Skip to main content

ผมเห็นว่า ปัจจุบันคนไทยเลือกข้างทางการเมืองกันไปซะทุกเรื่องนะครับ สิ่งที่เห็นตลอดเวลา คือ การเที่ยวไปป้ายสีใส่ความเห็นหรือผลงานของคนอื่นเสียเลอะเทอะ จนเลยเถิดไปถึงไม่ดูรายละเอียด   จนบางครั้งเกิดปรากฏการณ์ "เงิบ" อย่างแพร่หลาย เพราะแชร์รัวๆ ด่ารัวๆ โดยไม่ตรวจสอบที่มาที่ไป

แต่ปัญหาที่ใหญ่กว่า คือ มันลุกลามไปถึงการวิจารณ์เหตุการณ์ในประเทศอื่น ซึ่งผมเห็น คอมเม้นต์เกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครน ในพื้นที่ต่างๆ แล้วรู้สึกปวดใจยิ่งนัก

เพราะมีคนจำนวนมากเข้าไปเชียร์ให้ รัสเซียบุกเข้าไป ทำสงครามเลย เพื่อต่อต้านอิทธิพลของอเมริกา โดยเหมาเอาว่า ฟากที่จะนำพายูเครนเข้าสหภาพยุโรป นั้นเป็นทาสมะกัน แล้วหันมาบอกว่า Nato คือ กองกำลังบังหน้าของของสหรัฐอเมริกา อยากทำสงครามอะไรก็ทำได้ตามใจชอบ  งั้นหรือครับ?

ภาวะบ้าการเมืองแบบตื้นเขิน ชักไปกันใหญ่แล้วนะครับ ความคิดแบบ "คู่ตรงข้าม" ตื้นๆ แบบหาพระเอก หาตัวร้ายเนี่ยเป็นมรดกตกทอดของยุคสงครามเย็นซึ่งได้ทำลายคนตัวเล็กตัวน้อยไปโดยอาศัยข้ออ้างใหญ่ๆ แบบไม่สนใจรายละเอียดมานักต่อนัก

หากทบทวนสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลังสงครามเย็น จะเห็นเทรนด์หนึ่งที่ชัดเจน คือ 

1) การล่มสลายของรัฐขนาดใหญ่ที่รวมคนชาติพันธุ์หลากหลายเข้าไว้ในรัฐเดียว เราคงคำว่า อดีตรัโซเวียตสเซีย อดีตยูโกสลาเวีย หรืออดีตอินโดนีเซีย กันจนชินหูนะครับ ด้วยเหตุที่ไปใช้อำนาจทหารรวมคนที่ไม่ถูกกันมาอยู่ด้วยกัน สุดท้ายมีปัญหาบางกรณีถึงกับฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กัน ดังนั้นสิ่งที่เห็น คือ การแยกประเทศโดยอาศัยหลัก Self-Determination เนื่องจากโดนฝ่ายที่มีอำนาจประหัตประหาร และกดขี่

2) การรวมกลุ่มของประเทศขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งบล็อคที่ใหญ่และมีความสำคัญ คือ บล็อคEU ที่เริ่มจากการต้องการรักษาสันติภาพภายในภูมิภาคด้วยการเปิดพรมแดนระหว่างกันภายในรัฐสมาชิก และเพิ่มพลังในเวทีโลกโดยการรวมกลุ่มให้ใหญ่ขึ้น Aggregation&Enlargement ซึ่งเป็นวิธีการซึ่งลอกเลียนมาจากการรวม 51 มลรัฐของสหรัฐอเมริกา ขึ้นเป็น 1 สหรัฐอเมริกา ที่ยิ่งใหญ่นั่นเอง ASEAN ก็พยายามแต่คงรู้ว่ายังมีขวากหนามอีกมาก รวมถึงปัญหาในข้อถัดไป เพราะการมีบล็อคใหญ่ๆ ต้องมีกฎหมาย เศรษฐกิจ และนโยบายระหว่างประเทศ/ความมั่นคง ร่วมกันให้ได้ 

3) การขยายเขตอิทธิพลของมหาอำนาจโดยไม่ใช้การทำสงครามโดยตรง เนื่องจากบูรณภาพแห่งดินแดนและประสบการณ์ช่วงสงครามเย็น ทำให้เห็นแล้วว่า การทำสงครามยึดครองไม่ง่ายอีกต่อไป ดังนั้นการขยายเขตอำนาจจึงต้องอาศัยจังหวะและโอกาส รวมถึงแผนระยะต่างๆ ให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลง เช่น ญี่ปุ่นเพิ่มความช่วยเหลือและลงทุนในเขตลุ่มน้ำโขงเพื่อรักษาพลังไว้ ในวันที่จีนพยายามลุกเข้ามาด้วยการลงทุนขนาดใหญ่ในโครงการเมกะโปรเจ็ค เช่น เมืองใหม่ เขื่อน หรือ รางรถไฟ เชื่อมต่อการคมนาคม ทำให้เห็นว่าบริเวณรอยต่อของอำนาจจะมีความร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ เช่น แหลมไครเมียของยูเครน และ ทะเลจีนใต้/ลุ่มน้ำโขง

4) การสร้างมาตรฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ไม่มีการกลั่นแกล้ง รักแก เหยียดหยาม เพื่อคงไว้ซึ่งความหลากหลายทั้งทางวัฒนธรรมและสังคม นั่นก็คือ การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและเพิ่มสวัสดิการสังคม สร้างความมั่นคงของมนุษย์ เพราะทุนนิยมของบรรษัทสามารถทำงานได้อย่างทะลุทะลวงในสังคมที่มีการเมืองมั่นคง การปล่อยให้ฆ่าฟันกันอาจกระทบผลประโยชน์ของบรรษัทขนาดใหญ่ได้
ดังที่ EU, ทวีป America บังคับทุกรัฐยอมรับสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนก่อนจะเข้าร่วมแบ่งปันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการรวมกลุ่ม

5) พื้นที่ซึ่งไม่มีอะไรให้แสวงหามากนัก กลับถูกหมางเมินไม่ใส่ใจ ปล่อยให้บรรษัทขนาดใหญ่ที่ผลประโยชน์สนับสนุนรัฐบาลเผด็จการให้ใช้กำลังจัดการฝ่ายตรงข้ามเพื่อยึดครองพื้นที่ แล้วบรรษัทตักตวงอยู่เบื้องหลังโดยส่งกำลังอาวุธ/เสบียงกรังให้ทุกฝ่าย ผ่านการแลกเปลี่ยนทรัพยากร เช่น น้ำมัน อัญมณี ซึ่งทวีความรุนแรงมากในทวีปอัฟริกา แต่เหมือนว่าถูก Left Behind ซึ่งมีการเป็นห่วงเรื่อง จีนไปทำข้อตกลงกับรัฐเผด็จการจำนวนมากเพื่อแลกกับข้อตกลงทางการลงทุนด้านพลังงานและโครงสร้างต่างๆ โดยไม่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชน

 
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี