Skip to main content

ปัญหาบางเรื่องมิได้เกิดจากการเดินเข้าไปพบปัญหา แต่บางครั้งปัญหาก็บุกมาถึงตัวเราด้วยปฏิบัติการเป็นหมู่คณะของบริษัทห้างร้านที่ทำธุรกิจร่วมกันไขว้โปรโมชั่นไปมา แล้วเอาข้อมูลของเรามาหาประโยชน์ทางการค้า ด้วยการติดต่อมาหาแล้วพูดจาหว่านล้อมสารพัดจนเราพลัดตกลงไปในหลุมพรางหรือบ่วงล่อบางอย่างจนทำให้เกิดการตัดสินใจที่ไม่ถี่ถ้วน แต่บริษัทล้วนแต่ใช้พนักงานทักษะสูงจูงใจให้เราตกลงปลงใจไปด้วยข้อเสนอที่น่าสนใจหรือบางครั้งก็กดดันใจเราจนไม่กล้าปฏิเสธ แต่ในบางครั้งเราก็บอกปัดไปแล้วแต่กลับไม่เป็นไปตามที่พูดกันจนชักนำปัญหาเข้ามาในชีวิตอย่างกรณีของพ่อน้องคนนี้ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้มีผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนผู้บริโภคในการทำธุรกรรมต่างๆ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจกันพอสมควร

“พ่อของหนูเป็นสมาชิกพิเศษของสายการบินยี่ห้อหนึ่งเนื่องจากพ่อทำงานที่ต้องเดินทางบ่อยจึงได้คะแนนสะสมเยอะมากจนได้เป็นสมาชิกขั้นสูงซึ่งดูเหมือนคนรวย เพราะหลังจากได้เป็นสมาชิกพิเศษนี้จะมีโปรโมชั่นสินค้าและบริการต่างๆ ส่งเอกสารโฆษณาเข้ามาเยอะแยะเลย บางทีหนูก็คิดว่าน่าจะใช้สิทธิพิเศษไปตามคำเชิญชวนบ้าง แต่ก็อย่างที่บอกว่า มันสำหรับคนมีเงินทั้งนั้น ที่บ้านเราไม่ได้รวยขนาดนั้นเพราะที่พ่อได้มาก็เพราะการทำงาน ไม่ใช่เงินของเราเอง ถึงขนาดมีสถาบันการเงินแห่งหนึ่งโทรมาเข้าเชิญชวนให้ทำบัตรเครดิตกับบริษัทโดยบอกว่าไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายใดๆทั้งนั้น ขอแค่ให้ตกลงเดี๋ยวทางบริษัทจะจัดส่งบัตรมาให้เองไม่ต้องไปดำเนินการใดๆที่สำนักงาน เพราะเขาสามารถเอาข้อมูลต่างๆ จากสายการบินได้ทันที หากไม่มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตก็จะไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น

หลังจากนั้นบริษัทก็ได้ส่งบัตรเครดิตมาให้แต่พ่อก็ไม่ได้สนใจอะไรเนื่องจากไม่ได้ใช้บัตรเครดิตในการใช้จ่ายกันอยู่แล้ว เพราะค่อนข้างกังวลกับการใช้จ่ายเกินตัวและกลัวเรื่องข่าวการลักบัตรเครดิตไปใช้บ้าง รวมไปถึงข่าวต่างๆ ที่มีการขโมยรหัสไปใช้ทางมือถือหรืออินเตอร์เน็ตแบบที่เราเคยดูข่าวกันอีก จึงไม่ได้ใช้บริการทำนองนี้กันทั้งครอบครัว ต่อมามีบริษัทประกันโทรมาหาพ่อต่อรองว่าขอให้พ่อเพิ่มบริการประกันวงเงินโดยทางบริษัทจะเข้ามาดูแลวงเงินและจ่ายดอกเบี้ยต่างๆให้ พ่อก็บอกไปว่าไม่เอาเพราะไม่ได้ใช้บริการอะไรอยู่แล้ว หลังจากนั้นก็โทรมาใหม่และเชิญชวนให้ทำประกันชีวิตแต่พ่อก็ไม่ได้ตกลงเนื่องจากมีสวัสดิการของที่ทำงานกับประกันชีวิตที่ทำไว้นานแล้ว อีกไม่นานก็มีพนักงานประกันสุขภาพโทรเข้ามาชักชวนว่าน่าจะเพิ่มประกันเข้าไปจะได้มีคนดูแลในช่วงที่ไม่สบายทำงานไม่ได้ หรือเพิ่มคุณภาพการรักษาให้หรูหราและดีขึ้นไปอีก ซึ่งพ่อเริ่มไม่พอใจจงปฏิเสธอย่างหงุดหงิดไปแล้วบอกว่าอย่าโทรมาอีก

พอครบหนึ่งปีที่อายุบนบัตรระบุไว้ ทางบริษัทบัตรเครดิตก็ได้ส่งจดหมายแจ้งเรื่องบัตรหมดอายุมาแล้วเตือนว่าควรจะติดต่อขยายอายุบัตรต่อไปเพราะนี่เป็นบัตรพิเศษที่พ่วงกับสมาชิกสายการบินจะมีสิทธิพิเศษและโปรโมชั่นมากมายตามมา แต่พ่อก็บอกไปว่าไม่เอาแล้วเนื่องจากมีบริษัทห้างร้านโดยเฉพาะบริษัทประกันโทรเข้ามาทำให้รำคาญใจในหลายๆครั้ง จึงตัดสินใจจบความสัมพันธ์ทั้งหลายไว้เพียงเท่านี้ แต่แล้ววันหนึ่งก็มีจดหมายแจ้งค่าชำระบริการจำนวนเจ็ดพันกว่าบาท เป็นค่าบริการประกันวงเงินประกันที่ค้างชำระสิบสองเดือน จึงโทรไปสอบถามทางบริษัทบัตรเครดิต พบว่าเป็นค่าใช้จ่ายจากการที่บริษัทประกันที่เคยโทรมาให้ทำประกัน แต่พ่อของหนูยังไม่ได้ตอบตกลงใดๆกับบริษัทประกันเลย และยังไม่เคยได้รับกรมธรรม์ใดๆด้วย

ทางบริษัทบัตรเครดิตไม่รับผิดชอบใดโดยบอกปัดให้ไปคุยกับทางบริษัทประกันภัยเอง ส่วนทางบริษัทประกันภัยบอกว่าจะยกเลิกสัญญาประกันไม่ได้จนกว่าจะได้ชำระเบี้ยประกันให้ครบสิบสองเดือนก่อน ซึ่งพวกเราคิดว่าไม่เป็นธรรมมากเนื่องจากเราไม่เคยตอบตกลงใดๆเลย เอกสารอะไรก็ไม่เคยเซ็น ตัวแทนก็ไม่เคยเจอหน้า เอกสารสัญญาหรือกรมธรรม์อะไรก็ไม่มี จะมาผูกมัดกันอย่างนี้ได้อย่างไร แม้เงินจะไม่ได้มากมายอะไร แต่มาหากินกันด้วยการโกงง่ายๆแบบนี้ รับไม่ได้ จึงเข้ามาปรึกษากับพี่เพื่อหาทางออกต่อไป” ใช่ครับเรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยมากในช่วงหลังและก็เกี่ยวข้องกับคดีผู้บริโภคด้วย แต่ในเบื้องต้นที่ต้องคิดก่อนคือ สัญญาเกิดขึ้นและผูกมัดแล้วหรือไม่ จึงค่อยดูต่อว่าจะแก้ไขปัญหาต่อไปอย่างไร

วิเคราะห์ปัญหา
1. การทำสัญญาโดยเราไม่ตกลงจะมีผลบังคับหรือไม่ ใครจะต้องชดใช้จำนวนเงินที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในวงเงินนั้น
2. หากมีผู้ตัดสินใจใช้วงเงินในบัตรเครดิตของเราไปใช้จ่ายโดยที่เราไม่อนุญาต จะเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่
3. หากเกิดความเสียหายเกี่ยวกับบัตรเครดิต ใครเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกับผู้ที่ทำธุรกรรมเกี่ยวเนื่องกับบัตรโดยไม่ได้รับอนุญาต
4. ประชาชนผู้เป็นเจ้าของบัตรร้องดำเนินการอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น
5. การนำข้อมูลของลูกค้าจากบริษัทหนึ่งไปให้อีกบริษัทหนึ่งใช้หาประโยชน์ทางธุรกิจมีความผิดทางกฎหมายหรือไม่

การนำกฎหมายมาแก้ไข
1. ผู้ที่ทำสัญญาขึ้นตามอำเภอใจไร้ความสมัครใจของคู่สัญญา เจ้าของบัตรที่ถูกบังคับโดยไม่ได้ยินยอมไม่ต้องชดใช้จำนวนเงินที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในวงเงินนั้นรวมถึงดอกเบี้ยใดๆทั้งสิ้น
2. หากมีคนนำวงเงินในบัตรเครดิตของเราไปใช้จ่ายโดยที่เราไม่อนุญาต จะเป็นความผิดตามกฎหมายเนื่องจากมิได้เกิดจากความยินยอม และต้องรับผิดทางอาญาจากการกระทำโดยทุจริตนั้นด้วย ซึ่งหมายรวมทั้งบริษัทประกันและบริษัทบัตรเครดิต
3. หากเกิดความเสียหายเกี่ยวกับบัตรเครดิต สถาบันการเงินผู้ออกบัตรเครดิตเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการติดตามผู้ที่นำวงเงินในบัตรไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต และเหตุการณ์เกิดกับบริษัทประกันไหนก็ต้องให้ความร่วมมือด้วยเช่นกัน
4. ประชาชนผู้เป็นเจ้าของบัตรร้องดำเนินการปิดบัตรและวงเงินทันที และแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หากไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอจากเจ้าของบัตรหรือห้างร้านก็อาจร้อง สคบ. ได้เพิ่มเติมอีกด้วย หรืออยู่เฉยๆ ให้บริษัทประกันฟ้องแล้วค่อยไปปฏิเสธในชั้นศาลก็ได้ เพราะอีกฝ่ายไม่เคยมอบคู่สัญญาหรือกรมธรรม์ให้แต่อย่างใด จึงบังคับกันไม่ได้
5. ประชาชนผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องต่อบริษัทสายการบินที่เอาข้อมูลส่วนตัวไปเปิดเผยให้กับผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต จนทำให้เกิดความเสียหายตามมา แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรงจึงอาจดำเนินการยาก เนื่องจากต้องใช้หลักละเมิดตามกฎหมายแพ่งเพื่อพิสูจน์ความเสียหายและผู้เสียหายมีหน้าที่นำสืบแทน

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ
1. เมื่อเกิดเหตุการณ์ให้ติดต่อสถาบันผู้ออกบัตรทันที
2. แจ้งความดำเนินคดีกับบริษัทประกันและบริษัทบัตรเครดิตผู้นำวงเงินบัตรไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตที่สถานีตำรวจใกล้บ้านหรือเจ้าของพื้นที่เกิดเหตุ
3. หากสถาบันการเงินหรือบริษัทประกันไม่ให้การดูแลอาจร้องเรียน สคบ.ในพื้นที่ หรือสคบ.กลางมาดูควบคุมแลหรืออกกฎมาเพิ่มเติมได้ เช่นเดียวกับเรื่องใช้ข้อมูลส่วนตัวโดยพลการก็แจ้งต่อ สคบ.
4. หากยังหาข้อยุติไม่ได้อาจฟ้องคดีอาญาผ่านเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเอาผิดและยกเลิกสัญญาทั้งหลาย หรือรอให้บริษัทฟ้องคดีในศาลแพ่งฯ แล้วรอต่อสู้คดีเพื่อยกเลิกสัญญาที่มิชอบ

สรุปแนวทางแก้ไขปัญหา
ใช้หลักนิติกรรมสัญญาเรื่องความสมัครใจในการเข้าทำสัญญา การใช้สิทธิต้องกระทำโดยสุจริต และการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งกรณีนี้เป็นการบังคับและก่อสัญญาที่คู่สัญญาไม่สมัครใจเข้าผูกพันผลของสัญญาไม่สมบูรณ์สามารถบอกล้างได้ และให้ฟื้นฟูกลับสู่สภาพก่อนเกิดนิติกรรม โดยอาจใช้หลักละเมิดทางแพ่งฯกับการละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลด้วย อาจฟ้องคดีอาญา หรือรอสู้คดีในศาลแพ่งฯ เพื่อให้ดำเนินการเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคต่อบริษัทบัตรเครดิตในการร่วมกระทำการกับบริษัทประกันภัยเพิ่มเติม

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว