Skip to main content

เรื่องถัดมาก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากกับคนที่ต้องย้ายตัวเข้ามาทำงานหรือมาเรียนต่างที่ ยิ่งเดี๋ยวนี้การเข้ามาอยู่ในเมืองเป็นเรื่องที่คนเจเนอร์เรชั่นวอล์ค (Generation Walk) อย่างเราๆท่านๆที่ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ไม่ซื้อรถยนต์ขับ และยังไม่แต่งงานต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี   เพราะบางคนย้ายที่อยู่มาเป็นสิบตามสถาบันการศึกษาที่ขยับไปตามระดับขั้น ตอนมัธยมอยู่ที่หนึ่ง ปริญญาตรีอีกแห่ง ปริญญาโทอยู่อีกที่ พอเข้ามาทำงานก็อาจได้ย้ายกันอีกหน   บางคนมีบ้านแล้วแต่ก็ยังมาหาหอพักอยู่ใกล้ๆที่ทำงานเพื่อจะได้ไม่ต้องเดินทางไกลในวันธรรมดา แล้วค่อยกลับไปอยู่บ้านตอนสุดสัปดาห์ก็มี   ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นกับหอพัก อพาร์ตเม้นต์ แฟลต หรือคอนโด จึงเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณในช่วงสิบปีหลังมานี้  ลองไปดูปัญหาสุดคลาสิกที่มีมาหาผมบ่อยๆอย่างเรื่องนี้ดูครับ ว่าเมื่อเจอแบบนี้เข้าไปจะทำยังไงได้บ้าง

“ข้าพเจ้าต้องเข้ามาทำงานในย่านธุรกิจใจกลางเมือง เพราะเพิ่งได้งานหลังจากเรียนจบมาแล้วประมาณสามสี่เดือน ตอนแรกๆก็พยายามหางานให้ใกล้บ้านหรือใกล้แนวรถไฟฟ้ารถไฟใต้ดิน  แต่ก็อย่างที่รู้ๆกันว่ามันไม่ง่ายเลย แถมงานเดี๋ยวนี้ก็ไม่ดีมีมาให้เลือกมากนัก  จึงได้เลือกหอพักแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ในซอยใกล้กับที่ทำงานมาก สามารถเดินไปทำงานได้ แถมแถวที่พักอาศัยยังมีแผงขายอาหารต่างๆมากมายตลอดทั้งวันทั้งคืน จึงเลือกมาอยู่เพราะเมื่อคุยกับเจ้าของหอพักดูเขาก็บอกว่าเข้ามาอยู่ก่อนเลย แค่จ่ายเงินประกันก็หิ้วกระเป๋าเข้ามาได้เลย ถ้าไม่พอใจอยากย้ายก็บอกกันก่อนแล้วย้ายเลยไม่มีปัญหา  อย่าคิดมาก เนี่ยเหลือห้องนึงพอดีเข้ามาอยู่เลย 

พอเข้ามาอยู่ได้สักพักข้าพเจ้ารู้สึกได้ถึงบรรยากาศที่ไม่ปกติ เพราะสติสตังของข้าพเจ้ามันต้องสั่นไหวให้กับเหตุการณ์แปลกที่เกิดขึ้นภายในห้องไม่เว้นแต่ละวัน   มันเริ่มจากประตูระเบียงที่ปิดเองเสียงดังปัง! จนข้าพเจ้าตกใจ ไม่เข้าใจว่ามันปิดได้อย่างไรในเมื่อไม่มีลมแถมที่ประตูก็มีตัวกั้นเล็กๆยึดไว้   ตอนอาบน้ำก็มักจะได้ยินเสียงวิทยุเปิดเองมีเสียงเพลงบรรเลงแต่ไม่มีเสียคนร้อง พอเปิดออกไปดูว่าลืมปิดรึเปล่าก็ไม่ใช่   แต่ที่ทำให้ทนไม่ไหว คือ เมื่อนอนหลับไปสักมักจะรู้สึกเหมือนมีคนมาเดินวนเวียนอยู่รอบๆเตียง บางครั้งฝืนใจลืมตาขึ้นดูก็เห็นเหมือนมีคนจ้องอยู่ที่ซอกตู้ พอเพ่งตาดูก็เหมือนหลบเข้าไปด้านหลัง  

แต่ครั้งสุดท้ายที่ตัดสินใจได้ว่า ไม่ไหวแล้วก็เมื่อเดินกลับห้องมาหลังจากไปเล่นกีฬาและสังสรรค์กับเพื่อนๆมา กะว่าจะนอนให้สบายพอหลับไปได้สักแป๊บก็รู้เสียวแปล๊บที่ต้นคอพอจะลืมตาก็ทำไม่ได้ แต่เริ่มรู้สึกหนักอึ้งที่ลำตัวและเหมือนมีใครมากดหัวไม่ให้เงยหน้าขึ้นมามอง อยากจะร้องตะโกนออกมาก็ทำไม่ได้  มันเหมือนมีอะไรมาห่อหุ้มตัวเอาไว้ทั้งหมด พอพยายามจะสะกดความกลัวด้วยการท่องบทสวดมนต์ก็เหมือนมีคนมาสวดตามที่ข้างๆหู ไม่รู้จะทำอย่างไร จนสุดท้ายรวบรวมกำลังทั้งหมดกดเตียงแล้วเหวี่ยงตัวพลิกไปด้านหนึ่งซึ่งก็หลุดจากแรงกดมาได้แต่มาตกใจแทบเสียสติก็เพราะมีคนนอนมองหน้าอยู่นั่นเอง

ข้าพเจ้าตกใจมากเรียกเพื่อนมาอยู่ด้วยแต่ก็ไม่มีใครกล้ามาเพราะพอบอกว่าพักอยู่ที่ไหนคนที่ทำงานก็บอกว่า เจอแล้วใช่ไหม พวกเราไม่กล้าบอกไงว่าที่อยู่น่ะมีอะไร คนที่ทำงานหลายคนก็เจอมาแล้ว หอนั้นเคยมีคนผูกคอตายเพราะมีปัญหาเรื่องหัวใจ แต่ไม่มีใครกล้าเตือนอะไรเพราะเห็นว่าเราอยู่มาได้สักพักแต่ไม่เห็นพูดอะไร  เราก็บอกว่าทำไมไม่เล่าให้ฟัง เขาก็บอกว่าเพิ่งรู้ตอนเราอยู่แล้ว ถ้าบอกไปจะกลายเป็นทำให้เรากลัวแทน  สุดท้ายเราก็รีบเก็บของแล้วออกไปอยู่กับเพื่อนแทนในคืนนั้น   พอวันรุ่งขึ้นก็รีบมาขนของและขอเลิกสัญญากับเจ้าของหอพักทันที

เจ้าของหอพักไม่คืนค่าประกันหอพักอ้างว่าอยู่ไม่ครบตามสัญญา ซึ่งตอนแรกไม่ได้ระบุไว้ถึงระยะเวลาที่จะต้องอาศัยอยู่ ระบุแต่ค่าประกัน 4500 บาท  และระบุว่าเพียงว่าเมื่อท่านได้ออกจากหอพักทางหอจะคืนเงินประกันให้ทั้งหมด  แถมตอนคุยกันก็หว่านล้อมต่างๆนานา ราคาก็บอกว่าคิดเป็นพิเศษเพราะเหลือห้องเดียวจะเต็มไม่อยากปล่อยว่างไว้ เพราะจะได้สบายใจว่ามีคนอยู่ครบแล้ว  ที่เจ็บใจก็คือไม่บอกกันเลยใช่ไหมว่ามีอะไรเกิดขึ้นมาก่อน ฮึ่มมม!!!   เจ้าของหอพักบอกว่าถ้าจะเลิกสัญญาให้บอกก่อนล่วงหน้าหนึ่งเดือนถึงจะเลิกสัญญาได้

ผมเลยคิดว่าเออเรามันพลาดเอง แต่จะเอายังไงดี ที่นี่คงอยู่ต่อไปไม่ได้แล้ว ก็ขอออกไปอยู่กับเพื่อนก่อน แล้วก็บอกเจ้าของหอไปว่าผมต้องการที่จะยกเลิกการเช่าหอพัก เมื่อครบหนึ่งเดือนตามที่ผมได้มีการแจ้งล่วงหน้าว่าในเดือนถัดไปผมมีความต้องการที่จะยกเลิกการเช่าหอพัก ซึ่งทางเจ้าของหอพักก็ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องค่าประกันหอพักแต่อย่างใด เดือนถัดมาผมได้เข้ามาย้ายของออก ยกเลิกสัญญาเช่าและขอเงินประกันคืน ทางหอพักกลับไม่คืนเงินให้โดยอ้างว่าข้าพเจ้าอยู่ไม่ครบตามสัญญา ที่หอพักนี้ต้องอยู่อย่างน้อยหกเดือน  ซึ่งไม่เคยได้แจ้งกับข้าพเจ้าไว้เลยในวันทำสัญญาและมาติดต่อ

นอกจากนี้ยังได้อ้างว่าได้เปลี่ยนแปลงสัญญาใหม่โดยติดไว้ทางขั้นบันไดให้ทราบแล้ว สุดท้ายหอพักคืนเงินคืนให้เพียง 2500 บาท โดยข้าพเจ้าก็ยอมให้ทางหอพักหักค่าประกันไปเป็นจำนวนเงิน 2000 บาท เพราะถ้าจะต้องอยู่ต่อไปก็ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นตามมา แค่นึกถึงขึ้นมาก็เสียวสันหลังวาบแล้ว"

วิเคราะห์ปัญหา

1.              การเช่าหอพักแล้วมีการปิดบังความจริงเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่ เราจะสามารถเรียกร้องให้บอกความจริง หรือไม่มีการบังคับตามสัญญาเพราะโกหกปิดบังความจริงได้หรือไม่

2.              หากสัญญาที่ทำมีลักษณะเป็นรูปแบบสำเร็จรูปมาแล้วเราแก้ไขอะไรไม่ได้จะถือเป็นสัญญาที่บังคับใช้ได้หรือไม่

3.              หากมีเหตุการณ์สำคัญทำให้การอยู่อาศัยไม่ปลอดภัยกับชีวิต จิตใจ จะสามารถบอกเลิกสัญญาได้หรือไม่

4.              การเปลี่ยนแปลงสัญญาโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า หรือไม่ได้เกินการตกลงของฝ่ายเราจะบังคับใช้ได้หรือไม่

5.              หากเราต้องการเลิกสัญญาและต้องการได้รับเงินประกันหรือเรียกร้องค่าเสียหายจะทำได้อย่างไร

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.              การเช่าหอพักแล้วมีการปิดบังความจริงเป็นความผิดตามกฎหมายในลักษณะของการฉ้อโกงทางอาญา และปิดบังสาระสำคัญในการเข้าทำสัญญาทางแพ่งฯ เราจะสามารถเรียกร้องให้บอกความจริงได้ หรือให้มีการยกเลิกผลบังคับตามสัญญาได้ เพราะโกหกปิดบังความจริงเป็นเหตุบอกล้างสัญญาอย่างหนึ่ง

2.              หากสัญญาที่ทำมีลักษณะเป็นรูปแบบสำเร็จรูปมาแล้วเราแก้ไขอะไรไม่ได้จะถือเป็นข้อสัญญาไม่เป็นธรรมรูปแบบหนึ่งที่บังคับใช้ได้ จนกว่าเราจะไปฟ้องศาลเพื่อให้ยกเลิกข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมเท่าที่ขัดกับกฎหมายและเป็นภาระกับคู่สัญญาเกินไป

3.              หากมีเหตุการณ์สำคัญทำให้การอยู่อาศัยไม่ปลอดภัยกับชีวิต จิตใจ จะสามารถบอกเลิกสัญญาได้ โดยเป็นเหตุสาระสำคัญของที่พัก มิใช่ความผิดของผู้เช่าอาศัย

4.              การเปลี่ยนแปลงสัญญาโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า หรือไม่ได้เกินการตกลงของฝ่ายเราจะบังคับใช้ไม่ได้ เพราะการทำสัญญาต้องมีการแสดงเจตนารับรู้ของทั้งสองฝ่าย แต่เจ้าของหออาจอ้างว่าได้มีการแจ้งการเปลี่ยนแปลงแต่เราไม่ปฏิเสธ  จึงต้องพิสูจน์ว่าการแจ้งนั้นทำให้ทุกคนรับรู้จริงหรือไม่ ซึ่งกรณีนี้เราไม่อยู่จึงไม่รู้ ไม่อาจบังคับได้

5.              หากเราต้องการเลิกสัญญาและต้องการได้รับเงินประกันหรือเรียกร้องค่าเสียหายจะทำได้โดยอ้างเหตุแห่งการปิดบังข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการอยู่อาศัยในหอพัก และการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาอย่างไม่เป็นธรรม

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.              ผู้บริโภคสามารถเรียกร้องให้เจ้าของหอพักให้ยกเลิกสัญญาและคืนค่าใช้จ่ายและค่าเช่ามาได้หากพิสูจน์แล้วว่าปิดบังความจริง รวมถึงเรียกเงินประกันคืน

2.              หากเจ้าของหอพักเพิกเฉยหรือบ่ายเบี่ยงหลบเลี่ยง ก็สามารถนำความเดือดร้อนนี้ไปร้องยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)  (กรุงเทพฯ) หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดในจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ได้

3.              หากยังบังคับกันไม่ได้ให้ฟ้องคดีไปที่ศาลแพ่งฯ

4.              หากต้องการฟ้องคดีฉ้อโกงให้แจ้งความยังสถานีตำรวจเพื่อให้ดำเนินคดีในศาลอาญาพร้อมกับเรียกค่าเสียหายไปในคราวเดียวกัน

สรุปแนวทางแก้ไข

                ใช้หลักนิติกรรมสัญญา และการใช้สิทธิโดยสุจริต   ซึ่งสัญญาเช่าที่ผูกพันกัน คือ สัญญาฉบับที่ตกลงกันไว้ในตอนแรก ส่วนการแก้ไขสัญญาโดยคู่สัญญาไม่สมัครใจก็ใช้บังคับมิได้ และไม่มีเหตุอันใดให้เจ้าของหอพักริบประกัน เนื่องจากเป็นการใช้เงื่อนสัญญาที่เราไม่สมัครใจ และเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต เงินประกันที่ริบไปสามารถเรียกคืนได้ เพราะมีเหตุเลิกสัญญาเนื่องจากเจ้าของหอพักไม่บอกสาระสำคัญเกี่ยวกับสภาพห้องพัก

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี