Skip to main content

ในปีที่ผ่านมา กระแสที่มาแรงในประเทศไทยและมีอิทธิพลมานานในประเทศพัฒนาแล้วก็คือ Slow Life วิถีการใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า ละเมียดความสุขจากกิจกรรมการบริโภค และผ่อนคลาย แล้วขยายไปสู่กิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนใหญ่ คือ การผลิต การกระจาย การแลกเปลี่ยน และการบริโภค   หากใช้ปรัชญา Slow Life เป็นวิถีชีวิต ก็ต้องลดเวลาในการ กระจายและแลกเปลี่ยนสินค้า/บริการ เพื่อเพิ่มเวลาในการ “ผลิต” และ “บริโภค”     นั่นคือ Slow Life and High Quality

บทความนี้ของพูดถึง การเมืองเรื่องกินอยู่ (Political Economy of Economic, Social and Cultural Rights) ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่จริงจังมากในประเทศพัฒนาแล้ว เนื่องจาก “คุณภาพชีวิต” คือ เป้าหมายของพลเมืองที่ได้รับประกันสิทธิพลเมืองและการเมืองแล้ว มีสิทธิมีเสียงในการกำหนดอนาคตประเทศได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง   การเมืองของสังคมเหล่านั้นจึงเป็นไปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในรายละเอียดมากขึ้น

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด คือ การเมืองเรื่องอาหาร (Food Politics) การผลิตในเรื่องอาหารนั้นเริ่มตั้งแต่การเพาะปลูกพืชและเลี้ยงดูสัตว์แบบ “ออร์แกนิค” หรือใกล้เคียงธรรมชาติ ที่ไม่ใช้สารเคมี ฮอร์โมนส์ หรือเร่งการเจริญเติบโตแบบผิดธรรมชาติ เพราะตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎี “กินอะไรก็เป็นอย่างนั้น” (You are what you eat) ซึ่งผู้ประกอบการหรือรัฐไทย คงจะเห็นอยู่แล้วว่า สินค้าในกลุ่มนี้มีความต้องการมากขึ้นและเพิ่มมูลค่าได้มหาศาล เมื่อเทียบกับสินค้าเกษตรแบบอุตสาหกรรมเชิงเดี่ยวที่นับวันจะมีคู่แข่งแย่งตลาดมากขึ้น  

การผลิตแบบ “ช้า” แต่มากด้วย “คุณค่า” ทั้งเชิงคุณภาพและ “ความรู้สึก” จึงเป็นสิ่งที่ต้องคิดมากขึ้น ในการวางยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจไทย

แต่เมื่อคิดในมุมผู้บริโภคในประเทศอย่างคนไทยที่ต้องการชีวิตที่คุณภาพ การผลิตหมายรวมถึงการ “ปรุงอาหาร” ด้วย เนื่องจากกระแสรักษาสุขภาพ ลดความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลก็กำลังมาเช่นกัน และแนวโน้มการมีอายุยืนนานขึ้นก็ชัดเจน

คำถามคือ เราจะเพิ่ม “เวลา” ให้กับ การปรุงอาหาร และการบริโภคได้อย่างไร

หากบ้านไกลจากตลาด ไม่มีรถ แต่ต้องการทำกับข้าวกินเอง จะให้เดิน/ปั่นซื้อวัตถุดิบ จะเหลือเวลาปรุงและกินแค่ไหน แล้วเวลาที่เหลือไปทำงานล่ะ?                        ลองเปรียบเทียบกับประเทศที่ Slow Life เกิดขึ้นได้ในยุโรป

เราต้องตัดทางเลือกแบบ ผู้บริโภคมีคอกฟาร์มเป็นของตัวเอง ผลิตทุกอย่างได้เอง แปรรูป และปรุงได้เองเบ็ดเสร็จ เพราะผู้อ่านแทบทุกคนคงทำไม่ได้

เมือง คือ รูปแบบที่สร้างความเป็นไปได้ให้กับ Slow Life เพราะทำให้มนุษย์ตัวเล็กๆ คนหนึ่งเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตได้ โดยไม่ต้องครอบครองปัจจัยการผลิตจำนวนมาก

แม้จะดูย้อนแย้ง เพราะคนจะนึกถึงเมืองด้วยภาพ ความแออัด ความเร็ว และการแย่งชิง   แต่เรากำลังพูดถึง ความเป็นเมืองศิวิไลซ์ นั่นคือ การอยู่ร่วมกัน กติกา มารยาท และกลไกในการบริหาร เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตคนเมือง

เมือง สามารถลดเวลาในการ กระจายสินค้าจากฟาร์มสู่ตลาด จากผู้แปรรูปสู่มือผู้ปรุง/บริโภค ด้วยระบบบริการสารธารณะ ขนส่งมวลชน และโครงสร้างพื้นฐาน   เช่นเดียวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ การแลกเปลี่ยนผ่านเครื่องมือสื่อสารทำได้ง่ายขึ้น ต้นทุนต่ำลง

ความแตกต่างของประเทศพัฒนาแล้วกับกำลังพัฒนา คือ ในประเทศพัฒนาแล้วแม้อยู่ที่ไหน “ความสิวิไลซ์” ก็เข้าไปเชื่อมต่อดูแลชีวิต คนทุกพื้นที่เข้าถึงบริการสาธารณะและการขนส่ง/สื่อสารได้  

ส่วนประเทศกำลังพัฒนา “ความเจริญ” มักกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ และศูนย์กลางของเมืองเป็นหลัก   การพยามครอบครอง “พาหนะ” ส่วนตัวจึงเกิดขึ้นมาก เพราะต้องพึ่งพาตนเองเป็นหลัก ยิ่งเวลาผ่านไปสภาพการจราจรยิ่งเลวร้ายลง การใช้พลังงานมากขึ้น มลภาวะท่วมท้น และความเครียดเค้นจนสุดทน

กระแสการแสวงหาวิถีชีวิต “เชื่องช้า” และมองหาความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ การบริโภคสินค้าออร์แกนิค จึงเกิดขึ้นมาคลายความตึงเครียดเหล่านั้น เสมือนการ “เปิดวาล์ว” ผ่อนแรงบีบอัด

หากไม่มีการลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค ก็จะได้เห็นภาพคู่ขนาน คือ เวลาทำงานรีบเร่ง แล้วแห่กันไปแย่งกันกินกันเที่ยวต่างจังหวัดในวันหยุด หรือ แย่งชิงเคร่งเครียดในยามทำงาน แล้วปล่อยวางทุกสิ่งในเวลาว่าง   ก็ต้องมองผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพกายและใจ

มีเมืองอีกจำนวนมากในโลกที่สร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจและนวัตกรรมได้ ไปพร้อมกับ การใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพเปี่ยมสุข นั่นคือ การเฉลี่ยความสะดวก ให้ทุกคนเข้าถึงความสบาย และมีความวางใจในอนาคต  ทำให้คนรุ่นใหม่มีเวลาแสวงหาความถนัดและใช้เวลาพัฒนาศักยภาพตนเองไปตามพรสวรรค์ได้

ประเทศไทย ที่มาถึงทางตันในการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักแล้ว ย่อมต้องรู้จักปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการบริการที่ประณีตขึ้น

ประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ก็ปรับตัวรองรับความเปลี่ยนแปลง โดยยอมรับจุดอ่อนในอุตสาหกรรมหนัก แล้วขับเน้นจุดแข็งของตัวเอง โดยสร้างเมืองที่รองรับวิถีชีวิตเชื่องช้า ละเมียดสุข เพื่อดึงดูดคนจากทั่วสารทิศให้มากินมาใช้ มีชีวิตอยู่ในเมืองของตนให้ยาวนาน  และให้คนที่แก่ตัวไปยังคงสามารถใช้ชีวิตต่อไปในเมืองแม้ถึงวัยเกษียณ

การสร้างเมืองศิวิไลซ์ไว้รองรับ สังคมสูงอายุ และ คนวัยทำงานที่ต้องการใช้ชีวิตละเมียดขึ้น จึงเป็นเรื่องเดียวกัน

ปีใหม่นี้ รัฐบาลอาจต้องเริ่มเฉลี่ยสุข สร้างหลักประกันในอนาคต ให้ทุกคนเข้าถึงความสะดวกสบาย ด้วยการลงทุนบนฐานความคิดที่สอดคล้องกับทุนที่ประเทศไทยมี โดยเริ่มรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจัดโครงสร้างขนส่ง/สื่อสารขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมทั้งประเทศก่อน

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะไม่พูดถึงเหตุการณ์ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นต่อต้านการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญในปัจจุบันอาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ไม่ว่าเราจะเห็นต่างและไม่ยอมรับกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร ก็ห้ามแสดงความคิดเห็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากกรณีฮือฮาที่บัณฑิตนิติศาสตร์ถูกจับดำเนินคดี เนื่องจากผลิตเบียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีการถกเถียงว่า “ทำไมรัฐไทยไม่อนุญาตให้คนทั่วไปผลิตเบียร์” ทั้งที่ชอบป่าวประกาศให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  จนทายาทเบียร์ยี่ห้อดังออกมาตอบโต้ โ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นอกจากประเด็นที่สื่อมวลชนกำลังตื่นตัวว่าจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมตีตราสื่อให้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรในลักษณะที่ผู้มีอำนาจอาจเข้ามาแทรกแซงแล้ว  อีกประเด็นที่เชื่อมโยงกันและกระเทือนไปสู่วงกว้างมาก คือ การขยายขอบเขตการควบคุมไปยัง สื่อใหม่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากประสบการณ์ตรงและการสังเกตการณ์งานต่อสู้ของประชาชนในท้องถิ่นหลายงานสะท้อนปัญหาหนึ่งที่คล้ายกันในหลายพื้นที่ คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและนโยบายพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ หรือการลงทุนของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มักจะถูกจ้องมองด้วยสายตาหวาดระแวงไปจนถึงการถูกสลายทำลายขบวนการเรื่อยมา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองประเด็นใหญ่ช่วงปลายปี 2016 ที่ชาวโลกจับตามองเห็นจะไม่พ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และการทยอยประกาศรางวัลโนเบลสาขาต่างๆ บ็อบ ดีแลน ได้โนเบล แต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองในโลกออนไลน์ที่ฮือฮาในช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปีหนีไม่พ้นเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ที่ สนช. ภายใต้การผลักดันของรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อสารที่ตัดข้ามผ่านพรมแดนตลอดเวลา และเศรษฐกิจระบบตลาดที่มีพละกำลังมหาศาลจนมิมีรัฐใดทัดทานได้ จนต้องเปิดกำแพงให้สินค้า บริการและผู้คนเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวกกว่ายุคสงครามเย็นที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จนนักคิดไม่น้อยหลุดปากว่า “รัฐชาติลดความสำคัญ” ไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากประเทศไทยต้องการผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จำต้องมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายที่ประกันความเป็นส่วนตัวในการสื่อสาร ตามมาตรฐานสากลใน 12 ประเด็นนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะพัฒนารัฐ ต้องมุ้งเป้าไปที่ ลูกหลานแรงงานและเกษตรกรโดยเฉพาะสตรี นี่คือสิ่งที่องค์การระหว่างประเทศด้านการพัฒนาเน้นย้ำเสมอ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเข้าใจผิดประการหนึ่งต่อการกระตุ้นตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลและดึงดูดการลงทุนในอภิมหาโครงการไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ การมุ่งไปชักชวนผู้ประกอบการรายใหญ่โดยใช้มาตรการลดแลกแจกแถมในรูปแบบการเชิญชวนนักลงทุนในยุคอุตสาหกรรมหนักซึ่งพ้นยุคสมัยไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อมีรัฐบาลใหม่สิ่งทีตามมาด้วยเสมอ คือ นโยบายด้านเกษตรกรรม   ในอดีตเกษตรกร หรือที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น “ชาวนา” คือ กลุ่มเป้าหมายหลักในการหยิบมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับนโยบายอุดหนุน   ตามสโลแกน “ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ”  ที่แม้แต่คนรุ่นหลังๆ ก็ยังได้ฟังคำขวัญเห