Skip to main content

คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?
ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ป

แถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ
 

วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน

งานที่แกใช้อธิบายหลักๆ คือ จะสื่อว่าที่สังคมไทยวิปลาศ เพราะมวลชนชั้นกลางในเมืองเพี้ยน(สลิ่ม) เพราะไม่เห็นถึงความเป็นชนชั้นแรงงานของตน ต่างจากคนเสื้อแดงที่รู้ว่าตนโดนกดขี่ แล้วออกมาสู้กับ ทหารและวัง (กรัมชี่)

แกถึงบอกว่าให้ประเมินสถานการณ์ว่าเลวร้ายที่สุด คือ ทหารยื้ออีกนานนน แต่ให้เก็บรักษาความหวังไว้ให้มั่น เพราะ กษัตริย์ในฐานะบุคคลใกล้ไม่อยู่ให้อ้างละ

เมื่อเชื่อมกับงานเรื่อง Salaried Masses (กรอสเซอร์) ที่แกอ้าง นี่ต่อยอดจาก นิธิที่วิเคราะห์เรื่อง มวลมหาอณู (ของ อาเรนด์) ชัดๆ งานนี้ก็วิเคราะห์คนเยอรมันยุคที่หนุนให้นาซี ว่าไม่ต่างจาก กปปส. หนุน ทหาร และ วัง นั่นเอง (ยุคหลังอุตสาหกรรมหนัก)

เนื่องจากคนในเมืองใหญ่มักทำงานจนขาดสังคม รู้สึก เหงา "ไร้ตัวตน" และรู้สึกไม่มั่นคง(ทำงานกินเงินเดือนเป็นลูกน้อง หรือทำธรกิจต้องเกาะกับชนชั้นนำ เช่น ดารา บริษัทสื่อทั้งหลาย) พวกนี้แหละต้องยึด สถาบันเป็นที่พึ่งสุดท้าย ก่อนสังคมจะกลายเป็น ประชาธิปไตยของไพร่ ไร้เส้นสายให้เกาะ ให้โหนอีกต่อไป

ซึ่งจะเห็นว่า ขบวนการของฝั่งนี้คนน้อยแต่ได้ผล เพราะมีแรงของสื่อและคนวงการสร้างสรรค์ช่วยเยอะ

สวนทางกับแดง ที่ดูเป็นมวลชนเถื่อนๆ บ้านๆ ส่วนปัญญาชนแดง ก็ทำได้แค่เสพข้อมูลแต่ไม่ลุกมาทำอะไร เพราะชีวิตผูกติดกับ เงินเดือน เอาง่ายๆ นักวิชาการ และคนทำงานประจำทั้งนั้น เงียบกริบ แอบมาคุย งุงิๆ กันในกลุ่มลับ

ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับตอน เรื่องเล่า Hi's ที่ทำให้ปัญญาชนตาสว่าง แต่ไม่ลุกมาเปลี่ยนอะไร

สรุป ถ้าเอาอย่าง สศจ. ว่า ก็ต้องรอออออ......... ให้.... ไม่อยู่ให้โหนอีกต่อไป ทีนี้ก็ลุกขึ้นมาเปิดหน้าอัดกันตรงไปตรงมา แกเลยขยักไว้ว่า ทำไมทหารต้องกวาดล้าง "กองกำลัง" ด้วย เราเดาว่ากองกำลังนี่แหละที่ทหารคิดว่าจะมาอัดกับทหารในลักษณะไพร่ราบติดอาวุธ ส่วนพวกพูดนี่จัดการได้ด้วย 112

ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับที่พูดๆ กันอยู่แล้วนั่นเอง

 

พบว่า ชิเชค ก็พูดประเด็นนี้ หลักๆ คือ ชนชั้นกลางในเมือง ที่เริ่มโดนบี้ด้วยระบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ รู้สึกตัวเองชีวิตเหี้ยมากลงทุกที เหมือนเป็น เศษธุลีหนึ่ง ที่ไร้ตัวตนในสังคมทุนนิยม กลวง โบ๋ว จึงหาอะไรเกาะ เพื่อ ชะลอการเปลี่ยนแปลงของสังคม (Nostaglia) เพื่อหวังจะให้วันคืนดีๆในอดีตกลับคืนมา เพราะว่า ไอ้พวกไพร่มันไล่ขึ้นมา จนกรูจะกลายเป็นส่วนหนึ่งกับมันไปแล้ว

ดีไม่ดี ด้วยกว่าไปแล้ว เช่น คนหาบเร่แผงลอย รับจ้าง ดันมีรายได้ดี กว่าพนักงานออฟฟิศ การศึกษาสูงอย่างพวกตน

ทางออกแบบไม่นองเลือดจริงๆ คือ ต้องมีพรรคที่ขายนโยบายเจาะกลุ่ม คนทำงานประจำรับเงินเดือน (Salaried Class) กับ พวก SMEs(ลูกจีนทั้งหลาย) คนทำงานฟรีแลนซ์ (Creative Class) แทนที่จะเทไปอยู่ในถนนเป็นมวลชนให้ทหารกับวัง
 

โจทย์ คือ จะทำให้ มวลชนคนชั้นกลางในเมือง ตาสว่าง หรือ เลิกกลัว เลิก จิตวิญญาณทาส และสำนึกที่ล้มเหลว ไม่เห็นตัวเอง เป็น แรงงาน ได้อย่างไร
 

พรรคคอมฯ เคยแพ้ เพราะ สหาย น.ศ. เข้ากับ สหายชาวนา และแกนนำพรรค ไม่ได้นี่ล่ะนะ

 

คงกะเอามาใช้บ้าง ไม่ง่ายเลยครับ ถ้าจะทำให้สำเร็จ ต้องให้หลักประกันความมั่นใจบางอย่างกับชนชั้นกลางในเมือง คือ ศักดิ์ศรี มีโอกาสขยับเลื่อนตำแหน่ง และความมั่นคง

 

ควรสีให้แสบด้วยตัวอย่าง คนเปิดร้านขายส้มตำไก่ย่าง เปิดร้านห้องแถวจากแผงลอยด้วยเงินนักศึกษา และพนักงานออฟฟิส

หรือ แรงงานต่างด้าว เริ่มเข้ามาซื้อสินค้าหรูหราฟุ่มเฟือย โดยมีคนขายเป็นคนจบมหาลัยแต่เงินไม่พอที่จะซื้อสินค้าที่ตัวเองขาย

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะไม่พูดถึงเหตุการณ์ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นต่อต้านการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญในปัจจุบันอาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ไม่ว่าเราจะเห็นต่างและไม่ยอมรับกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร ก็ห้ามแสดงความคิดเห็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากกรณีฮือฮาที่บัณฑิตนิติศาสตร์ถูกจับดำเนินคดี เนื่องจากผลิตเบียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีการถกเถียงว่า “ทำไมรัฐไทยไม่อนุญาตให้คนทั่วไปผลิตเบียร์” ทั้งที่ชอบป่าวประกาศให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  จนทายาทเบียร์ยี่ห้อดังออกมาตอบโต้ โ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นอกจากประเด็นที่สื่อมวลชนกำลังตื่นตัวว่าจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมตีตราสื่อให้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรในลักษณะที่ผู้มีอำนาจอาจเข้ามาแทรกแซงแล้ว  อีกประเด็นที่เชื่อมโยงกันและกระเทือนไปสู่วงกว้างมาก คือ การขยายขอบเขตการควบคุมไปยัง สื่อใหม่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากประสบการณ์ตรงและการสังเกตการณ์งานต่อสู้ของประชาชนในท้องถิ่นหลายงานสะท้อนปัญหาหนึ่งที่คล้ายกันในหลายพื้นที่ คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและนโยบายพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ หรือการลงทุนของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มักจะถูกจ้องมองด้วยสายตาหวาดระแวงไปจนถึงการถูกสลายทำลายขบวนการเรื่อยมา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองประเด็นใหญ่ช่วงปลายปี 2016 ที่ชาวโลกจับตามองเห็นจะไม่พ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และการทยอยประกาศรางวัลโนเบลสาขาต่างๆ บ็อบ ดีแลน ได้โนเบล แต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองในโลกออนไลน์ที่ฮือฮาในช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปีหนีไม่พ้นเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ที่ สนช. ภายใต้การผลักดันของรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อสารที่ตัดข้ามผ่านพรมแดนตลอดเวลา และเศรษฐกิจระบบตลาดที่มีพละกำลังมหาศาลจนมิมีรัฐใดทัดทานได้ จนต้องเปิดกำแพงให้สินค้า บริการและผู้คนเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวกกว่ายุคสงครามเย็นที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จนนักคิดไม่น้อยหลุดปากว่า “รัฐชาติลดความสำคัญ” ไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากประเทศไทยต้องการผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จำต้องมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายที่ประกันความเป็นส่วนตัวในการสื่อสาร ตามมาตรฐานสากลใน 12 ประเด็นนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะพัฒนารัฐ ต้องมุ้งเป้าไปที่ ลูกหลานแรงงานและเกษตรกรโดยเฉพาะสตรี นี่คือสิ่งที่องค์การระหว่างประเทศด้านการพัฒนาเน้นย้ำเสมอ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเข้าใจผิดประการหนึ่งต่อการกระตุ้นตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลและดึงดูดการลงทุนในอภิมหาโครงการไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ การมุ่งไปชักชวนผู้ประกอบการรายใหญ่โดยใช้มาตรการลดแลกแจกแถมในรูปแบบการเชิญชวนนักลงทุนในยุคอุตสาหกรรมหนักซึ่งพ้นยุคสมัยไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อมีรัฐบาลใหม่สิ่งทีตามมาด้วยเสมอ คือ นโยบายด้านเกษตรกรรม   ในอดีตเกษตรกร หรือที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น “ชาวนา” คือ กลุ่มเป้าหมายหลักในการหยิบมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับนโยบายอุดหนุน   ตามสโลแกน “ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ”  ที่แม้แต่คนรุ่นหลังๆ ก็ยังได้ฟังคำขวัญเห