Skip to main content

หากสังคมไทยมีแนวโน้มจะเป็น สังคมทุนนิยม องค์กร สถาบัน จารีต ต่างๆ เสื่อมลง คนสัมพันธ์ผ่านระบบตลาด แคร์คนอื่นน้อยลง ขาดสำนึกร่วมในความอยุติธรรมทางสังคม หรือ มีสำนึกเชิง “ปัจเจก” มากขึ้นเรื่อยๆ

การหาวิธีการอำนวยความยุติธรรมในชีวิตประจำวันให้กับประชาชนคนสามัญ น่าจะเป็นว่าทำอย่างไรให้คนที่มีทุนสังคมต่ำ(เส้นสายน้อยหรือไม่มี) สามารถต่อรองหรือได้รับการอำนวยความยุติธรรมได้สะดวกหรือเป็นไปได้มากขึ้นน่ะครับ

จะเป็นเรื่องกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางบังคับบัญชา เพิ่มเครือข่ายหรือองค์กรใหม่ๆให้คนตัวเล็กๆได้เกาะเกี่ยว

หรือจะเป็นแบบเดิมๆที่เสนอแบบลอกฝรั่งมา คือ เพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานรัฐที่รับร้องทุกข์และแก้ไขปัญหาประชาชน

แต่เท่าที่ดูๆ หลายโมเดล พบว่า การนำระบบตลาดในทางยุติธรรมมาช่วย กลับได้ผลครับ

ยกตัวอย่างนะครับ แต่ก่อนในประเทสอุตสาหกรรม โรงงานปล่อยมลพิษสู่สาธารณะบ่อยมาก แต่พอเริ่มมีสำนักงานทนายมาจับคดีนี้ แล้วฟ้องให้ชาวบ้าน จนสำเร็จ หรือทำให้บรรษัทต้องเข้ามาเจรจาจ่ายค่าเสียหาย พบว่า มีสนง.ทนาย แห่กันไปหาชาวบ้านพื้นที่ต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายจากมลพิษ เพื่อฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย

ไม่ใช่คนดีรักความยุติธรรมอะไรหรอกครับ แต่เม็ดเงินมันใหญ่มาก

รวมไปถึงคดี ฟ้องหมอรักษาห่วย  ฟ้องตำรวจฟ้องผู้ต้องหา หรือคดีสิทธิมนุษยชนอีกมากมาย

คือพูดง่ายๆ ถ้าเราคาดหวังแค่อุดมการณ์ ความยุติธรรม คงไม่มีคนเก่งๆ รุ่นใหม่ๆ ที่ต้องหาเลี้ยงปากท้องและอยากมั่นคงมีครอบครัว เข้ามาช่วยแสวงหาความยุติธรรมให้กับชาวบ้านหรอกครับ

อย่างเมืองไทยเนี่ย แค่ ENlaw กับ สมาคมนักกฎหมายสิทธิฯ ก็รับคดีทั่วราชอาณาจักรกันแทบอ้วก เพราะต้องทำกึ่งฟรี

แต่ถ้าเมื่อไหร่คดีเหล่านี้เป็น "เงิน"  การอำนวยความยุติธรรมด้วยมืออาชีพมาแน่ครับ

อันนี้ผมลองเสนอแบบให้เข้ากับโทนบทความอาจารย์ที่ว่าสังคมมีแนวโน้มเป็น "ปัจเจก" มากขึ้นเลยนะครับ

กลับไปก็ว่าจะสร้างเครือข่ายกับลูกศิษย์ที่มีแววปั้นทนายขึ้นมาสักกลุ่มรับทำคดีพวกนี้แล้วให้เลี้ยงตัวเองได้ด้วยครับ

สรุป ถ้าจะประยุกต์เป็นวิจัย ก็น่าจะทำวิจัยว่า โมเดลหรือวิธีการไหนที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมได้มากขึ้น เทียบกันเลยก็ได้ครับ ระหว่าง รัฐทำ ภาคประชาสังคมทำ ภาคประชาชนทำ หรือสมาคมวิชาชีพ  หรือสำนักงานทนายเอกชน ทำกันแน่  มีหลายประเทศให้เลือกสรร ครับ

ถ้า เมธีวิจัยอาวุโสสนับสนุน ทศพล ยอมเหนื่อยช่วยหาคนมาทำโครงการวิจัยให้ได้ครับ

แต่ถ้าจะให้ครบเครื่องจริงๆ ก็ต้องทำครบวงจรแบบที่บรรษัททำ คือ นอกจากมีนักกฎหมายแล้ว ยังต้องมีนักสื่อสาร นักยุทธศาสตร์ และนักรบ/รักษาความปลอดภัย และเส้นสายกับภาคส่วนต่างๆ รวมไปถึงงานด้านข่าวกรองและต่อต้านจารกรรม ด้วย

เห็นแสวงสว่างที่ปลายอุโมงค์ด้วยคบไฟแห่งระบบตลาด 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “คนที่ตายแล้วก็สบายไป ที่เหลือไว้คือลูกหลานที่แย่งชิงมรดก” หากไม่มีการวางแผนและจัดการปัญหาไว้ล่วงหน้า ก็อาจมีปัญหาในครอบครัวตามมาหากว่าความรักไม่อาจเอาชนะความโลภได้ แต่ในบางครั้งก็มิใช่เพียงกิเลสเท่านั้นที่ทำให้เกิดเรื่องเนื่องจากยังมีความยุ่งยากภายในครอบครัวตามมาอีกมาก
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาบางเรื่องมิได้เกิดจากการเดินเข้าไปพบปัญหา แต่บางครั้งปัญหาก็บุกมาถึงตัวเราด้วยปฏิบัติการเป็นหมู่คณะของบริษัทห้างร้านที่ทำธุรกิจร่วมกันไขว้โปรโมชั่นไปมา แล้วเอาข้อมูลของเรามาหาประโยชน์ทางการค้า ด้วยการติดต่อมาหาแล้วพูดจาหว่านล้อมสารพัดจนเราพลัดตกลงไปในหลุมพรางหรือบ่วงล่อบางอย่างจนทำให้เกิดการ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เดี๋ยวทรัพย์สินไม่ใช่ของที่จับต้องได้อย่างข้าวของ เงินทองอย่างเดียวแล้ว มีทรัพย์สินทางปัญญาที่เขารณรงค์กันตลอดเวลาว่าอย่าละเมิด บางทีก็งงใช่ไหมครับ ว่าทำไมเราซื้อหนังสือหรือซีดีมาแต่ทว่า เขาบอกห้ามเผยแพร่ ทำซ้ำ เราก็กลัวว่าถ้าปั้มไปให้เพื่อนเยอะจะผิดไหม แต่ใครๆก็ทำกัน ไหนจะข่าวคนเก็บขยะเอาแผ่นซีด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะคอยเตือนให้ทุกคนจดจำไว้เสมอคือ “ไม่ควรไว้ใจเรื่องทรัพย์สินเงินทองกับคนรู้จัก” หากจะรักษาความสัมพันธ์ที่ดีอาจต้องกันเรื่องเงินๆทองๆไม่ให้มีภาระผูกพันกันไว้เป็นดี   หากจะเห็นใจกันก็ต้องทำใจไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าช่วยอะไรกันไปแล้วอาจไม่ได้คืนมา  แต่ทว่ามีเรื่องหนึ่งในทางกฎหมาย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัญหาที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับสังคมที่ใช้เงินทองเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า ก็คือ การกู้ยืมเงิน มีตั้งแต่การกู้ยืมกันธรรมดาระหว่างญาติพี่น้องคนรู้จักและเพื่อนฝูง ไปจนถึงการกู้ยืมกับคนร่ำรวยในพื้นที่ ถึงขนาดมีผู้มีอิทธิพลปล่อยกู้นอกระบบจนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตเมื่อเกิดการทวงหนี้แล้วมีปัญหาใช้ความรุนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากกับคนที่ต้องย้ายตัวเข้ามาทำงานหรือมาเรียนต่างที่ ยิ่งเดี๋ยวนี้การเข้ามาอยู่ในเมืองเป็นเรื่องที่คนเจเนอร์เรชั่นวอล์ค (Generation Walk) อย่างเราๆท่านๆที่ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง ไม่ซื้อรถยนต์ขับ และยังไม่แต่งงานต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี   เพราะบางคนย้ายที
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากใครทำธุรกิจการค้าก็คงหวั่นเกรงจะเกิดปัญหาที่จะพูดถึงต่อไปนี้กับกิจการตนเองใช่ไหมล่ะครับ ใช่แล้วครับ เช็คเด้ง!
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถึงเทศกาลสำคัญที่ทุกคนได้ปลดปล่อยกันสุดเหวี่ยงอย่างสงกรานต์   คนจำนวนมากก็เลยถือโอกาสเมาหัวทิ่มมันทุกวันเช้ายันเช้ามืดอีกวันหนึ่ง ตื่นมาก็กินต่อ   ไม่แค่นั้นความสุขทุกรูปแบบที่นึกได้ก็จะหามาปรนเปรอตัวเองให้สนุกสุดเหวี่ยง   ถ้าออกไปนอกบ้านก็จะเจอสงครามสาดน้ำและลู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับคนไทยยุคหลังครับ เพราะห้างสรรพสินค้ากลายเป็นสถานที่สำคัญของการรวมผู้คนในยุคสมัยที่ชุมชนของเราเปลี่ยนไป จากที่แต่ก่อนอยากได้อะไรก็ซื้อของในร้านใกล้บ้าน อยากซื้อของกินของใช้ก็ไปร้านของชำ อยากได้เสื้อผ้ารองเท้าก็ไปสั่งตัดเอาจากร้านที่เชื่อมือกัน ร้านอาหารดังๆ ยี่ห้อใหญ่ๆ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ มีเรื่องจำนวนมากเกี่ยวกับ  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบางพื้นที่เพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้สะท้อนความเป็นไปในระบบการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดีเลยครับ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าอนาคตของเราฝากไว้ที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่น้อยเลยทีเดียว   หากอยากเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ คณะดังๆ เพื่อหวังว่าจบมาจะหางานทำง่ายๆ คงรู้กันว่าต้องเตรียมตัวสอบเข้าให้ได้ เลยเกิดโรงเรียนกวดวิชาขึ้นมาม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผมคิดว่าทุกคนคงเคยเจอปัญหาแบบนี้เข้ากับตัวเองบ่อยๆ เลยครับ ก็เรื่องข้าวของราคาแพง จะไปกิน ไปเที่ยวให้หายเปรี้ยวปากก็ลำบากขึ้น เพราะไม่รู้ว่าต้องรู้สึกผิดหลังจากรู้ราคาและควักเงินจ่ายออกไปรึเปล่า เพราะบางทีก็เจอร้านหรือบริการที่ไม่บอกราคาชัดเจน มีงุบงิบปิดบังราคาหลบซ่อน โฆษณาจนเราเข้าใจผิดว่าราคาถ