Skip to main content

เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ

“เนื่องจากบ่ายวันหนึ่งมีตำรวจสองคนขอค้นที่พักอาศัยของคนงานที่ทำงานให้กับโรงงานของพ่อแม่ โดยอ้างว่าเมื่อวานแม่ค้าในตลาดมาแจ้งความว่ามอเตอร์ไซค์ถูกขโมยและเห็นคนร้ายขับเข้ามาในระแวกนี้ แม่ค้าสงสัยว่าน่าจะเป็นคนทำงานในโรงงาน ทางตำรวจจึงขอเข้าตรวจค้นว่ามีรถที่ถูกขโมยมาซ่อนในโรงงานหรือไม่

ด้วยความที่พ่อแม่ของน้องมั่นใจว่าคนงานของตนไม่มีพฤติกรรมเช่นนั้นอย่างแน่นอนจึงปล่อยให้ตำรวจคนหนึ่งเข้าไปค้นบริเวณหอทั้ง ซึ่งตำรวจเข้าไปทั้งค้นในและนอกอาคารเพียงลำพัง ทว่าตำรวจนายหนึ่งเดินออกมาจากห้องพักคนงานพร้อมยาบ้าครึ่งเม็ด และขอจับกุมคนงานทุกคนตรวจปัสสาวะ ซึ่งผลออกมาก็ไม่มีผู้ใดที่บ่งบอกว่าติดยา จึงปล่อยทุกคนกลับบ้านและขอคุมตัวคนงานเจ้าของห้องที่พบยาบ้าไว้ก่อน   และได้เปลี่ยนมาเป็นเรื่องยาบ้าแทนจากการค้นหารถที่ถูกขโมย

พ่อกับแม่เดินทางไปขอประกันตัวคนงานเจ้าของห้องที่ถูกจับไว้แต่ก็ไม่ได้รับการยินยอม  แล้วมีตำรวจชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเดินออกมาพร้อมกล่าวหาว่าแม่ขัดขวางการทำงานเจ้าพนักงานและพยายามปกปิดความผิดคนงานนายตำรวจบอกให้แม่เอาเงินให้เขาจำนวน 50,000 บาทแล้วคดีก็จะสิ้นสุดลง แต่แม่ไม่ยอมให้ นายตำรวจคนนั้นจึงขู่ว่าจะสั่งปิดกิจการทางบ้านและของอายัดทรัพย์สิ้นทั้งหมด 

ทั้งนี้ตำรวจคนนั้นยังจะจับแม่ไว้ด้วยโดยให้เหตุผลว่ากลัวแม่จะหนีความผิด   ซึ่งมองอย่างไรก็ดูเหมือนว่าตำรวจผู้นั้นต้องการแค่เงินของแม่ และเรื่องที่เกิดขึ้นก็ยังทำให้กิจการของทางบ้านจำเป็นต้องหยุดชะงักลงอีกด้วย

ในที่สุดพ่อจึงตัดสินใจนำเงินจำนวน 50,000 บาทไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเตรียมเงินสดใส่ไปในกล่องของขวัญและกระเช้าผลไม้   เนื่องจากในช่วงนั้นตรงกับเทศกาลขึ้นปีใหม่พอดี   หลังจากนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่คนนั้นได้รับเงินไป เรื่องก็จบไปโดยไม่มีการฟ้องร้องคนงานดังกล่าวที่เป็นเจ้าของห้องที่พบยาบ้าครึ่งเม็ด   รวมถึงปล่อยตัวแม่ออกมาพร้อมกันทำให้ครอบครัว

วิเคราะห์ปัญหา

1.        การเข้าค้นที่พักเพื่อหาสิ่งของโดยไม่มีหมายค้นทำได้หรือไม่ หากต้องมีหมายต้องแสดงหมายค้นหรือไม่

2.        การเข้าค้นที่พักเพื่อตามหาคนในข้อหาหนึ่ง แล้วพบวัตถุผิดกฎหมายซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับหมายจับ เป็นการเข้าค้นที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถนำไปสู่การดำเนินคดีที่อยู่นอกเหนือหมายจับได้หรือไม่ เพราะกรณีนี้ไม่มีหมายค้นเกี่ยวกับยาเสพติด

3.        การกดดัน ปรักปรำ และเพิ่มข้อหาตามอำเภอใจของเจ้าพนักงาน และการเรียกรับสินบน เป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่  การจ่ายสินบนและไม่มีการดำเนินคดีถือเป็นความผิดด้วยหรือไม่

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.            การค้นสถานที่ส่วนบุคคลหรือที่รโหฐานเพื่อหาสิ่งของหรือบุคคลข้างในนั้นที่ไม่เข้าข้อยกว้นใดๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องร้องขอศาลให้ออกหมายค้น โดยหมายค้นจะระบุสถานที่ที่ค้น อะไรที่จะถูกค้นหา เจ้าพนักงานคนใดทำการค้น เวลาที่ทำการเริ่มค้น และเมื่อค้นสิ่งใดได้ให้ทำบัญชีสิ่งของและเก้บสิ่งของไว้ ณ สถานที่ตามที่หมายระบุ  

2.             ยาเสพย์ติดถือเป็นวัตถุผิดกฎหมาย หากเจ้าพนักงานพบเห็นซึ่งหน้าก็อาจขอควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยที่ครอบครองยาเสพย์ติดได้   แต่การจับกุมและการพิสูจน์ความผิดอาจจะมีปัญหาต้องต่อสู้กันต่อไป เช่น ตอนที่พบนั้นมีพยานไหมว่าเจอที่ไหน หรือมีการพกยามาจัดวางไว้ในห้อง ฯลฯ ทั้งในการจับกุมเจ้าพนักงานต้องแจ้งเหตุผลหรือความผิดที่ถูกจับ สิทธิในการพบ/มีทนายความ สิทธิในการได้พบบุคคลที่ตนไว้ใจ สิทธิที่จะไม่ตอบคำถามของเจ้าพนักงานสอบสวนเว้นแต่คำถามที่ถามชื่อหรือที่อยู่ของบุคคลนั้นเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย

3.             การข่มขู่ ปรักปรำ ตั้งข้อหาของเจ้าพนักงาน ถือเป็นการกระทำโดยมิชอบ ขัดกับหลักกระบวนการยุติธรรมที่ดี อาจทำให้กระบวนการทั้งหมดเสียไปเพราะขัดกับขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้   การเรียกรับสินบนเป็นความผิดทั้งทางวินัย และความผิดอาญา

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.        กระบวนการเข้าค้นแล้วปรักปรำเรื่องยาเสพย์ติดนั้น สามารถร้องเรียนเบื้องต้นกับผู้บังคับบัญชาได้ แต่กรณีนี้ผู้บังคับบัญชาเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาจึงอาจร้องเรียนต่อคณะกรรมการตำรวจประจำสถานีตำรวจแห่งนั้น

2.        หากไม่คืบหน้าสามารถร้องเรียนไปยังคณะกรรมการ ปปช. ได้เนื่องจากเป็นการเรียกรับสินบนซึ่งเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ของเจ้าพนักงาน  ซึ่งอาจจะนำไปสู่การส่งให้อัยการสั่งฟ้องในศาลยุติธรรมเพื่อให้เจ้าพนักงานรับผิดและชดเชยค่าเสียหายต่อผู้ที่ถูกปรักปรำโดยมิชอบได้

3.        การร้องเรียนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการยุติธรรมและกิจการตำรวจประจำรัฐสภา ก็เป็นช่องทางอื่นๆที่สามารถร้องเรียนเพื่อขอความเป็นธรรมได้

สรุปแนวทางแก้ไข

                กรณีเข้าตรวจค้นมิชอบ ใช้หลักการตรวจค้นและตั้งข้อหาตามกระบวนการทางอาญา ซึ่งกรณีนี้การตรวจค้นกระทำได้ตามหมายค้น แต่ยังมีข้อต่อสู้เรื่องการพบยาเพียงครึ่งเม็ดแต่ไม่พบสารเสพติดในร่างกายของผู้ใด ส่วนเรื่องการโต้เถียงเป็นการใช้สิทธิธรรมดาที่กระทำได้ไม่ถือเป็นการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ การเรียกเงินถือเป็นความผิดทางอาญาของเจ้าพนักงานสามารถฟ้องต่อศาลอาญาได้ โดยอาจร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ปปช. หรือแต่งทนายขึ้นสู้คดีเอง

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะไม่พูดถึงเหตุการณ์ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นต่อต้านการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญในปัจจุบันอาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ไม่ว่าเราจะเห็นต่างและไม่ยอมรับกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร ก็ห้ามแสดงความคิดเห็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากกรณีฮือฮาที่บัณฑิตนิติศาสตร์ถูกจับดำเนินคดี เนื่องจากผลิตเบียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีการถกเถียงว่า “ทำไมรัฐไทยไม่อนุญาตให้คนทั่วไปผลิตเบียร์” ทั้งที่ชอบป่าวประกาศให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  จนทายาทเบียร์ยี่ห้อดังออกมาตอบโต้ โ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นอกจากประเด็นที่สื่อมวลชนกำลังตื่นตัวว่าจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมตีตราสื่อให้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรในลักษณะที่ผู้มีอำนาจอาจเข้ามาแทรกแซงแล้ว  อีกประเด็นที่เชื่อมโยงกันและกระเทือนไปสู่วงกว้างมาก คือ การขยายขอบเขตการควบคุมไปยัง สื่อใหม่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากประสบการณ์ตรงและการสังเกตการณ์งานต่อสู้ของประชาชนในท้องถิ่นหลายงานสะท้อนปัญหาหนึ่งที่คล้ายกันในหลายพื้นที่ คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและนโยบายพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ หรือการลงทุนของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มักจะถูกจ้องมองด้วยสายตาหวาดระแวงไปจนถึงการถูกสลายทำลายขบวนการเรื่อยมา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองประเด็นใหญ่ช่วงปลายปี 2016 ที่ชาวโลกจับตามองเห็นจะไม่พ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และการทยอยประกาศรางวัลโนเบลสาขาต่างๆ บ็อบ ดีแลน ได้โนเบล แต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองในโลกออนไลน์ที่ฮือฮาในช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปีหนีไม่พ้นเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ที่ สนช. ภายใต้การผลักดันของรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อสารที่ตัดข้ามผ่านพรมแดนตลอดเวลา และเศรษฐกิจระบบตลาดที่มีพละกำลังมหาศาลจนมิมีรัฐใดทัดทานได้ จนต้องเปิดกำแพงให้สินค้า บริการและผู้คนเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวกกว่ายุคสงครามเย็นที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จนนักคิดไม่น้อยหลุดปากว่า “รัฐชาติลดความสำคัญ” ไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากประเทศไทยต้องการผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จำต้องมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายที่ประกันความเป็นส่วนตัวในการสื่อสาร ตามมาตรฐานสากลใน 12 ประเด็นนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะพัฒนารัฐ ต้องมุ้งเป้าไปที่ ลูกหลานแรงงานและเกษตรกรโดยเฉพาะสตรี นี่คือสิ่งที่องค์การระหว่างประเทศด้านการพัฒนาเน้นย้ำเสมอ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเข้าใจผิดประการหนึ่งต่อการกระตุ้นตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลและดึงดูดการลงทุนในอภิมหาโครงการไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ การมุ่งไปชักชวนผู้ประกอบการรายใหญ่โดยใช้มาตรการลดแลกแจกแถมในรูปแบบการเชิญชวนนักลงทุนในยุคอุตสาหกรรมหนักซึ่งพ้นยุคสมัยไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อมีรัฐบาลใหม่สิ่งทีตามมาด้วยเสมอ คือ นโยบายด้านเกษตรกรรม   ในอดีตเกษตรกร หรือที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น “ชาวนา” คือ กลุ่มเป้าหมายหลักในการหยิบมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับนโยบายอุดหนุน   ตามสโลแกน “ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ”  ที่แม้แต่คนรุ่นหลังๆ ก็ยังได้ฟังคำขวัญเห