Skip to main content

ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับสารพัดโหรที่ออกมาทำนายการเมือง และชะตาประเทศกันอยู่เป็นประจำ แต่บทความนี้จะลองพาไปท่องสังคมไทยที่มีกลิ่นไอของไสยศาสตร์เจือปนอยู่แทบทุกหัวระแหง

บทความนี้มิได้ตั้งอยู่บนความคิดที่ว่า “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” หรือมุ่งทำลายโจมตีไสยศาสตร์ แต่จะพยายามวิเคราะห์ว่า ทำไมไสยศาสตร์จึงอยู่คู่กับสังคมไทย และยิ่งความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุมากขึ้น เชื่อมโยงกับโลกโลกาภิวัฒน์เพิ่มขึ้น กิจกรรมทางไสยศาสตร์กลับเพิ่มตาม แถมยังมีสินค้าและบริการต่างๆออกมาให้เห็นตามกระแสอยู่มากมาย

การแปะป้ายว่าคนที่ทำกิจกรรมด้านไสยศาสตร์งมงาย ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ล้าหลัง ไม่ทันโลก น่าจะไม่ถูก เนื่องจากมีคนจำนวนมากที่เสียเงินไปกับการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ไปจนถึงจ้างผู้นำทางจิตวิญญาณเพื่อชี้นำในเรื่องต่างๆ อยู่เนืองๆ รวมไปถึงเรื่อง “ขอฤกษ์ทำรัฐประหาร” หรือแม้กระทั่ง “เลขมงคลจำนวนมาตรารัฐธรรมนูญ” ไปจนถึง “ลูกเทพ”

งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า คนที่ทำกิจกรรมด้านไสยศาสตร์มีแนวโน้ม “เอาทุกทาง” มากกว่าหมกมุ่นกับสายไสยอย่างเดียว  เช่น ถ้าทำธุรกิจก็ดูทีวีอ่านหนังสือฟังกูรูทั้งหลาย พ่วงไปกับการลงเรียนหลักสูตรต่างๆเพื่อหาเส้นสาย ไปปฏิบัติธรรม ทำบุญตักบาตรและกิจกรรมทางศาสนา เรื่อยมาถึงบูชาเครื่องรางของขลัง หรือเข้าลัทธิพิธีของสำนักต่างๆ ฯลฯ

อะไรทำให้คนไทยยังต้องใช้ไสยศาสตร์เป็นที่พึ่ง มิใช่แค่ที่ยึดเหนี่ยวทางใจ       หลายคนคิดว่าเป็น “หลักประกัน” กล่าวคือ ในประเทศไทยนี้ หากวันดีคืนดีเจ็บไข้ได้ป่วย ประสบอุบัติเหตุ ภัยพิบัติธรรมชาติ หรือเศรษฐกิจฝืดเคืองตกงาน เกิดเรื่องซวยๆขึ้นกับชีวิต  คนคนหนึ่งล้มทั้งยืนเป็นหนี้เป็นสินได้ทันที เพราะรัฐไทยมิได้สร้างหลักประกันขั้นพื้นฐานในชีวิตมากนัก

แม้ด้านสุขภาพจะมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ก็ยังมีข้อกังขาในเรื่องความสะดวกรวดเร็วและคุณภาพอยู่บ้าง แต่ประเด็นที่แทบไม่มีเบาะรองรับเลย คือ ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ

มองภาคเกษตรกรรมจะเห็นว่า เราไม่มีระบบประกันความเสี่ยงในการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ ถึงขนาดบรรษัทเกษตรและอาหารยักษ์ใหญ่ที่เคยเพาะพืชเลี้ยงสัตว์เพื่อผลิตอาหารกันเอง ยังต้องผลักภาระความเสี่ยงออกไปให้ เกษตรกรแบบรับความเสี่ยงแทนผ่านระบบ “เกษตรพันธสัญญา”   ก็ด้วยดินฟ้าอากาศ ภัยธรรมชาติ และโรคระบาดไม่เข้าใครออกใคร

ประเพณีจำนวนมากของชุมชนเกษตรกรรมจึงมีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเทพยาดาฟ้าดิน เจ้าพ่อเจ้าแม่ ดลบันดาลดินฟ้าอากาศและยับยั้งภัยธรรมชาติและโรคระบาดแทนให้   การด่าเกษตรกรจึงอาจผิดเป้าหมาย การพยายามหา วิธีรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ฤดูกาล ดินฟ้าอากาศ คาดเดาได้ วางแผนรับสถานการณ์ได้ น่าจะทำให้กิจกรรมทางไสยศาสตร์หายไป แล้ววิทยาศาสตร์เข้ามาแทน ...แต่ ก็ไม่มีนั่นเอง

เมื่อมองเข้ามาในภาคบริการและพาณิชยกรรม ผู้ประกอบการจำนวนมากก็ยังไหว้เจ้าที่เจ้าทาง บูชาเกจิอาจารย์ หรือหาเครื่องรางของขลังจากสายต่างๆ มาเสริมดวงหนุนโชค หรือจ้างซินแสจัดฮวงจุ้ยร้านค้า/ที่พัก แข่งกันดูดเงินดูดทองเข้าตัว แล้วไม่รู้ว่าคนที่มัวพัฒนาสินค้าและการบริการจะสู้ได้หรือไม่ถ้าไม่ใช้พลังภายในแบบนี้สู้

แม้กระทั่งบรรษัทใหญ่หรือไปจนถึงการพิจารณาโหงวเฮ้งและธาตุ พื้นฐานดวง ก่อนที่จะรับคนเข้าทำงาน  เรื่อยไปถึงการผลิตเชิงอุตสาหกรรมก็ยังต้องดูฤกษ์ยามการเดินสายผลิต หรือเจิมเครื่องจักรกลกันให้เห็นเป็นประจำ

สิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กับความรู้สึก “ไม่วางใจ” ของคนในภาคธุรกิจ เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต เพราะไม่อาจคาดเดาอะไรได้ เนื่องจากเราอยู่ในรัฐทุนนิยมที่กำหมายไม่ได้รับการยอมรับในฐานะ “กติกาของการแข่งขัน”  แต่กลับมีพลังลึกลับหลายอย่าง “อุ้ม” เอาคู้แข่งหลายรายหายไปในตลาด หรือบางโอกาสก็มีคนขายตัดราคาได้เพราะว่าเอาเงิน “ดำๆมืดๆ” มาฟอกผ่านธุรกิจให้กลายเป็นเงินสะอาดจนมิอาจสู้ราคาแข่งขันได้

เมื่อมาดูภาพใหญ่สุดระดับประเทศ เราคงคุ้นกันดีว่าประเทศไทยอาจก้าวหน้าไปแล้วก็อาจจะสะดุดหยุดอยู่หรือไหลย้อนกลับ ด้วยเหตุที่มีการตัดสลับโดยอำนาจ “นอกกฎหมาย” 

กฎหมายไม่ได้มีความหมายอะไรสลักสำคัญ มันเป็นเพียง “กติกา” ที่ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายคาดเดาได้ว่า ถ้าทำอย่างนี้ผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไร รัฐส่งเสริมอะไร ห้ามอะไร ให้แข่งกันยังไง สินค้าแบบไหนผลิตออกมาขายได้ หรือบริการแบบไหนห้ามนำเสนอสู่ตลาด   เมื่อกฎหมายเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญในสายตาของรัฐหรือผู้มีอำนาจจะต้องเคารพยึดถือปฏิบัติ ระดับล่างลงไปก็ไม่ทำตาม

การวิ่งเต้นหาเส้นไล่สาย จึงกลายเป็นสิ่งที่อยู่คู่สังคมไทย กลายเป็นระบบที่ส่งเสริมให้เกิด “เจ้าพ่อ” “เจ้าแม่” หลายรายที่กลายมาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีชีวิตและลมหายใจ ต้องเซ่นไหว้ด้วยอะไรก็แล้วแต่เจ้าสำนักกำหนด   ดีลใหญ่ทางธุรกิจหรือความขัดแย้งทางธุรกิจจึงปัดเป่าด้วยกำลังภายใน มากกว่า “การระงับข้อพิพาทด้วยกฎหมาย” ที่อาจคาดเดาผลได้ชัดเจนตามตัวบทบัญญัติ แต่อาจจะขัดกับผลประโยชน์ของคู่ขัดแย้ง

ยิ่งมีพลังนอกกฎหมาย ไร้กติกามากเท่าไหร่ ความไม่แน่นอนในจิตใจของ “ผู้ประกอบการรายย่อย” ยิ่งเพิ่มทวีคูณ จนต้องพยายามแสวงหาทุกวิถีทางในการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจและชีวิตที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง

หากคิดว่าไสยศาสตร์เป็นเรื่องไร้สาระ ก็ต้องกำจัดต้นตอของความเสี่ยง นั่นคือ “พลังนอกกฎหมาย”

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะไม่พูดถึงเหตุการณ์ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นต่อต้านการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญในปัจจุบันอาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ไม่ว่าเราจะเห็นต่างและไม่ยอมรับกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร ก็ห้ามแสดงความคิดเห็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากกรณีฮือฮาที่บัณฑิตนิติศาสตร์ถูกจับดำเนินคดี เนื่องจากผลิตเบียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีการถกเถียงว่า “ทำไมรัฐไทยไม่อนุญาตให้คนทั่วไปผลิตเบียร์” ทั้งที่ชอบป่าวประกาศให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  จนทายาทเบียร์ยี่ห้อดังออกมาตอบโต้ โ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นอกจากประเด็นที่สื่อมวลชนกำลังตื่นตัวว่าจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมตีตราสื่อให้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรในลักษณะที่ผู้มีอำนาจอาจเข้ามาแทรกแซงแล้ว  อีกประเด็นที่เชื่อมโยงกันและกระเทือนไปสู่วงกว้างมาก คือ การขยายขอบเขตการควบคุมไปยัง สื่อใหม่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากประสบการณ์ตรงและการสังเกตการณ์งานต่อสู้ของประชาชนในท้องถิ่นหลายงานสะท้อนปัญหาหนึ่งที่คล้ายกันในหลายพื้นที่ คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและนโยบายพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ หรือการลงทุนของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มักจะถูกจ้องมองด้วยสายตาหวาดระแวงไปจนถึงการถูกสลายทำลายขบวนการเรื่อยมา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองประเด็นใหญ่ช่วงปลายปี 2016 ที่ชาวโลกจับตามองเห็นจะไม่พ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และการทยอยประกาศรางวัลโนเบลสาขาต่างๆ บ็อบ ดีแลน ได้โนเบล แต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองในโลกออนไลน์ที่ฮือฮาในช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปีหนีไม่พ้นเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ที่ สนช. ภายใต้การผลักดันของรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อสารที่ตัดข้ามผ่านพรมแดนตลอดเวลา และเศรษฐกิจระบบตลาดที่มีพละกำลังมหาศาลจนมิมีรัฐใดทัดทานได้ จนต้องเปิดกำแพงให้สินค้า บริการและผู้คนเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวกกว่ายุคสงครามเย็นที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จนนักคิดไม่น้อยหลุดปากว่า “รัฐชาติลดความสำคัญ” ไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากประเทศไทยต้องการผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จำต้องมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายที่ประกันความเป็นส่วนตัวในการสื่อสาร ตามมาตรฐานสากลใน 12 ประเด็นนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะพัฒนารัฐ ต้องมุ้งเป้าไปที่ ลูกหลานแรงงานและเกษตรกรโดยเฉพาะสตรี นี่คือสิ่งที่องค์การระหว่างประเทศด้านการพัฒนาเน้นย้ำเสมอ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเข้าใจผิดประการหนึ่งต่อการกระตุ้นตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลและดึงดูดการลงทุนในอภิมหาโครงการไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ การมุ่งไปชักชวนผู้ประกอบการรายใหญ่โดยใช้มาตรการลดแลกแจกแถมในรูปแบบการเชิญชวนนักลงทุนในยุคอุตสาหกรรมหนักซึ่งพ้นยุคสมัยไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อมีรัฐบาลใหม่สิ่งทีตามมาด้วยเสมอ คือ นโยบายด้านเกษตรกรรม   ในอดีตเกษตรกร หรือที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น “ชาวนา” คือ กลุ่มเป้าหมายหลักในการหยิบมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับนโยบายอุดหนุน   ตามสโลแกน “ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ”  ที่แม้แต่คนรุ่นหลังๆ ก็ยังได้ฟังคำขวัญเห