Skip to main content

ประเด็นสำคัญของ EU-US Umbrella Agreement 2016

1.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตั้งแต่ ตำรวจไปจนถึงศาล ลงนามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559

2.       ผลลัพธ์จากการปฏิรูประบบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป และการวางแนวทางใหม่ของสหภาพยุโรปในประเด็นนี้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลผู้ต้องสงสัย ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา อาชญากร รวมถึงผู้ก่อการร้าย นักรบต่างชาติ ข้ามพรมแดนระหว่างสหรัฐกับสหภาพยุโรป 

3.       เนื่องจากกฎหมายเรื่องนี้ของยุโรปเป็นระดับ Directive ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปยังต้องไปออกกฎหมายภายใน และสหรัฐก็ปรับกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้อง รวมสร้างกลไกตรวจตรา ตรวจสอบ และเยียวยา ระหว่างกันเพิ่มเติม

4.       สร้างขอบเขตการประมวลผลและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ว่าจะเก็บข้อมูลประมวลข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ใดบ้าง

5.       การส่งข้อมูลข้ามพรมแดนทั้งหลายจะต้องได้รับการยินยอมจากหน่วยงานที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลต้นทางเสียก่อน

6.       กำหนดระยะเวลาในการเก็บกักข้อมูลให้เหมาะสมเท่าที่จำเป็น โดยประกาศเป็นการทั่วไปว่าข้อมูลที่จัดเก็บในกรณีต่างๆว่าอยู่ในระยะเวลาเท่าใด ประชาชนค้นหาประกาศและเข้าถึงข้อมูลเงื่อนไขเหล่านั้นได้

7.       ให้สิทธิผู้ทรงสิทธิเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับกับตนได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และสามารถร้องขอให้หน่วยงานที่เก็บข้อมูลปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง

8.       หน่วยงานที่ควบคุมข้อมูลจะต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัย และจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบหากข้อมูลรั่วไหล หรือมีความเสียหายเกิดขึ้น

9.       พลเมืองสหภาพยุโรปมีสิทธิในการฟ้องร้องต่อศาลสหรัฐหาก หน่วยงานรัฐปฏิเสธการเข้าถึงหรือขอแก้ไขข้อมูล หรือเมื่อข้อมูลถูกเปิดเผยรั่วไหล  รวมไปถึงการเรียกร้องสิทธิในการได้รับเยียวยาตามกฎหมาย US Judicial Redress Bill ที่สภาคองเกรสประกาศตั้งแต่ 18 มีนาคม 2559  เสมือนพลเมืองสหภาพยุโรปได้รับการปกป้องสิทธิเท่าพลเมืองสหรัฐตาม US Privacy Act of 1974

10.   จัดตั้งหน่วยงานในการควบคุมตรวจตรา (Oversight) การประมวลข้อมูล ส่งต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้เป็นไปตามหลักประกันที่กำหนดไว้ในข้อตกลง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม