Skip to main content

ประเด็นสำคัญของ EU-US Privacy Shield 2016

1.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาในการให้หลักประกันแก่ผู้ทรงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลมั่นใจว่า ข้อมูลของตนจะได้รับการคุ้มครองในเขตอำนาจของทั้งสองฝ่าย และผู้ประกอบการที่มาลงทะเบียนภายใต้ระบบมาตรฐานนี้   โดยลงนามรับรองระหว่างกันตั้งแต่ 12 กรกฎาคม 2559

2.       สหรัฐเปิดให้ผู้ประกอบการมาลงทะเบียนได้ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2559 มีเวลาปรับตัวจนถึง 25 พฤษภาคม 2561 หาไม่แล้วจะเข้าสู่ตลาดของสหภาพยุโรปไม่ได้ เพราะขัดกับ EU General Data Protection Regulation

3.       ข้อตกลง EU-US Privacy Shield จึงเป็นผลลัพธ์โดยตรงของการประกาศใช้ EU General Data Protection Regulation  ข้อตกลงทั้งสองจึงมีภาวะนำในการกำหนดมาตรฐานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาคมโลก เพราะเป็นกฎหมายของตลาดดิจิตัลโลกเสรีที่กินพื้นที่กว้างครอบคลุมพลเมืองเน็ตเยอะ

4.       มีการเพิ่มสิทธิของผู้ทรงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะสิทธิในการได้รับข้อมูลและแจ้งข่าวสาร อาทิ ข้อมูลอะไรที่จะถูกเก็บ ถูกประมวลผล ส่งข้ามแดน ผู้ประกอบการได้ขึ้นทะเบียนรับรองแล้ว นโยบายของผู้ประกอบการ ช่องทางในการติดต่อผู้ประกอบการ วิธีการร้องเรียนหน่วยงานตรวจสอบเยียวยาสิทธิ

5.       กำหนดข้อจำกัดในการประมวลผลจากข้อมูลให้รัดกุมยิ่งขึ้น เช่น วัตถุประสงค์ ขอบเขต และเพิ่มสิทธิของผู้ทรงสิทธิในการปฏิเสธการส่งข้อมูลต่อไปยังองค์กรอื่น หรือส่งข้ามแดน หากไม่ตรงกับความยินยอมขั้นต้น   หากผู้ควบคุมประมวลผลข้อมูลฝ่าฝืนจะต้องรับผิดจากการละเมิดดังกล่าวด้วย

6.       การกำหนดขอบเขตในการประมวลผลให้ถูกต้อง เที่ยงตรง และทันสถานการณ์เสมอ  และตรงวัตถุประสงค์มากที่สุด การจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปเท่าที่จำเป็น และต้องลบข้อมูลออกเมื่อเกินกว่าความจำเป็นแล้ว

7.       สร้างมาตรการป้องกันภัยพิบัติทั้งจากภัยในเชิงกายภาพ และการล่วงละเมิดบุกรุกคุกคามระบบทุกรูปแบบ และมีกระบวนการประเมินความเสี่ยงเพื่อระวังภัยล่วงหน้า

8.       ให้สิทธิแก่ผู้ทรงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ทันสมัย และมีสิทธิในการร้องให้ผู้ประกอบการแก้ไข และผู้ประกอบการต้องแจ้งถึงความก้าวหน้าในการแก้ไขข้อมูลให้สอดคล้องกับความจริง หากปฏิเสธก็ต้องแจ้งเหตุผลให้ทราบด้วย

9.       การจัดตั้งกลไกให้หน้าที่การตรวจตราผู้ประกอบการทั้งหลายที่มาลงทะเบียนปฏิบัติตามข้อตกลง รวมถึงให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ (Data Protection Authority – DPA) ทั้งที่มีในแต่ละประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และที่มีในสหรัฐและมีคณะทำงานร่วมสองฝ่ายในการรับเรื่องเพื่อพิจารณา (Panel)

10.   การสร้างช่องทางเยียวยาให้กับผู้ทรงสิทธิที่ถูกละเมิดหรือไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิขึ้น โดยอาจร้องเรียนไปยังผู้ตรวจการสิทธิ (Data Protection Ombudsman) หากความเสียหายเกิดจากการละเมิดของหน่วยงานรัฐของสหรัฐ

11.   ออกแบบกระบวนการพิจารณาเพื่อวินิจฉัยข้อพิพาทและเยียวยาความเสียหายทางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR)

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “คนที่ตายแล้วก็สบายไป ที่เหลือไว้คือลูกหลานที่แย่งชิงมรดก” หากไม่มีการวางแผนและจัดการปัญหาไว้ล่วงหน้า ก็อาจมีปัญหาในครอบครัวตามมาหากว่าความรักไม่อาจเอาชนะความโลภได้ แต่ในบางครั้งก็มิใช่เพียงกิเลสเท่านั้นที่ทำให้เกิดเรื่องเนื่องจากยังมีความยุ่งยากภายในครอบครัวตามมาอีกมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาบางเรื่องมิได้เกิดจากการเดินเข้าไปพบปัญหา แต่บางครั้งปัญหาก็บุกมาถึงตัวเราด้วยปฏิบัติการเป็นหมู่คณะของบริษัทห้างร้านที่ทำธุรกิจร่วมกันไขว้โปรโมชั่นไปมา แล้วเอาข้อมูลของเรามาหาประโยชน์ทางการค้า ด้วยการติดต่อมาหาแล้วพูดจาหว่านล้อมสารพัดจนเราพลัดตกลงไปในหลุมพรางหรือบ่วงล่อบางอย่างจนทำให้เกิดการ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เดี๋ยวทรัพย์สินไม่ใช่ของที่จับต้องได้อย่างข้าวของ เงินทองอย่างเดียวแล้ว มีทรัพย์สินทางปัญญาที่เขารณรงค์กันตลอดเวลาว่าอย่าละเมิด บางทีก็งงใช่ไหมครับ ว่าทำไมเราซื้อหนังสือหรือซีดีมาแต่ทว่า เขาบอกห้ามเผยแพร่ ทำซ้ำ เราก็กลัวว่าถ้าปั้มไปให้เพื่อนเยอะจะผิดไหม แต่ใครๆก็ทำกัน ไหนจะข่าวคนเก็บขยะเอาแผ่นซีด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะคอยเตือนให้ทุกคนจดจำไว้เสมอคือ “ไม่ควรไว้ใจเรื่องทรัพย์สินเงินทองกับคนรู้จัก” หากจะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีอาจต้องกันเรื่องเงินๆทองๆไม่ให้มีภาระผูกพันกันไว้เป็นดี   หากจะเห็นใจกันก็ต้องทำใจไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าช่วยอะไรกันไปแล้วอาจไม่ได้คืนมา  แต่ทว่ามีเรื่องหนึ่งในทางกฎหมาย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับสังคมที่ใช้เงินทองเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า ก็คือ การกู้ยืมเงิน มีตั้งแต่การกู้ยืมกันธรรมดาระหว่างญาติพี่น้องคนรู้จักและเพื่อนฝูง ไปจนถึงการกู้ยืมกับคนร่ำรวยในพื้นที่ ถึงขนาดมีผู้มีอิทธิพลปล่อยกู้นอกระบบจนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตเมื่อเกิดการทวงหนี้แล้วมีปัญหาใช้ความรุนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากกับคนที่ต้องย้ายตัวเข้ามาทำงานหรือมาเรียนต่างที่ ยิ่งเดี๋ยวนี้การเข้ามาอยู่ในเมืองเป็นเรื่องที่คนเจเนอร์เรชั่นวอล์ค (Generation Walk) อย่างเราๆท่านๆที่ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ไม่ซื้อรถยนต์ขับ และยังไม่แต่งงานต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี   เพราะบางคนย้ายที
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากใครทำธุรกิจการค้าก็คงหวั่นเกรงจะเกิดปัญหาที่จะพูดถึงต่อไปนี้กับกิจการตนเองใช่ไหมล่ะครับ ใช่แล้วครับ เช็คเด้ง!
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถึงเทศกาลสำคัญที่ทุกคนได้ปลดปล่อยกันสุดเหวี่ยงอย่างสงกรานต์   คนจำนวนมากก็เลยถือโอกาสเมาหัวทิ่มมันทุกวันเช้ายันเช้ามืดอีกวันหนึ่ง ตื่นมาก็กินต่อ   ไม่แค่นั้นความสุขทุกรูปแบบที่นึกได้ก็จะหามาปรนเปรอตัวเองให้สนุกสุดเหวี่ยง   ถ้าออกไปนอกบ้านก็จะเจอสงครามสาดน้ำและลู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับคนไทยยุคหลังครับ เพราะห้างสรรพสินค้ากลายเป็นสถานที่สำคัญของการรวมผู้คนในยุคสมัยที่ชุมชนของเราเปลี่ยนไป จากที่แต่ก่อนอยากได้อะไรก็ซื้อของในร้านใกล้บ้าน อยากซื้อของกินของใช้ก็ไปร้านของชำ อยากได้เสื้อผ้ารองเท้าก็ไปสั่งตัดเอาจากร้านที่เชื่อมือกัน ร้านอาหารดังๆ ยี่ห้อใหญ่ๆ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ มีเรื่องจำนวนมากเกี่ยวกับ  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบางพื้นที่เพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้สะท้อนความเป็นไปในระบบการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดีเลยครับ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าอนาคตของเราฝากไว้ที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่น้อยเลยทีเดียว   หากอยากเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ คณะดังๆ เพื่อหวังว่าจบมาจะหางานทำง่ายๆ คงรู้กันว่าต้องเตรียมตัวสอบเข้าให้ได้ เลยเกิดโรงเรียนกวดวิชาขึ้นมาม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผมคิดว่าทุกคนคงเคยเจอปัญหาแบบนี้เข้ากับตัวเองบ่อยๆ เลยครับ ก็เรื่องข้าวของราคาแพง จะไปกิน ไปเที่ยวให้หายเปรี้ยวปากก็ลำบากขึ้น เพราะไม่รู้ว่าต้องรู้สึกผิดหลังจากรู้ราคาและควักเงินจ่ายออกไปรึเปล่า เพราะบางทีก็เจอร้านหรือบริการที่ไม่บอกราคาชัดเจน มีงุบงิบปิดบังราคาหลบซ่อน โฆษณาจนเราเข้าใจผิดว่าราคาถ