Skip to main content

สำหรับคนที่ทำงานประจำต้องเริ่มต้นสัปดาห์ในวันจันทร์อย่างเบื่อหน่าย จนอยากจะหลีกลี้หนีหน้าไปจากสำนักงาน อาจจะเคยบ่นหรือฟังคำบ่นของเพื่อนร่วมชะตากรรมมาไม่น้อย จนถึงขั้นมีบริษัทรับสมัครงานนำมาเป็นคำโปรยว่า หากเบื่อวันจันทร์นักก็หางานใหม่ทำเถอะ   แต่ถ้าย้ายไปแล้วก็ไม่หาย ทำไปหลายปีก็ยังเบื่อเหมือนเดิมล่ะ?

นักคิดนักกิจกรรมชื่อดัง สโลวอย ซีเซ็ก (Slovoj ZIzek) ได้ย่อยเอาปรัชญาผู้วิพากษ์ทุนนิยมลงเป็นประโยคสั้นๆ คือ คุณไม่ได้เกลียดวันจันทร์คุณแค่ชังการเริ่มสัปดาห์ทำงานในระบบทุนนิยม (You don’t hate Monday, You hate Capitalism!) อันมีที่มาจากเรื่อง ความรู้สึกแปลกแยกในใจของคนที่อยู่ในวัฏจักรการผลิตแบบทุนนิยมที่วนเวียนซ้ำซากเหมือนหนูติดจั่น

สำหรับคนที่รักงานที่ทำ ชอบทำสิ่งที่มีคนจ่ายเงินให้ทำ ก็คงไม่รู้สึกแปลกแยกต้อยต่ำ หรือตั้งคำถามว่า “ฉันมาทำอะไรที่นี่”  แต่หากคนต้องทำอะไรที่ขัดกับความปรารถนา ไม่ตรงกับความถนัด หรือมีความซ้ำซากจำเจ จนเบื่อหน่ายถึงขีดสุด ก็หนีไม่พ้นต้องถามใจตัวเองว่ายังอยากทำงานนี้อยู่หรือไม่ แล้วจะไปทำอย่างอื่นได้รึเปล่า?  

สำหรับหลายคนทางเลือกไม่ได้มีมากนัก!

ความทุกข์ที่เกิดขึ้นของคนในสังคมทุนนิยมจึงเกี่ยวข้องกับ “การทำงาน” โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ผลตอบแทนต่ำ ความมั่นคงน้อย สภาพการทำงานแย่ ไปจนถึง ตกงาน                  สภาพในประเทศทุนนิยมเก่าแก่ที่อยู่ตัวแล้วมักจะมีสวัสดิการมารองรับคนที่ตกงาน แต่คนที่ว่างงานเรื้อรังย่อมหลีกไม่พ้นกับความรู้สึกจิตใจตกต่ำยาวนาน

ส่วนในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไทยที่สมาทานตัวเองเข้าไปในสายพานการผลิตของตลาดโลก และสังคมค่อยๆปรับเข้ามาในลักษณะเมืองทุนนิยม ก็ทำให้คนจำนวนมหาศาลตกอยู่ในภาวะ ไม่ชอบแต่ก็ต้องทำ มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะคนรุ่นที่ได้รับการศึกษาระดับสูงเป็นวงกว้างแต่กลับไม่ได้งานตามที่คาดหวัง ซ้ำยังไม่เห็นวี่แววของการก้าวหน้า ขยับเลื่อนสถานะทางสังคม

การหลุดลอยไปจากสังคม ความรู้สึกเคว้งคว้าง ว่างเปล่า ไร้คุณค่า ไม่มีตัวตนในสายตาของคนรอบข้าง เป็นภาระให้กับคนที่ตนรัก ย่อมบันดาลความทุกข์ให้เกิดขึ้นมหาศาล   แต่ต้องไม่ลืมว่า มันอาจจะไม่ใช่ความผิดส่วนบุคคลของเขา แต่เขาอาจเป็นผู้พ่ายแพ้ สูญเสียจากการปรับเปลี่ยนสังคมไปตามการกำหนดของตลาด   ทักษะหรือความเก่งกาจที่เขามีอาจไม่เป็นที่ต้องการ หรือได้ค่าตอบแทนไม่มาก จนกลายเป็นไร้ค่าเมื่อวัดด้วย “เงิน” ที่ใช้เป็นสื่อแลกเปลี่ยนในตลาด คนที่ไม่สามารถแปลงความถนัดของตนเป็นสินค้าหรือบริการเพื่ออยู่รอดจึงทุกข์

คำถาม คือ เราจะจัดการกับความทุกข์ของคนที่อยู่ในสังคมทุนนิยมนี้อย่างไร ?

บางกรณีเป็นความผิดปกติของสารเคมีในสมองจริง แต่กระแสปัจจุบันเหมือนจะผลักให้ทุกกรณีเป็นเรื่องสารเคมีไปหมดแล้วแก้ด้วยการจ่ายยา ซึ่ง "เหมารวม" เกินไป 

ในประเทศทุนนิยมเก่าจึงเริ่มมีการรณรงค์ให้ หยุดทำให้โรคซึมเศร้าเป็นเรื่องสารเคมี หยุดแก้ปัญหาด้วยยา 
วิพากษ์บรรษัทยาที่ค้ากำไรกับความเศร้าโดยทำปัญหาจิตเวชให้เป็นเงิน    โดยอยากให้แก้ปัญหาโดยรับฟังสาเหตุ และบริบททางเศรษฐกิจสังคม เพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างมากขึ้น ไม่ใช่แก้ที่ปลายเหตุด้วยยาอย่างเดียว

อดีตผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่หายโดยไม่ต้องกินยาก็มีอยู่ครับ แต่อย่างที่บอก ปัญหาอยู่ที่ "การเหมารวม" ว่า "ต้องใช้ยา" มากกว่า เหมือนเมื่อก่อนบอกว่า เลิกยาเสพติด ต้องใช้สารเคมีช่วย เดี๋ยวนี้กระแสตีกลับกันอีกแล้วว่าต้องชนะใจตน และคนรอบข้างต้องช่วยเหลือด้วยความเข้าใจไม่ให้หวนกลับไปใช้อีก

แม้จะมีรายงานทางการแพทย์เสนอสถิติว่าการใช้ยา สารเคมีรักษาได้ผลมากขึ้น แต่ก็ยังไม่พ้นข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่า อาจเป็นวิจัยที่สนับสนุนโดยบริษัทขายยา เมื่อเถียงกันไม่เสด็จน้ำ แต่เอาวิธีการจากผลข้างเดียวมาปฏิบัติกันเป็นวงกว้าง แบบ "เหมารวม" 

หมอไม่เคยมีการตรวจหาสารเคมีในร่างกายคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเลยครับ จึงย้อนแย้งกับความเป็นวิทยาศาสตร์มาก ณ จุดนี้   มีงานวิจัยสังคมวิทยาการแพทย์ด้านจิตเวช บอกว่าความคิดเรื่อง “สารเคมีก่อความเศร้า” มาพร้อมกับช่วงโหมการตลาดเรื่องยากรักษาซึมเศร้าของบรรษัทพอดี และมีเรื่องวิจัยผลข้างเคียง เรื่องยาแก้ซึมเศร้าทำให้ชายหลั่งช้าลง ด้วย ซึ่งมันคิดไปได้ว่า...โฆษณาแฝง

ที่สำคัญ มีปัจเจก จำนวนไม่น้อยหัวเสียกับการไปพบแพทย์แล้ว แต่บุคคลากรทางการแพทย์ไม่ให้คำปรึกษา หรือตั้งใจวินิจฉัยมากมาก ยิ่งมีการทำให้โรคซึมเศร้าเป็น “อาการ” ที่รักษาด้วยการจ่ายยาไปกิน โอกาสที่ผู้ป่วยจะได้พบกับที่ปรึกษาหรือใช้เวลาในการพูดคุยบำบัดก็ยิ่งน้อยลง เพราะรัฐหรือหน่วยงานต้นสังกัดอาจไม่อยากสูญเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างจิตแพทย์ รึนักจิตวิทยาบำบัด และไม่ต้องพูดถึงการแก้ปัญหาต้นเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับ “สภาพการทำงาน” หรือ “ความมั่นคงในหน้าที่การงาน”

ถ้าปัญหาเป็นเรื่องเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการเมือง ก็จะนำไปสู่การสร้างแนวร่วมผลักดันประเด็นปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม อย่างขบวนการมวลชนต่อต้านเสรีนิยมใหม่ โดยไม่คลั่งชาติ ไม่เหยียด ไม่กีดกัน แต่รวบรวมคนที่มีปัญหาเดียวกันเข้ามาร่วมเดิน

 

คุณไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า คุณแค่ผิดหวังจากทุนนิยม!
You don't have depression, Capitalism fails you

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “คนที่ตายแล้วก็สบายไป ที่เหลือไว้คือลูกหลานที่แย่งชิงมรดก” หากไม่มีการวางแผนและจัดการปัญหาไว้ล่วงหน้า ก็อาจมีปัญหาในครอบครัวตามมาหากว่าความรักไม่อาจเอาชนะความโลภได้ แต่ในบางครั้งก็มิใช่เพียงกิเลสเท่านั้นที่ทำให้เกิดเรื่องเนื่องจากยังมีความยุ่งยากภายในครอบครัวตามมาอีกมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาบางเรื่องมิได้เกิดจากการเดินเข้าไปพบปัญหา แต่บางครั้งปัญหาก็บุกมาถึงตัวเราด้วยปฏิบัติการเป็นหมู่คณะของบริษัทห้างร้านที่ทำธุรกิจร่วมกันไขว้โปรโมชั่นไปมา แล้วเอาข้อมูลของเรามาหาประโยชน์ทางการค้า ด้วยการติดต่อมาหาแล้วพูดจาหว่านล้อมสารพัดจนเราพลัดตกลงไปในหลุมพรางหรือบ่วงล่อบางอย่างจนทำให้เกิดการ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เดี๋ยวทรัพย์สินไม่ใช่ของที่จับต้องได้อย่างข้าวของ เงินทองอย่างเดียวแล้ว มีทรัพย์สินทางปัญญาที่เขารณรงค์กันตลอดเวลาว่าอย่าละเมิด บางทีก็งงใช่ไหมครับ ว่าทำไมเราซื้อหนังสือหรือซีดีมาแต่ทว่า เขาบอกห้ามเผยแพร่ ทำซ้ำ เราก็กลัวว่าถ้าปั้มไปให้เพื่อนเยอะจะผิดไหม แต่ใครๆก็ทำกัน ไหนจะข่าวคนเก็บขยะเอาแผ่นซีด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะคอยเตือนให้ทุกคนจดจำไว้เสมอคือ “ไม่ควรไว้ใจเรื่องทรัพย์สินเงินทองกับคนรู้จัก” หากจะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีอาจต้องกันเรื่องเงินๆทองๆไม่ให้มีภาระผูกพันกันไว้เป็นดี   หากจะเห็นใจกันก็ต้องทำใจไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าช่วยอะไรกันไปแล้วอาจไม่ได้คืนมา  แต่ทว่ามีเรื่องหนึ่งในทางกฎหมาย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับสังคมที่ใช้เงินทองเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า ก็คือ การกู้ยืมเงิน มีตั้งแต่การกู้ยืมกันธรรมดาระหว่างญาติพี่น้องคนรู้จักและเพื่อนฝูง ไปจนถึงการกู้ยืมกับคนร่ำรวยในพื้นที่ ถึงขนาดมีผู้มีอิทธิพลปล่อยกู้นอกระบบจนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตเมื่อเกิดการทวงหนี้แล้วมีปัญหาใช้ความรุนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากกับคนที่ต้องย้ายตัวเข้ามาทำงานหรือมาเรียนต่างที่ ยิ่งเดี๋ยวนี้การเข้ามาอยู่ในเมืองเป็นเรื่องที่คนเจเนอร์เรชั่นวอล์ค (Generation Walk) อย่างเราๆท่านๆที่ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ไม่ซื้อรถยนต์ขับ และยังไม่แต่งงานต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี   เพราะบางคนย้ายที
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากใครทำธุรกิจการค้าก็คงหวั่นเกรงจะเกิดปัญหาที่จะพูดถึงต่อไปนี้กับกิจการตนเองใช่ไหมล่ะครับ ใช่แล้วครับ เช็คเด้ง!
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถึงเทศกาลสำคัญที่ทุกคนได้ปลดปล่อยกันสุดเหวี่ยงอย่างสงกรานต์   คนจำนวนมากก็เลยถือโอกาสเมาหัวทิ่มมันทุกวันเช้ายันเช้ามืดอีกวันหนึ่ง ตื่นมาก็กินต่อ   ไม่แค่นั้นความสุขทุกรูปแบบที่นึกได้ก็จะหามาปรนเปรอตัวเองให้สนุกสุดเหวี่ยง   ถ้าออกไปนอกบ้านก็จะเจอสงครามสาดน้ำและลู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับคนไทยยุคหลังครับ เพราะห้างสรรพสินค้ากลายเป็นสถานที่สำคัญของการรวมผู้คนในยุคสมัยที่ชุมชนของเราเปลี่ยนไป จากที่แต่ก่อนอยากได้อะไรก็ซื้อของในร้านใกล้บ้าน อยากซื้อของกินของใช้ก็ไปร้านของชำ อยากได้เสื้อผ้ารองเท้าก็ไปสั่งตัดเอาจากร้านที่เชื่อมือกัน ร้านอาหารดังๆ ยี่ห้อใหญ่ๆ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ มีเรื่องจำนวนมากเกี่ยวกับ  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบางพื้นที่เพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้สะท้อนความเป็นไปในระบบการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดีเลยครับ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าอนาคตของเราฝากไว้ที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่น้อยเลยทีเดียว   หากอยากเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ คณะดังๆ เพื่อหวังว่าจบมาจะหางานทำง่ายๆ คงรู้กันว่าต้องเตรียมตัวสอบเข้าให้ได้ เลยเกิดโรงเรียนกวดวิชาขึ้นมาม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผมคิดว่าทุกคนคงเคยเจอปัญหาแบบนี้เข้ากับตัวเองบ่อยๆ เลยครับ ก็เรื่องข้าวของราคาแพง จะไปกิน ไปเที่ยวให้หายเปรี้ยวปากก็ลำบากขึ้น เพราะไม่รู้ว่าต้องรู้สึกผิดหลังจากรู้ราคาและควักเงินจ่ายออกไปรึเปล่า เพราะบางทีก็เจอร้านหรือบริการที่ไม่บอกราคาชัดเจน มีงุบงิบปิดบังราคาหลบซ่อน โฆษณาจนเราเข้าใจผิดว่าราคาถ