Skip to main content

อาจจะดูแปลกประหลาดไปสักหน่อยสำหรับบางท่านเมื่อพูดว่ากฎหมายได้รับรอง “สิทธิที่จะพักผ่อน” ไว้เป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่ง เพราะคนไทยถือว่าการขยันตั้งใจทำมาหากินหามรุ่งหามค่ำเป็นศีลธรรมอันดีงามประเภทหนึ่งที่ต้องยึดถือปฏิบัติ หรือต้องแสดงออกให้สังคมเห็นเป็นประจักษ์ และสังคมก็ยกย่องบุคคลสำคัญโดยพิจารณาว่าเขาทำงานหนักด้วยหรือไม่

แต่มนุษย์ก็ยังมีอีกหลายหลายมิติที่ต้องคำนึง หากพิจาณาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจสังคมจะพบว่า การพักผ่อน หรือกิจกรรมนันทนาการทั้งหลาย กลายเป็นที่มาของ “อารยธรรม” ของมนุษย์ เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเจริญงอกงามด้านความคิดสติปัญญา และสุนทรียภาพของสังคมนั้นๆด้วย

ในสังคมเกษตรกรรมและปศุสัตว์ คนใช้เวลาในการเพาะปลุกหรือดูแลสัตว์เลี้ยงตามแสงอาทิตย์ และฤดูกาล กิจกรรมทางการผลิตย่อมต้องสอดคล้องกับระยะเวลาเฉพาะเจาะจง เช่น หลังฤดูหว่านไถ ชาวนาก็จะเปลี่ยนไปทำกิจกรรมจักสาน หรือทำงานอื่นๆ  หรือฤดูเก็บเกี่ยวก็จะต้องมีกิจกรรมทำร่วมกันกับคนในชุมชนที่มาลงแขก หมดฤดูเก็บเกี่ยวก็ต้องเฉลิมฉลอง   ประเพณีและขนบธรรมเนียมจำนวนมากจึงเกิดขึ้น และกลายเป็นสายใยที่เชื่อมโยงคนในชุมชนไว้  เสมือนเป็นประชาธิปไตยในหมู่บ้าน ที่คนสามารถมาร่วมกันแสดงออก รับรู้ตัวตนซึ่งกันและกัน

แต่บางพิธีกรรมก็แสดงให้เห็นอำนาจบารมีของคนในชุมชนนั้นๆ   ผ่านการเป็นเจ้าภาพ แม่งาน ครูบาอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ จนกลายเป็น “การเมือง” ของคนในชุมชนไปในตามลำดับศักดิ์สูงต่ำ 

ในสังคมอุตสาหกรรมเวลาในสถานประกอบการมีความชัดเจนมากขึ้น มีการทำงานเดิมๆซ้ำๆซากตลอดทั้งปี การง่วนแต่กับงานประจำเป็นที่มาของสารพัดโรคอย่างที่ข้อมูลด้านชีวอนามัยบ่งชี้  การกำหนดระยะเวลาพัก เปลี่ยนอิริยาบถจึงสำคัญ   เช่นเดียวกับการมีกิจกรรมกีฬา ศิลปวัฒนธรรมร่วมกันของคนในสถานประกอบการเพื่อเพิ่มความเป็น “ทีมเวิร์ค” ให้คนทำงานร่วมกันเป็นระบบประสานสอดคล้องกันไปได้ดีขึ้น   และป้องกันการเกิดโรคร้ายแรงเรื้อรังที่ทำให้แรงงานไม่อาจเพิ่มประสิทธิภาพได้ตามที่ผู้ประกอบการต้องการ

กฎหมายที่เกิดขึ้นหลังเห็นพัฒนาการของสังคมอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัวแล้ว จึงเล็งเห็นความสำคัญของการสร้าง “เวลาว่าง” ขึ้นมาเป็นวาล์วระบายความกดดันที่ถาโถมมาตลอดทั้งวันในชั่วโมงทำงาน จึงปรากฏ “สิทธิในการพักผ่อนและมีส่วนร่วมในกิจกรรมนันทนาการ” ควบคู่ไปกับสิทธิต่างๆที่เกี่ยวกับการทำงานหรือสิทธิแรงงานนะครับ โดยเฉพาะในประเด็นแรงงาน สภาพการจ้างงานนี่สำคัญมาก  

องค์กรแรงงานสากล (ILO) จึงพูดเรื่องนี้ทั้งทางตรง และทางอ้อมผ่านเรื่องจำนวนชั่วโมงการทำงานเอาไว้เกือบร้อยปีแล้ว   หลังประเทศสมาชิกสหประชาชาติก็รับรองสิทธิโดยปฏิญญาสากลและกติกาสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม นะครับ ผม ไม่ได้แต่งเอง

ประเทศไทยไม่ค่อยพูดถึงเรื่องนี้ เพราะแม้แต่ค่าตอบแทน หรือความมั่นคงในการทำงานยังไม่ค่อยมีเลย  แต่ประเด็นนี้สำคัญมากในการพัฒนา คือ พัฒนาทั้งคุณภาพชีวิตคนทำงาน และพัฒนาคุณภาพเนื้องาน   และเป็นตัวบ่งชี้ด้วยซ้ำว่า ผู้ประกอบการไทยพร้อมจะก้าวให้พ้นกับดักของการรับจ้างผลิตสินค้าโหล สินค้าความประณีตต่ำ หรือปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจเชิงประณีตและสร้างสรรค์หรือยัง ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเศรษฐกิจดิจิตัลที่บอกในตัวอยู่แล้วว่ามีคนอีกจำนวนมากปฏิเสธความจำเจของการทำงานซ้ำซากหนักหน่วงของชั่วโมงทำงานในสำนักงานและโรงงาน

หากจุดแข็งของประเทศไทย คือ ภาคบริการโดยเฉพาะแรงงานอารมณ์ที่สามารถรองรับความต้องการที่มากมายของลูกค้าที่มีเข้ามาอย่างหลากหลาย พร้อมเผชิญกับลูกค้าพรีเมี่ยม ไฮเอนด์ที่มี “ความพึงพอใจของตน” เป็นที่ตั้งเข้าไปอีก การวางแผนผ่อนหนักผ่อนเบาให้คนทำงานจึงเป็นเคล็ดลับความสำเร็จในการสร้างความพึงพอใจไปไม่น้อยกว่า “การบังคับประเมินความพึงพอใจ” ที่ทำให้คนทำงานอกสั่นขวัญแขวนเช่นกัน

คนเหนื่อยคนล้า "เกินไป" แสดงออกมาได้ไม่เนียนหรอกครับ หรือถ้าเนียนก็คือเก็บกดไว้มากรอวันระเบิด ก็คือ ลาออก แล้วผู้ประกอบการก็ต้องหาคนใหม่มาฝึกหัดให้เสียเวลาและงบประมาณอบรมอีก

หากนายจ้างดูแลสภาพการทำงานและชีวิตของลูกจ้างดี งานก็จะออกมาดี  เช่นเดียวกับงานประเภทช่างฝีมือปัจจุบันเป็นงานบริการ/ช่างฝีมือ/ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เน้นกันที่รายละเอียดละเอียด ต้องรองรับความยิบย่อยของลูกค้าแต่ละราย แต่ตัวคนให้บริการหรือช่างเองอาจจะไม่สามารถซื้อบริการหรือสินค้าแบบนี้ได้เลยในชีวิต กลายเป็นความหดหู่ทางจิตวิทยาเพิ่มมาอีก   การสร้างบรรยากาศแห่งความผ่อนคลายก็จะส่งเสริมให้ช่าง/ผู้เชี่ยวชาญได้มีความสุขไว้เผื่อเป็นกำลังใจในการทำงานที่ตึงเครียดมาก

นอกจากสิทธิในการพักผ่อนสำหรับคนทำงานแล้ว  ยังมีสิทธิหนึ่งที่มักพูดถึงควบคู่ไปด้วย ก็คือ สิทธิในการได้ทำกิจกรรมนันทนาการ และสร้างสรรค์ ของผู้พึ่งพิงแรงงาน ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญมาก เพราะจะทำให้คนทำงานหายห่วง ไม่เป็นกังวลยามทำงาน ทั้งกลุ่มเด็ก และคนชรา

ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1) การแบ่งเวลาให้เด็ก คนชรามีเวลาเล่นกีฬา ศิลปะ บันเทิง ทำกิจกรรมทางวัฒนธรรม
2) ที่สถานประกอบการ จัดให้มีสถานที่และคนคอยดูแลลูกหลาน คนชราของคนทำงาน

                ในปัจจุบันรัฐไทยได้เข้ามาอุดช่องว่างแทนผู้ประกอบการ โดยการมีสถานดูแล โรงเรียน หรือโรงพยาบาลที่ดูแลคนชราและเด็ก   แต่แนวโน้มของสังคมผู้สูงอายุ และการหาแรงงานราคาถูกดูแลเด็กจะยิ่งยากขึ้นไปเรื่อย   ก็ต้องลองคิดว่าภาระและค่าใช้จ่ายในการสร้าง จ้าง และพัฒนาบุคลากรด้านนี้ควรเป็นของใคร 

ใครได้ประโยชน์ก็ควรต้องจ่าย จะจ่ายทางตรงหรือทางอ้อม ต้องตัดสินใจเสียที

 
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม