Skip to main content

ในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟูมักมีการบ่นจากนายจ้างว่าหาแรงงานไม่ค่อยได้ ในทางตรงข้ามก็มีการโอดครวญจากคนทำงานว่าถูกตัดสวัสดิการ ไปจนถึงลดงาน หรือให้ออก  สลับกันไป   แต่สิ่งหนึ่งที่ไทยหรือแม้แต่ตลาดแรงงานในประเทศกำลังพัฒนากำลังเผชิญก็คือ สังคมไร้เสถียรภาพ อันมีสาเหตุจากคนในสังคมรู้สึกว่าชีวิตตนเองเสี่ยงไม่มีความมั่นคงในชีวิต เพราะอยู่ในระบบการจ้างงานที่ไม่มีความมั่นคง

แม้กระทั่งในหน่วยงานรัฐที่ลดจำนวนข้าราชการ กลับพบว่าขนาดของรัฐราชการไม่ได้เล็กลงไปด้วย เพราะปริมาณคนทำงานภาครัฐเพิ่มขึ้น  เจ้าหน้าที่ต่างๆ ถูกจ้างแบบชั่วคราว คนจำนวนมากอยู่ในสถานะ “ลูกจ้างชั่วคราว” ที่ไม่ได้รับบรรจุเป็นข้าราชาการ พนักงานประจำ หรือที่ร้ายแรงที่สุด คือ ถูกเปลี่ยนจากการ   “จ้างแรงงาน”   เป็น   “จ้างทำของ” เฉพาะสิ่ง   เหมือนบรรดา แรงงานเหมาช่วง หรือเกษตรกร ทั้งหลายที่รับจ้างเลี้ยงหรือปลูกให้บริษัทอีกต่อ   ปัญหาของแรงงานเหล่านี้ คือ อาจไม่อยู่ในระบบประกันสังคม และอาจถูกเลิกจ้าง หรือยุติการจ่ายงานได้ง่ายมาก 

เทคนิคการจ้างงานเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ ศาสตร์บริหารธุรกิจ หรือ นักเศรษฐศาสตร์ จำนวนไม่น้อย สดุดีว่าเป็นวิธีการ ลดต้นทุน หรือ ผลักภาระในการบริหารงานบุคคลให้พ้นไปจากบริษัท   ทำให้กำไรเพิ่มพูน และลดปัญหาที่จะต้องมาดูแลคนงาน   ใช่มันคือความสำเร็จของนายทุนจำนวนหนึ่ง บนความสั่นไหวและความเสี่ยงของแรงงานจำนวนมาก

แต่ตอนนี้สถานการณ์ได้เข้าขั้นวิกฤตหนัก เพราะหน่วยงานของรัฐ ในกำกับของรัฐ หรือองค์การมหาชนทั้งหลาย ได้เอาวิธีการบริหารงานบุคคลข้างต้นกับองค์กรรัฐ   สิ่งที่ปรากฏชัด คือ การเปลี่ยนจ้างแรงงานเหมา มาเป็น “การจัดซื้อพัสดุ”   นั่นคือ “การเปลี่ยนคนให้เป็นวัตถุ” เปลี่ยน “มนุษย์ให้เป็นเครื่องจักร”   โดยผลของสัญญาที่ออกแบบมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผูกพันทางกฎหมายทั้งหลายที่นายจ้างไม่ต้องการ  

สถานการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นในสังคมทุนนิยมยุโรปช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นช่วง “วิกฤตของทุนนิยม”

รูปแบบของการจ้างแรงงานแบบ “พัสดุ” นี้ได้ลดภาระของฝ่ายจ้างงาน กล่าวคือ ไม่ต้องจ่ายสมทบในกองทุนประกันสังคมหรือกองทุนต่างๆ รวมถึงไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายแรงงานหรือกฎเกี่ยวกับจ้างงานขององค์กรนั้นๆ เพราะคนเหล่านั้นไม่ใช่ “ลูกจ้าง” มิใช่แรงงาน   เป็นเพียง “วัตถุ” ที่ใช้แล้วหมดไปตามระยะเวลาที่สัญญากำหนด

รูปแบบสัญญานี้เป็นความสำเร็จสูงสุดของนายจ้างในการผลักภาระความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กรอีกเช่นกัน เพราะไม่ต้องมารับผลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ความเจ็บป่วยไข้ของคนทำงาน หรือการมีบุตรมีครอบครัว เพราะผู้จ้างกับคนทำงาน ผูกพันกันด้วยวัตถุประสงค์ของ “ผลงาน” แต่ไม่มีหน้าที่-สิทธิ ต่อกันในฐานะ “ลูกจ้าง-นายจ้าง” อีกต่อไป

หากการบริหารงานเหล่านี้ขยายไปสู่การทำงานที่มีความอันตราย เช่น สารเคมี สารพิษ หรือเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ หรือโรคเรื้อรัง โรคติดเชื้อ ก็ย่อมเป็นผลดีกับผู้จ้างอีกเช่นกัน เพราะการทำสัญญา “พัสดุ” มิใช่ทำสัญญากับ “คน” ย่อมไม่ต้องมีการดูแลความปลอดภัยในการทำงานให้กับ “บุคคล” เหล่านั้น   หากจะติดเชื้อ ได้รับอุบัติเหตุ หรือเสื่อมสมรรถภาพ พิการ ก็เป็นเพียงเครื่องจักรที่พัง เปลี่ยนเครื่องใหม่เข้ามาแทน มิใช่ แรงงานมนุษย์ที่จะต้องมีรักษากันอย่างมีมนุษยธรรมอีกต่อไป

วิธีการจ้างงานแบบนี้ได้ประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับหน่วยงานเพราะไม่อยู่ในกรอบของกฎหมายใดๆ ที่จะต้องจัดสวัสดิการสังคมให้กับ “พัสดุ” เหล่านั้น เพราะมันเป็นเพียงเครื่องจักรในการผลิตผลงาน

 การบริหารงานแบบรีดไขมันส่วนเกิน (Lean Management) ที่ขจัดภาระและส่วนเกินต่างๆออกไปจากองค์กรให้หมด เหลือไว้เพียงกล้ามเนื้อแดงที่เป็นส่วนสำคัญของร่างกาย   แต่ลองมาดูองค์กรต่างๆที่ใช้การจ้างแบบพัสดุ คงเห็นแล้วว่ากล้ามเนื้อแดงที่รักษาไว้และปูนบำเหน็จมากมาย นั่นคือ เหล่าผู้อาวุโส และผู้ทรงบารมี หรือผู้บริหาร และอาจขยายไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ต้องรักษาเอาไว้ถ้าหาใครมาแทนไม่ได้ หรือแทนที่ยากเท่านั้น

คนที่เสี่ยงจากการจ้างงานแบบนี้ จึงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามการขยายตัวของ เทคโนโลยีการบริหารงานแบบนี้  ซึ่งมีคนสดุดีและนำไปใช้ทั่วโลกทุนนิยม

ดังนั้นการที่คนทำงานออฟฟิศแต่ไม่ได้จ้างประจำ หรือที่ถูกเรียกใหม่ว่า “พัสดุ” นั้น จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชายขอบ ที่เสี่ยงมาก อีกกลุ่มหนึ่ง และรอวันประทุ ไม่ต่างอะไรกับที่เคยเกิดแล้วกับสังคมฟาสซิสต์ยุโรป เพียงแต่ยังไม่ระเบิดก็เพราะอาจถูกหล่อเลี้ยงไว้ด้วย “มายา” แห่งคนทำงานออฟฟิศ ซึ่งก่อสำนึกที่ผิดพลาด ว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นกลางหรือชนชั้นนำ

สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือ คนที่หวั่นไหวต่ออนาคตตนเองและสังคม ก็เกิดจากสำนึกเรื่องความเสี่ยง  เสี่ยงที่จะสูญเสียโอกาสหรือสวัสดิการที่ตนเคยได้รับจากกฎหมายแรงงานของรัฐ นั่นเอง

ดังนั้น การเอาตัวรอดไปวันๆ หรือการพยายามเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับชนชั้นนำด้วยการประจบสอพลอ อาจเป็นยุทธวิธีที่ล้มเหลวของคนทำงาน   เป็นสำนึกที่ผิดพลาด เพราะอาจมีการต่ออายุราชการ/ทำงาน หรือให้มรดกแบบมีเงื่อนไข   การวางยุทธศาสตร์ไว้ว่าจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชนชั้นนำ/ผู้บริหาร จึงขัดแย้งกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในชีวิต

                ส่วนนายจ้างที่ไม่เข้าใจว่าทำไมแรงงานขาดแคลน หรือลูกจ้างลาออก หรือแรงงานไม่พัฒนาฝีมือ ก็ต้องย้อนมามองว่า การมีชีวิตแบบคนทำงานที่ไร้ความมั่นคง   เป็นชีวิตที่น่าปรารถนาหรือไม่

                รัฐก็ต้องสร้างกลไกรับประกันความมั่นคงในการทำงานเพื่อทำให้เครื่องจักรแห่งการผลิตเดินได้ไม่ติดขัด

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

 
 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะไม่พูดถึงเหตุการณ์ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เนื่องจากการแสดงความคิดเห็นต่อต้านการลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญในปัจจุบันอาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ไม่ว่าเราจะเห็นต่างและไม่ยอมรับกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร ก็ห้ามแสดงความคิดเห็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากกรณีฮือฮาที่บัณฑิตนิติศาสตร์ถูกจับดำเนินคดี เนื่องจากผลิตเบียร์โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีการถกเถียงว่า “ทำไมรัฐไทยไม่อนุญาตให้คนทั่วไปผลิตเบียร์” ทั้งที่ชอบป่าวประกาศให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าท้องถิ่น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  จนทายาทเบียร์ยี่ห้อดังออกมาตอบโต้ โ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นอกจากประเด็นที่สื่อมวลชนกำลังตื่นตัวว่าจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมตีตราสื่อให้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรในลักษณะที่ผู้มีอำนาจอาจเข้ามาแทรกแซงแล้ว  อีกประเด็นที่เชื่อมโยงกันและกระเทือนไปสู่วงกว้างมาก คือ การขยายขอบเขตการควบคุมไปยัง สื่อใหม่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากประสบการณ์ตรงและการสังเกตการณ์งานต่อสู้ของประชาชนในท้องถิ่นหลายงานสะท้อนปัญหาหนึ่งที่คล้ายกันในหลายพื้นที่ คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการและนโยบายพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ หรือการลงทุนของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มักจะถูกจ้องมองด้วยสายตาหวาดระแวงไปจนถึงการถูกสลายทำลายขบวนการเรื่อยมา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองประเด็นใหญ่ช่วงปลายปี 2016 ที่ชาวโลกจับตามองเห็นจะไม่พ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และการทยอยประกาศรางวัลโนเบลสาขาต่างๆ บ็อบ ดีแลน ได้โนเบล แต่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเมืองในโลกออนไลน์ที่ฮือฮาในช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นปีหนีไม่พ้นเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ที่ สนช. ภายใต้การผลักดันของรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อสารที่ตัดข้ามผ่านพรมแดนตลอดเวลา และเศรษฐกิจระบบตลาดที่มีพละกำลังมหาศาลจนมิมีรัฐใดทัดทานได้ จนต้องเปิดกำแพงให้สินค้า บริการและผู้คนเคลื่อนไหวไปมาได้สะดวกกว่ายุคสงครามเย็นที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จนนักคิดไม่น้อยหลุดปากว่า “รัฐชาติลดความสำคัญ” ไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากประเทศไทยต้องการผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จำต้องมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายที่ประกันความเป็นส่วนตัวในการสื่อสาร ตามมาตรฐานสากลใน 12 ประเด็นนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะพัฒนารัฐ ต้องมุ้งเป้าไปที่ ลูกหลานแรงงานและเกษตรกรโดยเฉพาะสตรี นี่คือสิ่งที่องค์การระหว่างประเทศด้านการพัฒนาเน้นย้ำเสมอ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเข้าใจผิดประการหนึ่งต่อการกระตุ้นตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลและดึงดูดการลงทุนในอภิมหาโครงการไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ การมุ่งไปชักชวนผู้ประกอบการรายใหญ่โดยใช้มาตรการลดแลกแจกแถมในรูปแบบการเชิญชวนนักลงทุนในยุคอุตสาหกรรมหนักซึ่งพ้นยุคสมัยไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อมีรัฐบาลใหม่สิ่งทีตามมาด้วยเสมอ คือ นโยบายด้านเกษตรกรรม   ในอดีตเกษตรกร หรือที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น “ชาวนา” คือ กลุ่มเป้าหมายหลักในการหยิบมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับนโยบายอุดหนุน   ตามสโลแกน “ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ”  ที่แม้แต่คนรุ่นหลังๆ ก็ยังได้ฟังคำขวัญเห