Skip to main content

 

เมื่อวันที่ 10-13 พฤศจิกายน สหประชาชาติได้ร่วมจัดงานประชุมการกำกับอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ หรือ Internet Governance Forum ครั้งที่ 10 (IGF 2015 Brazil) ณ เมือง Jao Pessoa ประเทศบราซิล ซึ่งน่าสนใจมากในแง่ของการเมืองระหว่างประเทศ เพราะเมื่อสองปีก่อนเกิด “รอยร้าว” ในความสัมพันธ์ระหว่าง บราซิลเจ้าภาพ กับ สหรัฐอเมริกาผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์และเทคโนโลยีสารสนเทศโลก เมื่อ เอ็ดเวิร์ด สโนเดน อดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองสหรัฐ ได้เผยข้อมูลว่าหน่วยงานความมั่นคงได้ทำการดักฟังและล้วงข้อมูลจากเครื่องมือสื่อสารของประธานาธิบดีบราซิล

การจารกรรมไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศกำหนดว่าเป็นความผิดทางอาญาระหว่างประเทศ แต่เป็นที่รับรู้กันในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่าเป็นการทำลาย “ความไว้วางใจ” ระหว่างมิตรประเทศ และอาจนำไปสู่การดำเนินนโยบายตอบโต้ได้ตามสัดส่วนความเหมาะสม   ต่างจากระบบกฎหมายภายในหากตรวจพบจารชนที่ทำการจารกรรมข้อมูลของผู้นำรัฐ มักมีความผิดร้ายแรงฐาน “กบฏต่อความมั่นคง” มีโทษร้ายแรงสูงสุด

ดังนั้นเกมส์การเมืองระหว่างประเทศจึงต้องออกแบบให้สอดคล้องกับทุนของรัฐ และเลี้ยงตัวเองให้อยู่ในกรอบกฎหมายระหว่างประเทศ และใช้เวทีระหว่างประเทศให้เป็นประโยชน์สูงสุดจากความเสียหายที่เกิดขึ้น  เข้าทำนอง “พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส”

โอกาสที่ว่ามาพร้อมกับมิตรสหายร่วมชะตากรรมเมื่อพบว่า ผู้นำอีกหลายประเทศก็ตกอยู่ภายใต้การจับจ้องด้วยเทคโนโลยีจารกรรมขั้นสูงไม่ต่างกัน   ดังนั้นนับแต่ปี 2013 เป็นต้นมา บราซิลและเยอรมนีที่มีศักยภาพในการเมืองระหว่างประเทศจึงกลายมาเป็นสองรัฐที่มีบทบาทนำในการผลักดันวาระต่างๆที่เกี่ยวกับการสื่อสารและความปลอดภัยในระบบโทรคมนาคมโลก   โดยมีการเสนอวาระเข้าสู่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนจนมีรายงานเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของพลเมืองเน็ตแห่งยุคดิจิตอลออกมาอย่างต่อเนื่อง

การประชุม IGF ในปีนี้มีธีมที่สื่อเป็นนัยยะว่าวิวัฒนาการของอินเตอร์เน็ตจะต้องเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือก็คือ การสร้างระบบกำกับดูแลอินเตอร์เน็ตจะต้องเกิดจาก การมีส่วนร่วมของทุกรัฐ ทุกฝ่ายที่มีประโยชน์ได้เสีย โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การสร้าง

·       ความมั่นคงในโลกไซเบอร์บนพื้นฐานของ “ความไว้วางใจ” (Trust)

·       การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล โดยเปิดให้ทุกกลุ่มเข้าไปมีส่วนกำหนดทิศทางอย่างหลากหลาย

·       สนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้เสียมีปากมีเสียงในการออกแบบระบบมากขึ้น เช่น กลุ่มผู้ด้อยโอกาส

·       การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเชื่อมโยงระบบ เช่น การส่งเสริมสิทธิในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสื่อสาร เช่น ประเทศที่การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตน้อย

·       การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในโลกออนไลน์ ต้านการเซ็นเซอร์ การจับกุม/ข่มขู่ การล้วงตับ การสอดส่อง

            อย่างที่บอกไปนี่คือ ผลพวงจากการเปิดเผยข้อมูลโดย สโนวเดน โดยมีอีกโครงการที่คน “ทั้งโลก” ต้องให้ความสนใจนั่นคือ ข้อตกลงระหว่างสภาความมั่นคงสหรัฐ  กับ หน่วยข่าวกรองดักสัญญาณสื่อสารสหราชอาณาจักร ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จารกรรมมาจากสายเคเบิ้ลสื่อสารใต้มหาสมุทร เรือดำน้ำสหราชอาณาจักรดักข้อมูลแล้วส่งต่อให้ระบบประมวลผลของสภาความมั่นคงสหรัฐ(NSA) ณ Fort Meade มลรัฐ Maryland เพื่อเก็บเป็นเหมืองไว้รอขุดคุ้นต่อไป ซึ่งกระทบกระเทือนต่อความเป็นส่วนตัว และข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองเน็ตทั่วโลก

การดักฟังผู้นำของประเทศต่างๆ และกิจกรรมจารกรรมระหว่างประเทศนั้น สหภาพยุโรปและประเทศสำคัญ เช่น บราซิลโต้กลับด้วย มาตรการทางการทูต และกฎหมายระหว่างประเทศ อย่างแยบคายต่อเนื่อง จนนำไปสู่การปฏิรูประบบการข่าวกรองภายในของสหรัฐผ่านคำประกาศของโอบาม่า   รวมไปถึงท่าทีและแนวปฏิบัติของบรรษัทยักษ์ใหญ่ที่ปฏิเสธการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานความมั่นคงสหรัฐ

แรงบีบของสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดใหญ่นำไปสู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเพื่อเปิดโอกาสให้พลเมืองสหภาพยุโรป (มิใช่คนสัญชาติสหรัฐอเมริกา) สามารถใช้สิทธิฟ้องร้องบรรษัทหรือหน่วยงานรัฐของอเมริกาได้ใน “ศาลสหรัฐอเมริกา” ภายในปี 2016    โดยสหรัฐยอมทำข้อตกลงระหว่างสองภูมิภาคที่เป็นพันธมิตรนาโต้ NATO Cross Atlantic Relationship ชื่อว่าข้อตกลง “EU-US Umbrella Agreement”

การบีบโดยอาศัยการออกกฎหมายภายในของตนมาให้รัฐอื่นยอมรับนี้ดูสุภาพนุ่มนวล เสมือนว่าการยอมอ่อนข้อให้ในระดับหนึ่ง เป็นกลวิธีในการเจรจาจนได้ผลลัพธ์ออกมา  

แต่หากมองในเชิงปฏิบัติกลับเป็นว่า ยุโรปยอมตกลงให้ พลเมืองต้องลงทุนไปฟ้องเองถึงศาลสหรัฐ   ทั้งที่ในข้อเสนอ ตอนแรกEU จะเอาช่องทางฟ้องร้องแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว (One-Stop Unit) ในดินแดนสหภาพยุโรปให้ได้ ไม่ว่าผู้ละเมิดจะเป็นรัฐบาลสหรัฐหรือบรรษัทสัญชาติสหรัฐก็ตาม

ถ้าสหรัฐและสหภาพยุโรป เคาะเรื่องนี้ออกมา ก็คงออกมาพร้อมกับ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลแห่งสหภาพยุโรป (EU General Data Protection Regulation) ที่สหภาพยุโรปกำลังจะออกในปลายปี 2015 เลย เพราะนี่มันประเด็นสุดท้ายแล้วที่เถียงกันไม่จบ ...แต่ว่า มันจะมีผลในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปเทียบเท่ากฎหมายภายในรัฐในอีก 2 ปีถัดไปทันทีที่ประกาศ (ระบบสหภาพยุโรปจะให้เวลารัฐปรับตัว เช่น จัดงบประมาณ บุคลากร ความพร้อมต่างๆ)

ไทยไม่ควรดันกฎหมายใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิตอล หรือ อินเตอร์เน็ต ในช่วงนี้ เพราะต้องแก้ใหม่แน่นอน แต่ควรพัฒนานวัตกรรมในการระงับข้อพิพาทออนไลน์ (Online Dispute Settlement Unit) หรือ หน้าเว็บรับเรื่องร้องเรียนออนไลน์ หรือกลไกรองรับการดำเนินคดีแบบกลุ่ม Class Action มากกว่า   แม้จะยังไม่พบความคืบหน้าว่า สหภาพยุโรปจะผลักดันให้มีองค์กรหรือกลไกใดในการอำนวยความสะดวกให้กับพลเมืองผู้ตกเป็นเหยื่อของการจารกรรมของสหรัฐด้วยวิธีใดก็ตาม
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “คนที่ตายแล้วก็สบายไป ที่เหลือไว้คือลูกหลานที่แย่งชิงมรดก” หากไม่มีการวางแผนและจัดการปัญหาไว้ล่วงหน้า ก็อาจมีปัญหาในครอบครัวตามมาหากว่าความรักไม่อาจเอาชนะความโลภได้ แต่ในบางครั้งก็มิใช่เพียงกิเลสเท่านั้นที่ทำให้เกิดเรื่องเนื่องจากยังมีความยุ่งยากภายในครอบครัวตามมาอีกมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาบางเรื่องมิได้เกิดจากการเดินเข้าไปพบปัญหา แต่บางครั้งปัญหาก็บุกมาถึงตัวเราด้วยปฏิบัติการเป็นหมู่คณะของบริษัทห้างร้านที่ทำธุรกิจร่วมกันไขว้โปรโมชั่นไปมา แล้วเอาข้อมูลของเรามาหาประโยชน์ทางการค้า ด้วยการติดต่อมาหาแล้วพูดจาหว่านล้อมสารพัดจนเราพลัดตกลงไปในหลุมพรางหรือบ่วงล่อบางอย่างจนทำให้เกิดการ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เดี๋ยวทรัพย์สินไม่ใช่ของที่จับต้องได้อย่างข้าวของ เงินทองอย่างเดียวแล้ว มีทรัพย์สินทางปัญญาที่เขารณรงค์กันตลอดเวลาว่าอย่าละเมิด บางทีก็งงใช่ไหมครับ ว่าทำไมเราซื้อหนังสือหรือซีดีมาแต่ทว่า เขาบอกห้ามเผยแพร่ ทำซ้ำ เราก็กลัวว่าถ้าปั้มไปให้เพื่อนเยอะจะผิดไหม แต่ใครๆก็ทำกัน ไหนจะข่าวคนเก็บขยะเอาแผ่นซีด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะคอยเตือนให้ทุกคนจดจำไว้เสมอคือ “ไม่ควรไว้ใจเรื่องทรัพย์สินเงินทองกับคนรู้จัก” หากจะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีอาจต้องกันเรื่องเงินๆทองๆไม่ให้มีภาระผูกพันกันไว้เป็นดี   หากจะเห็นใจกันก็ต้องทำใจไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าช่วยอะไรกันไปแล้วอาจไม่ได้คืนมา  แต่ทว่ามีเรื่องหนึ่งในทางกฎหมาย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับสังคมที่ใช้เงินทองเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า ก็คือ การกู้ยืมเงิน มีตั้งแต่การกู้ยืมกันธรรมดาระหว่างญาติพี่น้องคนรู้จักและเพื่อนฝูง ไปจนถึงการกู้ยืมกับคนร่ำรวยในพื้นที่ ถึงขนาดมีผู้มีอิทธิพลปล่อยกู้นอกระบบจนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตเมื่อเกิดการทวงหนี้แล้วมีปัญหาใช้ความรุนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากกับคนที่ต้องย้ายตัวเข้ามาทำงานหรือมาเรียนต่างที่ ยิ่งเดี๋ยวนี้การเข้ามาอยู่ในเมืองเป็นเรื่องที่คนเจเนอร์เรชั่นวอล์ค (Generation Walk) อย่างเราๆท่านๆที่ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ไม่ซื้อรถยนต์ขับ และยังไม่แต่งงานต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี   เพราะบางคนย้ายที
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากใครทำธุรกิจการค้าก็คงหวั่นเกรงจะเกิดปัญหาที่จะพูดถึงต่อไปนี้กับกิจการตนเองใช่ไหมล่ะครับ ใช่แล้วครับ เช็คเด้ง!
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถึงเทศกาลสำคัญที่ทุกคนได้ปลดปล่อยกันสุดเหวี่ยงอย่างสงกรานต์   คนจำนวนมากก็เลยถือโอกาสเมาหัวทิ่มมันทุกวันเช้ายันเช้ามืดอีกวันหนึ่ง ตื่นมาก็กินต่อ   ไม่แค่นั้นความสุขทุกรูปแบบที่นึกได้ก็จะหามาปรนเปรอตัวเองให้สนุกสุดเหวี่ยง   ถ้าออกไปนอกบ้านก็จะเจอสงครามสาดน้ำและลู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับคนไทยยุคหลังครับ เพราะห้างสรรพสินค้ากลายเป็นสถานที่สำคัญของการรวมผู้คนในยุคสมัยที่ชุมชนของเราเปลี่ยนไป จากที่แต่ก่อนอยากได้อะไรก็ซื้อของในร้านใกล้บ้าน อยากซื้อของกินของใช้ก็ไปร้านของชำ อยากได้เสื้อผ้ารองเท้าก็ไปสั่งตัดเอาจากร้านที่เชื่อมือกัน ร้านอาหารดังๆ ยี่ห้อใหญ่ๆ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ มีเรื่องจำนวนมากเกี่ยวกับ  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบางพื้นที่เพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้สะท้อนความเป็นไปในระบบการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดีเลยครับ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าอนาคตของเราฝากไว้ที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่น้อยเลยทีเดียว   หากอยากเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ คณะดังๆ เพื่อหวังว่าจบมาจะหางานทำง่ายๆ คงรู้กันว่าต้องเตรียมตัวสอบเข้าให้ได้ เลยเกิดโรงเรียนกวดวิชาขึ้นมาม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผมคิดว่าทุกคนคงเคยเจอปัญหาแบบนี้เข้ากับตัวเองบ่อยๆ เลยครับ ก็เรื่องข้าวของราคาแพง จะไปกิน ไปเที่ยวให้หายเปรี้ยวปากก็ลำบากขึ้น เพราะไม่รู้ว่าต้องรู้สึกผิดหลังจากรู้ราคาและควักเงินจ่ายออกไปรึเปล่า เพราะบางทีก็เจอร้านหรือบริการที่ไม่บอกราคาชัดเจน มีงุบงิบปิดบังราคาหลบซ่อน โฆษณาจนเราเข้าใจผิดว่าราคาถ