสถานการณ์ที่ไม่จํากัด เนื่องจากความยืดหยุ่นและความคลุมเครือของภาษาธรรมชาติ

ข้อตกลงในรายละเอียดของ Smart Contract จะแสดงในภาษาที่เป็นทางการ มากกว่าสัญญาทั่วไปที่มีความยืดหยุ่น จากการที่สัญญาทั่วไปเป็นภาษาธรรมชาติ  ดังนั้นข้อสัญญาจํานวนมาก จะไม่สามารถครอบคลุมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในระบบบล็อกเชน  โดย Smart Contract มีขอบเขตที่จํากัดเพียงภาระผูกพันตามสัญญาเท่านั้น  หมายความสัญญานี้ จะไม่รวมคําสั่งที่เป็นข้อห้ามชัดเจนเกี่ยวกับอํานาจของสถาบัน ซึ่งจะไม่เป็นการสร้างปัญหา หากว่าสัญญาอัจฉริยะมีความเกี่ยวข้องกับการดําเนินงานภายใต้การควบคุมของพวกเขาเท่านั้น

อย่างไรก็ตามสัญญาทางกฎหมายส่วนใหญ่ มึ่งจะบังคับเกี่ยวกับสิทธิและภาระผูกพันนอกโครงสร้างพื้นฐานของบล็อกเชน ซึ่งยังไม่สามารถจัดการผ่านระบบ Smart Contract ได้ แม้ว่าการกระทําเพียงเล็กน้อยผ่าน Smart Contract ก็อาจสร้างข้อตกลงทางกฎหมาย แต่ยังมีปัญหา คือ ความเป็นไปไม่ได้ของการดำเนินการตามที่ตกลงไว้ในสัญญา จะเป็นโมฆะในทางเทคนิคหรือไม่  เมื่อต้องตีความเปรียบเทียบกับสัญญาทางกฎหมาย ผู้ใช้จะสามารถทำตามที่ตนเองตกลงหรือยินยอมไว้ใน Smart Contract ได้จริงหรือไม่ ก็ยังประเด็นที่ท้าทายอยู่เช่นกัน

เมื่อกล่าวถึงสถานะทางกฎหมายของการทำสัญญาอัจฉริยะแบบบันทึกลงบนเทคโนโลยี Blockchain นั้นมิได้หมายความเพียงเพราะมีบางอย่างกำลังเข้ารหัส มิได้แปลว่าระบบจะสามารถให้สถานะทางกฎหมายได้เองโดยอัตโนมัติ แต่โดยทั่วไปสัญญาในระบบนี้มีลักษณะทางกฎหมายบนพื้นฐานดังต่อไปนี้
1. มีข้อกำหนดพื้นฐานที่จำเป็น Formal Requirements ข้อกําหนดควรเป็นสัญญาที่ทำเป็นภาษาที่ทั้งสองฝ่ายสามารถเข้าใจได้ เพื่อยืนยันความตกลงร่วมกัน
2. มีการลงนามยืนยัน Signing Requirements ลายเซ็นดิจิทัลบนบล็อกเชนจะต้องได้รับการตรวจสอบโดย TSP สัญญาทางกฎหมายอัจฉริยะอัตโนมัติที่ต้องใช้ลายเซ็นดิจิทัลจะต้องสามารถตรวจสอบได้ว่าลายเซ็นนั้นถูกต้องหรือไม่ และบุคคลนั้นมีอํานาจในการลงนามหรือไม่
3. การอ้างสิทธิเรียกร้องของคู่สัญญาได้ Immutability of Smart Contracts ยิ่งสัญญามีความ "อัตโนมัติ" มากเท่าไหร่ ปัญหาทางกฎหมายก็จะเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น
4. กระบวนการรับรองความถูกต้อง Smart Contract Audits/Quality Assurance การตรวจสอบความถูกต้องของสัญญาจะต้องกลายเป็นข้อกําหนด และต้องพิจารณาถึงการยอมรับทางกฎหมายเกี่ยวกับความถูกต้องของ สัญญา Smart Contracts

จะเห็นได้ว่าสัญญาที่สร้างขึ้นบนเทคโนโลยีบล็อกเชนถูกคิดค้นขึ้นเพื่ออํานวยความสะดวกในการทำธุรกรรมแบบกระจายศูนย์ที่เชื่อถือได้ และถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องหลังจากเกิดความสำเร็จของ Bitcoin และแพลตฟอร์ม Cryptocurrency ทั้งหลาย ทั้งนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถมีบทบาทสำคัญในการสร้าง Single Digital Market

ในแพลตฟอร์มดิจิทัลทั่วไปในปัจจุบัน มักใช้ระบบเอนทิตีเดียว (a Single Entity Stores Data) ที่เก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล "หลัก" ในฐานะ "แหล่งที่มาของความจริงที่เชื่อถือได้" (Authoritative Source of Truth) บนแพลตฟอร์ม ซึ่งเจ้าของแพลตฟอร์มเป็นผู้แบ่งปันให้แก่ผู้ใช้ ในการกระจายอํานาจ
สภาพแวดล้อมดิจิทัลแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Digital Environments) จึงเป็นเรื่องยุ่งยากเมื่อมองจากมุมมองทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นความรับผิด  แพลตฟอร์มที่ใช้บล็อกเชน ยังมีแนวโน้มที่จะเสนอนามแฝงหลายระดับ และในบางกรณีก็มีระบบปิดปิดตัวตนให้กับผู้ใช้ ยิ่งทำให้ยากที่จะรู้ว่าใครใช้แพลตฟอร์ม และปลายทางคืออะไร เนื่องจากบล็อคเชนไม่ได้ผูกติดอยู่กับสถานที่เฉพาะใด ๆ เมื่อทุกคนที่มีฮาร์ดแวร์ที่จําเป็น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนสามารถใช้งานโหนดได้ ซึ่งอาจทําให้ยากต่อการกําหนดความรับผิดชอบทางกฎหมาย  จึงจำเป็นที่รัฐจะต้องออกแบบกฎหมายและกลไกในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง
Nick Szabo, “Smart contracts: Building blocks for digital markets”. EXTROPY: The Journal of Transhumanist Thought, (1996): 16. อ้างอิงใน Primavera De Filippi, Chris Wray, and Giovanni Sileno, “Smart Contracts,” Internet Policy Review 10, no. 2 (2021).
Vitalik Buterin, “Ethereum Whitepaper : A next-Generation Smart Contract and Decentralized Application Platform,” Ethereum.org, last modified 2013, accessed September 14, 2021, https://ethereum.org/en/whitepaper/. อ้างอิงใน Primavera De Filippi, Chris Wray, and Giovanni Sileno, “Smart Contracts,” Internet Policy Review 10, no. 2 (2021).
Primavera De Filippi, Chris Wray, and Giovanni Sileno, “Smart Contracts,” Internet Policy Review 10, no. 2 (2021).
Karen E. Levy, “Book-Smart, Not Street-Smart: Blockchain-Based Smart Contracts and the Social Workings of Law,” Engaging Science, Technology, and Society 3 (2017): 1-15. อ้างอิงใน Primavera De Filippi, Chris Wray, and Giovanni Sileno, “Smart Contracts,” Internet Policy Review 10, no. 2 (2021).
Jeremy M. Sklaroff, “Smart contracts and the cost of inflexibility,” University of Pennsylvania Law Review, 166, (2017): 263–303. อ้างอิงใน Primavera De Filippi, Chris Wray, and Giovanni Sileno, “Smart Contracts,” Internet Policy Review 10, no. 2 (2021).
Eliza Karolina Mik, “Smart Contracts: Terminology, Technical Limitations and Real World Complexity,” Law, Innovation and Technology 9, no. 2 (2017): 269. อ้างอิงใน Primavera De Filippi, Chris Wray, and Giovanni Sileno, “Smart Contracts,” Internet Policy Review 10, no. 2 (2021).
Primavera De Filippi, Chris Wray, and Giovanni Sileno, “Smart Contracts,” Internet Policy Review 10, no. 2 (2021): 6.
Tom Lyons et al, “Legal and regulatory framework of blockchains and smart contracts,” Thematic Report of European Union Blockchain Observatory & Forum, (September 27, 2019).

*ค้นคว้าและเรียบเรียงร่วมกับ ภานุพงศ์ จือเหลียง ในงานวิจัยเรื่อง ทบทวนพรมแดนความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนิติบัญญัติในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565. สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว