Skip to main content

ทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะใช้ เศรษฐกิจดิจิตอล เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศ   วาระแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับยุโรปที่เห็นสัญญาณการล่มของเศรษฐกิจมาตั้งแต่สองทศวรรษก่อนใน Banglemann Report on Digital Economy ซึ่งล้าสมัยไปเยอะแล้ว และนักยุทธศาสตร์รุ่นหลังก็ได้ก้าวข้ามวิธีคิดของเขาไปแล้ว

โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ เอ็ดเวิร์ด สโนวเด้นส์ แฉหลักฐานว่ารัฐบาลสหรัฐดักข้อมูลคนทั่วโลกทางอินเตอร์เน็ต และดักดูดสัญญาณในสายเคเบิ้ลใต้น้ำของบรรษัทชั้นนำ เช่น Google MSN FACEBOOK ฯลฯ   ทำให้ยอดการใช้งานบริการของบริษัทเหล่านั้นตกลง จนบริษัทต้องรวมตัวกันออกแถลงการณ์เรียกร้องให้สหรัฐอเมริกายุติโครงการเหล่านั้น   เช่นเดียวกับรัฐบาลต่างๆที่ผู้นำและประชาชนถูกลักดักข้อมูล เช่น EU ก็กดดันสหรัฐอย่างหนัก

                แก่นกลางของการส่งเสริมเศรษฐกิจที่ทุกฝ่ายเห็นร่วมกัน คือ การสร้างความ “ไว้วางใจ” (Trust) ให้เกิดในใจผู้บริโภค เพราะหาไม่แล้วประชาชนที่หวาดกลัวการถูกสอดส่องก็จะลดกิจกรรมบนอินเตอร์เน็ตลง

                จากข่าว ท่านสิทธิชัย โภไคยอุดม บอกว่า พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ฯ ได้มาตรฐานกฎหมาย Homeland Security Act ของ US นั้น ท่านไม่ทราบจริงๆหรือว่า ปีก่อน ศาลยุติธรรมสหภาพยุโรป ตัดสินให้ Directive on Data Retention (ว่าด้วยการเก็บกักข้อมูลไว้) ที่หน่วยงานด้านความมั่นคงของ EU ร่วมมือกับทางการ US ใช้เก็บข้อมูลประชาชนด้วยเหตุผลความมั่นคง นั้น "สิ้นสภาพทางกฎหมาย" ไปแล้วตั้งแต่เดือน เมษายน

ทำให้ EU ต้องร่างกฎหมายเรื่องนี้ขึ้นมาใหม่ และทำความตกลงกับสหรัฐในเรื่องการเก็บกักข้อมูลด้วยเหตุผลทางความมั่นคงใหม่ที่ชื่อว่า Umbrella Agreement ซึ่งสหรัฐก็ต้องปรับตาม เพราะมาตรฐานของ Homeland Security ต่ำกว่ามากนั่นเอง

พูดให้เข้าใจง่ายๆ เนื้อหาของ Homeland Security ไม่ได้มาตรฐานสากล หากเราไปลอกกฎหมายเขา ก็ต้องตามมาแก้กฎหมายอีก เพราะเดี๋ยวเขาต้องมีมาตรฐานใหม่ตามที่ EU ร่างขึ้นและ US รับลูกต่อมาอีกที

การอ้างว่า กฎหมายไทยได้มาตรฐาน Homeland Security Act. จึงล้าสมัย! และทำลายความมั่นใจของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต   ยิ่งหากจะผลักดันให้ผู้ประกอบธุรกิจดิจิตัลของไทย โกอินเตอร์ หรือ ดึงดูดบรรษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยจะยิ่งมีปัญหา
                เนื่องจากการมีกฎหมายภายในไม่ได้มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะถูกกีดกันทางการค้าตามข้อตกลง GATS ข้อ 14(c) (III) ว่าด้วยข้อยกเว้นให้ปิดกั้นการข้ามแดนได้ เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล

จากข้อตกลงของ GATS  และ การคำนึงถึงความเชื่อมั่นของประชาชนนี่เองที่ทำให้ล่าสุด US จะขยายความคุ้มครองสิทธิไปถึงพลเมืองEU ให้ประชาชนยุโรปฟ้องคดีต่อผู้ละเมิดการคุ้มครองข้อมูลในศาลสหรัฐได้ตามคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของสหรัฐ US Privacy Act. 
 

การขยายความคุ้มครองสิทธินี้ก็เป็นไปตามการเจรจาความตกลงระหว่าง EU-US ชุด Umbrella Agreement ที่ว่าไป   เช่นเดียวกับ โอบาม่า ที่ออกประกาศ “ปฏิรูประบบข่าวกรองด้านดักสัญญาณ” ไปหลังเจอพายุ Snowden Revelations เพื่อสร้างความมั่นใจให้พลเมืองอเมริกัน และพลเมืองเน็ตทั่วโลก ไม่งั้น Google Yahoo MSN หรือ FACEBOOK คงกระอัก

ย้อนมาดูไทย เราจะย้อนยุคไปหลังเหตุการณ์ 9/11 ใหม่ๆ เลยหรือ ถ้าไม่รีบปรับ บรรษัท IT และธุรกิจธนาคาร ประกันภัย โรงพยาบาล นี่ล่ะครับ ที่จะบี้รัฐบาลอย่างหนัก

รายงานของคณะอนุกรรมมาธิการศึกษาความมั่นคงสังคมออนไลน์ ภายใต้คณะกรรมาธิการทหารวุฒิสภา ว่าไว้ตั้งแต่ปี 2555 ให้ผู้ประกอบการและสื่อเป็นห่วงหลายจุด เช่น ทัศนคติของรัฐที่ว่า "ผู้ให้บริการ (ISP) กระทําเพื่อประโยชน์ในการให้บริการและคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของลูกค้ามากเกินไป กระทั่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง"   รวมไปถึงการโจมตีนโยบายการให้ประชาชนเข้าถึง Free Wi-Fi แบบกลัวไว้ก่อน ทั้งที่นโยบายแบบนี้จะเพิ่มปริมาณผู้ใช้อินเตอร์เน็ต (ความเร็วขั้นต่ำ – แต่ช้า)

ซึ่งสวนทางกับรัฐมนตรีปรีดิยาธร ที่จะขับเคลื่อนเอสเอ็มอีด้วยเศรษฐกิจดิจิตอล โดยจะต้องทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตเข้าถึงคนไทยให้ได้มากที่สุดในต้นทุนที่ต่ำ มีราคาที่ประชาชนเข้าถึงได้

การลงทะเบียนหลายต่อ จับตามองคนทุกฝีเก้า ด้วยมาตรการความมั่นคงแบบรัฐราชการ  ซึ่งค่อนข้างสวนทางกับการส่งเสริม Digital Economy ที่ต้องส่งเสริมให้คนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ง่า และรู้สึกปลอดภัยไม่มีใครคอยจับจ้องตลอดเวลา   แต่ถ้าท่านจะให้ประชาชนใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบบรอดแบนด์ก็น่าห่วงว่าจะแถมเทคโนโลยีสอดส่องมากับอุปกรณ์อะไรแบบที่ สหรัฐกล่าวหาจีน และสุดท้ายมาความแตกว่าสหรัฐก็ทำเช่นกัน

ถ้าอินเตอร์เน็ตส่งเสริมการขยายตัวของ เศรษฐกิจ Informal Sector ประเภทการจับจ่ายที่หมิ่นเหม่ศีลธรรม หรือ สินค้า/บริการ ที่ผู้ใหญ่เห็นว่าไร้สาระ   การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อาจทำกิจกรรมเหล่านั้นเฟื่องฟู แต่ในความเป็นจริงมีธุรกรรมอีกมากมายที่หันไปใช้ช่องทางอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะ SME และมีแนวโน้มจะมากขึ้นเรื่อย

การออกกฎหมายแบบเหวี่ยงแห คลุมเครือ ตีขลุมไว้ก่อนว่า คนใช้อินเตอร์เน็ต อาจเป็น "อาชญากร" หรือ "ผู้ก่อการร้าย" โดยไม่ระบุให้ชัดเจนว่า กิจกรรมอะไรที่ต้องสอดส่อง  จึงเป็นการเอา "ความกลัว" เดินนำหน้าความ "กล้า" ที่จะนำพาเศรษฐกิจหลุดพ้นจากสภาวะเดิมๆ ที่พิสูจน์ตัวเองอยู่นานปีว่ามีแต่ "ย่ำอยู่กับที่"

การส่งเสริมเศรษฐกิจแบบตลาด จึงต้องกีดกันฝ่ายความมั่นคงมิให้แทรกแซงเรื่องเศรษฐกิจ  ถ้าคิดจะทำให้อินเตอร์เน็ตไทยเป็นระบบปิดแบบจีน (The Great China Firewall)   ก็ไม่คุ้มเพราะตลาดภายในไทยเล็กเกินไป เทียบตลาดภายในจีน ไม่ได้    

ไทยจึงควรรอดูท่าทีของโลกผ่านการตกลงของ สหภาพยุโรป สหรัฐ ในกลางปีนี้จะได้ไม่ต้องแก้อีก

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะไม่พูดถึงเหตุการณ์ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นต่อต้านการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญในปัจจุบันอาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ไม่ว่าเราจะเห็นต่างและไม่ยอมรับกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร ก็ห้ามแสดงความคิดเห็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากกรณีฮือฮาที่บัณฑิตนิติศาสตร์ถูกจับดำเนินคดี เนื่องจากผลิตเบียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีการถกเถียงว่า “ทำไมรัฐไทยไม่อนุญาตให้คนทั่วไปผลิตเบียร์” ทั้งที่ชอบป่าวประกาศให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  จนทายาทเบียร์ยี่ห้อดังออกมาตอบโต้ โ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นอกจากประเด็นที่สื่อมวลชนกำลังตื่นตัวว่าจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมตีตราสื่อให้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรในลักษณะที่ผู้มีอำนาจอาจเข้ามาแทรกแซงแล้ว  อีกประเด็นที่เชื่อมโยงกันและกระเทือนไปสู่วงกว้างมาก คือ การขยายขอบเขตการควบคุมไปยัง สื่อใหม่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากประสบการณ์ตรงและการสังเกตการณ์งานต่อสู้ของประชาชนในท้องถิ่นหลายงานสะท้อนปัญหาหนึ่งที่คล้ายกันในหลายพื้นที่ คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและนโยบายพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ หรือการลงทุนของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มักจะถูกจ้องมองด้วยสายตาหวาดระแวงไปจนถึงการถูกสลายทำลายขบวนการเรื่อยมา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองประเด็นใหญ่ช่วงปลายปี 2016 ที่ชาวโลกจับตามองเห็นจะไม่พ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และการทยอยประกาศรางวัลโนเบลสาขาต่างๆ บ็อบ ดีแลน ได้โนเบล แต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองในโลกออนไลน์ที่ฮือฮาในช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปีหนีไม่พ้นเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ที่ สนช. ภายใต้การผลักดันของรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อสารที่ตัดข้ามผ่านพรมแดนตลอดเวลา และเศรษฐกิจระบบตลาดที่มีพละกำลังมหาศาลจนมิมีรัฐใดทัดทานได้ จนต้องเปิดกำแพงให้สินค้า บริการและผู้คนเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวกกว่ายุคสงครามเย็นที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จนนักคิดไม่น้อยหลุดปากว่า “รัฐชาติลดความสำคัญ” ไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากประเทศไทยต้องการผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จำต้องมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายที่ประกันความเป็นส่วนตัวในการสื่อสาร ตามมาตรฐานสากลใน 12 ประเด็นนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะพัฒนารัฐ ต้องมุ้งเป้าไปที่ ลูกหลานแรงงานและเกษตรกรโดยเฉพาะสตรี นี่คือสิ่งที่องค์การระหว่างประเทศด้านการพัฒนาเน้นย้ำเสมอ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเข้าใจผิดประการหนึ่งต่อการกระตุ้นตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลและดึงดูดการลงทุนในอภิมหาโครงการไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ การมุ่งไปชักชวนผู้ประกอบการรายใหญ่โดยใช้มาตรการลดแลกแจกแถมในรูปแบบการเชิญชวนนักลงทุนในยุคอุตสาหกรรมหนักซึ่งพ้นยุคสมัยไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อมีรัฐบาลใหม่สิ่งทีตามมาด้วยเสมอ คือ นโยบายด้านเกษตรกรรม   ในอดีตเกษตรกร หรือที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น “ชาวนา” คือ กลุ่มเป้าหมายหลักในการหยิบมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับนโยบายอุดหนุน   ตามสโลแกน “ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ”  ที่แม้แต่คนรุ่นหลังๆ ก็ยังได้ฟังคำขวัญเห