Skip to main content

ผมคิดว่าทุกคนคงเคยเจอปัญหาแบบนี้เข้ากับตัวเองบ่อยๆ เลยครับ ก็เรื่องข้าวของราคาแพง จะไปกิน ไปเที่ยวให้หายเปรี้ยวปากก็ลำบากขึ้น เพราะไม่รู้ว่าต้องรู้สึกผิดหลังจากรู้ราคาและควักเงินจ่ายออกไปรึเปล่า เพราะบางทีก็เจอร้านหรือบริการที่ไม่บอกราคาชัดเจน มีงุบงิบปิดบังราคาหลบซ่อน โฆษณาจนเราเข้าใจผิดว่าราคาถูกพอไปซื้อหรือใช้บริการกลับมีเงื่อนไขต่างๆจนราคาแพงเท่ากับร้านอื่น ไอ้เราก็เสียเวลาเสียค่าเดินทางไปแล้วด้วยจะถอยก็ใช่ที่   แต่ก็ไม่มีใครทำอะไรมากนักเพราะตอนเจอเหตุการณ์ก็โกรธอยู่ แต่พอมาคิดดูว่าจะฟ้อง จะร้องเรียนอะไรก็เสียเวลาเสียอารมณ์ไหนจะต้องทำงานอะไรอีกมากมาย จนไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน   ก็ลองมาดูกันนะครับว่าถ้าเกิดเรื่องเหล่านี้จะทำอย่างไรได้บ้าง

มีพี่คนหนึ่งมาเล่าให้ฟังว่าตอนไปเที่ยวต่างจังหวัดช่วงเทศกาลปีใหม่ซึ่งคนก็จะเฮกันออกไปรับลมหนาวตามต่างจังหวัด   ซึ่งพี่เค้าก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ต้องแย่งกันกินแย่งกันเที่ยวกับคนอื่นเพราะทำงานประจำสำนักงาน ถ้าไม่ใช่ช่วงเทศกาลแล้วนั้นก็ต้องใช้เวลาทำงาน  มาเที่ยวสวนทางแบบคนทำงานอิสระไม่ได้   ระหว่างทางที่กำลังขับรถไปยังรีสอร์ตเป้าหมายที่จองไว้ก็รู้สึกหิวกันแล้วเพราะเป็นช่วงเที่ยงสูตรของพี่เค้าคือ ถ้าร้านไหนมีรถจอดเยอะให้เดาไว้ก่อนว่าน่าจะอร่อย พอขับผ่านไปที่ร้านอาหารตามสั่งแห่งหนึ่งในต่างจังหวัดก็เห็นรถจอดเรียงรายเต็มหน้าร้าน ก็คิดว่าน่าจะใช้ได้อยู่แม้รถจะเป็นทะเบียนกรุงเทพฯและจังหวัดอื่นๆไม่ใช่ทะเบียนจังหวัดท้องถิ่น อาหารคงไม่แย่มากควรลงไปลองชิมดู 

พอเข้าไปนั่งและเลือกว่าจะสั่งอะไรกลับพบว่าในรายการอาหารไม่ได้กำกับราคาอาหารเอาไว้ให้ลูกค้าทราบ ว่าอาหารแต่ละอย่างมีราคาเท่าไร ด้วยความหิวของคนทั้งครอบครัวและต้องรีบเดินทางต่อด้วยจึงได้สั่งอาหารรับประทานตามปกติโดยที่ไม่ได้สอบถามเรื่องราคาอาหารแต่อย่างใด เมื่อทานเสร็จทางร้านก็มาคิดราคาอาหารซึ่งค่าอาหารมีราคาที่แพงเกินกว่าปกติอย่างมาก เมื่อพี่เค้าไปทักท้วงแก่เจ้าของร้านก็ได้รับคำตอบว่าราคาอาหารปกติและช่วงนี้คนมาเที่ยวเยอะของหมดบ่อยต้องสั่งให้มาส่งเป็นพิเศษ คนส่งของเลยคิดค่าส่งแพงเพราะต้องจ้างคนขับรถส่งของราคาพิเศษในวันหยุดอีก ลูกจ้างในร้านก็มาทำงานวันหยุดเสียเงินจ้างเพิ่มอีกเยอะแยะ แล้วนี่ก็กินหมดเกลี้ยงเลยราคาก็สมกับความอร่อยแล้วนี่ ถ้ากลัวไม่มีเงินจ่ายทำไมไม่สอบถามราคาตั้งแต่แรก เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นพี่คนดังกล่าวจึงจำใจจ่ายค่าอาหารที่แพงมากเมื่อเทียบกับอาหารที่สั่ง เพราะต้องไปต่ออีกไกลและใกล้จะมืดค่ำแล้วทางขึ้นเขาไปรีสอร์ตจะอันตราย และไม่อยากเสียอารมณ์ความรู้สึกในการมาเที่ยวช่วงเทศกาล

การพักผ่อนอีกแบบที่เรานิยมก็คือไปเดินห้าง กินข้าว และดูหนังใช่ไหมครับ ยิ่งตอนจีบกันใหม่นี่เสียเงินกันไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะในเมืองใหญ่จะเดินทางไปไหนหลายแห่งก็เหนื่อย ไปห้างทีเดียวได้ทำครบทุกอย่างเลย ก็เห็นทุกคนมีแฟนกันด้วยกิจกรรมแบบนี้กันเกือบทั้งนั้น และไหนจะต้องหากิจกรรมทำร่วมกันซึ่งพอเริ่มทำงานแล้วก็เห็นจะเป็นการดูหนังนี่ล่ะครับที่สะดวกดีที่จะได้ใช้เวลาอยู่กับคนที่เรารัก   แต่หลังๆมีคนบ่นกันมากว่า ตั๋วหนังและค่าอาหาร-เครื่องดื่มในโรงหนังแพงเกินจริง เป็นการค้ากำไรเกินควรแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้โรงหนังใหญ่ๆก็มีไม่กี่ยี่ห้อและสืบทราบมาว่าอยู่ในเครือใหญ่ๆไม่เกินสามเจ้าในประเทศไทย ซึ่งน่าจะเป็นการกำหนดราคาแพงเพราะเค้าผูกขาดตลาดกันไม่กี่เจ้า และตั้งราคาให้พอๆกันจนผู้บริโภคไม่ค่อยมีทางเลือก  ลูกค้าจำนวนมากเห็นว่าผู้ให้บริการโรงภาพยนตร์มีการคิดค่าบัตรและราคาสินค้าสูงเกินจริง  

พอไปร้องเรียนหน่วยงานต่างๆ ก็ได้คำตอบมาตรฐานว่า “หากกำหนดราคาที่เหมาะสม มีการปิดป้ายแสดงราคาชัดเจนก็ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการกฎหมายเข้าไปดูแลเพราะเป็นบริการทางเลือก แต่หากกำหนดราคาสูงเกินความเป็นจริงมากจนมีการร้องเรียนเข้ามามาก ก็สามารถใช้กฎหมายจัดการได้”  ส่วนตัวแทนของผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ก็อ้างว่าการกำหนดราคาตั๋วชมภาพยนตร์แพง เนื่องจากเจ้าของค่ายหนังคิดค่าลิขสิทธิ์แพงทำให้ต้องกำหนดราคาตั๋วแพงตามไปด้วย ส่วนการขายข้าวโพดคั่วหรือป็อปคอร์นแพงเพราะเป็นข้าวโพดนำเข้าจากต่างประเทศ และการไม่อนุญาตให้นำอาหารหรือเครื่องดื่มเข้าไปในโรงหนังก็เหมือนกับร้านอาหารที่มีกฎไม่ให้ลูกค้าเอาอาหารจากที่อื่นเข้ามารับประทานในร้าน

จนสมาคมคนดูหนังได้รวมตัวกันทำข้อร้องเรียนจากผู้บริโภคว่ามีการกำหนดราคาตั๋วชมภาพยนตร์แพงเกินจริง และมีการขายเครื่องดื่มและของขบเคี้ยวเกินราคามาก

วิเคราะห์ปัญหา

1.             การเปิดร้านขายอาหารเครื่องดื่ม หรือให้บริการทั้งหลาย ต้องติดป้ายราคาบอกให้ลูกค้าทราบหรือไม่

2.             หากร้านไม่ติดราคาสินค้าและบริการแล้วมีการเรียกเก็บค่าสินค้า บริการที่แพงเกินปกติมากๆ จะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง

3.             การไปรับชมภาพยนตร์หรือการแสดงต่างๆ ผู้ให้บริการจะต้องมีการแจ้งราคาและโปรโมชั่นต่างๆ พร้อมรายละเอียดเงื่อนไขการใช้สิทธิหรือไม่

4.             บริษัทห้างร้านผู้ให้บริการที่มีอำนาจเหนือตลาดสามารถกำหนดราคาสินค้าและบริการได้ตามอำเภอใจหรือไม่

5.             ผู้บริโภคสามารถเรียกร้องให้บริษัทห้างร้านที่ขายสินค้าให้บริการได้หรือไม่ หรือต้องร้องเรียนกับหน่วยงานใดให้แก้ไขปัญหา

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.             การขายสินค้าและบริการทั้งหลายจะต้องมีการติดราคาอย่างชัดเจนพร้อมรายละเอียดพอสังเขปเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจ หากไม่ทำจะมีความผิดตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและการค้าภายใน

2.             หากห้างร้านไม่แก้ไข หรือบ่ายเบี่ยงหลบเลี่ยง ก็สามารถนำความเดือดร้อนนี้ไปร้องเรียนได้ มาตรการขั้นเด็ดขาด ผู้บริโภคสามารถนำเรื่องไปฟ้องยังศาล รวมถึงไกล่เกลี่ยประนีประนอมเพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค

3.             ผู้ให้บริการแสดงมหรสพจะมีหน้าที่ติดประกาศราคาชมภาพยนตร์แต่ละเรื่องแต่ละรอบให้ชัดเจน

4.             หากกำหนดราคาที่เหมาะสม มีการปิดป้ายแสดงราคาชัดเจนก็ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการกฎหมายเข้าไปดูแลเพราะเป็นบริการทางเลือก  แต่หากกำหนดราคาสูงเกินความเป็นจริงมากจนมีการร้องเรียนเข้ามามาก ก็สามารถใช้กฎหมายจัดการดูแลให้เหมาะสมได้ 

5.             โดยเรื่องการปรับราคาให้เหมาะสมนั้นอาจเสนอให้กรมการค้าภายในศึกษาโครงสร้างต้นทุนบัตรชมภาพยนตร์ และราคาอาหาร-เครื่องดื่มที่ขายในโรงภาพยนตร์นั้น เสนอคณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ที่มี รมว.พาณิชย์เป็นประธานพิจารณา หาก กกร.เห็นชอบให้นำธุรกิจโรงภาพยนตร์เข้ามาอยู่ในบัญชีบริการควบคุม

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             เรื่องค้ากำไรเกินควร ไม่ติดป้ายราคา ฯลฯ สามารถแจ้งต่อศูนย์รับเรื่องร้องเรียนราคาสินค้า กรมการค้าภายใน  กระทรวงพาณิชย์ ได้

2.             หากยังไม่มีการชำระหนี้ หรือบ่ายเบี่ยงหลบเลี่ยง ก็สามารถนำความเดือดร้อนนี้ไปร้องยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)  (กรุงเทพฯ) หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดในจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ได้ มาตรการขั้นเด็ดขาด ผู้บริโภคสามารถนำเรื่องไปฟ้องยังศาลแพ่งและพาณิชย์ แผนกคดีผู้บริโภคได้ ซึ่งจะมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินคดี รวมถึงไกล่เกลี่ยประนีประนอมที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค

3.             เรื่องการกำหนดราคาแพงเกินจริงสามารถร้องเรียนไปยัง สคบ. หรือ คณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) เพื่อให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและควบคุมต่อไปได้

สรุปแนวทางแก้ไข

การค้ากำไรเกินควรจากการไม่ติดราคาใช้หลักกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและกฎหมายควบคุมราคาสินค้าในส่วนของกฎหมายการค้าภายใน   โดยร้านค้าต้องกำหนดราคาสินค้าเพื่อผู้บริโภครับรู้ล่วงหน้าก่อนตัดสินใจ ทั้งนี้อาจแจ้งให้กรมการค้าภายใน หรือสคบ. รับไปดำเนินการต่อไป  ส่วนการกำหนดราคาสินค้าและบริการแพงเกินจริงสามารถร้องเรียนไปยัง สคบ. หรือ คณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) เพื่อให้ศึกษาโครงสร้างต้นทุนและดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและควบคุมต่อไป

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี