Skip to main content

มีอะไรใหม่ใน EU Directive 2016/680 on Personal Data Protection relate to Criminal Procedure Matters

1.       กฎหมายระดับ Directive ของสหภาพยุโรปที่มุ่งคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในควบคุมขององค์กรเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รวมไปถึงการส่งผ่าน แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กรทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศในเขตอำนาจสหภาพยุโรป

2.       แนวทางยังสนับสนุนให้รัฐสมาชิกร่วมมือกับองค์กรตำรวจสากล Interpol แต่ต้องป้องกันมิให้เกิดการส่งข้อมูล โดยไม่มีมาตรการคุ้มครองสิทธิตามมาตรฐานของ General Data Protection Regulation การส่งข้อมูลพลเมืองสหภาพยุโรปข้ามพรมแดนจึงต้องมีการรับรองโดยรัฐปลายทาง ดังปรากฏการลงนามในข้อตกลงกับสหรัฐอเมริกา EU-US Umbrella Agreement

3.       ยกเลิกผลของกฎเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลในกระบวนการยุติธรรมเดิม คือ กรอบคำตัดสินของสภายุโรปที่ 2008/977/JHA และเป็นแนวทางใหม่มาแทน Directive 2006/24/EC ที่ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปยกเลิกผลไป พิพากษาที่ไม่สามารถให้การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประชาชนในเขตอำนาจของสหภาพยุโรป ตามข้อ 8 แห่ง EU Charter of Fundamental Rights and Freedoms

4.       ยกเลิกกำหนดระยะเวลาที่ให้เก็บข้อมูลไว้เพื่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเดิม (6 เดือน – 2 ปี) เป็นการให้ได้สัดส่วนเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ และมีการทบทวนตามระยะเวลาที่กำหนด หากไม่มีความจำเป็นแล้วให้ลบทิ้งเสียทันที

5.       แนวทางนี้ไม่ครอบคลุมการรวบรวมข้อมูลของหน่วยงานข่าวกรองความมั่นคง และสายลับ

6.       แนวทางนี้ไม่ครอบคลุมข้อมูลนิรนาม (Anonymous Information)

7.       กำหนดมาตรการป้องกันความปลอดภัยของการจัดเก็บข้อมูล และรักษามั่นคงของระบบทั้งในเชิงกายภาพและอิเล็คทรอนิคส์  รวมถึงกระบวนการประเมินความเสี่ยงของการรั่วไหล

8.       ห้าม “ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอัตโนมัติ” (automatic processing of personal data) โดยไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมโดยเฉพาะเจาะจงต่ออาชญากรรม

9.       ให้สิทธิประชาชนในการร้องขอเข้าตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บ และปฏิเสธการจัดประเภทตนเข้าไปอยู่ในกลุ่มต่างๆ (Profiling) ซึ่งอาจนำไปสู่การเลือกประติบัติในการดำเนินคดีทางอาญาอย่างสุ่มเสี่ยงระมัดระวังการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน เช่น การจัดเก็บตามเชื้อชาติ สีผิว ที่นำไปสู่อคติทางอาชญวิทยา  และต้องบอกว่าข้อมูลที่เก็บไปเป็นของใคร ผู้เสียหาย ผู้ต้องสงสัย จำเลย อาชญากร

10.    ให้สิทธิประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงได้รับการแก้ไข ชดเชยความเสียหายจากการประมวลข้อมูลโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

11.    มีกลไกตรวจสอบการประมวลผลของหน่วยงานต่างๆ มิให้ละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลตามที่แนวทางรับรอง

*รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปจะต้องประกาศใช้หรือปรับปรุงกฎหมายภายในให้ได้มาตรฐานตามแนวทางของสหภาพยุโรป ตั้งแต่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2561

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม