Skip to main content

หลังจากรัฐบาล คสช. ได้อนุญาตให้มีกิจกรรมทางการเมืองแบบพรรคได้ ก็ปรากฏการเปิดตัวเข้าสู่สนามการเมืองของหลากหลายกลุ่มการเมือง ทั้งที่เป็นกลุ่มการเมืองเดิม และหน้าใหม่ที่พยายามเข้ามาเสนอทางเลือกให้แหวกแนวไปกว่าเดิม  แต่พรรคที่ดึงดูดความสนใจในทิศทางทวนกระแส มีแง่คิดผิดแผกไปจากกลุ่มอื่น เห็นจะไม่พ้น พรรคเกรียน ของคุณสมบัติ บุญงามองค์ หรือ บ.ก.ลายจุด ที่ได้ก่อตั้งพรรค “เกรียน” ขึ้นมาแล้วไปขอจดทะเบียนตั้งพรรคกับ กกต. อย่างเป็นทางการเสียด้วย

แต่สิ่งที่เกิดขึ้น คือ การวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียนพรรคเกรียนโดยอ้างถึง “ความไม่เหมาะสม” ของชื่อพรรค ซึ่งดุลยพินิจของ กกต. นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า “เกรียน” ในความหมายร่วมสมัยหรือดิจิทัลอาจหมายถึง วัยรุ่นที่มีพฤติกรรมก่อกวนทำให้เกิดความสับสนโกลาหลขึ้นได้ในพื้นที่ซึ่ง กกต. คิดว่าต้องขึงขังจริงจังและเป็นทางการอย่าง สนามการเมือง

เรื่องจึงต้องย้อนกลับมาคิดว่า “ความเป็นทางการ” หรือแม้กระทั่ง “ความสำคัญ” ของการเมืองในระบบเลือกตั้งผ่านตัวแทนแบบพรรคการเมืองเป็นสิ่งที่ต้องแสดงออกด้วยท่าที “ขรึมขลัง” “ศักดิ์สิทธิ์” “จริงจัง” กันขนาดไหน จะมีที่ว่างให้กับการ ล้อเลียน เสียดสี หรือความตลกได้หรือไม่ เป็นสิ่งที่จะขบให้แตกในบทความนี้

ย้อนไปในอดีตว่า “ความตลก” หรือ “ตัวตลก” มีที่ทางอย่างไรในสังคมการเมือง เท่าที่ผมค้นเจอก็จะมีเรื่องตลกหลวงในวังทั้งของอารยธรรมตะวันตกและตะวันออก ที่ทำหน้าที่ในการล้อเลี่ยนชนชั้นสูงที่เข้าร่วมงานในวัง มิใช่แค่เพียงเพื่อการสังสรรค์เฮฮา แต่ว่ามีหน้าที่ในการหยิบเอา “ข้อด้อย” หรือ “ข้อบกพร่อง” ของคนเหล่านั้นมาขับเน้นให้เห็นชัดขึ้น เพื่อที่เจ้าตัวที่คุ้นชินกับนิสัยเดิม ได้หันมาเพิ่มการพิจารณาตนเองว่าสิ่งที่เขาล้อนั้นมันเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขหรือไม่

เช่นเดียวกับวรรณกรรมหรืองานทางศิลปวัฒนธรรมอีกจำนวนมากที่ใช้เรื่องตลกขำขัน เป็นเครื่องมือสำคัญในการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆผ่านวิธีการชวนหัว เพื่อยั่วให้คนดูคนฟังและคนถูกล้อต้องกลับมาคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องเล่าเหล่านั้นมันมีประเด็นให้ต้องขบคิดจริงหรือไม่

ยกตัวอย่างเช่น พรรคเกรียน หากมองด้วยสาตาของประชาชนทั่วไปอย่างผม สิ่งที่ บ.ก.ลายจุด นำเสนอหรือจุดประเด็นทางการเมืองผ่านเรื่องการสถาปนาพรรคขึ้นมาแล้วเสนอนโยบายทางการเมือง หรือคำคม ความคิด หรือเนื้อหาที่มีทีท่าล้อเลียน เสียดสี หรือบางท่านอาจจะคิดไปได้ว่าแดกดัน เย้ยหยันนั้น ล้วนกระตุกให้สาธารณชนต้องฉุกคิดว่า เรากำลังโดนครอบงำความคิดด้วยการเมืองชุดเก่าๆเดิมๆ ที่มีผู้ลงสมัครและพรรคการเมืองจำนวนมาก แสดงภาพลักษณ์จริงจัง เรียกร้องความน่าเชื่อถือจากประชาชน ก่อนที่จะนำเสนอนโยบายพรรคที่ดูดี มีความหวัง เพื่อเรียกคะแนนเสียงให้ได้ดังตั้งใจไว้  แต่ในความเป็นจริงอาจเป็นเพียง ความฝัน หรือลมปาก

ในทางกลับกัน การเล่า “ความจริง” กระทุ้งถามหา “แก่นแท้” ด้วยการลดทอนความขรึมขลังโดยอาศัยกลวิธีหยอกล้อ ยั่วเย้า อาจกลายเป็นวิธีการทำให้คนร่วมสังคมเราจำนวนมากที่คุ้นชินกับการเมืองแบบเก่า เริ่มมาสนใจการเมืองในมุมมองใหม่ ด้วยการหันมาใส่ใจกับประเด็นสำคัญ บุคคลสาธารณะ เพราะมีภาษา ท่าทาง วิธีการสื่อสาร แบบตลก อันเป็นกระแสวัฒนธรรมหลักของสังคมไทย

ถ้าใครเถียงว่า “ความตลก” ไม่ใช่กระแสหลักของสังคมไทย ก็ลองไปดูเรตติ้งของรายการโทรทัศน์ หรือยอดติดตาม ไลค์ แชร์ ในอินเตอร์เน็ต ว่าเนื้อหาตลก หรือปนตลกนี่ไม่ใช่หรือที่ถือครองคะแนนนิยมจากประชาชนส่วนใหญ่อยู่

หากมองผู้นำประเทศเผด็จกการอำนาจนิยมในอดีต อย่างระบอบฟาสซิสม์ด้วยสายตาปัจจุบัน แบบมองอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก็จะเห็นว่ามีตลกในตำนานอย่าง ชาร์ลี แช็ปลิน เอามาล้อจนหัวเราะท้องงอแข็ง แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าในช่วงที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เรืองอำนาจ ทุกสิ่งที่ออกจากปากล้วนมีคนยึดถือเอาเป็นเอาตาย ขนาดว่าใครคัดค้านหรือต่อต้านจะได้รับภัยกับชีวิต  

ความตลกจึงเป็นเหมือนอาวุธทรงพลังในการลดทอนบารมีครอบงำจิตใจมวลชน ซึ่งทีมงานของเหล่าผู้นำเผด็จการจำนวนมากทราบดีจึงมีกุศโลบายในการสกัดกั้นการแสดงออกที่นำมาสู่การล้อเลียนผู้นำ  เพราะจะทำให้ภาพลักษณ์ที่จริงจัง แข็งขันของท่านผู้นำ เสื่อมบารมีลง

ความตลก จึงเป็นเหมือนอาวุธสำคัญที่เสริมพลังอำนาจให้คนธรรมดาสำคัญที่มีเพียงสมองและสองมือสามารถหยิบฉวยเอามาใช้แต่งเติมเสริมความคิดของตนให้แหลมคมและส่งไปยังมวลมหาชน หากเป็นมุขตลกที่ตรงกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนในห้วงขณะนั้นก็จะกระตุ้นให้ประชาชนตั้งคำถามถึงความจริงที่ผู้นำกลบซ่อนความบกพร่องไว้ภายใต้หน้ากากแห่งความขึงขลังดั่งกำแพงให้พังทลายลงมาได้

 บ่อยครั้งที่รัฐและผู้มีอำนาจจึงใช้วิธีการจำกัดการแสดงออกของประชาชนที่มาในรูปแบบของความตลกเฮฮา เพราะว่ามันมาพร้อมการเสียดสี แดกดัน เย้ยหยัน ให้ความน่าเชื่อถือของบุคคลผู้ทรงอิทธิพลต้องเสื่อมสลายลงไป   ยิ่งเป็นพื้นที่ซึ่งเน้นการสร้างภาพลักษณ์มากกว่าเนื้อหาสาระ การคงสถานะสูงส่ง หรือจริงจัง ศักดิ์สิทธิ์ เล่นไม่ได้ ก็ยิ่งกลายเป็นเสมือนป้ายห้ามขนาดใหญ่ไม่ให้มีการล้อเลียน

ดังนั้นกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากลที่ประเทศไทยเป็นภาคีและผูกมัดรัฐไว้จึงได้ให้หลักประกันการแสดงออกของประชาชนไว้อย่างชัดแจ้ง การล้อเลียน เล่นตลก ที่มิได้ใส่ความอันเป็นเท็จ หรือการพูดเรื่องจริงที่เป็นประโยชน์สาธารณะ แม้จะมาในท่าทีล้อเล่น จึงพึงได้รับการรับรอง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม