Skip to main content

ต่อไปจะกล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากวิถีชีวิตและความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เปลี่ยนไปมากจากวันเวลาของพ่อแม่เรา   บางเรื่องอาจจะได้ยินซ้ำๆซากๆและเป็นปัญหาคาราคาซังในสังคมทุกยุคทุกสมันและมีวิธีจัดการต่างกันไปในแต่ละยุค  คือ เรื่องเด็กกำพร้าที่ในอดีตเป็นเรื่องที่ชุมชนหรือสถาบันทางศาสนาเข้ามาโอบอุ้ม   แต่ถ้ากรณีที่มีแม่แต่ไม่มีพ่อ ครอบครัวของหญิงก็มีส่วนโอบอุ้มเอาไว้เสียมาก   แต่หากมองว่าเดี๋ยวนี้มีหญิงจำนวนมากที่สามารถเลี้ยงลูกด้วยตัวเองตามลำพัง ก็ชวนให้คิดว่าแล้วหญิงที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้เองจะทำอย่างไร เราคงไม่เลือกที่จะบอกว่าให้ทำแท้งตั้งแต่ต้นเพราะเป็นความผิดตามกฎหมายปัจจุบัน   ส่วนการหาใครมาช่วยเลี้ยงหรือรับเลี้ยงต่อคงต้องดูกันจากเรื่องข้างล่างนี้เพื่อหาทางออกที่ดี ให้เด็กที่เกิดขึ้นมาในสังคมได้มีโอกาสพัฒนาตัวเองและเป็นสมาชิกที่ขับเคลื่อนสังคมต่อไป

น้องคนหนึ่งได้เข้ามาปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับลูกของเธอโดยเล่าว่า ได้มีความสัมพันธ์ทางเพศชายอายุ 19 ปี จนทำให้เธอที่มีอายุในขณะนั้น 17 ปี ตั้งครรภ์ ซึ่งตอนนั้นน้องผู้หญิงยังอยู่ในวัยเรียน เมื่อทราบว่าตนองท้องจึงได้ไปบอกให้ฝ่ายชายทราบ เมื่อผู้ชายทราบเรื่องก็ปัดความรับผิดชอบ โดยอ้างว่าเด็กในท้องมิใช่ลูกของตน สุดท้ายผู้หญิงก็ต้องท้องโดยไม่มีพ่อของเด็กและยอมรับชะตากรรมเลี้ยงลูกด้วยตนเอง โดยที่ไม่คิดที่จะไปเรียกร้องอะไรกับผู้ชายอีกเลย

แต่สถานการณ์นั้นไม่ง่ายเอาเสียเลย เมื่อเธอต้องออกจากโรงเรียนก่อนจะจบชั้นมัธยมปลาย ทำให้หางานทำไม่ง่ายเลย   ไหนจะต้องทนรับความอับอายที่เพื่อนจากโรงเรียนเก่าและญาติพี่น้อง รวมถึงคนละแวกบ้านนินทา   ไม่เพียงการดูถูกเหยียดหยามโอกาสต่างๆที่จะได้ทำงานเพื่อหาเงินมาเลี้ยงลูกก็ไม่เปิดให้เลย   สุดท้ายเส้นทางสายที่เธอพอจะทำได้ คือ เข้าไปทำงานในร้านอาหารโดยรับงานเป็นสาวเชียร์เบียร์ ทำให้อาเฮียทั้งหลายที่หื่นกระหายกายเธอสั่งเครื่องดื่มเพื่อจะได้เข้ามาทำความรู้จักเธอให้มากขึ้น แต่เธอก็มีไม้ตายด้วยการให้ดูรูปถ่ายรูปน้อยขอเธอ จนเฮียๆ หนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ถอยกรูดไปตามๆกัน   แต่เรื่องก็ยิ่งพลิกผันเพราะเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ งานเชียร์เบียร์ก็หาทำยากขึ้น จนเธอต้องทำในสิ่งที่เธอไม่เคยคาดฝันมาก่อนเลย นั่นคือ งานนักร้องในคาราโอเกะ ใช่แล้วครับการเป็นเพื่อนนั่งร้องเพลงกับเหล่าแขกชายหนุ่มที่ไม่ได้มุ่งมาร้องเพลงอะไร เพียงแต่จะหาข้ออ้างให้ได้จับต้องเนื้อกายสาวก่อนจะก้าวมาครอบครองร่างกายของเธอ   แต่เธอก็พยายามเอาตัวรอดไปให้ได้โดยอาศัยลูกและยอมหักในหลายครั้งจนต้องย้ายร้านที่ทำงานไปเรื่อยๆ เนื่องจากเมื่อขัดใจลูกค้า มาม่าซังก็เรียกไปต่อว่าและจบลงด้วยการลาออกหรือไล่ออกไป

จนเมื่อมีคู่รักหญิงวัยกลางคนคู่หนึ่ง มาพบกับลูกสาวของเธอเมื่อวันที่มีการจัดกิจกรรมของสถานเลี้ยงเด็กของชุมชน คนทั้งคู่รู้สึกถูกชะตากับสาวน้อยที่คอยออดอ้อนพวกเธอมาก ถึงขนาดมาตามหาว่าใครคือ พ่อแม่ของเด็ก จนเช็คข้อมูลแล้วว่าเป็นใครจึงได้ติดต่อมาหาเธอ  พอมาเจอกันคนทั้งสองเข้าใจความยากลำบากของเธอมากและรู้สึกเห็นใจที่ต้องทำในเรื่องที่ขัดกับความรู้สึกเพื่อลูกตัวน้อยๆของเธอ   คนทั้งสองเลยคิดว่าจะขอรับลูกของเธอเป็นบุตรบุญธรรม เพื่อช่วยดูแลกันและกันต่อไป   หลังจากนั้นได้ไปดำเนินการเพื่อขอรับบุตรบุญธรรม เพื่อจะได้ดูแลเด็กคนนี้ได้ แต่กระบวนการก็ไม่ง่ายเลยเพราะต้องมีการพิสูจน์และตรวจสอบอะไรมากมายก่อนจะได้รับเด็กเป็นลูก เพราะหญิงทั้งคู่ไม่ได้อยู่ในฐานะคู่สมรส เนื่องจากเคยไปขอให้สำนักงานเขตบางรักจดทะเบียนให้ในวันวาเลนไทน์แต่ก็ไม่สามารถทำได้เพราะเจ้าหน้าที่ปฏิเสธกลับมา

หลังจากนั้นมาไม่นาน หญิงคนหนึ่งก็ป่วยไม่สบายเป็นโรคไตวาย ทำให้ต้องได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะเข้าไปแทน   ซึ่งจากการพิสูจน์แล้วพบว่าคู่รักของเธอมีลักษณะทางชีววิทยาเข้ากันได้ แต่ก็ไม่สามารถมอบอวัยวะให้เธอได้เนื่องจากไม่ใช่ญาติพี่น้อง หากจะบริจาคอวัยวะต้องให้ไปตามระบบ ส่วนคู่รักของเธอก็ต้องรอรับอวัยวะตามคิวในระบบไปด้วยอย่างช่วยไม่ได้   สิ่งหนึ่งที่เข้ามาเกาะกุมความรู้สึกของหญิงคู่รักทั้งสองอีกเรื่อง คือ ทรัพย์สินเงินทองที่หามาด้วยกันเมื่อถึงวันที่คนหนึ่งจากไป ของเหล่านั้นจะตกอยู่กับใครเพราะยังไม่ได้ทำกระบวนการรับบุตรบุญธรรมให้เสร็จสมบูรณ์ แถมคู่รักก็ไม่ใช่คู่สมรส คงจะอดได้ทรัพย์สินที่ฝ่ายหนึ่งหามาได้โดยไม่ได้ลงชื่อร่วมกันมาก่อน

คนทั้งคู่และน้องผู้เป็นมารดาตัวจริงของเด็กสาวตัวน้อยจึงเข้ามาปรึกษาปัญหากับดิฉัน

 

                วิเคราะห์ปัญหา

1.             การตั้งครรภ์ของหญิงนั้นสามารถเรียกร้องให้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยมารับผิดชอบหรือไม่ ทำได้อย่างไร

2.             ถ้าชายไม่รับผิดชอบต่อบุตรจะถือเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่ มีความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง

3.             การรับบุตรบุญธรรมสามารถกระทำได้หรือไม่และมีข้อต้องห้ามหรือกระบวนการอย่างไรไหม

4.             คู่ชีวิตเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสเป็นคู่สมรสตามกฎหมายที่มีสิทธิหน้าที่ต่อกันหรือไม่

5.             มีแนวทางอย่างไรในการจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิตเพศเดียวกันบ้าง

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.             การตั้งครรภ์ของหญิงนั้นสามารถเรียกร้องให้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยมารับผิดชอบได้ ทำได้โดยการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ชายมารับตรวจร่างกายและพันธุกรรม โดยอ้างเหตุการณ์ที่ชายมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอายุต่ำกว่า 18 ปี

2.             ถ้าชายไม่รับผิดชอบต่อบุตรจะถือเป็นความผิดตามกฎหมาย มีความรับผิดชอบในการดูแลอุปการะเลี้ยงดูบุตรของตน   การทอดทิ้งบุตรจะเป็นการละทิ้งหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งฯ ที่ฟ้องบังคับให้ดูแลได้

3.             การรับบุตรบุญธรรมสามารถกระทำได้โดยบุคคลหรือคู่สมรส แต่ก็มีข้อต้องห้ามหรือกระบวนการในการตรวจพิสูจน์ตามกฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน

4.             คู่ชีวิตเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสเป็นคู่สมรสตามกฎหมายไม่ได้ จึงไม่มีสิทธิหน้าที่ต่อกันทั้งเรื่องทรัพย์สิน และเนื้อตัวร่างกาย

5.             การจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิตเพศเดียวกัน ต้องอาศัยกระบวนการทางสัญญาและการจดแจ้งความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินร่วมกันไว้ล่วงหน้า  โดยอาจทำพินัยกรรมไว้ด้วยก็ได้

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             การแจ้งความในคดีมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอายุต่ำกว่า 18 ปี นั้นต้องแจ้งต่อตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ การฟ้องเพื่อให้แต่งงานนั้นก็ทำในศาลอาญาต่อเนื่องไปเลยได้ถ้าต้องการ

2.             การฟ้องเกี่ยวกับการรับดูแลอุปการะบุตรต้องยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว

3.             การจัดการทรัพย์สินและสิทธิหน้าที่ต่างๆ สามารถทำสัญญาหรือจดแจ้งต่อเจ้าพนักงานได้เท่าที่กฎหมายอนุญาต ตราบเท่าที่กฎหมายยังไม่อนุญาตให้คู่ชีวิตเพศเดียวกันสมรสตามกฎหมาย

สรุปแนวทางแก้ไข

ใช้หลักกฎหมายบุคคลและครอบครัว ซึ่งกรณีนี้การพิสูจน์จำต้องอาศัยการตรวจลักษณะทางพันธุกรรมเพื่อนำไปฟ้องให้ผู้เป็นบิดารับผิดชอบต่อเด็กที่เกิดมา และหากมีการเพิกเฉยอาจแจ้งความเป็นความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการพรากผู้เยาว์เพราะแม้เป็นความยินยอมแต่อายุต่ำกว่า 18 ปียังไงก็เป็นความผิดเพื่อบีบให้ฝ่ายชายเขามาแสดงความรับผิดชอบหรือตรวจพันธุกรรมต่อไป การรับบุตรบุญธรรมทำได้หากไม่มีเหตุต้องห้าม แต่การสมรสโดยคนเพศเดียวกันยังทำไม่ได้ โดยคดีทั้งหลายอยู่ในเขตอำนาจศาลแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว   ส่วนทรัพย์สินของคู่ชีวิตเพศเดียวกันจะไม่ตกทอดสู่คู่ชีวิตถ้าไม่ได้ใส่ชื่อร่วมกันไว้ก่อนหน้าจะเสียชีวิต

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี