Skip to main content

ในปีที่ผ่านมา กระแสที่มาแรงในประเทศไทยและมีอิทธิพลมานานในประเทศพัฒนาแล้วก็คือ Slow Life วิถีการใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า ละเมียดความสุขจากกิจกรรมการบริโภค และผ่อนคลาย แล้วขยายไปสู่กิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนใหญ่ คือ การผลิต การกระจาย การแลกเปลี่ยน และการบริโภค   หากใช้ปรัชญา Slow Life เป็นวิถีชีวิต ก็ต้องลดเวลาในการ กระจายและแลกเปลี่ยนสินค้า/บริการ เพื่อเพิ่มเวลาในการ “ผลิต” และ “บริโภค”     นั่นคือ Slow Life and High Quality

บทความนี้ของพูดถึง การเมืองเรื่องกินอยู่ (Political Economy of Economic, Social and Cultural Rights) ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่จริงจังมากในประเทศพัฒนาแล้ว เนื่องจาก “คุณภาพชีวิต” คือ เป้าหมายของพลเมืองที่ได้รับประกันสิทธิพลเมืองและการเมืองแล้ว มีสิทธิมีเสียงในการกำหนดอนาคตประเทศได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง   การเมืองของสังคมเหล่านั้นจึงเป็นไปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในรายละเอียดมากขึ้น

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด คือ การเมืองเรื่องอาหาร (Food Politics) การผลิตในเรื่องอาหารนั้นเริ่มตั้งแต่การเพาะปลูกพืชและเลี้ยงดูสัตว์แบบ “ออร์แกนิค” หรือใกล้เคียงธรรมชาติ ที่ไม่ใช้สารเคมี ฮอร์โมนส์ หรือเร่งการเจริญเติบโตแบบผิดธรรมชาติ เพราะตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎี “กินอะไรก็เป็นอย่างนั้น” (You are what you eat) ซึ่งผู้ประกอบการหรือรัฐไทย คงจะเห็นอยู่แล้วว่า สินค้าในกลุ่มนี้มีความต้องการมากขึ้นและเพิ่มมูลค่าได้มหาศาล เมื่อเทียบกับสินค้าเกษตรแบบอุตสาหกรรมเชิงเดี่ยวที่นับวันจะมีคู่แข่งแย่งตลาดมากขึ้น  

การผลิตแบบ “ช้า” แต่มากด้วย “คุณค่า” ทั้งเชิงคุณภาพและ “ความรู้สึก” จึงเป็นสิ่งที่ต้องคิดมากขึ้น ในการวางยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจไทย

แต่เมื่อคิดในมุมผู้บริโภคในประเทศอย่างคนไทยที่ต้องการชีวิตที่คุณภาพ การผลิตหมายรวมถึงการ “ปรุงอาหาร” ด้วย เนื่องจากกระแสรักษาสุขภาพ ลดความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลก็กำลังมาเช่นกัน และแนวโน้มการมีอายุยืนนานขึ้นก็ชัดเจน

คำถามคือ เราจะเพิ่ม “เวลา” ให้กับ การปรุงอาหาร และการบริโภคได้อย่างไร

หากบ้านไกลจากตลาด ไม่มีรถ แต่ต้องการทำกับข้าวกินเอง จะให้เดิน/ปั่นซื้อวัตถุดิบ จะเหลือเวลาปรุงและกินแค่ไหน แล้วเวลาที่เหลือไปทำงานล่ะ?                        ลองเปรียบเทียบกับประเทศที่ Slow Life เกิดขึ้นได้ในยุโรป

เราต้องตัดทางเลือกแบบ ผู้บริโภคมีคอกฟาร์มเป็นของตัวเอง ผลิตทุกอย่างได้เอง แปรรูป และปรุงได้เองเบ็ดเสร็จ เพราะผู้อ่านแทบทุกคนคงทำไม่ได้

เมือง คือ รูปแบบที่สร้างความเป็นไปได้ให้กับ Slow Life เพราะทำให้มนุษย์ตัวเล็กๆ คนหนึ่งเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตได้ โดยไม่ต้องครอบครองปัจจัยการผลิตจำนวนมาก

แม้จะดูย้อนแย้ง เพราะคนจะนึกถึงเมืองด้วยภาพ ความแออัด ความเร็ว และการแย่งชิง   แต่เรากำลังพูดถึง ความเป็นเมืองศิวิไลซ์ นั่นคือ การอยู่ร่วมกัน กติกา มารยาท และกลไกในการบริหาร เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตคนเมือง

เมือง สามารถลดเวลาในการ กระจายสินค้าจากฟาร์มสู่ตลาด จากผู้แปรรูปสู่มือผู้ปรุง/บริโภค ด้วยระบบบริการสารธารณะ ขนส่งมวลชน และโครงสร้างพื้นฐาน   เช่นเดียวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ การแลกเปลี่ยนผ่านเครื่องมือสื่อสารทำได้ง่ายขึ้น ต้นทุนต่ำลง

ความแตกต่างของประเทศพัฒนาแล้วกับกำลังพัฒนา คือ ในประเทศพัฒนาแล้วแม้อยู่ที่ไหน “ความสิวิไลซ์” ก็เข้าไปเชื่อมต่อดูแลชีวิต คนทุกพื้นที่เข้าถึงบริการสาธารณะและการขนส่ง/สื่อสารได้  

ส่วนประเทศกำลังพัฒนา “ความเจริญ” มักกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ และศูนย์กลางของเมืองเป็นหลัก   การพยามครอบครอง “พาหนะ” ส่วนตัวจึงเกิดขึ้นมาก เพราะต้องพึ่งพาตนเองเป็นหลัก ยิ่งเวลาผ่านไปสภาพการจราจรยิ่งเลวร้ายลง การใช้พลังงานมากขึ้น มลภาวะท่วมท้น และความเครียดเค้นจนสุดทน

กระแสการแสวงหาวิถีชีวิต “เชื่องช้า” และมองหาความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ การบริโภคสินค้าออร์แกนิค จึงเกิดขึ้นมาคลายความตึงเครียดเหล่านั้น เสมือนการ “เปิดวาล์ว” ผ่อนแรงบีบอัด

หากไม่มีการลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค ก็จะได้เห็นภาพคู่ขนาน คือ เวลาทำงานรีบเร่ง แล้วแห่กันไปแย่งกันกินกันเที่ยวต่างจังหวัดในวันหยุด หรือ แย่งชิงเคร่งเครียดในยามทำงาน แล้วปล่อยวางทุกสิ่งในเวลาว่าง   ก็ต้องมองผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพกายและใจ

มีเมืองอีกจำนวนมากในโลกที่สร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจและนวัตกรรมได้ ไปพร้อมกับ การใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพเปี่ยมสุข นั่นคือ การเฉลี่ยความสะดวก ให้ทุกคนเข้าถึงความสบาย และมีความวางใจในอนาคต  ทำให้คนรุ่นใหม่มีเวลาแสวงหาความถนัดและใช้เวลาพัฒนาศักยภาพตนเองไปตามพรสวรรค์ได้

ประเทศไทย ที่มาถึงทางตันในการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักแล้ว ย่อมต้องรู้จักปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการบริการที่ประณีตขึ้น

ประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ก็ปรับตัวรองรับความเปลี่ยนแปลง โดยยอมรับจุดอ่อนในอุตสาหกรรมหนัก แล้วขับเน้นจุดแข็งของตัวเอง โดยสร้างเมืองที่รองรับวิถีชีวิตเชื่องช้า ละเมียดสุข เพื่อดึงดูดคนจากทั่วสารทิศให้มากินมาใช้ มีชีวิตอยู่ในเมืองของตนให้ยาวนาน  และให้คนที่แก่ตัวไปยังคงสามารถใช้ชีวิตต่อไปในเมืองแม้ถึงวัยเกษียณ

การสร้างเมืองศิวิไลซ์ไว้รองรับ สังคมสูงอายุ และ คนวัยทำงานที่ต้องการใช้ชีวิตละเมียดขึ้น จึงเป็นเรื่องเดียวกัน

ปีใหม่นี้ รัฐบาลอาจต้องเริ่มเฉลี่ยสุข สร้างหลักประกันในอนาคต ให้ทุกคนเข้าถึงความสะดวกสบาย ด้วยการลงทุนบนฐานความคิดที่สอดคล้องกับทุนที่ประเทศไทยมี โดยเริ่มรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจัดโครงสร้างขนส่ง/สื่อสารขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมทั้งประเทศก่อน

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “คนที่ตายแล้วก็สบายไป ที่เหลือไว้คือลูกหลานที่แย่งชิงมรดก” หากไม่มีการวางแผนและจัดการปัญหาไว้ล่วงหน้า ก็อาจมีปัญหาในครอบครัวตามมาหากว่าความรักไม่อาจเอาชนะความโลภได้ แต่ในบางครั้งก็มิใช่เพียงกิเลสเท่านั้นที่ทำให้เกิดเรื่องเนื่องจากยังมีความยุ่งยากภายในครอบครัวตามมาอีกมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาบางเรื่องมิได้เกิดจากการเดินเข้าไปพบปัญหา แต่บางครั้งปัญหาก็บุกมาถึงตัวเราด้วยปฏิบัติการเป็นหมู่คณะของบริษัทห้างร้านที่ทำธุรกิจร่วมกันไขว้โปรโมชั่นไปมา แล้วเอาข้อมูลของเรามาหาประโยชน์ทางการค้า ด้วยการติดต่อมาหาแล้วพูดจาหว่านล้อมสารพัดจนเราพลัดตกลงไปในหลุมพรางหรือบ่วงล่อบางอย่างจนทำให้เกิดการ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เดี๋ยวทรัพย์สินไม่ใช่ของที่จับต้องได้อย่างข้าวของ เงินทองอย่างเดียวแล้ว มีทรัพย์สินทางปัญญาที่เขารณรงค์กันตลอดเวลาว่าอย่าละเมิด บางทีก็งงใช่ไหมครับ ว่าทำไมเราซื้อหนังสือหรือซีดีมาแต่ทว่า เขาบอกห้ามเผยแพร่ ทำซ้ำ เราก็กลัวว่าถ้าปั้มไปให้เพื่อนเยอะจะผิดไหม แต่ใครๆก็ทำกัน ไหนจะข่าวคนเก็บขยะเอาแผ่นซีด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะคอยเตือนให้ทุกคนจดจำไว้เสมอคือ “ไม่ควรไว้ใจเรื่องทรัพย์สินเงินทองกับคนรู้จัก” หากจะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีอาจต้องกันเรื่องเงินๆทองๆไม่ให้มีภาระผูกพันกันไว้เป็นดี   หากจะเห็นใจกันก็ต้องทำใจไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าช่วยอะไรกันไปแล้วอาจไม่ได้คืนมา  แต่ทว่ามีเรื่องหนึ่งในทางกฎหมาย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับสังคมที่ใช้เงินทองเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า ก็คือ การกู้ยืมเงิน มีตั้งแต่การกู้ยืมกันธรรมดาระหว่างญาติพี่น้องคนรู้จักและเพื่อนฝูง ไปจนถึงการกู้ยืมกับคนร่ำรวยในพื้นที่ ถึงขนาดมีผู้มีอิทธิพลปล่อยกู้นอกระบบจนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตเมื่อเกิดการทวงหนี้แล้วมีปัญหาใช้ความรุนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากกับคนที่ต้องย้ายตัวเข้ามาทำงานหรือมาเรียนต่างที่ ยิ่งเดี๋ยวนี้การเข้ามาอยู่ในเมืองเป็นเรื่องที่คนเจเนอร์เรชั่นวอล์ค (Generation Walk) อย่างเราๆท่านๆที่ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ไม่ซื้อรถยนต์ขับ และยังไม่แต่งงานต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี   เพราะบางคนย้ายที
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากใครทำธุรกิจการค้าก็คงหวั่นเกรงจะเกิดปัญหาที่จะพูดถึงต่อไปนี้กับกิจการตนเองใช่ไหมล่ะครับ ใช่แล้วครับ เช็คเด้ง!
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถึงเทศกาลสำคัญที่ทุกคนได้ปลดปล่อยกันสุดเหวี่ยงอย่างสงกรานต์   คนจำนวนมากก็เลยถือโอกาสเมาหัวทิ่มมันทุกวันเช้ายันเช้ามืดอีกวันหนึ่ง ตื่นมาก็กินต่อ   ไม่แค่นั้นความสุขทุกรูปแบบที่นึกได้ก็จะหามาปรนเปรอตัวเองให้สนุกสุดเหวี่ยง   ถ้าออกไปนอกบ้านก็จะเจอสงครามสาดน้ำและลู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับคนไทยยุคหลังครับ เพราะห้างสรรพสินค้ากลายเป็นสถานที่สำคัญของการรวมผู้คนในยุคสมัยที่ชุมชนของเราเปลี่ยนไป จากที่แต่ก่อนอยากได้อะไรก็ซื้อของในร้านใกล้บ้าน อยากซื้อของกินของใช้ก็ไปร้านของชำ อยากได้เสื้อผ้ารองเท้าก็ไปสั่งตัดเอาจากร้านที่เชื่อมือกัน ร้านอาหารดังๆ ยี่ห้อใหญ่ๆ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ มีเรื่องจำนวนมากเกี่ยวกับ  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบางพื้นที่เพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้สะท้อนความเป็นไปในระบบการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดีเลยครับ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าอนาคตของเราฝากไว้ที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่น้อยเลยทีเดียว   หากอยากเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ คณะดังๆ เพื่อหวังว่าจบมาจะหางานทำง่ายๆ คงรู้กันว่าต้องเตรียมตัวสอบเข้าให้ได้ เลยเกิดโรงเรียนกวดวิชาขึ้นมาม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผมคิดว่าทุกคนคงเคยเจอปัญหาแบบนี้เข้ากับตัวเองบ่อยๆ เลยครับ ก็เรื่องข้าวของราคาแพง จะไปกิน ไปเที่ยวให้หายเปรี้ยวปากก็ลำบากขึ้น เพราะไม่รู้ว่าต้องรู้สึกผิดหลังจากรู้ราคาและควักเงินจ่ายออกไปรึเปล่า เพราะบางทีก็เจอร้านหรือบริการที่ไม่บอกราคาชัดเจน มีงุบงิบปิดบังราคาหลบซ่อน โฆษณาจนเราเข้าใจผิดว่าราคาถ