Skip to main content

อาจจะดูแปลกประหลาดไปสักหน่อยสำหรับบางท่านเมื่อพูดว่ากฎหมายได้รับรอง “สิทธิที่จะพักผ่อน” ไว้เป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่ง เพราะคนไทยถือว่าการขยันตั้งใจทำมาหากินหามรุ่งหามค่ำเป็นศีลธรรมอันดีงามประเภทหนึ่งที่ต้องยึดถือปฏิบัติ หรือต้องแสดงออกให้สังคมเห็นเป็นประจักษ์ และสังคมก็ยกย่องบุคคลสำคัญโดยพิจารณาว่าเขาทำงานหนักด้วยหรือไม่

แต่มนุษย์ก็ยังมีอีกหลายหลายมิติที่ต้องคำนึง หากพิจาณาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจสังคมจะพบว่า การพักผ่อน หรือกิจกรรมนันทนาการทั้งหลาย กลายเป็นที่มาของ “อารยธรรม” ของมนุษย์ เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเจริญงอกงามด้านความคิดสติปัญญา และสุนทรียภาพของสังคมนั้นๆด้วย

ในสังคมเกษตรกรรมและปศุสัตว์ คนใช้เวลาในการเพาะปลุกหรือดูแลสัตว์เลี้ยงตามแสงอาทิตย์ และฤดูกาล กิจกรรมทางการผลิตย่อมต้องสอดคล้องกับระยะเวลาเฉพาะเจาะจง เช่น หลังฤดูหว่านไถ ชาวนาก็จะเปลี่ยนไปทำกิจกรรมจักสาน หรือทำงานอื่นๆ  หรือฤดูเก็บเกี่ยวก็จะต้องมีกิจกรรมทำร่วมกันกับคนในชุมชนที่มาลงแขก หมดฤดูเก็บเกี่ยวก็ต้องเฉลิมฉลอง   ประเพณีและขนบธรรมเนียมจำนวนมากจึงเกิดขึ้น และกลายเป็นสายใยที่เชื่อมโยงคนในชุมชนไว้  เสมือนเป็นประชาธิปไตยในหมู่บ้าน ที่คนสามารถมาร่วมกันแสดงออก รับรู้ตัวตนซึ่งกันและกัน

แต่บางพิธีกรรมก็แสดงให้เห็นอำนาจบารมีของคนในชุมชนนั้นๆ   ผ่านการเป็นเจ้าภาพ แม่งาน ครูบาอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ จนกลายเป็น “การเมือง” ของคนในชุมชนไปในตามลำดับศักดิ์สูงต่ำ 

ในสังคมอุตสาหกรรมเวลาในสถานประกอบการมีความชัดเจนมากขึ้น มีการทำงานเดิมๆซ้ำๆซากตลอดทั้งปี การง่วนแต่กับงานประจำเป็นที่มาของสารพัดโรคอย่างที่ข้อมูลด้านชีวอนามัยบ่งชี้  การกำหนดระยะเวลาพัก เปลี่ยนอิริยาบถจึงสำคัญ   เช่นเดียวกับการมีกิจกรรมกีฬา ศิลปวัฒนธรรมร่วมกันของคนในสถานประกอบการเพื่อเพิ่มความเป็น “ทีมเวิร์ค” ให้คนทำงานร่วมกันเป็นระบบประสานสอดคล้องกันไปได้ดีขึ้น   และป้องกันการเกิดโรคร้ายแรงเรื้อรังที่ทำให้แรงงานไม่อาจเพิ่มประสิทธิภาพได้ตามที่ผู้ประกอบการต้องการ

กฎหมายที่เกิดขึ้นหลังเห็นพัฒนาการของสังคมอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัวแล้ว จึงเล็งเห็นความสำคัญของการสร้าง “เวลาว่าง” ขึ้นมาเป็นวาล์วระบายความกดดันที่ถาโถมมาตลอดทั้งวันในชั่วโมงทำงาน จึงปรากฏ “สิทธิในการพักผ่อนและมีส่วนร่วมในกิจกรรมนันทนาการ” ควบคู่ไปกับสิทธิต่างๆที่เกี่ยวกับการทำงานหรือสิทธิแรงงานนะครับ โดยเฉพาะในประเด็นแรงงาน สภาพการจ้างงานนี่สำคัญมาก  

องค์กรแรงงานสากล (ILO) จึงพูดเรื่องนี้ทั้งทางตรง และทางอ้อมผ่านเรื่องจำนวนชั่วโมงการทำงานเอาไว้เกือบร้อยปีแล้ว   หลังประเทศสมาชิกสหประชาชาติก็รับรองสิทธิโดยปฏิญญาสากลและกติกาสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม นะครับ ผม ไม่ได้แต่งเอง

ประเทศไทยไม่ค่อยพูดถึงเรื่องนี้ เพราะแม้แต่ค่าตอบแทน หรือความมั่นคงในการทำงานยังไม่ค่อยมีเลย  แต่ประเด็นนี้สำคัญมากในการพัฒนา คือ พัฒนาทั้งคุณภาพชีวิตคนทำงาน และพัฒนาคุณภาพเนื้องาน   และเป็นตัวบ่งชี้ด้วยซ้ำว่า ผู้ประกอบการไทยพร้อมจะก้าวให้พ้นกับดักของการรับจ้างผลิตสินค้าโหล สินค้าความประณีตต่ำ หรือปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจเชิงประณีตและสร้างสรรค์หรือยัง ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเศรษฐกิจดิจิตัลที่บอกในตัวอยู่แล้วว่ามีคนอีกจำนวนมากปฏิเสธความจำเจของการทำงานซ้ำซากหนักหน่วงของชั่วโมงทำงานในสำนักงานและโรงงาน

หากจุดแข็งของประเทศไทย คือ ภาคบริการโดยเฉพาะแรงงานอารมณ์ที่สามารถรองรับความต้องการที่มากมายของลูกค้าที่มีเข้ามาอย่างหลากหลาย พร้อมเผชิญกับลูกค้าพรีเมี่ยม ไฮเอนด์ที่มี “ความพึงพอใจของตน” เป็นที่ตั้งเข้าไปอีก การวางแผนผ่อนหนักผ่อนเบาให้คนทำงานจึงเป็นเคล็ดลับความสำเร็จในการสร้างความพึงพอใจไปไม่น้อยกว่า “การบังคับประเมินความพึงพอใจ” ที่ทำให้คนทำงานอกสั่นขวัญแขวนเช่นกัน

คนเหนื่อยคนล้า "เกินไป" แสดงออกมาได้ไม่เนียนหรอกครับ หรือถ้าเนียนก็คือเก็บกดไว้มากรอวันระเบิด ก็คือ ลาออก แล้วผู้ประกอบการก็ต้องหาคนใหม่มาฝึกหัดให้เสียเวลาและงบประมาณอบรมอีก

หากนายจ้างดูแลสภาพการทำงานและชีวิตของลูกจ้างดี งานก็จะออกมาดี  เช่นเดียวกับงานประเภทช่างฝีมือปัจจุบันเป็นงานบริการ/ช่างฝีมือ/ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เน้นกันที่รายละเอียดละเอียด ต้องรองรับความยิบย่อยของลูกค้าแต่ละราย แต่ตัวคนให้บริการหรือช่างเองอาจจะไม่สามารถซื้อบริการหรือสินค้าแบบนี้ได้เลยในชีวิต กลายเป็นความหดหู่ทางจิตวิทยาเพิ่มมาอีก   การสร้างบรรยากาศแห่งความผ่อนคลายก็จะส่งเสริมให้ช่าง/ผู้เชี่ยวชาญได้มีความสุขไว้เผื่อเป็นกำลังใจในการทำงานที่ตึงเครียดมาก

นอกจากสิทธิในการพักผ่อนสำหรับคนทำงานแล้ว  ยังมีสิทธิหนึ่งที่มักพูดถึงควบคู่ไปด้วย ก็คือ สิทธิในการได้ทำกิจกรรมนันทนาการ และสร้างสรรค์ ของผู้พึ่งพิงแรงงาน ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญมาก เพราะจะทำให้คนทำงานหายห่วง ไม่เป็นกังวลยามทำงาน ทั้งกลุ่มเด็ก และคนชรา

ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1) การแบ่งเวลาให้เด็ก คนชรามีเวลาเล่นกีฬา ศิลปะ บันเทิง ทำกิจกรรมทางวัฒนธรรม
2) ที่สถานประกอบการ จัดให้มีสถานที่และคนคอยดูแลลูกหลาน คนชราของคนทำงาน

                ในปัจจุบันรัฐไทยได้เข้ามาอุดช่องว่างแทนผู้ประกอบการ โดยการมีสถานดูแล โรงเรียน หรือโรงพยาบาลที่ดูแลคนชราและเด็ก   แต่แนวโน้มของสังคมผู้สูงอายุ และการหาแรงงานราคาถูกดูแลเด็กจะยิ่งยากขึ้นไปเรื่อย   ก็ต้องลองคิดว่าภาระและค่าใช้จ่ายในการสร้าง จ้าง และพัฒนาบุคลากรด้านนี้ควรเป็นของใคร 

ใครได้ประโยชน์ก็ควรต้องจ่าย จะจ่ายทางตรงหรือทางอ้อม ต้องตัดสินใจเสียที

 
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี