Skip to main content

ผลิตบนหลักการอย่างหนึ่ง เช่น ทำกำไรจากกิจการอะไรที่ให้เงินเยอะ ไม่คำนึงถึงชีวิตเพื่อนมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม


บริโภคบนหลักการอีกอย่างหนึ่ง เช่น การอุดหนุนสินค้าที่โฆษณาว่าห่วงใยสังคม หรือแสดงออกว่าเสพกิจกรรมการกุศล

อาการ พร่องความดี

อาการ กระหายอยากเชื่อต่อกับทุกความหายทุกหลักการ

สะท้อน “ความไม่มั่นคงในชีวิต จิตใจ” เพราะเชื่อว่า สังคมมีความเสี่ยงสูง    ต้องสะสมมันไปทุกอย่าง แม้การกระทำมันจะยืนอยู่บนหลักการที่ขัดกัน

ครับ ลองไปคุยกับเกษตรกรสิครับ  เจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ ยังมาถามเลยครับ  ว่า  "ทำไมชาวบ้านพูดกับข้าราชการแบบหนึ่ง พูดกับนักวิจัยอีกแบบ"

ก็ ชาวบ้านเขาไม่กล้าพูดตรงๆ กับคนที่ไม่ไว้ใจไงครับ

กว่าจะได้ความจริง ต้องเข้าไปใช้ชีวิตเสี่ยงภัยร่วมกับเขาเป็นเดือนๆ

ลองถามเขมชาติดูสิครับ วาต้องไปอยู่กับลุงๆ ป้าๆ เป็นปีๆ เห็นอะไรบ้าง

ส่วน ข้าราชการ เป็น พญาเหยียบเมือง ลงไปแป้บๆ แล้วหาย แถม บรรษัทส่งคนมาเฝ้า ว่าใครเอาความจริงไปบอก จะโดนเชือด   ชาวบ้านที่ไหนจะกล้าเสี่ยงพูดความจริงล่ะครับ

ผมถึงบอกไงครับว่า   "ความจริง"   ไม่ใช่สิ่งที่ได้มาง่ายๆ

ถ้าสบายใจจะเสพกับข้อมูลแบบนั้น  ก็แล้ว 

ส่วนที่อ้าง ดาวน์โจนส์ อ้างต่างประเทศ อะไรนั่น มันกลุ่มประเทศที่บีบให้เหลือเกษตรกร ไม่ถึง 5% ของประชากรแล้วครับ (เขาคือ ผู้จัดการฟาร์ม  ไม่ใช่เกษตรกรแบบในไทย)

ส่วนในยุโรป และญี่ปุ่น  เกษตรกรเป็นเจ้าของหุ้นในบรรษัทเองเลยครับ

โมเดลที่ใช้ในไทย มันโมเดล บรรษัทแบบ East India ใช้กับประเทศใต้อาณานิคม น่ะครับนะ

ส่วนกระแสสังคมนี่ แค่เห็น CP All ปล่อยหุ้น ออกมาให้ถือ นี่ก็เงียบกริบ ไม่ต้องพูดถงสื่อที่โดนซื้อเลยครั่บ

ถึงบอกไงครับ นี่มันสังคมทุนนิยมแบบยุโรป ยุคก่อนสงครามโลกชัดๆ

ส่วนตัวผม มีคนทำลายกำลังใจเยอะครับ ด้วยคำประเภท อิจฉาเขารวยล่ะสิ ทำให้ได้อย่างเขาแล้วค่อยมาด่าเขา หรือ ถ้าที่คุณพูดมันจริงคงเป็นกระแสสังคมแล้ว   หนักกว่านั้น บอกว่า เอาแต่ด่า ไม่มีข้อมูล ไม่ทำวิจัย   เอ่อ..........นี่กำลังด่าว่า สิบปีมานี้ ผมไม่ได้ทำงานเลยสินะ

ดูถูกกันเกินไปรึเปล่า

เป็นคนอื่นเขาไม่สละเวลามาคุยด้วยนะครับ  นี่ก็ถือว่า เป็น ศิษย์เก่า ม.ช. ในวิชาชีพกฎหมาย ก็มาให้ข้อมูลนะครับ

หลังจากนี้ ก็เลือกเอาเอง ผมคงไม่พูดซ้ำอีกแล้ว

แล้วแต่ครับ ถ้าไม่รู้ คือ ไม่มีเจตนา ถ้ารู้แล้วทำ ก็รับเต็ม แต่จะดี จะชั่ว ก็แล้วแต่คิดละกันครับ

แต่คนที่อาฆาต สาปแช่ง นี่มีจริง คือ คนที่ชีวิตพังกับบรรษัทเหล่านั้น

ขนาดอเมริกา ที่ชอบด่าเขาว่าทุนนิยม นี่เขายังก้าวข้ามมาได้ และมีการเลือกซื้อสินค้า บริการ หุ้น เฉพาะบรรษัทที่รักษาจริยธรรมด้าน แรงงาน สิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อม เลยครับ 

ประเทศไทยยังเข้ายุคตื่นทองของการลงทุนในตลาดหุ้น ก็พอเข้าใจได้ครับ แถมธนาคารก็เหยียบดอกเบี้ยเงินฝากไว้ต่ำขนาดนั้น ก็ไม่แปลกที่จะแห่ไปซื้อหุ้นกัน

การควบคุมการผูกขนาดตลาด หรือการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมต่างๆไม่ให้ละเมิดสิทธิคนอื่นก็ทำได้ไม่เต็มที่

ก็ไม่แปลกใจว่า ทำไมบริษัทที่มีผลประกอบการดี ปันผลเยอะ จะเป็นบริษัทที่สร้างผลกำไรจากการเบียดบังชีวิตคนอื่น
 

ยิ่งเมื่อเกิดการรัฐประหาร แล้วมีกองเชียร์ที่เคยต้านทุนนิยมสามานย์มาก่อน กลับมาสนับสนุนโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมที่อาจบดขยี้ชีวิตคนในท้องถิ่น ยิ่งสะท้อนให้เห็น

อาการ Schizophrenia ของคนในสังคมทุนนิยมเผด็จการ อย่างชัดแจ้ง

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี