Skip to main content

เรื่องนี้ผู้ที่มาปรึกษาเล่าว่า “บิดาข้าพเจ้าไปเซ็นค้ำประกันการซื้อรถยนต์ให้กับเพื่อนที่สนิทกันมานาน เนื่องจากเพื่อนไม่มีญาติเป็นข้าราชการ อีกทั้งสินทรัพย์ต่างๆก็ไม่มีจะเอาไปค้ำประกัน   แต่จำเป็นต้องซื้อรถเพื่อเอามาขนส่งของทำมาหากิน พ่อของข้าพเจ้าเห็นว่าควรช่วยให้เพื่อนมีช่องทางทำมาหากิน และรู้จักกันมานานไม่น่าจะมาหลอกลวงกันแต่อย่างใด เลยไปเซ็นค้ำประกันให้เพื่อนเช่าซื้อรถมา

ต่อมาเพื่อนพ่อผู้ซื้อรถไม่ได้ส่งค่างวดตามที่บริษัทกำหนดหลายเดือน บริษัทเจ้าของรถจึงต้องมีการดำเนินการฟ้องศาล แต่ตัวเจ้าของรถได้นำรถออกจนอกจังหวัดหายไป บริษัทเจ้าของรถจึงฟ้องศาลขอให้ผู้ค้ำประกันทั้งสองคนเป็นผู้รับผิดชอบและติดตามนำรถมาคืนให้ได้ในเวลา 75 วัน หากเกินกำหนดให้ผู้ค้ำประกันชดใช้ค่าทนาย ค่างวด ค่าปรับต่างๆ รวมถึงค่างวดที่จะมาถึงในงวดต่อๆมาด้วย 

พ่อข้าพเจ้าไม่รู้เรื่องกฎหมายและไม่ได้ปรึกษากับทนายเพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก จนเรื่องไปถึงศาลและทนายฝ่ายบริษัทก็นำเอกสารสัญญามาปรักปรำว่าพ่อของข้าพเจ้าเป็นผู้ค้ำประกันยังไงก็ต้องรับผิดชอบการกระทำของเพื่อนที่นำรถหายไป              ทนายฝ่ายบริษัทได้เอาหมายศาลมาบังคับพ่อให้ยอมตกลงโดยขู่ว่าจะต้องไปสู้กันในศาลและไม่รอดแน่ๆ เพราะมีสัญญาเขียนชัดเจนว่านายประกันต้องรับผิดชอบแทนผู้ซื้อ   พ่อเห็นว่าท่าจะไม่ดีหากต้องเป็นคดีขึ้นโรงขึ้นศาลเรื่องจะยาวจึงทำตามที่ทนายบอก โดยเขานำหนังสือยินยอมมาให้พ่อข้าพเจ้าเซ็นโดยไม่ชี้แจงซักนิด โดยบิดาข้าพเจ้าต้องทำตามที่ศาลมีคำสั่งทนายบริษัทมาบอก   บิดาข้าพเจ้าหลงเชื่อจึงเซ็นรับสภาพหนี้ไป

เรื่องราวลุกลามใหญ่โตเมื่อบริษัทกับทนายได้เอกสารหนี้ไปแล้ว เนื่องจากบริษัทได้เปลี่ยนวิธีติดตามเร่งรัดหนี้สินด้วยการจ้างแก๊งค์ทวงหนี้มาบังคับข่มขู่อยู่ทุกสัปดาห์ ทั้งการให้คนโทรมาหาที่บ้านสามเวลาบางทีญาติผู้ใหญ่เป็นคนรับก็ข่มขู่ต่อว่าสารพัดหาว่าเป็นคนชั่วเป็นหนี้แล้วไม่จ่าย ปู่ย่าไม่อายไม่สั่งสอนลูกหลานตัวเองบ้างหรือ   บางทีก็โทรเข้ามือถือบ่อยๆจนพ่อต้องปิดไปเสียหายไปถึงการติดต่องานเพราะต้องปิดเครื่องไว้เกือบตลอดเวลา   หนักเข้าก็โทรหาแม่ที่ทำงานจนหัวหน้างานต้องเรียกเข้าไปคุยเพราะรบกวนคนที่ทำงานคนอื่นด้วย ไหนจะส่งผู้ชายสองคนใส่ชุดดำสวมหมวกกันน็อคขี่มอเตอร์ไซค์มาด้อมๆมองๆที่บ้านทั้งกลางวันกลางคืน               การท้วงหนี้แบบนี้สร้างปัญหาให้ครอบครัวเรามากจนทนไม่ไหว

พ่อจึงตัดสินใจขอให้ตำรวจที่คนรู้จักแนะนำมาให้ช่วยโดยให้ค่าติดตามหรือค่าเสียเวลากับเขา บิดาข้าพเจ้าเสียเงินให้ตำรวจครั้งแรก 20,000 บาท และตามมาอีกหลายพันในครั้งต่อๆมา หลายเดือนผ่านไปไม่มีความคืบหน้าว่าจะได้รถกลับมาหรือจะได้เจอหน้าของเพื่อนผู้นำรถหนีหายไป     กระทั่งต้องไปต่อว่าและประสานงานบอกเลขรถ สีรถ ยี่ห้อ แลรูปพรรณสัณฐานของเจ้าของให้กับเพื่อนตำรวจด้วยกันในจุดต่างๆ เพื่อที่จะสามารถติดตามรถคืนบริษัทจนผ่านไป 2 เดือนก็ไร้วี่แวว

วิธีแก้ตอนนั้น คือ บริษัทเจ้าของรถยื่นเรื่องต่อศาลให้ขอให้ยื้อระยะเวลาออกไปอีก จนครึ่งเดือนพบเห็นผู้ซื้อรถพร้อมรถได้ย้อนกลับมาที่บ้าน จึงได้รีบแจ้งตำรวจและขอหมายศาลที่มีคำสั่งให้สามารถยึดรถไว้ ทำให้บิดาข้าพเจ้ารอดจากการรับผิดชอบหนี้สินทั้งหมดไปอย่างหวุดหวิด

วิเคราะห์ปัญหา

1.              การเซ็นสัญญาค้ำประกันผู้อื่น แล้วคนที่เราค้ำประกันให้หลบหนีไป ทำให้นายประกันต้องรับผิดชอบมากน้อยเพียงไร

2.              นายประกันมีอำนาจหน้าที่ในการติดตามลูกหนี้หรือไม่ และมีมาตรการใดที่นำมาใช้เพื่อไปต้องชดใช้หนี้แทนลูกหนี้ได้บ้าง

3.              การทวงหนี้แบบดุดันและละเมิดสิทธินั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

4.              การเรียกรับเงินของเจ้าหน้าที่ตำรวจกระทำได้หรือไม่ มีความผิดอย่างใดตามกฎหมาย

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.                  การเซ็นสัญญาค้ำประกันผู้อื่นเท่ากับเป็นการรับสภาพเป็นลูกหนี้แทนโดยการค้ำประกัน   เมื่อลูกหนี้คนต้นทางหลบหนีไปก็กลายเป็นลูกหนี้ต่อเจ้าหนี้เดิมแทนทันที ทำให้นายประกันต้องรับผิดชอบหนี้ทั้งหมดเสมือนว่าตนเป็นคนทำสัญญาเองแต่แรก

2.                  นายประกันมีอำนาจหน้าที่ในการติดตามลูกหนี้ได้ทั้งในตอนแรกเริ่ม หากนายประกันชำระหนี้แทนไปแล้วก็สามารถไล่เบี้ยเอาได้บวกดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ชำระหนี้แทนไป และฟ้องอาญาข้อหาหนีหนี้เพื่อบังคับโดยอาศัยเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อบีบลูกหนี้ต้องกลับมาชดใช้หนี้

3.                  การทวงหนี้แบบดุดันและละเมิดสิทธินั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายกระทำไม่ได้  และการใช้ความรุนแรงข่มขู่คุกคามถือเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาด้วย

4.                  การเรียกรับเงินของเจ้าหน้าที่ตำรวจถือเป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานเรียกรับสินบนประพฤติผิดต่อหน้าที่โดยทุจริตตามกฎหมายอาญา

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.         การติดต่อทวงถามหนี้เป็นสิทธิธรรมดาหากมีการใช้ความรุนแรง คุกคาม ลูกหนี้สามารถแจ้งความดำเนินคดีกับฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจได้

2.         การขอให้ติดตามลูกหนี้นั้น อาจใช้วิธีแจ้งความให้ตำรวจติดตามได้ตามความผิดฐานหนีหนี้ แต่วิธีพื้นฐานอีกแนว คือ ฟ้องต่อศาลแพ่งฯเพื่อไล่เบี้ยกับลูกหนี้ผู้หลบหนี โดยอาศัยกลไกของกรมบังคับคดี

3.         การเรียกรับสินบนสามารถแจ้งความกับสถานีตำรวจในท้องที่โดยร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชา หรืออาจส่งเรื่องไปให้ ปปช. เพื่อดำเนินคดีทั้งทางวินัยและอาญาต่อไปได้

สรุปแนวทางแก้ไข

กรณีนี้ใช้หลักกฎหมายค้ำประกัน และการติดตามเจ้าของทรัพย์มาบังคับชำระหนี้ วิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งกรณีนี้นายประกันจะตกอยู่ในสถานะผู้รับผิดชอบชำระหนี้ให้แก่บริษัทและสามารถฟ้องไล่เบี้ยเอากับคนที่ตนเข้าค้ำประกันให้ และสามารถติดตามทรัพย์เพื่อนำมาบังคับคดีให้กลายเป็นทรัพย์ที่ใช้ชำระหนี้ได้   อย่างไรก็ดีการทวงหนี้ต้องทวงโดยสุจริตไม่ละเมิดสิทธิของลูกหนี้เกินควร

 

(รูปเมืองเวนิช: แรงบันดาลใจจากบทประพันธ์เวนิซวาณิชย์ ที่มีการทวงหนี้แบบขูดเลือดเฉือนเนื้อ)

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี