Skip to main content

ผลิตบนหลักการอย่างหนึ่ง เช่น ทำกำไรจากกิจการอะไรที่ให้เงินเยอะ ไม่คำนึงถึงชีวิตเพื่อนมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม


บริโภคบนหลักการอีกอย่างหนึ่ง เช่น การอุดหนุนสินค้าที่โฆษณาว่าห่วงใยสังคม หรือแสดงออกว่าเสพกิจกรรมการกุศล

อาการ พร่องความดี

อาการ กระหายอยากเชื่อต่อกับทุกความหายทุกหลักการ

สะท้อน “ความไม่มั่นคงในชีวิต จิตใจ” เพราะเชื่อว่า สังคมมีความเสี่ยงสูง    ต้องสะสมมันไปทุกอย่าง แม้การกระทำมันจะยืนอยู่บนหลักการที่ขัดกัน

ครับ ลองไปคุยกับเกษตรกรสิครับ  เจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ ยังมาถามเลยครับ  ว่า  "ทำไมชาวบ้านพูดกับข้าราชการแบบหนึ่ง พูดกับนักวิจัยอีกแบบ"

ก็ ชาวบ้านเขาไม่กล้าพูดตรงๆ กับคนที่ไม่ไว้ใจไงครับ

กว่าจะได้ความจริง ต้องเข้าไปใช้ชีวิตเสี่ยงภัยร่วมกับเขาเป็นเดือนๆ

ลองถามเขมชาติดูสิครับ วาต้องไปอยู่กับลุงๆ ป้าๆ เป็นปีๆ เห็นอะไรบ้าง

ส่วน ข้าราชการ เป็น พญาเหยียบเมือง ลงไปแป้บๆ แล้วหาย แถม บรรษัทส่งคนมาเฝ้า ว่าใครเอาความจริงไปบอก จะโดนเชือด   ชาวบ้านที่ไหนจะกล้าเสี่ยงพูดความจริงล่ะครับ

ผมถึงบอกไงครับว่า   "ความจริง"   ไม่ใช่สิ่งที่ได้มาง่ายๆ

ถ้าสบายใจจะเสพกับข้อมูลแบบนั้น  ก็แล้ว 

ส่วนที่อ้าง ดาวน์โจนส์ อ้างต่างประเทศ อะไรนั่น มันกลุ่มประเทศที่บีบให้เหลือเกษตรกร ไม่ถึง 5% ของประชากรแล้วครับ (เขาคือ ผู้จัดการฟาร์ม  ไม่ใช่เกษตรกรแบบในไทย)

ส่วนในยุโรป และญี่ปุ่น  เกษตรกรเป็นเจ้าของหุ้นในบรรษัทเองเลยครับ

โมเดลที่ใช้ในไทย มันโมเดล บรรษัทแบบ East India ใช้กับประเทศใต้อาณานิคม น่ะครับนะ

ส่วนกระแสสังคมนี่ แค่เห็น CP All ปล่อยหุ้น ออกมาให้ถือ นี่ก็เงียบกริบ ไม่ต้องพูดถงสื่อที่โดนซื้อเลยครั่บ

ถึงบอกไงครับ นี่มันสังคมทุนนิยมแบบยุโรป ยุคก่อนสงครามโลกชัดๆ

ส่วนตัวผม มีคนทำลายกำลังใจเยอะครับ ด้วยคำประเภท อิจฉาเขารวยล่ะสิ ทำให้ได้อย่างเขาแล้วค่อยมาด่าเขา หรือ ถ้าที่คุณพูดมันจริงคงเป็นกระแสสังคมแล้ว   หนักกว่านั้น บอกว่า เอาแต่ด่า ไม่มีข้อมูล ไม่ทำวิจัย   เอ่อ..........นี่กำลังด่าว่า สิบปีมานี้ ผมไม่ได้ทำงานเลยสินะ

ดูถูกกันเกินไปรึเปล่า

เป็นคนอื่นเขาไม่สละเวลามาคุยด้วยนะครับ  นี่ก็ถือว่า เป็น ศิษย์เก่า ม.ช. ในวิชาชีพกฎหมาย ก็มาให้ข้อมูลนะครับ

หลังจากนี้ ก็เลือกเอาเอง ผมคงไม่พูดซ้ำอีกแล้ว

แล้วแต่ครับ ถ้าไม่รู้ คือ ไม่มีเจตนา ถ้ารู้แล้วทำ ก็รับเต็ม แต่จะดี จะชั่ว ก็แล้วแต่คิดละกันครับ

แต่คนที่อาฆาต สาปแช่ง นี่มีจริง คือ คนที่ชีวิตพังกับบรรษัทเหล่านั้น

ขนาดอเมริกา ที่ชอบด่าเขาว่าทุนนิยม นี่เขายังก้าวข้ามมาได้ และมีการเลือกซื้อสินค้า บริการ หุ้น เฉพาะบรรษัทที่รักษาจริยธรรมด้าน แรงงาน สิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อม เลยครับ 

ประเทศไทยยังเข้ายุคตื่นทองของการลงทุนในตลาดหุ้น ก็พอเข้าใจได้ครับ แถมธนาคารก็เหยียบดอกเบี้ยเงินฝากไว้ต่ำขนาดนั้น ก็ไม่แปลกที่จะแห่ไปซื้อหุ้นกัน

การควบคุมการผูกขนาดตลาด หรือการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมต่างๆไม่ให้ละเมิดสิทธิคนอื่นก็ทำได้ไม่เต็มที่

ก็ไม่แปลกใจว่า ทำไมบริษัทที่มีผลประกอบการดี ปันผลเยอะ จะเป็นบริษัทที่สร้างผลกำไรจากการเบียดบังชีวิตคนอื่น
 

ยิ่งเมื่อเกิดการรัฐประหาร แล้วมีกองเชียร์ที่เคยต้านทุนนิยมสามานย์มาก่อน กลับมาสนับสนุนโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมที่อาจบดขยี้ชีวิตคนในท้องถิ่น ยิ่งสะท้อนให้เห็น

อาการ Schizophrenia ของคนในสังคมทุนนิยมเผด็จการ อย่างชัดแจ้ง

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม