Skip to main content

จากเหตุวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคนในทันที และมีผู้บาดเจ็บและตกอยู่ในภาวะพิการ เจ็บป่วยทางจิตอีกจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียของญาติพี่น้องในเหตุการณ์ดังกล่าวยังความเสียใจอย่างรุนแรงให้เกิดขึ้นทั่วโลกมิใช่ในสหรัฐอเมริกา

              แต่สิ่งน่าสังเกต คือ เหตุใด ฝ่ายความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาที่รู้ล่วงหน้าว่า จะมีแผนก่อวินาศกรรมขึ้น กลับไม่สามารถป้องกันเหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงที หรืออย่างน้อยๆ ก็ไม่มีแผนปฏิบัติการใดๆในการควบคุมสถานการณ์   หลักฐานจำนวนมากชี้ให้เห็นว่า   นี่เป็นจุดเริ่มต้น ของการหวนคืนสู่อำนาจของฝ่ายความมั่นคงทั่วโลก    หลังจากหมดความสำคัญลงไปเมื่อสงครามเย็นและกำแพงแห่งความหวาดกลัวสิ้นสุดลงในต้นทศวรรษ 1990

                จุดเริ่มต้นแห่งการสูญเสีย เกิดขึ้นนับแต่ การประกาศทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเต็มรูปแบบของมหาอำนาจสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรทั้งในและนอกนาโต้   การทำสงครามระหว่างประเทศรุกรานโดยไม่ขอมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ทำให้ประชาชนชาวอัฟกานิสถาน อิรัก ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นการเสียชีวิตจากการโจมตีไม่จำกัดขอบเขต การทำลายบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน   แล้วส่งโครงการฟื้นฟูเข้าไปโดยแลกกลับการใช้น้ำมันของสองประเทศเป็นค่าใช้จ่าย 

                แต่ความสูญเสียที่กระทบกับพวกเราทุกคนทั่วโลก คือ การสร้างระบอบอำนาจทหารให้เข้มแข็งขึ้นมาอีกครั้งหลังการพัฒนาความแข็งแกร่งให้หน่วยงานด้านความมั่นคงทั่วโลก   กองทัพและฝ่ายความมั่นคงทั่วโลกฉวยใช้ ความหวาดกลัวต่อภัยก่อการร้ายมาเป็น “ข้ออ้าง” ในการจัดซื้อจัดจ้างเทคโนโลยี อาวุธ และที่ปรึกษาด้านความมั่นคงเป็นมูลค่ามหาศาล

                ยิ่งไปกว่านั้นกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐแก่ฝ่ายบริหาร เพื่ออ้างความมั่นคงเข้าไปตรวจตรา ตรวจสอบ เฝ้าระวัง หรือติดตามสืบสวนบุคคล โดยไม่ต้องขออำนาจศาลก็เพิ่มขึ้น  ดังปรากฏกฎหมายความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และกฎหมายข่าวกรองระหว่างประเทศ ของสหรัฐอเมริกาเป็นแม่แบบ  

                ประเทศไทยในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ก็ได้ใช้ข้ออ้างในการจัดการภัยก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อออก พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ พ.ศ.2548   ต่อมารัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ผลักดันให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติออกพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ตามการร้องขอและผลักดันของกองทัพในช่วงที่เป็นรัฐบาลหลังการรัฐประหาร พ.ศ.2549 นั่นเอง 

                การใช้กฎหมายทั้งสองฉบับ รวมไปถึง กฎอัยการศึก พ.ศ.2457 ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลทหารและพลเรือนในการใช้ควบคุมประชาชนที่เห็นต่าง คัดค้านรัฐบาลเสมอ   ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม รวมไปถึงให้อำนาจ “สืบในทางลับ” และนำไปสู่การจับกุม และดำเนินคดีโดยอาศัยบทบัญญัติกฎหมายเหล่านี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าเนื้อหาในกฎหมายทั้งสามฉบับนี้ ละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี และมี พระราชบัญญัติอนุวัติการให้มีผลบังคับใช้ในศาลไทยอยู่   แต่แนวทางการปฏิบัติของฝ่ายต่างๆ ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ยอมตามอำนาจรัฐและฝ่ายความมั่นคง  มากกว่า การประกันสิทธิของประชาชน

                คนจำนวนมากไม่สนใจ ไม่เข้าใจ และไม่คิดว่าเป็นปัญหา ตราบเท่าที่ “คุณไม่ได้ทำผิดกฎหมาย จะกลัวอะไร”   แต่คนหลายกลุ่มก็เริ่มเข้าใจแล้วว่า   แม้ไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมาย แต่ถ้าทำอะไรไม่เป็นที่สบายใจของผู้มีอำนาจก็อาจต้องโทษทัณฑ์ขั้นร้ายแรงได้ เช่น ไม่ไปรายงานตัวเมื่อโดนเรียก   หรือ การกินอาหารฟาสต์ฟู้ด   หรือ ยืนชูสามนิ้วในที่สาธารณะ  เรื่อยไปจนถึงการตั้งรางวัลนำจับให้ พลเมืองดีจับตาดูผู้ที่เป็นภัยต่อชาติในอินเตอร์เน็ต

                หากท่านยังคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เป็นเรื่อง “ปกติ” และ “ยอมรับได้”   นั่นหมายความว่า ท่านได้เอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงเช่นกัน   เพราะวันหนึ่งท่านอาจเป็นฝ่ายตรงข้ามผู้มีอำนาจได้เช่นกัน   เมื่อวันเวลาของขั้วอำนาจเปลี่ยนไป

                ในฐานะประชาชนทั่วไปในหลายประเทศทั่วโลก   ภัยที่ชัดเจนและมาพร้อมยุคสมัยแห่งเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร ก็คือ การคุกคามความเป็นส่วนตัว ด้วยเทคโนโลยีติดตาม ตรวจดักข้อมูล และการเฝ้าระวัง (Surveillance Technology) โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลจากอดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ NSA – Eric Snowdens ให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องว่า ข้อมูลที่เราคิดว่าไม่มีใครรู้ เป็นความลับของเรา การใช้อินเตอร์เน็ตนั้นปลอดภัย อยู่ในการดูแลของบริษัทผู้บริการ นั้นไม่เป็นความจริงเสมอไป   ทำให้เกิดความตื่นตระหนกทั่วโลก แต่อาจไม่ใช่ประเทศไทย

                หากเพราะเราอาจคุ้นชินกันไปแล้วกับการถูกรุกรานเข้ามาในชีวิตส่วนตัว รวมถึงการฝังหัวว่าสิ่งสำคัญสูงสุดมิใช่ ความเป็นมนุษย์ที่เสมอภาค มีเสรีภาพในคิดเห็น และแสดงออกตามความคิดความเชื่อของตน   โดยที่ไม่ถูก “จับตา” ควบคุมสอดส่องให้แสดงความเห็นอยู่ในร่องที่รัฐเผด็จการขีดวางไว้

                การควบคุมไปจนถึงการกำหนดว่า “ความสุข” แบบใดที่รัฐมอบให้และประชาชนต้องอภิรมย์ แทนที่ความสุขทั่วไปที่ประชาชนเลือกชมได้ ถือเป็นการพยายามกลืนกลายประชาชนให้กลายเป็นก้อนกลมเดียวกัน   ไม่เหลือความคิดสร้างสรรค์อื่นใดให้พัฒนาตนเอง และสังคมไปในทิศทางที่ รัฐไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคย และหวาดระแวง

                ความเป็นส่วนตัว ในการคิดและการแสดงออกโดยปราศจากการจับจ้อง จึงเป็น “รากฐาน” ขั้นต่ำสุดของสังคมที่ต้องการความก้าวหน้าแบบไม่ต้องมีใครมาชักนำพาจูงจมูก

                หากมองย้อนกลับไปคงได้เห็นแล้วว่า เหตุการณ์ 9/11 ที่เกิดขึ้นในปี 2001 ได้ทำให้เกิดปัญหาอะไร และสังคมต้นทางอย่างสหรัฐได้ตื่นรู้ และประชาชนอเมริกันได้ลุกขึ้นสู้เพื่อต่อต้านการครอบงำของฝ่ายความมั่นคงอย่างไรบ้าง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม