Skip to main content

“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหมครับ 

แต่เราผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ครับ! 

หลายเรื่องถ้ารู้หลักกฎหมายสักหน่อย ก็จะรู้ทันทีว่าปัญหาที่เจออยู่นี้ยังไงเราก็ไม่ผิด ต่อให้อีกฝ่ายอ้างสิทธิบอกว่าเป็นนักกฎหมาย มีเส้นสายเป็นคนใหญ่คนโต หรือโอ้อวดอะไร 

เราก็สามารถสบายใจใช้กลยุทธ์นิ่งสงบสยบเคลื่อนไหว แล้วจัดหนักๆ ให้หน้าหงายกลับไปได้เลยครับ 

คู่มือกฎหมายเล่มนี้สร้างมาซ่อมแซมชีวิตที่เกือบพังให้เกิดพลังขึ้นมาสู้ได้ใหม่ด้วยการนําเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวันมาบอกวิเคราะห์เจาะลึกว่า ถ้าหากชีวิตเราตกเข้าไปในหล่มปัญหาต่างๆ นานา จะหาทางออกได้อย่างไร 

แต่ละเรื่องที่นํามาเล่าเข้าใจว่าเราก็คงเคยเจอกันมาแล้ว ไม่เชื่อก็ลองเปิดไปไล่ดูสารบัญผมมั่นใจว่ามีไม่น้อยกว่าครึ่งซึ่งเกิดกับตัวเองหรือคนรู้จัก

คนที่ไม่ใช่นักกฎหมาย และไม่มีเพื่อนฝูงให้ปรึกษาหรือว่าอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่กล้าถามใคร หรือเกิดเรื่องฉับพลันทันใด เรียกหาใครไม่ถูก ต้องอ่านเล่มนี้เลยครับ

เพราะได้เอาแต่ละปัญหามาวิเคราะห์แต่ละปม แต่ละประเด็นว่าเวลาเกิดปัญหาแบบนี้มีเรื่องอะไรที่มักเถียงกันไม่จบ แล้วกฎหมายบอกว่าแต่ละประเด็นใครผิดใครถูก แล้วยังบอกว่า หากเป็นเรื่องขึ้นมาแล้ว ขั้นตอนตามกฎหมายเป็นอย่างไร 

จะได้ไม่ต้องตกอกตกใจจนเพลี่ยงพล้ํา ยอมเสียอะไรหลายอย่างไป ทั้งที่ไม่จําเป็น

บางท่านคงเคยหยิบหนังสือกฎหมายมาเปิดอ่านดูก็ไม่รู้จะไปเริ่มที่ตรงไหน เพราะเขียนภาษาอะไร เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง แล้วเรื่องที่เกิดกับเรามันจะไปเข้าลักษณะไหน มาตราอะไร โอ้ยยย...ปวดหัวไปหมด

หายห่วงได้เลยครับ!!!

เพราะอย่างที่บอกไว้แล้วว่านี่คือ คู่มือกฎหมาย “ใช้ง่ายนิดเดียว" 

สงสัยอะไรไล่ดูสารบัญตามแผงหนังสือทั่วไปครับ

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะไม่พูดถึงเหตุการณ์ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นต่อต้านการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญในปัจจุบันอาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ไม่ว่าเราจะเห็นต่างและไม่ยอมรับกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร ก็ห้ามแสดงความคิดเห็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากกรณีฮือฮาที่บัณฑิตนิติศาสตร์ถูกจับดำเนินคดี เนื่องจากผลิตเบียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีการถกเถียงว่า “ทำไมรัฐไทยไม่อนุญาตให้คนทั่วไปผลิตเบียร์” ทั้งที่ชอบป่าวประกาศให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  จนทายาทเบียร์ยี่ห้อดังออกมาตอบโต้ โ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นอกจากประเด็นที่สื่อมวลชนกำลังตื่นตัวว่าจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมตีตราสื่อให้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรในลักษณะที่ผู้มีอำนาจอาจเข้ามาแทรกแซงแล้ว  อีกประเด็นที่เชื่อมโยงกันและกระเทือนไปสู่วงกว้างมาก คือ การขยายขอบเขตการควบคุมไปยัง สื่อใหม่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากประสบการณ์ตรงและการสังเกตการณ์งานต่อสู้ของประชาชนในท้องถิ่นหลายงานสะท้อนปัญหาหนึ่งที่คล้ายกันในหลายพื้นที่ คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและนโยบายพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ หรือการลงทุนของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มักจะถูกจ้องมองด้วยสายตาหวาดระแวงไปจนถึงการถูกสลายทำลายขบวนการเรื่อยมา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองประเด็นใหญ่ช่วงปลายปี 2016 ที่ชาวโลกจับตามองเห็นจะไม่พ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และการทยอยประกาศรางวัลโนเบลสาขาต่างๆ บ็อบ ดีแลน ได้โนเบล แต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองในโลกออนไลน์ที่ฮือฮาในช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปีหนีไม่พ้นเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ที่ สนช. ภายใต้การผลักดันของรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อสารที่ตัดข้ามผ่านพรมแดนตลอดเวลา และเศรษฐกิจระบบตลาดที่มีพละกำลังมหาศาลจนมิมีรัฐใดทัดทานได้ จนต้องเปิดกำแพงให้สินค้า บริการและผู้คนเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวกกว่ายุคสงครามเย็นที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จนนักคิดไม่น้อยหลุดปากว่า “รัฐชาติลดความสำคัญ” ไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากประเทศไทยต้องการผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จำต้องมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายที่ประกันความเป็นส่วนตัวในการสื่อสาร ตามมาตรฐานสากลใน 12 ประเด็นนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะพัฒนารัฐ ต้องมุ้งเป้าไปที่ ลูกหลานแรงงานและเกษตรกรโดยเฉพาะสตรี นี่คือสิ่งที่องค์การระหว่างประเทศด้านการพัฒนาเน้นย้ำเสมอ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเข้าใจผิดประการหนึ่งต่อการกระตุ้นตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลและดึงดูดการลงทุนในอภิมหาโครงการไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ การมุ่งไปชักชวนผู้ประกอบการรายใหญ่โดยใช้มาตรการลดแลกแจกแถมในรูปแบบการเชิญชวนนักลงทุนในยุคอุตสาหกรรมหนักซึ่งพ้นยุคสมัยไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อมีรัฐบาลใหม่สิ่งทีตามมาด้วยเสมอ คือ นโยบายด้านเกษตรกรรม   ในอดีตเกษตรกร หรือที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น “ชาวนา” คือ กลุ่มเป้าหมายหลักในการหยิบมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับนโยบายอุดหนุน   ตามสโลแกน “ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ”  ที่แม้แต่คนรุ่นหลังๆ ก็ยังได้ฟังคำขวัญเห