Skip to main content

เรื่องของสัตว์ในบางครั้งก็สร้างความยุ่งยากให้กับคน ยิ่งสัตว์เลี้ยงไปสร้างความเสียหายให้กับคนอื่นก็ย่อมเป็นเรื่องปวดหัวให้เจ้าของต้องจัดการ ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามกลายเป็นการทรมานหรือสังหารสัตว์อย่างที่เห็นสื่อนะครับ   ในทางกฎหมายเรื่องสัตว์เลี้ยงนี้เป็นข้อพิพาทในทางทรัพย์สิน จึงอยู่ที่การใช้การบังคับด้วยวิธีการตามกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่งเป็นหลัก

หมาถือเป็นเพื่อนคู่ใจคนไทยจำนวนมาก แต่หากปล่อยปละละเลยไม่ดูแลควบคุมให้ดีก็อาจมีปัญหาตามมา เหมือนเรื่องนี้ที่เกิดจาก สุนัขพันธุ์ไทยตัวหนึ่งซึ่งมีนิสัยขี้เล่นอารมณ์ดี เพราะเจ้าของสัตว์ไม่เคยที่จะขังสุนัขไว้เลย ปล่อยให้วิ่งเล่นได้ อยู่มาวันหนึ่งมีเด็กข้างบ้านมาแหย่สุนัขตัวดังกล่าว จึงถูกสุนัขกัด เจ้าของสุนัขแสดงความรับผิดชอบด้วยการนำไปรักษาพยาบาลและได้ให้เงินค่าทำขวัญแก่ครอบครัวเด็ก

วันต่อมาเด็กไปโรงเรียนเด็กกลับร้องไห้กลัวสุนัขที่โรงเรียน ครอบครัวเด็กกลัวสุนัขเป็นโรคพิษสุนัขบ้า แต่เจ้าของได้ยืนยันว่าสุนัขดังกล่าวได้รับวัคซีนแล้วไม่เป็นโรคแน่นอน แต่ครอบครัวของเด็กคนดังกล่าวไม่ยอม ต้องการที่จะฆ่าสุนัขตัวดังกล่าว เรื่องนี้จึงได้สร้างความสลดใจแก่ผู้เป็นเจ้าของเป็นอย่างมาก

เรื่องนี้ทางเจ้าของหมาเข้ามาปรึกษาเพราะคิดว่าน่าจะมีองค์กรอนุรักษ์สัตว์มาช่วยและชาวบ้านไม่น่าที่จะทำร้ายสัตว์ ควรหาทางออกที่ดีกว่านี้ เช่น การสร้างกรงให้สุนัขตัวดังกล่าวแทนการฆ่าสัตว์

 

วิเคราะห์ปัญหา

1.              เจ้าของสุนัขมีสิทธิและหน้าที่อย่างไรบ้างในการดูแลสุนัขของตน

2.              เมื่อสุนัขของตนไปกัดผู้อื่นแต่เกิดจากการยั่วยุ ผลในทางกฎหมายเป็นอย่างไร มีความความผิดหรือไม่ ต้องชดใช้กันอย่างไร

3.              สุนัขที่กัดคนต้องได้รับการดูแลควบคุมอย่างไร

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.                  เจ้าของสุนัขมีสิทธิและหน้าที่ในการดูแลสุนัขของตนไม่ให้สร้างความเดือดร้อน ทำลายทรัพย์สิน หรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น เพราะสุนัขถือเป็นทรัพย์ในการครอบครองและดูแลของเจ้าของ

2.                  เมื่อสุนัขของตนไปกัดผู้อื่นแต่เกิดจากการยั่วยุ เจ้าของจะต้องรับผิดในมูลละเมิดที่เกิดขึ้นในฐานะเจ้าของ มีความหนี้ต่อฝ่ายผู้เสียหาย แต่การพิสูจน์ว่าเด็กมายั่วยุก่อนทำให้เจ้าของไม่ต้องรับผิดเพราะเด็กเป็นผู้เร้าสัตว์เอง ถ้าเด็กไม่ได้ยั่วยุเจ้าของต้องชดใช้สินไหมทดแทน แต่ถ้าเด็กเร้าสุนัขก่อนก็ไม่ต้องรับผิดใดๆทั้งสิ้น

3.                  สุนัขที่ดุร้ายกัดคนต้องได้รับการดูแลควบคุมโดยตรวจรักษาว่าเป็นโรคอันตรายหรือไม่ หากปกติดีก็อาจต้องนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดโดยหน่วยงานที่ฝึกหัดสุนัขโดยเจ้าของต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.         การเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดสามารถตกลงกันเองได้ก่อนตามความพอใจ หากตกลงกันไม่ได้ก็ต้องตั้งทนายไปฟ้องเรียกร้องและพิสูจน์ค่าเสียหายที่ศาลแพ่งฯ

2.         การควบคุมดูแลสุขภาพสุนัขไม่ให้ทำอันตรายต้องร้องเรียนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อประสานไปยังหน่วยงานด้านสาธารณสุขต่อไป

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักกฎหมายทรัพย์และละเมิด วิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งกรณีนี้การกล่าวหาว่าสัตว์เป็นโรคต้องพิสูจน์ก่อนด้วยการนำไปตรวจ หากไม่เป็นโรคเจ้าของสามารถกำหนดอนาคตของชีวิตสุนัขได้เท่าที่ไม่เป็นการทรมานสัตว์   ส่วนการทำทารุณต่อสัตว์เจ้าของสามารถฟ้องต่อศาลฐานละเมิดทำให้เสียทรัพย์และเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งได้

 

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะไม่พูดถึงเหตุการณ์ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นต่อต้านการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญในปัจจุบันอาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ไม่ว่าเราจะเห็นต่างและไม่ยอมรับกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร ก็ห้ามแสดงความคิดเห็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากกรณีฮือฮาที่บัณฑิตนิติศาสตร์ถูกจับดำเนินคดี เนื่องจากผลิตเบียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีการถกเถียงว่า “ทำไมรัฐไทยไม่อนุญาตให้คนทั่วไปผลิตเบียร์” ทั้งที่ชอบป่าวประกาศให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  จนทายาทเบียร์ยี่ห้อดังออกมาตอบโต้ โ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นอกจากประเด็นที่สื่อมวลชนกำลังตื่นตัวว่าจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมตีตราสื่อให้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรในลักษณะที่ผู้มีอำนาจอาจเข้ามาแทรกแซงแล้ว  อีกประเด็นที่เชื่อมโยงกันและกระเทือนไปสู่วงกว้างมาก คือ การขยายขอบเขตการควบคุมไปยัง สื่อใหม่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากประสบการณ์ตรงและการสังเกตการณ์งานต่อสู้ของประชาชนในท้องถิ่นหลายงานสะท้อนปัญหาหนึ่งที่คล้ายกันในหลายพื้นที่ คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและนโยบายพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ หรือการลงทุนของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มักจะถูกจ้องมองด้วยสายตาหวาดระแวงไปจนถึงการถูกสลายทำลายขบวนการเรื่อยมา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองประเด็นใหญ่ช่วงปลายปี 2016 ที่ชาวโลกจับตามองเห็นจะไม่พ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และการทยอยประกาศรางวัลโนเบลสาขาต่างๆ บ็อบ ดีแลน ได้โนเบล แต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองในโลกออนไลน์ที่ฮือฮาในช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปีหนีไม่พ้นเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ที่ สนช. ภายใต้การผลักดันของรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อสารที่ตัดข้ามผ่านพรมแดนตลอดเวลา และเศรษฐกิจระบบตลาดที่มีพละกำลังมหาศาลจนมิมีรัฐใดทัดทานได้ จนต้องเปิดกำแพงให้สินค้า บริการและผู้คนเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวกกว่ายุคสงครามเย็นที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จนนักคิดไม่น้อยหลุดปากว่า “รัฐชาติลดความสำคัญ” ไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากประเทศไทยต้องการผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จำต้องมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายที่ประกันความเป็นส่วนตัวในการสื่อสาร ตามมาตรฐานสากลใน 12 ประเด็นนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะพัฒนารัฐ ต้องมุ้งเป้าไปที่ ลูกหลานแรงงานและเกษตรกรโดยเฉพาะสตรี นี่คือสิ่งที่องค์การระหว่างประเทศด้านการพัฒนาเน้นย้ำเสมอ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเข้าใจผิดประการหนึ่งต่อการกระตุ้นตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลและดึงดูดการลงทุนในอภิมหาโครงการไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ การมุ่งไปชักชวนผู้ประกอบการรายใหญ่โดยใช้มาตรการลดแลกแจกแถมในรูปแบบการเชิญชวนนักลงทุนในยุคอุตสาหกรรมหนักซึ่งพ้นยุคสมัยไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อมีรัฐบาลใหม่สิ่งทีตามมาด้วยเสมอ คือ นโยบายด้านเกษตรกรรม   ในอดีตเกษตรกร หรือที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น “ชาวนา” คือ กลุ่มเป้าหมายหลักในการหยิบมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับนโยบายอุดหนุน   ตามสโลแกน “ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ”  ที่แม้แต่คนรุ่นหลังๆ ก็ยังได้ฟังคำขวัญเห