Skip to main content

ทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะใช้ เศรษฐกิจดิจิตอล เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศ   วาระแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับยุโรปที่เห็นสัญญาณการล่มของเศรษฐกิจมาตั้งแต่สองทศวรรษก่อนใน Banglemann Report on Digital Economy ซึ่งล้าสมัยไปเยอะแล้ว และนักยุทธศาสตร์รุ่นหลังก็ได้ก้าวข้ามวิธีคิดของเขาไปแล้ว

โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ เอ็ดเวิร์ด สโนวเด้นส์ แฉหลักฐานว่ารัฐบาลสหรัฐดักข้อมูลคนทั่วโลกทางอินเตอร์เน็ต และดักดูดสัญญาณในสายเคเบิ้ลใต้น้ำของบรรษัทชั้นนำ เช่น Google MSN FACEBOOK ฯลฯ   ทำให้ยอดการใช้งานบริการของบริษัทเหล่านั้นตกลง จนบริษัทต้องรวมตัวกันออกแถลงการณ์เรียกร้องให้สหรัฐอเมริกายุติโครงการเหล่านั้น   เช่นเดียวกับรัฐบาลต่างๆที่ผู้นำและประชาชนถูกลักดักข้อมูล เช่น EU ก็กดดันสหรัฐอย่างหนัก

                แก่นกลางของการส่งเสริมเศรษฐกิจที่ทุกฝ่ายเห็นร่วมกัน คือ การสร้างความ “ไว้วางใจ” (Trust) ให้เกิดในใจผู้บริโภค เพราะหาไม่แล้วประชาชนที่หวาดกลัวการถูกสอดส่องก็จะลดกิจกรรมบนอินเตอร์เน็ตลง

                จากข่าว ท่านสิทธิชัย โภไคยอุดม บอกว่า พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ฯ ได้มาตรฐานกฎหมาย Homeland Security Act ของ US นั้น ท่านไม่ทราบจริงๆหรือว่า ปีก่อน ศาลยุติธรรมสหภาพยุโรป ตัดสินให้ Directive on Data Retention (ว่าด้วยการเก็บกักข้อมูลไว้) ที่หน่วยงานด้านความมั่นคงของ EU ร่วมมือกับทางการ US ใช้เก็บข้อมูลประชาชนด้วยเหตุผลความมั่นคง นั้น "สิ้นสภาพทางกฎหมาย" ไปแล้วตั้งแต่เดือน เมษายน

ทำให้ EU ต้องร่างกฎหมายเรื่องนี้ขึ้นมาใหม่ และทำความตกลงกับสหรัฐในเรื่องการเก็บกักข้อมูลด้วยเหตุผลทางความมั่นคงใหม่ที่ชื่อว่า Umbrella Agreement ซึ่งสหรัฐก็ต้องปรับตาม เพราะมาตรฐานของ Homeland Security ต่ำกว่ามากนั่นเอง

พูดให้เข้าใจง่ายๆ เนื้อหาของ Homeland Security ไม่ได้มาตรฐานสากล หากเราไปลอกกฎหมายเขา ก็ต้องตามมาแก้กฎหมายอีก เพราะเดี๋ยวเขาต้องมีมาตรฐานใหม่ตามที่ EU ร่างขึ้นและ US รับลูกต่อมาอีกที

การอ้างว่า กฎหมายไทยได้มาตรฐาน Homeland Security Act. จึงล้าสมัย! และทำลายความมั่นใจของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต   ยิ่งหากจะผลักดันให้ผู้ประกอบธุรกิจดิจิตัลของไทย โกอินเตอร์ หรือ ดึงดูดบรรษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยจะยิ่งมีปัญหา
                เนื่องจากการมีกฎหมายภายในไม่ได้มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะถูกกีดกันทางการค้าตามข้อตกลง GATS ข้อ 14(c) (III) ว่าด้วยข้อยกเว้นให้ปิดกั้นการข้ามแดนได้ เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล

จากข้อตกลงของ GATS  และ การคำนึงถึงความเชื่อมั่นของประชาชนนี่เองที่ทำให้ล่าสุด US จะขยายความคุ้มครองสิทธิไปถึงพลเมืองEU ให้ประชาชนยุโรปฟ้องคดีต่อผู้ละเมิดการคุ้มครองข้อมูลในศาลสหรัฐได้ตามคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของสหรัฐ US Privacy Act. 
 

การขยายความคุ้มครองสิทธินี้ก็เป็นไปตามการเจรจาความตกลงระหว่าง EU-US ชุด Umbrella Agreement ที่ว่าไป   เช่นเดียวกับ โอบาม่า ที่ออกประกาศ “ปฏิรูประบบข่าวกรองด้านดักสัญญาณ” ไปหลังเจอพายุ Snowden Revelations เพื่อสร้างความมั่นใจให้พลเมืองอเมริกัน และพลเมืองเน็ตทั่วโลก ไม่งั้น Google Yahoo MSN หรือ FACEBOOK คงกระอัก

ย้อนมาดูไทย เราจะย้อนยุคไปหลังเหตุการณ์ 9/11 ใหม่ๆ เลยหรือ ถ้าไม่รีบปรับ บรรษัท IT และธุรกิจธนาคาร ประกันภัย โรงพยาบาล นี่ล่ะครับ ที่จะบี้รัฐบาลอย่างหนัก

รายงานของคณะอนุกรรมมาธิการศึกษาความมั่นคงสังคมออนไลน์ ภายใต้คณะกรรมาธิการทหารวุฒิสภา ว่าไว้ตั้งแต่ปี 2555 ให้ผู้ประกอบการและสื่อเป็นห่วงหลายจุด เช่น ทัศนคติของรัฐที่ว่า "ผู้ให้บริการ (ISP) กระทําเพื่อประโยชน์ในการให้บริการและคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของลูกค้ามากเกินไป กระทั่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง"   รวมไปถึงการโจมตีนโยบายการให้ประชาชนเข้าถึง Free Wi-Fi แบบกลัวไว้ก่อน ทั้งที่นโยบายแบบนี้จะเพิ่มปริมาณผู้ใช้อินเตอร์เน็ต (ความเร็วขั้นต่ำ – แต่ช้า)

ซึ่งสวนทางกับรัฐมนตรีปรีดิยาธร ที่จะขับเคลื่อนเอสเอ็มอีด้วยเศรษฐกิจดิจิตอล โดยจะต้องทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตเข้าถึงคนไทยให้ได้มากที่สุดในต้นทุนที่ต่ำ มีราคาที่ประชาชนเข้าถึงได้

การลงทะเบียนหลายต่อ จับตามองคนทุกฝีเก้า ด้วยมาตรการความมั่นคงแบบรัฐราชการ  ซึ่งค่อนข้างสวนทางกับการส่งเสริม Digital Economy ที่ต้องส่งเสริมให้คนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ง่า และรู้สึกปลอดภัยไม่มีใครคอยจับจ้องตลอดเวลา   แต่ถ้าท่านจะให้ประชาชนใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบบรอดแบนด์ก็น่าห่วงว่าจะแถมเทคโนโลยีสอดส่องมากับอุปกรณ์อะไรแบบที่ สหรัฐกล่าวหาจีน และสุดท้ายมาความแตกว่าสหรัฐก็ทำเช่นกัน

ถ้าอินเตอร์เน็ตส่งเสริมการขยายตัวของ เศรษฐกิจ Informal Sector ประเภทการจับจ่ายที่หมิ่นเหม่ศีลธรรม หรือ สินค้า/บริการ ที่ผู้ใหญ่เห็นว่าไร้สาระ   การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อาจทำกิจกรรมเหล่านั้นเฟื่องฟู แต่ในความเป็นจริงมีธุรกรรมอีกมากมายที่หันไปใช้ช่องทางอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะ SME และมีแนวโน้มจะมากขึ้นเรื่อย

การออกกฎหมายแบบเหวี่ยงแห คลุมเครือ ตีขลุมไว้ก่อนว่า คนใช้อินเตอร์เน็ต อาจเป็น "อาชญากร" หรือ "ผู้ก่อการร้าย" โดยไม่ระบุให้ชัดเจนว่า กิจกรรมอะไรที่ต้องสอดส่อง  จึงเป็นการเอา "ความกลัว" เดินนำหน้าความ "กล้า" ที่จะนำพาเศรษฐกิจหลุดพ้นจากสภาวะเดิมๆ ที่พิสูจน์ตัวเองอยู่นานปีว่ามีแต่ "ย่ำอยู่กับที่"

การส่งเสริมเศรษฐกิจแบบตลาด จึงต้องกีดกันฝ่ายความมั่นคงมิให้แทรกแซงเรื่องเศรษฐกิจ  ถ้าคิดจะทำให้อินเตอร์เน็ตไทยเป็นระบบปิดแบบจีน (The Great China Firewall)   ก็ไม่คุ้มเพราะตลาดภายในไทยเล็กเกินไป เทียบตลาดภายในจีน ไม่ได้    

ไทยจึงควรรอดูท่าทีของโลกผ่านการตกลงของ สหภาพยุโรป สหรัฐ ในกลางปีนี้จะได้ไม่ต้องแก้อีก

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม