Skip to main content

คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?
ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ป

แถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ
 

วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน

งานที่แกใช้อธิบายหลักๆ คือ จะสื่อว่าที่สังคมไทยวิปลาศ เพราะมวลชนชั้นกลางในเมืองเพี้ยน(สลิ่ม) เพราะไม่เห็นถึงความเป็นชนชั้นแรงงานของตน ต่างจากคนเสื้อแดงที่รู้ว่าตนโดนกดขี่ แล้วออกมาสู้กับ ทหารและวัง (กรัมชี่)

แกถึงบอกว่าให้ประเมินสถานการณ์ว่าเลวร้ายที่สุด คือ ทหารยื้ออีกนานนน แต่ให้เก็บรักษาความหวังไว้ให้มั่น เพราะ กษัตริย์ในฐานะบุคคลใกล้ไม่อยู่ให้อ้างละ

เมื่อเชื่อมกับงานเรื่อง Salaried Masses (กรอสเซอร์) ที่แกอ้าง นี่ต่อยอดจาก นิธิที่วิเคราะห์เรื่อง มวลมหาอณู (ของ อาเรนด์) ชัดๆ งานนี้ก็วิเคราะห์คนเยอรมันยุคที่หนุนให้นาซี ว่าไม่ต่างจาก กปปส. หนุน ทหาร และ วัง นั่นเอง (ยุคหลังอุตสาหกรรมหนัก)

เนื่องจากคนในเมืองใหญ่มักทำงานจนขาดสังคม รู้สึก เหงา "ไร้ตัวตน" และรู้สึกไม่มั่นคง(ทำงานกินเงินเดือนเป็นลูกน้อง หรือทำธรกิจต้องเกาะกับชนชั้นนำ เช่น ดารา บริษัทสื่อทั้งหลาย) พวกนี้แหละต้องยึด สถาบันเป็นที่พึ่งสุดท้าย ก่อนสังคมจะกลายเป็น ประชาธิปไตยของไพร่ ไร้เส้นสายให้เกาะ ให้โหนอีกต่อไป

ซึ่งจะเห็นว่า ขบวนการของฝั่งนี้คนน้อยแต่ได้ผล เพราะมีแรงของสื่อและคนวงการสร้างสรรค์ช่วยเยอะ

สวนทางกับแดง ที่ดูเป็นมวลชนเถื่อนๆ บ้านๆ ส่วนปัญญาชนแดง ก็ทำได้แค่เสพข้อมูลแต่ไม่ลุกมาทำอะไร เพราะชีวิตผูกติดกับ เงินเดือน เอาง่ายๆ นักวิชาการ และคนทำงานประจำทั้งนั้น เงียบกริบ แอบมาคุย งุงิๆ กันในกลุ่มลับ

ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับตอน เรื่องเล่า Hi's ที่ทำให้ปัญญาชนตาสว่าง แต่ไม่ลุกมาเปลี่ยนอะไร

สรุป ถ้าเอาอย่าง สศจ. ว่า ก็ต้องรอออออ......... ให้.... ไม่อยู่ให้โหนอีกต่อไป ทีนี้ก็ลุกขึ้นมาเปิดหน้าอัดกันตรงไปตรงมา แกเลยขยักไว้ว่า ทำไมทหารต้องกวาดล้าง "กองกำลัง" ด้วย เราเดาว่ากองกำลังนี่แหละที่ทหารคิดว่าจะมาอัดกับทหารในลักษณะไพร่ราบติดอาวุธ ส่วนพวกพูดนี่จัดการได้ด้วย 112

ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับที่พูดๆ กันอยู่แล้วนั่นเอง

 

พบว่า ชิเชค ก็พูดประเด็นนี้ หลักๆ คือ ชนชั้นกลางในเมือง ที่เริ่มโดนบี้ด้วยระบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ รู้สึกตัวเองชีวิตเหี้ยมากลงทุกที เหมือนเป็น เศษธุลีหนึ่ง ที่ไร้ตัวตนในสังคมทุนนิยม กลวง โบ๋ว จึงหาอะไรเกาะ เพื่อ ชะลอการเปลี่ยนแปลงของสังคม (Nostaglia) เพื่อหวังจะให้วันคืนดีๆในอดีตกลับคืนมา เพราะว่า ไอ้พวกไพร่มันไล่ขึ้นมา จนกรูจะกลายเป็นส่วนหนึ่งกับมันไปแล้ว

ดีไม่ดี ด้วยกว่าไปแล้ว เช่น คนหาบเร่แผงลอย รับจ้าง ดันมีรายได้ดี กว่าพนักงานออฟฟิศ การศึกษาสูงอย่างพวกตน

ทางออกแบบไม่นองเลือดจริงๆ คือ ต้องมีพรรคที่ขายนโยบายเจาะกลุ่ม คนทำงานประจำรับเงินเดือน (Salaried Class) กับ พวก SMEs(ลูกจีนทั้งหลาย) คนทำงานฟรีแลนซ์ (Creative Class) แทนที่จะเทไปอยู่ในถนนเป็นมวลชนให้ทหารกับวัง
 

โจทย์ คือ จะทำให้ มวลชนคนชั้นกลางในเมือง ตาสว่าง หรือ เลิกกลัว เลิก จิตวิญญาณทาส และสำนึกที่ล้มเหลว ไม่เห็นตัวเอง เป็น แรงงาน ได้อย่างไร
 

พรรคคอมฯ เคยแพ้ เพราะ สหาย น.ศ. เข้ากับ สหายชาวนา และแกนนำพรรค ไม่ได้นี่ล่ะนะ

 

คงกะเอามาใช้บ้าง ไม่ง่ายเลยครับ ถ้าจะทำให้สำเร็จ ต้องให้หลักประกันความมั่นใจบางอย่างกับชนชั้นกลางในเมือง คือ ศักดิ์ศรี มีโอกาสขยับเลื่อนตำแหน่ง และความมั่นคง

 

ควรสีให้แสบด้วยตัวอย่าง คนเปิดร้านขายส้มตำไก่ย่าง เปิดร้านห้องแถวจากแผงลอยด้วยเงินนักศึกษา และพนักงานออฟฟิส

หรือ แรงงานต่างด้าว เริ่มเข้ามาซื้อสินค้าหรูหราฟุ่มเฟือย โดยมีคนขายเป็นคนจบมหาลัยแต่เงินไม่พอที่จะซื้อสินค้าที่ตัวเองขาย

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี