Skip to main content

บทความนี้จะไม่พูดถึงเหตุการณ์ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นต่อต้านการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญในปัจจุบันอาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ไม่ว่าเราจะเห็นต่างและไม่ยอมรับกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร ก็ห้ามแสดงความคิดเห็น

                ส่วนจะให้สนับสนุนก็ยังหาเหตุผลไม่ได้ จึงของด เพราะส่วนตัวจะไปลงมติไม่รับทั้งรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงอยู่แล้ว ขอท่านผู้อ่านอย่าได้ปฏิบัติตาม

                การลงประชามติเป็นกระบวนการวัดคะแนนความเห็นของประชากร โดยสามารถกำหนดได้ว่า “ใครมีสิทธิลงคะแนน” หรือ “ลงคะแนนเรื่องอะไร” รวมไปถึง “ผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร”

                การทำประชามติระดับชาติในทางหนึ่งเป็นวิธีการยุติความขัดแย้งแหลมคมของคนในชาติ หรือบางครั้งนำไปสู่การแบ่งแยกรัฐ หรือการสร้างรัฐใหม่  เพราะฉะนั้น กระบวนการและผลการลงคะแนนจึงมีผลต่ออนาคตอย่างแน่นอน ดังปรากฏใน การทำประชามติของสหราชอาณาจักร Brexit 2016

                คะแนนที่ออกมาสร้างความประหลาดใจให้คนทั่วโลกโดยเฉพาะคนบริติชเอง จนถึงขนาดนำไปสู่การเรียกร้องให้ลงคะแนนกันอีกครั้ง เมื่อย้อนไปดูว่าใครโหวตให้ออก และโหวตเพราะอะไร จะพบสิ่งที่น่าสนใจว่า เหตุผลเชิงชาตินิยม และกระแสการต่อต้านผู้อพยพ คนชาติพันธุ์อื่นที่ดูไม่เป็น บริติชดั้งเดิม  โดยอาจไม่เกี่ยวข้องกับการอยู่ร่วมสหภาพยุโรปด้วยซ้ำ

                เมื่อบวกกับแคมเปญหาเสียงของ โดนัลด์ ทรัพป์ ที่ต้องการขับไล่ผู้อพยพออกจากสหรัฐ ยิ่งชัดเจนว่า ปัญหา “การเหยียดสีผิว/ชาติพันธุ์” หลบซ่อนยังมีอยู่ แม้จะแสดงออกตรงๆ โต้งๆ ไม่ได้เพราะเสี่ยงจะผิดกฎหมาย หรือโดนสังคมประณาม แต่การลงคะแนนเสียงแบบลับ กลายเป็นทางออกของคนเหล่านี้ไป

                ปัญหาจริงๆ น่าจะอยู่ที่การกำหนด สิทธิ/หน้าที่ ใน "รัฐสวัสดิการ" เสียมากกว่าอ่ะครับ เพราะอย่างที่เห็นว่า ทหาร ตำรวจ หรือ รปภ. ก็เต็มไปด้วยคนอพยพหรือลูกหลานผู้อพยพ มาโดยตลอด

 

                สิ่งที่ไม่พูดจริงๆ คือ แนวโน้มของคนรุ่นลูกหลานของ Baby Boomer ที่เสวยสุขจากลัทธิอรรถประโยชน์นิยมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็นในยุโรป ที่ค่อนข้างสุขสบาย และมีเสรีภาพที่จะใช้ชีวิตแบบชิลๆ มากกว่า ที่ทำให้ อาชีพ งานช่าง ร้านค้า งานรับจ้าง และธุรกิจ SMEs ที่เป็นงานเหนื่อยหนักเริ่มไปอยู่ในมือผู้อพยพมากขึ้นๆ จนคนยูโรเปียนท้องถิ่นเริ่มวิตก

                แต่ในทางตรงกันข้ามก็มีผู้อพยพที่ปรับตัวไม่ได้แล้วกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายของกลุ่มก่อการร้าย ก็กลายเป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างตั้งใจของรัฐ คือ ไม่ให้เขามีงานทำแย่งโอกาสทางเศรษฐกิจ แต่ผลักเขาเป็นอาชญากร ผู้ก่อการร้าย เพื่อสร้างความชอบธรรมให้การมี ทหาร ตำรวจ อุตสาหกรรมความมั่นคง/รักษาความปลอดภัย

 

In peaceful democratic society, number matters?!!! (ในสังคมสันติมีประชาธิปไตย จำนวนนับมีความหมาย) ประเด็นจำนวนประชากรที่เชื่อมโยงกับปริมาณชาติพันธุ์ต่างๆที่มีอำนาจในการกำหนดอนาคตสังคมนั้นๆ

 

                ปัญหาที่เป็นรากฐานของการแสดงความรังเกียจผ่านการลงคะแนนเสียง ไม่น่าจะเกิดจากการมีผู้อพยพมุสิลมในยุโรปมากขึ้น แต่น่าจะอยู่ที่ คนท้องถิ่นชาวคริสต์เกิดน้อยลงเรื่อยๆ มากกว่า นี่ยังไม่พูดถึง คนยุโรปที่เป็น Non-Religious มากขึ้นเรื่อยๆ หรือ การไม่สามารถหลอมรวม "คนอื่น" หรือ "ผู้มาใหม่/เกิดใหม่" ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคม "ยุโรเปียน" มากกว่า
 

                ผมไม่ได้บอกว่า เสรีภาพในทางเพศหรือการมี/ไม่มีครอบครัว หรือ LGBTIQ เป็นปัญหาด้วยนะ ผมสนับสนุนการอยู่ร่วมกันของคู่หลากหลายทางเพศและรับบุตรบุญธรรมจากคนที่มีลูกแต่ไม่พร้อม ด้วยครับ

 

                ปัญหาจริงๆ น่าจะอยู่ที่การกำหนด สิทธิ/หน้าที่ ใน "รัฐสวัสดิการ" เสียมากกว่าอ่ะครับ เพราะคนที่ต้านผู้อพยพพอไล่เหตุผลไปจะไปสุดตรงคำถามที่ว่า  "เราจ่ายเพื่อช่วยเหลือคนอื่นไปทำไม?"

                ในสังคมเขาก็เป็นคำถามที่ต้องตอบให้ดีล่ะครับ เพราะโครงสร้างงบประมาณ มาจาก ภาษีทางตรง มากกว่า ภาษีทางอ้อม กลับหัวกลับหางกับรัฐไทย ที่งบประมาณส่วนใหญ่มาจากภาษีทางอ้อม (ยิ่งมีคนเข้ามามากผลิตมากบริโภคมาก รัฐยิ่งจัดเก็บรายได้เยอะ – รวมถึงการผลิต/บริโภคของแรงงานต่างชาติ)
 

                ถ้าจำนวนผลประโยชน์ที่คนอพยพจ่าย กับ ผลประโยชน์ที่ผู้อพยพได้ มันสมดุลย์ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

แต่ก็นั่นล่ะครับ เขาไม่ได้คิดกันแค่ "จำนวน" ง่ายๆ แบบนี้

เพราะมันมีอะไรที่มากกว่า "ตัวเลข" กระมังครับ

 

                เยอรมนีพร้อมและเปิดรับผู้อพยพมากกว่ารัฐอื่น เพราะมีประสบการณ์ในการรับผู้อพยพปริมาณมหาศาลมาเมื่อไม่นานมานี้ คือ ชาวเยอรมันตะวันออก เพื่อนร่วมชาติ ครับ

เขาคงเห็นแหละว่ามีแต่ได้กับได้ เมื่อเทียบกับมหาอำนาจคู่แข่งที่เป็นประเทศผู้อพยพเช่นกัน อย่างสหรัฐอเมริกา

 

                ทรัมพ์นี่ก็เป็นปฏิกิริยาของ กลุ่มผู้ไม่มีสำนึกทางประวัติศาสตร์ชาติอเมริกัน นะครับ เพราะ อเมริกันชน ก็คือ ผู้อพยพ โดยการคาดการณ์ว่าปี 2030 ประชากรที่ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาแม่จะเกิน 50%


                ตอนประชามติ Brexit แล้วฝ่ายอยู่ (Remain) แพ้นั้น เพราะ คนรุ่นใหม่ คนรุ่น Digital ไม่ไปลงคะแนน แต่คนรุ่นเก่า Analog ไปลงคะแนนออก (Leave) (ทั้งที่โพลก่อนลงคะแนนฝ่าย Remain นำมา ทั้งในโพลอินเตอร์เน็ต และทางโทรศัพท์) และมีวิจัยด้วยว่า คนรุ่นใหม่ที่เข้าถึงเทคโนโลยีสื่อสาร มักจะไม่ไปลงคะแนนเสียง แต่จะเสียเงินโหวตรายการเรียลลิตี้ หรือการทำโพลโหวตทางเทคโนโลยีสื่อสาร มากกว่า คือ เน้นการหยั่งเสียงผ่านเทคโนโลยีสื่อสารมากกว่า  แต่รัฐยังเป็น อนาล็อก อยู่นะครับ


                ทั้งหมดนี้ไม่ได้กดดันใครให้ไปโหวตยังไง แค่เล่า งานสายเทคโนโลยีกับความเคลื่อนไหวทางสังคม ให้ฟังครับ

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม