Skip to main content

ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองของภูฐานในระยะหลัง คงทราบแล้วว่า รัฐบาลใหม่ของภูฐานเองก็หันไปหาระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีมากกขึ้นเช่นกัน และลดความสำคัญของ “ความสุข” แบบที่คนไทยเคยเข้าใจกัน

ถ้าจะวัดกันให้เห็นเป็นหลักเป็นฐานว่า “ความสุข” คืออะไร ก็อาจต้องดูว่ารัฐนั้นทำให้ ประชาชนมีที่อยู่อาศัยดี กินครบมื้อไม่อดอยาก ได้การศึกษาราคาถูกหรือฟรี มีขนส่งมวลชนทั่วถึง บริการสาธารณสุขมีคุณภาพ มีสวัสดิการในยามตกยาก ทุพพลภาพ ชราภาพ สนับสนุนเด็กให้พัฒนาตนเองได้ ฯลฯ

หากจะวิเคราะห์จริงๆว่า ประเทศใดที่ใช้ "ความสุข" เป็นตัวตั้ง คงต้องดูว่ามีนโยบายที่ชัดเจนและแน่นอนไหม นั่นก็ได้แก่ การกำหนดว่ารับรอง “ความสุขของประชาชน” ไว้ให้เป็นสิทธิตามกฎหมาย ประชาชนต้องได้รับอย่างเท่าเทียมกัน และรัฐก็จะต้องให้หลักประกันว่าจะสร้างนโยบายและโครงการต่างๆ ออกมารองรับ   นั่นคือ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีเพราะรัฐประกันสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม นั่นเอง

พบว่า รัฐที่คำนึงถึงความสุขโดยพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน หรือประชาชนต่อสู้ว่า “ความสุข” เป็นเรื่องใหญ่ในชีวิต คงไม่พ้น คนยุโรปใต้ และคนลาตินอเมริกา ที่มีวิถีชีวิตแบบ กิน 5 มื้อ มีเวลาพักผ่อนนอนหลับ ทำกิจกรรมนันทนาการ และสามารถมีวันลาหยุดพักผ่อนดูแลครอบครัว โดยได้รับค่าตอบแทนในการทำงานที่เหมาะสม และสวัสดิการประกันความเสี่ยงในชีวิตไว้ นั่นเอง

หลักฐานที่สนับสนุนก็คือ ประเทศเหล่านั้นได้ประกัน สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยมีหลักฐานเป็น "สิทธิตามกฎหมาย" แล้วนั่นเอง   กล่าวคือ รัฐบาลมีหน้าที่เปลี่ยนนโยบายเป็นรูปธรรม ประชาชนสามารถเรียกร้องสิทธิจากรัฐได้ หากรัฐไม่ทำจะต้องรับผิดทางกฎหมายหรือรับผิดชอบทางการเมือง

ทราบหรือไม่ว่า ประเทศที่เป็นภาคีพิธีสารกติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม คือ กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา และยุโรปใต้ นั่นเอง ทำให้ประชาชนในประเทศเหล่านั้นร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติได้ทันที หากรัฐบาลของตกบกพร่องในการอำนวยสิทธิเหล่านี้   ส่วนประเทศอื่นๆ ในโลกนี้จะเป็นก็แค่ภาคีกติกาสากลฯ ตัวหลักเฉยๆ

ความจริงจังของประชาชนที่ผลักดันให้รัฐบาลต้องให้สัตยาบันพิธีสารกติกาฯ สะท้อนว่า รัฐและประชาชนในประเทศเหล่านี้ เอาจริงเอาจังกับการ  "สร้างหลักประกันความสุข" อย่างมั่นคงแท้จริง

เนื่องจากหากรัฐยกเลิกเพิกถอนโครงการทั้งหลาย ประชาชนร้องเรียนไปถึงสหประชาชาติได้ทันที รัฐเสี่ยงจะหน้าแหกแบบไม่ทันตั้งตัว  ต่างจากรัฐไทยที่เป็นสมาชิกกติกาฯหลักแต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันพิธีสาร ที่ประชาชนชาวไทยทำอะไรโดยตรงมิได้

จากประสบการณ์ที่ได้คลุกคลีกับคนยุโรปใต้และลาตินอเมริกาที่ผ่านสงครามเศรษฐกิจมาอย่างโชกโชน  พวกเขารู้ว่า "เงิน" และ "มูลค่าแลกเปลี่ยน" ของเงิน มันเล่นแร่แปรธาตุได้   อาจจะรวยเงินแต่ไม่มีเวลาใช้ รวยเงินสะสมแต่อาหารไม่สะอาดปลอดภัย  มีตัวเลขในบัญชี แต่ราคาสาธารณูปโภคพุ่งสูงปรี้ด หรือเจอปัญหาเงินเฟ้อสินค้าราคาแพงจนรายได้ไล่ไม่ทัน เพราะปัญหาจากกลไกตลาดและการเก็งราคาทั้งหลาย ไปจนถึงการครอบงำของบรรษัท

ดังนั้นสิ่งที่ต้องรักษาไว้จริงๆ คือ ความสุขที่อยู่ใน "อาหาร ที่อยู่อาศัย การดูแลเอาใจใส่กัน มีเวลาพักผ่อน นันนาการ และการศึกษาพัฒนาตัวเอง"

ชีวิตคนและความรู้สึกของมนุษย์ จึงต้องดูแลเป็นอย่างดี มีการลงเงินไปโดยไม่เดือดร้อนแม้จะขาดดุลบัญชีในเชิงตัวเลข แต่คุณภาพชีวิตทำให้ทรัพยากรมนุษย์เข้มแข็ง

คนสเปนตกงานก็จริง แต่ก็มีทักษะวิชาชีพ ออกไปหากินได้ทั่วทวีปอเมริกา และสหภาพยุโรป พูดง่ายๆ คือ สร้างบ้านให้น่าอยู่ ถ้าอยู่ไม่ไหวก็สามารถออกไปผจญภัยได้   คนอิตาลีก็พร้อมพกวิชาและความเชี่ยวชาญทางศิลปะวิทยาการไปหาโอกาสใหม่ๆ ในยามวิกฤตภายใน   หรือแม้แต่เรื่องอุปนิสัยใจคอสดใสร่าเริง มีวัฒนธรรมที่ดึงดูดคนในประเทศร่ำรวยเข้ามาใช้ชีวิตและใช้เงินหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจในยามวิกฤต

ลองมองย้อนกับมีที่บ้านเรา ที่เน้นการสะสมตัวเลขสูง ลงทุนกับคนน้อย อาชญากรรมและปัญหาสังคมมันเลยเยอะ เพราะประชากรมีปัญหาคุณภาพชีวิตและการอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีวัฒนธรรมแบบสังคมอารยะ   ไหนจะความเปราะบางของสังคมที่พร้อมจะระเบิดเป็นความขัดแย้ง กระทบคนทั้งสังคมได้ตลอดเวลา

เมื่อมองไปถึงต้นทุนของแต่ละคนก็มีทักษะในการหากินนอกประเทศที่น้อยเต็มที   ดังนั้นหากรักษาบ้านและฐานทรัพยากรไว้ไม่ได้ เห็นจะกลายเป็น "ขี้โรคแห่งอาเซียน" ของจริง

การปรับทิศทางการลงทุนกับคนด้วยการศึกษาจึงอาจจะต้องลดการทุ่มไปที่ภาษาอังกฤษ แล้วเพิ่มการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นของประเทศใกล้กันอย่างจริงจังมากขึ้น เพราะเป็นโอกาสที่เรายังพอแข่งขันได้

โดยเฉพาะการนำงบประมาณของประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ในกิจกรรมของฝ่ายความมั่นคงที่เกิด “ข้อมูล/ความรู้” ก็ควรลดงานข่าวภายในประเทศแล้วออกไปผจญภัยในอาเซียนมากขึ้น เพื่อเพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน

ธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยจะได้ไปตะลุยอาเซียนได้สักที ไม่ใช่เอาแต่บี้ชาวบ้านในท้องถิ่นต่างๆของประเทศไทยอยู่อย่างนี้

ความสุขจึงจะกลับคืนมาเป็นของประชาชน เสียที!

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม