Skip to main content

เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย่างเด็ดขาดเพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกิดการผลิตงานขึ้นมา แต่ก็มีผลต่อการเผยแพร่และวิจารณ์ดัดแปลงต่อยอดงานต้นแบบนั้นให้อยู่ในอำนาจของผู้ประพันธ์ตั้งต้น 

โดย เจน กินสเบิร์ก มีจุดยืนในการเรียกร้องให้เพิ่มอำนาจในการควบคุมและป้องกันการจำหน่ายจ่ายแจกผลงานและเทคโนโลยีให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์    โดยแสดงเหตุผลที่ควรจะเพิ่มอำนาจให้กับหน่วยงานและเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมการเผยแพร่งานสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการผลิตงานเพื่อทำให้มีผลงานออกมาสู่พื้นที่สาธารณะมากขึ้นอันจะเป็นผลดีแก่ประชาชนทั่วไปในการมีทางเลือกในการเสพผลงานที่หลากหลายมากขึ้น   นั่นคือ ให้ใช้ระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาทั่วไปกับพื้นที่ไซเบอร์

ในทางตรงกันข้าม เจสสิกา ลิทแมน  ได้กระตุ้นให้คิดค้นระบบในการแบ่งปันผลงานอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อทำให้เกิดการจำหน่ายจ่ายแจกอย่างชอบธรรมภายใต้ระบบกฎหมายที่ออกแบบขึ้นใหม่     เนื่องจากการจ่ายแจกผลงานในโลกออนไลน์มีลักษณะแตกต่างออกไปจากการจ่ายแจกในโลกแห่งความเป็นจริง โดยเฉพาะการใช้หน้าเว็บไซต์เป็นที่พบปะของผู้ที่ครอบครองผลงานลิขสิทธิ์ได้มาแลกเปลี่ยนผลงานที่ตนมีกับผู้บริโภคคนอื่น ๆ โดยที่หน้าเว็บไซต์ดังกล่าวมิได้เป็นผู้เผยแพร่เอง และเมื่อปิดหน้าเว็บดังกล่าวด้วยอำนาจใดก็แล้วแต่ หน้าเว็บไซต์ทำนองเดียวกันก็จะผุดขึ้นมาในที่อื่น ๆ  ดังนั้นการเพิ่มอำนาจในการบังคับกฎหมายลิขสิทธิ์จึงไม่เป็นที่สำเร็จเท่ากับการค้นหาระบบที่เหมาะกับการจัดการปัญหานี้   นั่นคือ ให้สร้างระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเฉพาะเป็นพิเศษแตกต่างกับพื้นที่ไซเบอร์

อวัตถุทรัพย์ (Immaterial Property) ให้เกิดผลดีสูงสุดต่อผู้คนมากที่สุดอย่างแท้จริงหรือไม่ เกร็ก ลาสโทว์กา (Greg Lastowka) และแดน ฮันเตอร์ (Dan Hunter)   กล่าวว่าทฤษฎีอรรถประโยชน์นิยมอาจไม่เหมาะสมในการปรับใช้กับทรัพย์เสมือนจริงด้วยเหตุผลสำคัญซึ่งสืบเนื่องมาจากการปรับใช้ทฤษฎีประโยชน์นิยมกับทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นการให้สิทธิเด็ดขาดแก่ผู้ทรงสิทธิแต่สิทธิเหล่านั้นมีขอบเขต กล่าวคือ สิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญามีระยะเวลาแห่งการคุ้มครอง คุ้มครองเพียงบางสิ่ง และโดยมีวัตถุประสงค์จำกัด เช่น การคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรนั้นมีเงื่อนไขแห่งการคุ้มครอง และไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ทุกชิ้นที่จะได้รับการรับรองและคุ้มครอง ลิขสิทธิ์ก็เช่นกัน สิ่งที่จะได้รับการคุ้มครองเป็นลิขสิทธิ์มีเงื่อนไขตามกฎหมาย และย่อมมีข้อยกเว้นการคุ้มครองสิทธิได้ ที่ต้องกำหนดเช่นนี้ก็เพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคมโดยส่วนรวม แต่การรับรองสิทธิในทรัพย์เสมือนจริงยังต้องพิจารณาว่าจะมีขอบเขตและเงื่อนไขอย่างไรจึงจะทำให้เกิดผลดีที่สุดต่อสังคม ดังที่เจเรมี เบนแธมได้กล่าวไว้ว่า “การกระทำที่จะเป็นไปตามทฤษฎีประโยชน์นิยมนั้นจะต้องมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มพูนความสุขของสังคมมากกว่าแนวโน้มที่จะทำให้ความสุขนั้นลดลง”

การปรับใช้ทฤษฎีว่าด้วยทรัพย์กับทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรแล้ว จะเห็นได้ว่าทฤษฎีเหล่านี้ซึ่งคิดขึ้นเมื่อหลายร้อยปีก่อนก็ยังนำมาปรับใช้กับทรัพย์สินทางปัญญาได้ไม่ถนัดนัก ด้วยอาจมีข้อโต้แย้งในทางวิชาการได้หลายประการ เช่น ทฤษฎีของจอห์น ล็อกซึ่งเมื่อมนุษย์ได้สร้างสิ่งใดขึ้นจากธรรมชาติแล้ว มนุษย์ผู้นั้นควรได้ไปซึ่งสิทธิในวัตถุชิ้นนั้น ดังนี้เมื่อผู้ใดสร้างสรรค์ผลงานหรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาแล้ว ผู้นั้นจึงควรได้รับการคุ้มครองด้วยลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร
แต่การปรับใช้ทฤษฎีเช่นนี้อาจถูกโต้แย้งได้ว่า หากพิจารณาโดยเนื้อแท้แห่งการสร้างสรรค์ผลงานแล้ว กระบวนการสร้างสรรค์ของมนุษย์ตามธรรมชาตินั้นมิได้สร้างขึ้นจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้สร้างสรรค์เพียงผู้เดียวโดยแท้จริง หากแต่เกิดจากการสร้างสรรค์ต่อยอดจากบางสิ่งบางอย่างที่มีขึ้นอยู่แล้วในสังคมมนุษย์  หรือการใช้ทฤษฎีประโยชน์นิยมในการอธิบายลิขสิทธิ์ก็ยังมีข้อกังขาว่า แม้ว่าฝ่ายผู้สนับสนุนการคุ้มครองลิขสิทธิ์จะเสนอว่า การให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายจะช่วยให้ผู้สร้างสรรค์มีแรงจูงใจ ทำให้ต้องการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ มากขึ้น และเมื่อเกิดผลงานสร้างสรรค์ในสังคมมากขึ้นก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเป็นการทั่วไป แต่การให้สิทธิเด็ดขาดแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ในการแสวงหาประโยชน์ในทางเศรษฐกิจจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนได้อย่างยาวนานเช่นตลอดชีวิตของผู้สร้างสรรค์และนับต่อไปอีก 50 ปี  หรือ 70 ปี ตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ผลงานเสียชีวิตนั้น เป็นสิ่งที่ดีที่สุดเพราะทำให้เกิดผลประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วไปจริงหรือไม่ และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มพูนความสุขของสังคมมากกว่าแนวโน้มที่จะทำให้ความสุขนั้นลดลงอย่างแท้จริงหรือไม่ จะเห็นได้ว่ากรอบความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับทรัพย์ที่มีอยู่เดิมนั้นยังปรับใช้กับสิ่งซึ่งไม่มีรูปร่างได้ไม่เหมาะสมนัก

ตั้งแต่ยุคศตวรรษที่ 19 เริ่มเกิดวัฒนธรรมที่นิยมแพร่หลาย (Pop Culture) ด้วยการผลิตซ้ำเนื้อหาผ่านสื่อสารมวลชน  ซึ่งก่อให้เกิดกระแสของเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองพลเมืองอย่างกว้างขวาง แม้จะยังไม่มี “อินเตอร์เน็ต” เป็นช่องทางสื่อสารเชื่อมโยงกันทั่วโลกอย่างปัจจุบันทันด่วนก็ตาม และ ต่อมาในยุตศตวรรษที่ 20 ที่เริ่มมีการพัฒนาอุตสาหกรรม ส่งผลให้เกิดผลิตผลทางวัฒนธรรมนิยมรูปแบบใหม่ที่มีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท คือ อินเตอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมให้วัฒนธรรมแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง แต่กระนั้นก็เป็นการผลิตวัฒนธรรมที่มีต้นทุนสูงซึ่งเฉพาะกลุ่มคนบางจำพวกเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงได้ และต่อมาในยุคศตวรรษที่ 21 ที่การใช้งานอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและราคาถูกลง ย่อมมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมที่เป็นที่นิยม คือ วัฒนธรรมที่มีการสร้างเนื้อหาและการใช้อินเตอร์เน็ตในการแบ่งปันเนื้อหา (Shared-Content) ผ่านแพลตฟอร์มที่กลายเป็นเวทีแสดงออก เช่น Youtube ที่ผู้ใช้สามารถแบ่งปันคลิปวีดีโอ ดนตรี เพื่อให้บุคคลอื่่น ทั่วโลกสามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และเชื่อมโยงต่อไปเผยแพร่ในวงของคนที่มีรสนิยมหรืออยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมเดียวกันแบบเครือข่ายสังคม เช่น Facebook, twitter เป็นต้น ส่วนรูปแบบในการนำเสนอ ก็แตกต่างกันไป ตามแต่ประเภท และความชอบของผู้ใช้ 

ในปัจจุบันผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตสามารถสร้างสรรค์หรือผลิตเนื้อหาของตนเองหรือเรียกว่า UGC (User Generated Content) แล้วทำการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ตได้เอง และ ทำให้เนื้อหานั้นมีความเป็นสาธารณะ เพราะเกิดการเผยแพร่และเปิดโอกาสให้ทุกคนในโลกอินเตอร์เน็ตสามารถมีส่วนร่วมในเนื้อหานั้นและผู้ใช้เป็นผู้ขับเคลื่อนเนื้อหา (User Driven Content) โดยมี UGC ประเภทหนึ่งซึ่งผู้ใช้สร้างเนื้อหาจากผลงานของบุคคลอื่น (User-Derived Content)
ปรากฏการณ์ดังกล่าวได้เป็นชนวนของการขัดแย้งกันในเรื่องสิทธิและผลประโยชน์ระหว่าง เจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้สร้างสรรค์ผลงานขึ้นใหม่ และ ประโยชน์สาธารณะ โดย UGC ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ถกเถียงกันมากทั้งในแง่กฎหมายและเศรษฐกิจ

โดยทั่วไป เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา คือ  ผู้มีสิทธิเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Rights) ในการที่จะทำการอันใด ๆ ซึ่งแนวคิดในเรื่องการคุ้มครองลิขสิทธิ์   แต่ในงานประเภท UGC หากวิเคราะห์ตามอนุสัญญาเบิร์น (The Berne Convention for the Protection of Literary and Artistic Works 1886) Revised at Paris 1971 (Berne Convention or Paris Act) ซึ่งเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศในการให้ความคุ้มครองแก่งานวรรณกรรม และศิลปกรรม โดยรับรองสิทธิทางศีลธรรม (Moral Right) ของผู้สร้างสรรค์ เนื่องจากก่อนหน้านั้นลิขสิทธิ์นั้นปรับใช้แต่ในกฎหมายภายในของแต่ละประเทศเท่านั้น ตามหลักดินแดน แต่ในความเป็นจริงอาจเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ข้ามพรมแดน เช่น โดยเฉพาะในดินแดนอินเตอร์เน็ต อนุสัญญานี้มีประเทศต่าง ๆ โดยปกติแล้วเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำใน Article 9   แต่กระนั้นก็มีข้อยกเว้นถึงเรื่องสิทธิเด็ดขาดของเจ้าของลิขสิทธิ์งานต้นฉบับ ใน Article 14   และ 14 bis   คือ การนำเอางานของผู้อื่นมาดัดแปลงซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เดิมนั้น (Derivative Work)  ก็ได้รับลิขสิทธิ์ในงานเช่นกัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของเจ้าของเดิมซึ่งเป็นไปตามข้อตกลง TRIPS ข้อ 13

หากไม่มีหลัก Fair Use งานต่อเนื่องหรืองานดัดแปลงทุกชิ้นก็เป็นงานอันละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งหมด และจะไม่ก่อให้เกิดการวิพากษ์ วิจารณ์ตามหลักเสรีภาพในการแสดงออก ดังนั้นเรื่องการแสดงออกผ่านทางทรัพย์สินทางปัญญา ตามอนุสัญญาเบิร์นข้อ 10  ซึ่งสอดคล้องกับข้อตกลง TRIPS ข้อ 13 นั้นได้ให้สิทธิแก่ประเทศภาคีสมาชิกในการกำหนดข้อจำกัดหรือข้อยกเว้นสิทธิต่าง ๆ ที่ให้แก่ผู้สร้างสรรค์ภายในเขตอำนาจกฎหมายของประเทศภาคีสมาชิกได้สำหรับบางกรณีที่ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์โดยปกติจากงานและไม่กระทบต่อประโยชน์ต่าง ๆ อันชอบธรรมด้วยกฎหมายของผู้สร้างสรรค์ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าหลักการ Fair Use ใช้บังคับได้เมื่อเข้าองค์ประกอบ 3 ประการดังนี้ คือ
1. มีการกำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะบางกรณีเท่านั้น
2. ต้องไม่ขัดกับการแสวงหาผลประโยชน์ตามปกติของงาน
3. ต้องไม่ก่อให้เกิดผลเสียเกินสมควรต่อประโยชน์อันชอบธรรมของผู้สร้างสรรค์

แนวทางการพัฒนากฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ยังเอื้ออำนวยให้เกิดพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่น่าสนใจ คือ การพัฒนาระบบแบ่งปันทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นธรรมด้วยสัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons License: CC) อันเป็นสัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่งพัฒนาโดย Hewlett Foundation Study องค์กรไม่แสวงกำไรองค์กรหนึ่งที่เน้นงานด้านกฎหมาย  วัตถุประสงค์ของสัญญานี้เพื่อให้เจ้าของผลงานอันมีลิขสิทธิ์สามารถแสดงข้อความอันอำนวยความสะดวกให้สาธารณชนรู้ถึงสิทธิ์ในผลงาน และทราบว่าจะนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตและไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยผู้ที่นำผลงานไปใช้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น อ้างอิงแหล่งที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่ดัดแปลงต้นฉบับ เป็นต้น รายละเอียดของแต่ละสัญญาอนุญาตนั้น ขึ้นอยู่กับรุ่นของสัญญา และประกอบไปด้วยตัวเลือกจากเงื่อนไข 4 เงื่อนไข
โดยได้มีการจัดทำสัญลักษณ์เงื่อนไขเป็น 4 ประเภท ซึ่งเครือข่ายครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย (http://cc.in.th) ได้ถอดความและนำสัญลักษณ์ทั้ง 4 เงื่อนไขมาอธิบายไว้ดังนี้ 
• แสดงที่มา/อ้างที่มา (Attribution – BY) : อนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำ แจกจ่าย หรือแสดงและนำเสนอชิ้นงานดังกล่าว และสร้างงานดัดแปลงจากชิ้นงานดังกล่าว ได้เฉพาะกรณีที่ผู้นั้นได้แสดงเครดิตของผู้เขียนหรือผู้ให้อนุญาตตามที่ระบุไว้ ใช้สัญลักษณ์
• ไม่ใช้เพื่อการค้า (Non Commercial – NC) : อนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำ แจกจ่าย หรือแสดงและนำเสนอชิ้นงานดังกล่าว และสร้างงานดัดแปลงจากชิ้นงานดังกล่าว ได้เฉพาะกรณีที่ไม่นำไปใช้ในทางการค้า ใช้สัญลักษณ์
• ไม่ดัดแปลง (No Derivative Works –ND) : อนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำ แจกจ่าย หรือแสดงและนำเสนอชิ้นงานดังกล่าวในรูปแบบที่ไม่ถูกดัดแปลงเท่านั้น ใช้สัญลักษณ์
• อนุญาตแบบเดียวกัน (Share Alike – SA) : อนุญาตให้ผู้อื่นแจกจ่ายงานดัดแปลง เปลี่ยนรูปหรือต่อเติมงานได้เฉพาะกรณีที่ชิ้นงานดัดแปลงนั้นเผยแพร่ด้วยสัญญาอนุญาตที่เหมือนกันทุกประการกับงานต้นฉบับ หรือสรุปง่าย ๆ ว่าต้องใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันกับงานดัดแปลงต่อยอดใช้สัญลักษณ์
หากผู้ใช้ทำตามเงื่อนไขที่เจ้าของผลงานต้นฉบับกำหนดไว้แล้วก็ไม่ต้องขอนุญาติในการใช้อีก ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของการไหลเวียนข้อมูลในอินเตอร์เน็ตที่มีการแบ่งปันตลอดเวลาในทุกพื้นที่ไม่จำกัดพรมแดนทางกายภาพ

แนวคิดครีเอทีฟคอมมอนส์นี้เกิดขึ้นมาก็ด้วยปรัชญาที่ว่า ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้ถูกมองว่ามาจากความอัจฉริยะของแต่ละบุคคล แต่เป็นความสมดุลระหว่างการมีส่วนร่วมของปัจเจก และการเปิดใช้งานร่วมกัน


อ้างอิง
Jane C. Ginsburg, “Copyright and Control over New Technologies of Dissemination,” Columbia Law Review 101, no. 7 (2001): 1613-1647.
Jessica Litman, “Sharing and Stealing,” UC Hastings Scholarship Repository, 27, last modified 2004: 1-50,  accessed September 14, 2021, https://repository.uchastings.edu/hastings_comm_ent_law_journal/vol27/iss1/1.
F. Gregory Lastowka and Dan Hunter, “The Laws of the Virtual Worlds,” California Law Review 92, no. 1 (2004): 60.
Jeremy Bentham, An Introduction to the Principles of Morals and Legislation (Oxford: Clarendon Press, 1907).)
Paul Oskar Kristeller, “‘Creativity’ and ‘Tradition,’” Journal of the History of Ideas 44, no. 1 (1983): 107.; Thomas B. Ward, “What‘s Old About New Ideas?” (1995), in Steven Smith, Thomas Ward, Ronald Finke (Editor). The Creative Cognition Approach. MIT Press: 157-178; Raymond S. Nickerson, “Enhancing Creativity,” Handbook of Creativity, in Robert Sternberg (editor), Handbook of Creativity. Cambridge University Press. (1999): 392-430. Thompson, P. “Community and Creativity,” Oral History, (2009), 37(2): 34 Andreas Rahmatian, “Copyright and Creativity”,Edward Elgar (Editor), (2011): 184-185; Jame Lewis McIntyre, “Creativity and Cultural Production”. (Palgrave. 2012).
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
Patrick McKay, “Culture of the Future: Adapting Copyright Law to Accommodate Fan-Made Derivative Works in the Twenty-First Century,” SSRN, last modified December 19, 2010, accessed September 14, 2021, https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=1728150.
WIPO, “The Berne convention for the protection of Literary and Artistic works”. 1886.
WTO, “The Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights”. 1994.
Felix Stalder and Valentine A. Pakis, The Digital Condition (Cambridge, UK: Polity Press, 2018).


ค้นคว้าและเรียบเรียงร่วมกับ ภานุพงศ์ จือเหลียง, วัชรพล ศิริ. ในงานวิจัยเรื่อง ทบทวนพรมแดนความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนิติบัญญัติในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565. สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว