Skip to main content

ประเด็นสำคัญของ EU-US Privacy Shield 2016

1.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาในการให้หลักประกันแก่ผู้ทรงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลมั่นใจว่า ข้อมูลของตนจะได้รับการคุ้มครองในเขตอำนาจของทั้งสองฝ่าย และผู้ประกอบการที่มาลงทะเบียนภายใต้ระบบมาตรฐานนี้   โดยลงนามรับรองระหว่างกันตั้งแต่ 12 กรกฎาคม 2559

2.       สหรัฐเปิดให้ผู้ประกอบการมาลงทะเบียนได้ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2559 มีเวลาปรับตัวจนถึง 25 พฤษภาคม 2561 หาไม่แล้วจะเข้าสู่ตลาดของสหภาพยุโรปไม่ได้ เพราะขัดกับ EU General Data Protection Regulation

3.       ข้อตกลง EU-US Privacy Shield จึงเป็นผลลัพธ์โดยตรงของการประกาศใช้ EU General Data Protection Regulation  ข้อตกลงทั้งสองจึงมีภาวะนำในการกำหนดมาตรฐานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาคมโลก เพราะเป็นกฎหมายของตลาดดิจิตัลโลกเสรีที่กินพื้นที่กว้างครอบคลุมพลเมืองเน็ตเยอะ

4.       มีการเพิ่มสิทธิของผู้ทรงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะสิทธิในการได้รับข้อมูลและแจ้งข่าวสาร อาทิ ข้อมูลอะไรที่จะถูกเก็บ ถูกประมวลผล ส่งข้ามแดน ผู้ประกอบการได้ขึ้นทะเบียนรับรองแล้ว นโยบายของผู้ประกอบการ ช่องทางในการติดต่อผู้ประกอบการ วิธีการร้องเรียนหน่วยงานตรวจสอบเยียวยาสิทธิ

5.       กำหนดข้อจำกัดในการประมวลผลจากข้อมูลให้รัดกุมยิ่งขึ้น เช่น วัตถุประสงค์ ขอบเขต และเพิ่มสิทธิของผู้ทรงสิทธิในการปฏิเสธการส่งข้อมูลต่อไปยังองค์กรอื่น หรือส่งข้ามแดน หากไม่ตรงกับความยินยอมขั้นต้น   หากผู้ควบคุมประมวลผลข้อมูลฝ่าฝืนจะต้องรับผิดจากการละเมิดดังกล่าวด้วย

6.       การกำหนดขอบเขตในการประมวลผลให้ถูกต้อง เที่ยงตรง และทันสถานการณ์เสมอ  และตรงวัตถุประสงค์มากที่สุด การจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปเท่าที่จำเป็น และต้องลบข้อมูลออกเมื่อเกินกว่าความจำเป็นแล้ว

7.       สร้างมาตรการป้องกันภัยพิบัติทั้งจากภัยในเชิงกายภาพ และการล่วงละเมิดบุกรุกคุกคามระบบทุกรูปแบบ และมีกระบวนการประเมินความเสี่ยงเพื่อระวังภัยล่วงหน้า

8.       ให้สิทธิแก่ผู้ทรงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ทันสมัย และมีสิทธิในการร้องให้ผู้ประกอบการแก้ไข และผู้ประกอบการต้องแจ้งถึงความก้าวหน้าในการแก้ไขข้อมูลให้สอดคล้องกับความจริง หากปฏิเสธก็ต้องแจ้งเหตุผลให้ทราบด้วย

9.       การจัดตั้งกลไกให้หน้าที่การตรวจตราผู้ประกอบการทั้งหลายที่มาลงทะเบียนปฏิบัติตามข้อตกลง รวมถึงให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ (Data Protection Authority – DPA) ทั้งที่มีในแต่ละประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และที่มีในสหรัฐและมีคณะทำงานร่วมสองฝ่ายในการรับเรื่องเพื่อพิจารณา (Panel)

10.   การสร้างช่องทางเยียวยาให้กับผู้ทรงสิทธิที่ถูกละเมิดหรือไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิขึ้น โดยอาจร้องเรียนไปยังผู้ตรวจการสิทธิ (Data Protection Ombudsman) หากความเสียหายเกิดจากการละเมิดของหน่วยงานรัฐของสหรัฐ

11.   ออกแบบกระบวนการพิจารณาเพื่อวินิจฉัยข้อพิพาทและเยียวยาความเสียหายทางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR)

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะไม่พูดถึงเหตุการณ์ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นต่อต้านการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญในปัจจุบันอาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ไม่ว่าเราจะเห็นต่างและไม่ยอมรับกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร ก็ห้ามแสดงความคิดเห็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากกรณีฮือฮาที่บัณฑิตนิติศาสตร์ถูกจับดำเนินคดี เนื่องจากผลิตเบียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีการถกเถียงว่า “ทำไมรัฐไทยไม่อนุญาตให้คนทั่วไปผลิตเบียร์” ทั้งที่ชอบป่าวประกาศให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  จนทายาทเบียร์ยี่ห้อดังออกมาตอบโต้ โ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นอกจากประเด็นที่สื่อมวลชนกำลังตื่นตัวว่าจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมตีตราสื่อให้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรในลักษณะที่ผู้มีอำนาจอาจเข้ามาแทรกแซงแล้ว  อีกประเด็นที่เชื่อมโยงกันและกระเทือนไปสู่วงกว้างมาก คือ การขยายขอบเขตการควบคุมไปยัง สื่อใหม่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากประสบการณ์ตรงและการสังเกตการณ์งานต่อสู้ของประชาชนในท้องถิ่นหลายงานสะท้อนปัญหาหนึ่งที่คล้ายกันในหลายพื้นที่ คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและนโยบายพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ หรือการลงทุนของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มักจะถูกจ้องมองด้วยสายตาหวาดระแวงไปจนถึงการถูกสลายทำลายขบวนการเรื่อยมา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองประเด็นใหญ่ช่วงปลายปี 2016 ที่ชาวโลกจับตามองเห็นจะไม่พ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และการทยอยประกาศรางวัลโนเบลสาขาต่างๆ บ็อบ ดีแลน ได้โนเบล แต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองในโลกออนไลน์ที่ฮือฮาในช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปีหนีไม่พ้นเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ที่ สนช. ภายใต้การผลักดันของรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อสารที่ตัดข้ามผ่านพรมแดนตลอดเวลา และเศรษฐกิจระบบตลาดที่มีพละกำลังมหาศาลจนมิมีรัฐใดทัดทานได้ จนต้องเปิดกำแพงให้สินค้า บริการและผู้คนเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวกกว่ายุคสงครามเย็นที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จนนักคิดไม่น้อยหลุดปากว่า “รัฐชาติลดความสำคัญ” ไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากประเทศไทยต้องการผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จำต้องมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายที่ประกันความเป็นส่วนตัวในการสื่อสาร ตามมาตรฐานสากลใน 12 ประเด็นนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะพัฒนารัฐ ต้องมุ้งเป้าไปที่ ลูกหลานแรงงานและเกษตรกรโดยเฉพาะสตรี นี่คือสิ่งที่องค์การระหว่างประเทศด้านการพัฒนาเน้นย้ำเสมอ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเข้าใจผิดประการหนึ่งต่อการกระตุ้นตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลและดึงดูดการลงทุนในอภิมหาโครงการไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ การมุ่งไปชักชวนผู้ประกอบการรายใหญ่โดยใช้มาตรการลดแลกแจกแถมในรูปแบบการเชิญชวนนักลงทุนในยุคอุตสาหกรรมหนักซึ่งพ้นยุคสมัยไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อมีรัฐบาลใหม่สิ่งทีตามมาด้วยเสมอ คือ นโยบายด้านเกษตรกรรม   ในอดีตเกษตรกร หรือที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น “ชาวนา” คือ กลุ่มเป้าหมายหลักในการหยิบมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับนโยบายอุดหนุน   ตามสโลแกน “ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ”  ที่แม้แต่คนรุ่นหลังๆ ก็ยังได้ฟังคำขวัญเห