Skip to main content

ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองของภูฐานในระยะหลัง คงทราบแล้วว่า รัฐบาลใหม่ของภูฐานเองก็หันไปหาระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีมากกขึ้นเช่นกัน และลดความสำคัญของ “ความสุข” แบบที่คนไทยเคยเข้าใจกัน

ถ้าจะวัดกันให้เห็นเป็นหลักเป็นฐานว่า “ความสุข” คืออะไร ก็อาจต้องดูว่ารัฐนั้นทำให้ ประชาชนมีที่อยู่อาศัยดี กินครบมื้อไม่อดอยาก ได้การศึกษาราคาถูกหรือฟรี มีขนส่งมวลชนทั่วถึง บริการสาธารณสุขมีคุณภาพ มีสวัสดิการในยามตกยาก ทุพพลภาพ ชราภาพ สนับสนุนเด็กให้พัฒนาตนเองได้ ฯลฯ

หากจะวิเคราะห์จริงๆว่า ประเทศใดที่ใช้ "ความสุข" เป็นตัวตั้ง คงต้องดูว่ามีนโยบายที่ชัดเจนและแน่นอนไหม นั่นก็ได้แก่ การกำหนดว่ารับรอง “ความสุขของประชาชน” ไว้ให้เป็นสิทธิตามกฎหมาย ประชาชนต้องได้รับอย่างเท่าเทียมกัน และรัฐก็จะต้องให้หลักประกันว่าจะสร้างนโยบายและโครงการต่างๆ ออกมารองรับ   นั่นคือ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีเพราะรัฐประกันสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม นั่นเอง

พบว่า รัฐที่คำนึงถึงความสุขโดยพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน หรือประชาชนต่อสู้ว่า “ความสุข” เป็นเรื่องใหญ่ในชีวิต คงไม่พ้น คนยุโรปใต้ และคนลาตินอเมริกา ที่มีวิถีชีวิตแบบ กิน 5 มื้อ มีเวลาพักผ่อนนอนหลับ ทำกิจกรรมนันทนาการ และสามารถมีวันลาหยุดพักผ่อนดูแลครอบครัว โดยได้รับค่าตอบแทนในการทำงานที่เหมาะสม และสวัสดิการประกันความเสี่ยงในชีวิตไว้ นั่นเอง

หลักฐานที่สนับสนุนก็คือ ประเทศเหล่านั้นได้ประกัน สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยมีหลักฐานเป็น "สิทธิตามกฎหมาย" แล้วนั่นเอง   กล่าวคือ รัฐบาลมีหน้าที่เปลี่ยนนโยบายเป็นรูปธรรม ประชาชนสามารถเรียกร้องสิทธิจากรัฐได้ หากรัฐไม่ทำจะต้องรับผิดทางกฎหมายหรือรับผิดชอบทางการเมือง

ทราบหรือไม่ว่า ประเทศที่เป็นภาคีพิธีสารกติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม คือ กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา และยุโรปใต้ นั่นเอง ทำให้ประชาชนในประเทศเหล่านั้นร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติได้ทันที หากรัฐบาลของตกบกพร่องในการอำนวยสิทธิเหล่านี้   ส่วนประเทศอื่นๆ ในโลกนี้จะเป็นก็แค่ภาคีกติกาสากลฯ ตัวหลักเฉยๆ

ความจริงจังของประชาชนที่ผลักดันให้รัฐบาลต้องให้สัตยาบันพิธีสารกติกาฯ สะท้อนว่า รัฐและประชาชนในประเทศเหล่านี้ เอาจริงเอาจังกับการ  "สร้างหลักประกันความสุข" อย่างมั่นคงแท้จริง

เนื่องจากหากรัฐยกเลิกเพิกถอนโครงการทั้งหลาย ประชาชนร้องเรียนไปถึงสหประชาชาติได้ทันที รัฐเสี่ยงจะหน้าแหกแบบไม่ทันตั้งตัว  ต่างจากรัฐไทยที่เป็นสมาชิกกติกาฯหลักแต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันพิธีสาร ที่ประชาชนชาวไทยทำอะไรโดยตรงมิได้

จากประสบการณ์ที่ได้คลุกคลีกับคนยุโรปใต้และลาตินอเมริกาที่ผ่านสงครามเศรษฐกิจมาอย่างโชกโชน  พวกเขารู้ว่า "เงิน" และ "มูลค่าแลกเปลี่ยน" ของเงิน มันเล่นแร่แปรธาตุได้   อาจจะรวยเงินแต่ไม่มีเวลาใช้ รวยเงินสะสมแต่อาหารไม่สะอาดปลอดภัย  มีตัวเลขในบัญชี แต่ราคาสาธารณูปโภคพุ่งสูงปรี้ด หรือเจอปัญหาเงินเฟ้อสินค้าราคาแพงจนรายได้ไล่ไม่ทัน เพราะปัญหาจากกลไกตลาดและการเก็งราคาทั้งหลาย ไปจนถึงการครอบงำของบรรษัท

ดังนั้นสิ่งที่ต้องรักษาไว้จริงๆ คือ ความสุขที่อยู่ใน "อาหาร ที่อยู่อาศัย การดูแลเอาใจใส่กัน มีเวลาพักผ่อน นันนาการ และการศึกษาพัฒนาตัวเอง"

ชีวิตคนและความรู้สึกของมนุษย์ จึงต้องดูแลเป็นอย่างดี มีการลงเงินไปโดยไม่เดือดร้อนแม้จะขาดดุลบัญชีในเชิงตัวเลข แต่คุณภาพชีวิตทำให้ทรัพยากรมนุษย์เข้มแข็ง

คนสเปนตกงานก็จริง แต่ก็มีทักษะวิชาชีพ ออกไปหากินได้ทั่วทวีปอเมริกา และสหภาพยุโรป พูดง่ายๆ คือ สร้างบ้านให้น่าอยู่ ถ้าอยู่ไม่ไหวก็สามารถออกไปผจญภัยได้   คนอิตาลีก็พร้อมพกวิชาและความเชี่ยวชาญทางศิลปะวิทยาการไปหาโอกาสใหม่ๆ ในยามวิกฤตภายใน   หรือแม้แต่เรื่องอุปนิสัยใจคอสดใสร่าเริง มีวัฒนธรรมที่ดึงดูดคนในประเทศร่ำรวยเข้ามาใช้ชีวิตและใช้เงินหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจในยามวิกฤต

ลองมองย้อนกับมีที่บ้านเรา ที่เน้นการสะสมตัวเลขสูง ลงทุนกับคนน้อย อาชญากรรมและปัญหาสังคมมันเลยเยอะ เพราะประชากรมีปัญหาคุณภาพชีวิตและการอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีวัฒนธรรมแบบสังคมอารยะ   ไหนจะความเปราะบางของสังคมที่พร้อมจะระเบิดเป็นความขัดแย้ง กระทบคนทั้งสังคมได้ตลอดเวลา

เมื่อมองไปถึงต้นทุนของแต่ละคนก็มีทักษะในการหากินนอกประเทศที่น้อยเต็มที   ดังนั้นหากรักษาบ้านและฐานทรัพยากรไว้ไม่ได้ เห็นจะกลายเป็น "ขี้โรคแห่งอาเซียน" ของจริง

การปรับทิศทางการลงทุนกับคนด้วยการศึกษาจึงอาจจะต้องลดการทุ่มไปที่ภาษาอังกฤษ แล้วเพิ่มการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นของประเทศใกล้กันอย่างจริงจังมากขึ้น เพราะเป็นโอกาสที่เรายังพอแข่งขันได้

โดยเฉพาะการนำงบประมาณของประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ในกิจกรรมของฝ่ายความมั่นคงที่เกิด “ข้อมูล/ความรู้” ก็ควรลดงานข่าวภายในประเทศแล้วออกไปผจญภัยในอาเซียนมากขึ้น เพื่อเพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน

ธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยจะได้ไปตะลุยอาเซียนได้สักที ไม่ใช่เอาแต่บี้ชาวบ้านในท้องถิ่นต่างๆของประเทศไทยอยู่อย่างนี้

ความสุขจึงจะกลับคืนมาเป็นของประชาชน เสียที!

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะไม่พูดถึงเหตุการณ์ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นต่อต้านการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญในปัจจุบันอาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ไม่ว่าเราจะเห็นต่างและไม่ยอมรับกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร ก็ห้ามแสดงความคิดเห็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากกรณีฮือฮาที่บัณฑิตนิติศาสตร์ถูกจับดำเนินคดี เนื่องจากผลิตเบียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีการถกเถียงว่า “ทำไมรัฐไทยไม่อนุญาตให้คนทั่วไปผลิตเบียร์” ทั้งที่ชอบป่าวประกาศให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  จนทายาทเบียร์ยี่ห้อดังออกมาตอบโต้ โ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นอกจากประเด็นที่สื่อมวลชนกำลังตื่นตัวว่าจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมตีตราสื่อให้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรในลักษณะที่ผู้มีอำนาจอาจเข้ามาแทรกแซงแล้ว  อีกประเด็นที่เชื่อมโยงกันและกระเทือนไปสู่วงกว้างมาก คือ การขยายขอบเขตการควบคุมไปยัง สื่อใหม่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากประสบการณ์ตรงและการสังเกตการณ์งานต่อสู้ของประชาชนในท้องถิ่นหลายงานสะท้อนปัญหาหนึ่งที่คล้ายกันในหลายพื้นที่ คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและนโยบายพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ หรือการลงทุนของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มักจะถูกจ้องมองด้วยสายตาหวาดระแวงไปจนถึงการถูกสลายทำลายขบวนการเรื่อยมา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองประเด็นใหญ่ช่วงปลายปี 2016 ที่ชาวโลกจับตามองเห็นจะไม่พ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และการทยอยประกาศรางวัลโนเบลสาขาต่างๆ บ็อบ ดีแลน ได้โนเบล แต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองในโลกออนไลน์ที่ฮือฮาในช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปีหนีไม่พ้นเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ที่ สนช. ภายใต้การผลักดันของรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อสารที่ตัดข้ามผ่านพรมแดนตลอดเวลา และเศรษฐกิจระบบตลาดที่มีพละกำลังมหาศาลจนมิมีรัฐใดทัดทานได้ จนต้องเปิดกำแพงให้สินค้า บริการและผู้คนเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวกกว่ายุคสงครามเย็นที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จนนักคิดไม่น้อยหลุดปากว่า “รัฐชาติลดความสำคัญ” ไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากประเทศไทยต้องการผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จำต้องมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายที่ประกันความเป็นส่วนตัวในการสื่อสาร ตามมาตรฐานสากลใน 12 ประเด็นนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะพัฒนารัฐ ต้องมุ้งเป้าไปที่ ลูกหลานแรงงานและเกษตรกรโดยเฉพาะสตรี นี่คือสิ่งที่องค์การระหว่างประเทศด้านการพัฒนาเน้นย้ำเสมอ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเข้าใจผิดประการหนึ่งต่อการกระตุ้นตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลและดึงดูดการลงทุนในอภิมหาโครงการไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ การมุ่งไปชักชวนผู้ประกอบการรายใหญ่โดยใช้มาตรการลดแลกแจกแถมในรูปแบบการเชิญชวนนักลงทุนในยุคอุตสาหกรรมหนักซึ่งพ้นยุคสมัยไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อมีรัฐบาลใหม่สิ่งทีตามมาด้วยเสมอ คือ นโยบายด้านเกษตรกรรม   ในอดีตเกษตรกร หรือที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น “ชาวนา” คือ กลุ่มเป้าหมายหลักในการหยิบมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับนโยบายอุดหนุน   ตามสโลแกน “ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ”  ที่แม้แต่คนรุ่นหลังๆ ก็ยังได้ฟังคำขวัญเห